project โควิด-19 ผู้พิการและผู้ป่วย ภัยพิบัติ

จัดหาชุดเตียงสนาม เพื่อมอบให้แก่โรงพยาบาลสนาม และศูนย์พักคอยที่ขาดแคลนทั่วประเทศ

จัดหาชุดเตียงสนามเพื่อโรงพยาบาลสนาม หรือศูนย์พักคอยที่ขาดแคลน เพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยโควิด-19 ทั่วประเทศ

ระยะเวลาโครงการ 06 ส.ค. 2564 ถึง 19 ส.ค. 2564 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: 24 จัวหวัด 43 สถานที่ (จากทั้งหมด 106 สถานที่) (ได้แก่ โรงพยาบาลสนาม, ศูนย์พักคอยระดับอำเภอ ตำบล และหมู่บ้าน (CI) ภายใต้การกำกับดูแลของหน่วยงานสาธารณสุขท้องถิ่น)

ยอดบริจาคขณะนี้

1,038,624 บาท

เป้าหมาย

1,038,624 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 100%
จำนวนผู้บริจาค 1,369

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

ส่งมอบเตียงสนาม 728 ชุด ให้กับ รพ.สนาม และศูนย์พักคอยทั่วประเทศ

24 กันยายน 2021

มูลนิธิเขื่อนยันฮี และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้มอบชุดเตียงสนาม จากการระดมทุนจากเทใจดอทคอม จำนวน 728 ชุด และ กฟผ. ร่วมสนับสนุนอีก 2,500 ชุด มีกิจกรรมในการดำเนินโครงการ ต่อไปนี้

กิจกรรมที่ 1 

ประสานงานกับพื้นที่ของผู้รับ เพื่อยืนยันจำนวน กับ ตำแหน่งพื้นที่ ผ่านทางโทรศัพท์ และไลน์ รวมทั้งสรุปจำนวนผู้รับ/หน่วยงาน และผู้ประสานงานทั้งหมด และขอความร่วมมือไปยังหน่วยงานภูมิภาคของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อช่วยดำเนินงานกระจายชุดเตียงสนามในบางพื้นที่ที่เข้าถึงยากต่อไป

ทีมงานฯ ได้ร่วมมือออกแบบ และวางแผนการขนส่งร่วมกับทีมงานด้านการขนส่งของหน่วยงาน รวมถึงอาสาสมัครขนส่ง ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อกระจายส่งชุดเตียงสนามไปยัง 34 พื้นที่ 19 จังหวัด ตามเอกสารแนบท้าย

กิจกรรมที่ 2

ทีมงานฯ และอาสาสมัครขนส่ง ได้ดำเนินการขนส่งชุดเตียงสนาม ได้แก่ เตียงกระดาษ ที่นอน หมอน ผ้าห่ม และชุดอุปกรณ์การดำรงชีวิตพื้นฐาน ไปยังพื้นที่ต่าง ๆ 

รายชื่อหน่วยงานที่ได้รับบริจาค

ภาคใต้ ได้รับ 295 ชุด

ภาคอีสาน ได้รับ 198 ชุด


ภาคเหนือ ได้รับ 130 ชุด

ภาคกลาง ได้รับ 105 ชุด

กิจกรรมที่ 3

ทีมงานฯ ติดตาม และประสานงานกับพื้นที่ปลายทาง เพื่ออธิบายรูปแบบการต่อเตียง การใช้งาน รวมถึงสิ่งที่ได้รับ และสัมภาษณ์ผู้ได้รับประโยชน์จากการบริจาคในครั้งนี้ 

กิจกรรมที่ 4 

สรุปโครงการฯ ได้ดำเนินการจัดส่ง และกระจายของบริจาคตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2564 และทางผู้รับบริจาค ที่ซึ่งได้รับของบริจาครายสุดท้ายในวันที่ 8 กันยายน 2564 เป็นที่เรียบร้อย

การบริจาคครั้งนี้ จะสำเร็จลุล่วงไม่ได้เลย หากขาดผู้สนับสนุน และบริหารจัดการในหลายๆ ส่วนงาน อาทิเช่น ฝ่ายการขนส่ง อาสาสมัครขนส่งของหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รวมทั้งหน่วยงานส่วนภูมิภาคทั้งหมดของ กฟผ. ในการกระจายของบริจาค ลงพื้นที่ช่วยจัดตั้งพื้นที่ สนับสนุนน้ำดื่มเพิ่มเติม โดยสละแรงกาย และเวลาดำเนินงาน เพื่อขนส่งของบริจาคในทุก ๆ วัน เพื่อให้ของบริจาค ขนส่งถึงมือผู้ขอรับบริจาค ได้อย่างรวดเร็วที่สุด ครบถ้วน และสมบูรณ์

ความประทับใจที่ได้รับสิ่งของบริจาค และการนำไปใช้ประโยชน์

คุณนุศรา จั่นวงศ์แก้ว จาก อบต.บางจัก จังหวัดอ่างทอง
รู้สึกประทับใจมาก และขอบคุณมากค่ะ ตั้งแต่การนำของมาส่งมอบ เจ้าหน้าที่มีอัธยาศัยดี และของที่นำมามอบให้ก็มีคุณภาพ ส่วนหนึ่งเราได้นำไปมอบให้กับศูนย์พักคอยในท้องถิ่นที่มีความจำเป็นต้องใช้ เนื่องจากเราเป็นหน่วยงานเล็ก ๆ เพื่อให้ได้ประโยชน์ในทุกกลุ่ม จึงได้นำสิ่งของบางส่วนส่งไปยังศูนย์พักคอยรวมระดับอำเภอค่ะ ซึ่งในปัจจุบัน ยังคงพบผู้ติดเชื้อรายวัน วันที่ 14 กันยายน 2564 จำนวน 1 ราย

คุณพรจิรา สมสีนวน จาก เทศบาลตำบลเกาะกา จังหวัดฉะเชิงเทรา
รู้สึกดีมากค่ะ เป็นประโยชน์กับประชาชนมากค่ะ ต้องขอบคุณทางมูลนิธิเขื่อนยันฮีมาก ๆ ค่ะ ทางเราได้นำสิ่งของไปใช้กับผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาที่ศูนย์พักคอย อบต.บางด้วน ค่ะ ซึ่งช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งในปัจจุบัน วันที่ 14 กันยายน 2564 ยังคงมีผู้ป่วยรายใหม่ในพื้นที่เข้ามาเรื่อย ๆ ค่ะ

ผลกระทบที่เกิดขึ้น

ภาพกิจกรรม

พื้นที่ โรงพยาบาลสาธารณสุขประจำตำบลโพธิ์วงศ์ จังหวัดศรีสะเกษ

พื้นที่  โรงพยาบาลสนามสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

พื้นที่  ศูนย์พักคอยเทศบาลดำบลภูเวียง จังหวัดขอนแก่น

พื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลใจดี จังหวัดศรีสะเกษ

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด


ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา



"โครงการระดมทุนจัดหาชุดเตียงสนาม เพื่อมอบให้แก่
โรงพยาบาลสนาม และศูนย์พักคอยที่ขาดแคลนทั่วประเทศ"


- จำนวน 1,000 ชุดเตียงสนาม-


   โครงการนี้ ถือเป็นโครงการที่ช่วยเพิ่มพื้นที่รองรับผู้ป่วย COVID-19 ให้ผู้ป่วยได้รับ
โอกาสในการรับการรักษา หรือมีผู้ดูแลในเบื้องต้น
ช่วยบรรเทาอาการทั้งกาย และใจเสมือนเป็น "
กล่องปฐมพยาบาล " ของชุมชน
(ขอบคุณภาพ จาก the standard และ spring)

สภาพปัจจุบัน

 ผู้ป่วย COVID-19 ไม่ว่าจะตรวจด้วย Rapid Test หรือวิธีการอื่นๆ สามารถแพร่เชื้อได้ เนื่องจากสภาพความเป็นอยู่ที่แออัด ดังนั้นโครงการนี้ จะช่วยมอบพื้นที่ เพื่อคัดแยกผู้ป่วยในพื้นที่ และรองรับผู้ป่วยจากต่างถิ่น

                               


มุ่งกระจายชุดเตียงสนามให้แก่พื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ
แบ่งออกเป็น 3 ประเภท

  1. การจัดตั้งโรงพยาบาลสนาม  
  2. การจัดตั้งศูนย์พักคอยระดับจังหวัด อำเภอ และตำบล 
  3. การจัดตั้งศูนย์พักคอยในพื้นที่ห่างไกล โดยอาศัยพื้นที่วัด โรงเรียน และลานกีฬา
    (ภายใต้การกำกับดูแลของโรงพยาบาล สาธารณสุขท้องถิ่น และ ผู้นำชุมชน)

รายละเอียดชุดเตียงสนาม
     การผลิต และส่งมอบชุดเตียงสนาม รองรับผู้ป่วย COVID-19 ประกอบด้วย
อุปกรณ์ 5 ชิ้น เน้นน้ำหนักเบา ใช้งานง่าย (ถอด+ประกอบ+จัดเก็บ)
และทำลายง่าย (Recycle) สามารถนำมาใช้งานต่อได้ (Reuse) ในสถานการณ์ปกติ ได้แก่

  1. เตียงกระดาษลูกฟูก ขนาด 3 ฟุต                 
  2. ที่นอน ใยสังเคราะห์ ขนาด 3 ฟุด
  3. หมอน 1 ใบ
  4. ผ้าห่ม 1 ผืน
  5. ชุดเปิดสนาม หรือ อุปกรณ์พื้นฐานในการดำเนินชีวิต 1 ชุด

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

 1. ทีมงานลงพื้นที่สำรวจ ทั้งแบบ Online และ Offline จนได้ข้อมูลความต้องการของแต่ละพื้นที่
 2. ทีมงานรวบรวมข้อมูล และจัดสรรเตียงให้แก้พื้นที่ตามเกณฑ์ ดังนี้
     - พื้นที่สีแดงเข้ม แดง 
     - จำนวนยอดผู้ติดเชื้อรายจังหวัด
     - หน่วยงานที่กำกับดูแล เพื่อให้มีผู้ชำนาญการ เข้าดูแลผู้ป่วย
     - ตรวจสอบความซ้ำซ้อนของการรับบริจาค เป็นต้น
3. ทีมงานประสานงาน ร่วมมือ และติดต่อกับ ผู้ผลิตชุดเตียงสนาม จำนวน 1,000 ชุด
    รวมถึงการบริหารจัดการทรัพยากรต่างๆ อย่างจำกัด
4. ทีมงานลงพื้นที่หน้างาน เพื่อรวบรวม และขนส่งชุดเตียงสนาม ไปแต่ละภูมิภาค 4 ภาค
5. ทีมงานลงพื้นที่ เพื่อกระจายชุดเตียงสนาม ไปยังพื้นที่ 43 พื้นที่ 24 จังหวัด







ขั้นตอนที่ 4 และ 5 ได้รับการสนับสนุนจาก การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
รวมถึงอาสาสมัคร จิตอาสาในการขับรถ 

                         

   

ข้อมูลภาคี, พาร์ทเนอร์

ดำเนินโครงการโดย มูลนิธิเขื่อนยันฮี 



ร่วมกับทีมงาน ที่คอยช่วยเหลือและดำเนินการต่างๆ อาทิเช่น
- การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย
- ภาคเอกชนที่ช่วยช่องทางการสื่อสาร 
- อาสาสมัคร และจิตอาสาในพื้นที่ต่างๆ

ส่งมอบเตียงสนาม 728 ชุด ให้กับ รพ.สนาม และศูนย์พักคอยทั่วประเทศ

24 กันยายน 2021

มูลนิธิเขื่อนยันฮี และการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ได้มอบชุดเตียงสนาม จากการระดมทุนจากเทใจดอทคอม จำนวน 728 ชุด และ กฟผ. ร่วมสนับสนุนอีก 2,500 ชุด มีกิจกรรมในการดำเนินโครงการ ต่อไปนี้

กิจกรรมที่ 1 

ประสานงานกับพื้นที่ของผู้รับ เพื่อยืนยันจำนวน กับ ตำแหน่งพื้นที่ ผ่านทางโทรศัพท์ และไลน์ รวมทั้งสรุปจำนวนผู้รับ/หน่วยงาน และผู้ประสานงานทั้งหมด และขอความร่วมมือไปยังหน่วยงานภูมิภาคของ การไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อช่วยดำเนินงานกระจายชุดเตียงสนามในบางพื้นที่ที่เข้าถึงยากต่อไป

ทีมงานฯ ได้ร่วมมือออกแบบ และวางแผนการขนส่งร่วมกับทีมงานด้านการขนส่งของหน่วยงาน รวมถึงอาสาสมัครขนส่ง ของการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย (กฟผ.) เพื่อกระจายส่งชุดเตียงสนามไปยัง 34 พื้นที่ 19 จังหวัด ตามเอกสารแนบท้าย

กิจกรรมที่ 2

ทีมงานฯ และอาสาสมัครขนส่ง ได้ดำเนินการขนส่งชุดเตียงสนาม ได้แก่ เตียงกระดาษ ที่นอน หมอน ผ้าห่ม และชุดอุปกรณ์การดำรงชีวิตพื้นฐาน ไปยังพื้นที่ต่าง ๆ 

รายชื่อหน่วยงานที่ได้รับบริจาค

ภาคใต้ ได้รับ 295 ชุด

ภาคอีสาน ได้รับ 198 ชุด


ภาคเหนือ ได้รับ 130 ชุด

ภาคกลาง ได้รับ 105 ชุด

กิจกรรมที่ 3

ทีมงานฯ ติดตาม และประสานงานกับพื้นที่ปลายทาง เพื่ออธิบายรูปแบบการต่อเตียง การใช้งาน รวมถึงสิ่งที่ได้รับ และสัมภาษณ์ผู้ได้รับประโยชน์จากการบริจาคในครั้งนี้ 

กิจกรรมที่ 4 

สรุปโครงการฯ ได้ดำเนินการจัดส่ง และกระจายของบริจาคตั้งแต่วันที่ 25 สิงหาคม 2564 และทางผู้รับบริจาค ที่ซึ่งได้รับของบริจาครายสุดท้ายในวันที่ 8 กันยายน 2564 เป็นที่เรียบร้อย

การบริจาคครั้งนี้ จะสำเร็จลุล่วงไม่ได้เลย หากขาดผู้สนับสนุน และบริหารจัดการในหลายๆ ส่วนงาน อาทิเช่น ฝ่ายการขนส่ง อาสาสมัครขนส่งของหน่วยงานการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย รวมทั้งหน่วยงานส่วนภูมิภาคทั้งหมดของ กฟผ. ในการกระจายของบริจาค ลงพื้นที่ช่วยจัดตั้งพื้นที่ สนับสนุนน้ำดื่มเพิ่มเติม โดยสละแรงกาย และเวลาดำเนินงาน เพื่อขนส่งของบริจาคในทุก ๆ วัน เพื่อให้ของบริจาค ขนส่งถึงมือผู้ขอรับบริจาค ได้อย่างรวดเร็วที่สุด ครบถ้วน และสมบูรณ์

ความประทับใจที่ได้รับสิ่งของบริจาค และการนำไปใช้ประโยชน์

คุณนุศรา จั่นวงศ์แก้ว จาก อบต.บางจัก จังหวัดอ่างทอง
รู้สึกประทับใจมาก และขอบคุณมากค่ะ ตั้งแต่การนำของมาส่งมอบ เจ้าหน้าที่มีอัธยาศัยดี และของที่นำมามอบให้ก็มีคุณภาพ ส่วนหนึ่งเราได้นำไปมอบให้กับศูนย์พักคอยในท้องถิ่นที่มีความจำเป็นต้องใช้ เนื่องจากเราเป็นหน่วยงานเล็ก ๆ เพื่อให้ได้ประโยชน์ในทุกกลุ่ม จึงได้นำสิ่งของบางส่วนส่งไปยังศูนย์พักคอยรวมระดับอำเภอค่ะ ซึ่งในปัจจุบัน ยังคงพบผู้ติดเชื้อรายวัน วันที่ 14 กันยายน 2564 จำนวน 1 ราย

คุณพรจิรา สมสีนวน จาก เทศบาลตำบลเกาะกา จังหวัดฉะเชิงเทรา
รู้สึกดีมากค่ะ เป็นประโยชน์กับประชาชนมากค่ะ ต้องขอบคุณทางมูลนิธิเขื่อนยันฮีมาก ๆ ค่ะ ทางเราได้นำสิ่งของไปใช้กับผู้ป่วยที่เข้ามารับการรักษาที่ศูนย์พักคอย อบต.บางด้วน ค่ะ ซึ่งช่วยให้สถานการณ์ดีขึ้นตามลำดับ ซึ่งในปัจจุบัน วันที่ 14 กันยายน 2564 ยังคงมีผู้ป่วยรายใหม่ในพื้นที่เข้ามาเรื่อย ๆ ค่ะ

ผลกระทบที่เกิดขึ้น

ภาพกิจกรรม

พื้นที่ โรงพยาบาลสาธารณสุขประจำตำบลโพธิ์วงศ์ จังหวัดศรีสะเกษ

พื้นที่  โรงพยาบาลสนามสมุย จังหวัดสุราษฎร์ธานี

พื้นที่  ศูนย์พักคอยเทศบาลดำบลภูเวียง จังหวัดขอนแก่น

พื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลใจดี จังหวัดศรีสะเกษ

แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าจัดหา และผลิตเตียงสนามกระดาษลูกฟูก 1,000 เตียง 750,000.00
2 ค่าจัดหา และผลิตที่นอน และหมอน 1,000 ชุด 300,000.00
3 ค่าจัดหา และผลิตผ้าห่มสนาม 1,000 ผืน 158,000.00
4 ค่าจัดหา และผลิตชุดเปิดสนาม (ของใช้ส่วนบุคคล) 1,000 ชุด 100,000.00
5 ค่าขนส่ง (โดยภาคีเครือข่าย กฟผ.) 0 0.00
6 ค่าประกอบเตียงสนาม (โดยอาสาสมัคร และจิตอาสา) 0 0.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
1,308,000.00
*ระดมทุนผ่านเทใจตลอดโครงการเป็นเงิน 1,038,624 บาท