คูณ 3 ซูเปอร์กู๊ด น้องอยู่ท้อง พี่เกษตรกรอยู่ได้

Food4Good x Taejai.com ชวนคุณมาแท็กทีมการช่วยเหลือแบบได้ประโยชน์คูณ 3 นั่นคือ 1.)ช่วยสนับสนุนค่าอาหารเด็กในโรงเรียนห่างไกลกว่า 2,000 คนใน 20 โรงเรียน 6 จังหวัด ให้อิ่มท้องในแบบโภชนาการที่ดี 2.) ช่วยเสริมศักยภาพบุคลากรในโรงเรียนด้านการจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนตามมาตรฐานอาหารกลางวันโรงเรียน 3.) ช่วยสนับสนุนสินค้าจากกลุ่มเกษตรกร เนื่องจากพิษโควิดที่ทำให้ขายของได้ยากและสินค้าเกษตรราคาตกต่ำ
ระยะเวลาโครงการ 1ปี พื้นที่ดำเนินโครงการ ไทย
ยอดบริจาคขณะนี้
846,995 บาทเป้าหมาย
1,000,000 บาท
จากวิเคราะห์ตลาดโลกและตลาดในประเทศหลังจากการเริ่มระบาดของโรคโควิด-19 ของมูลนิธิชีววิถี (BioThai) พบว่า : สินค้าเกษตรกรรมที่เป็นส่วนหนึ่งของสายพานอุตสาหกรรมนั้นได้รับผลกระทบอย่างหนัก ราคาสินค้าทางการเกษตรปรับลดลง ส่งผลให้เกษตรกรที่เป็นประชากรส่วนใหญ่ของประเทศมีรายได้ที่ลดน้อยลง ประกอบกับแรงงานในภาคธุรกิจและบริการจำนวนมากตกงานจนต้องกลับไปอาศัยอยู่บ้านที่ต่างจังหวัด ทำให้เราปฏิเสธไม่ได้ว่าคนอีกกลุ่มหนึ่งในประเทศไทยที่กำลังได้รับผลกระทบจากสถานการณ์นี้ในตอนนี้ด้วยเช่นกันก็คือ เด็กๆในครอบครัวที่มีฐานะยากจน
โครงการฯ ต้องการช่วยประคับประคองพี่น้องในสังคมไทย เพื่อสนับสนุนสินค้ากลุ่มเกษตรกรรายย่อยให้มีรายได้และ สามารถลงทุนหมุนเวียนผลิตสินค้าการเกษตรและผลิตภัณฑ์คุณภาพต่อไป เพื่อให้กลุ่มเด็กในพื้นที่ห่างไกลได้มีโอกาสเข้าถึงอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนหลากหลาย มีปริมาณเพียงพอต่อการพัฒนาทั้งทางร่างกายและสมอง และเพื่อเสริมศักยภาพให้บุคลากรในโรงเรียนสามารถจัดการอาหารและโภชนาการได้ตามมาตรฐานอาหารกลางวันโรงเรียน โดย "คูณ 3 ซูเปอร์กู้ด น้องอยู่ท้อง พี่เกษตรกรอยู่ได้" มีกลุ่มเป้าหมายดังนี้
1.เด็กที่ได้รับการช่วยเหลือเรื่องโภชนาการจาก Food4Good จำนวน 2,313 คนใน 20 โรงเรียน ครอบคลุมพื้นที่ 6 จังหวัด แม่ฮ่องสอน ตาก ลำปาง เชียงใหม่ กาฬสินธุ์ และ สกลนคร ได้มีโอกาสเข้าถึงอาหารที่มีสารอาหารครบถ้วนหลากหลาย มีปริมาณเพียงพอต่อการพัฒนาทั้งทางร่างกายและสมอง ให้พวกเขามีอนาคตที่สดใส2.บุคลากรในโรงเรียนสามารถจัดการอาหารและโภชนาการในโรงเรียนได้อย่างถูกต้องตรงตามมาตรฐาน ตามบริบทพื้นที่ และมีคู่มือเพื่อใช้ในการส่งต่อให้กับบุคลากรที่เข้ามารับผิดชอบในรุ่นต่อๆไป
3. สนับสนุนสินค้าจากกลุ่มเกษตรกร ให้มีรายได้และสามารถลงทุนหมุนเวียนผลิตสินค้าการเกษตรและผลิตภัณฑ์คุณภาพต่อไป
แนวทางการคัดเลือกโรงเรียน
จำนวนเงินที่สนับสนุนขึ้นอยู่กับจำนวนเด็กนักเรียน และปัจจัยอื่นๆตามบริบทพื้นที่ เช่น
- โรงเรียนที่มีเด็กทุพโภชนาการมากกว่า 10 %
- โรงเรียนประถมขยายโอกาสที่เด็กนักเรียนชั้นมัธยมต้นจะไม่ได้รับการสนับสนุนค่าอาหารรายหัวจากรัฐบาล
- โรงเรียนที่มีเด็กพักนอน
- โรงเรียนบนดอยสูงและห่างไกล ทำให้การเดินทางเพื่อจัดซื้อวัตถุดิบลำบาก
- โรงเรียนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้และมีปัญหาเรื่องการจัดเก็บวัตถุดิบสด
- โรงเรียนที่มีปัญหาเรื่องน้ำดื่มเนื่องมาจากน้ำประปาภูเขามีตะกอน
- และอื่นๆ
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
- ผู้สนับสนุนบริจาคเงินผ่านช่องทางเทใจ
- Food4Good นำเงินบริจาคที่ได้รับไปช่วยเหลือเรื่องโภชนาการเด็ก พัฒนาบุคลากรในโรงเรียน และสนับสนุนสินค้าจากกลุ่มเกษตรกร
- Food4Good ติดตามผลลัพท์การดำเนินงานและรายงานให้ผู้บริจาคทราบ ผ่านช่องทางเทใจ
ประโยชน์ของโครงการ
- เด็กจำนวน 2,313 คน เด็กได้รับประทานอาหารหลากหลาย สารอาหารครบ ปริมาณเพียงพอ และมีภาวะโภชนาการที่ดีขึ้น ส่งผลต่อการพัฒนาทั้งทางร่างกายและสมอง
- บุคลากรใน 20 โรงเรียน สามารถจัดการเรื่องอาหารและโภชนาการในโรงเรียนได้อย่างถูกต้องตามมาตรฐานตามบริบทพื้นที่ และมีคู่มือเพื่อใช้ในการส่งต่อให้กับบุคลากรที่เข้ามารับผิดชอบในรุ่นต่อไป
- สนับสนุนสินค้าจากกลุ่มเกษตรกร ให้มีรายได้และสามารถลงทุนหมุนเวียนผลิตสินค้าการเกษตรและผลิตภัณฑ์คุณภาพต่อไป
เจ้าของโครงการ
แผนการใช้เงิน
รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
1.สนับสนุนค่าอาหาร น้ำดื่ม และพัฒนาระบบการจัดการอาหารและโภชนาการเด็กในโรงเรียนตลอด 1 ปีการศึกษา ( 10 เดือน)
| 14 โรงเรียน | 1,900,000 |
2.สนับสนุนผลผลิตจากกลุ่มเกษตรกรที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-19 เพื่อนำไปเป็นอาหารให้เด็กและพัฒนาการเกษตรในโรงเรียนเครือข่าย อาทิ ข้าวสาร เมล็ดพันธ์ุผัก ก้อนเชื้อเห็ด แม่พันธ์ุไก่ | 6 โรงเรียน | 240,000 |
รวม | 2,140,000 |
***ค่าใช้จ่ายร่วมค่าดำเนินงานเทใจดอทคอม 10% แล้ว โดยเป้าหมายระดมทุนที่ 1,000,000 บาท***
(ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway ค่าคัดกรองโครงการ ตรวจสอบ ติดตาม วัดผล และรายงานความคืบหน้า)
หมายเหตุ*: จำนวนเงินที่สนับสนุนขึ้นอยู่กับจำนวนเด็กนักเรียน และปัจจัยอื่นๆตามบริบทพื้นที่ เช่น
- โรงเรียนที่มีเด็กทุพโภชนาการมากกว่า 10 %
- โรงเรียนประถมขยายโอกาสที่เด็กนักเรียนชั้นมัธยมต้นจะไม่ได้รับการสนับสนุนค่าอาหารรายหัวจากรัฐบาล
- โรงเรียนที่มีเด็กพักนอน
- โรงเรียนบนดอยสูงและห่างไกล ทำให้การเดินทางเพื่อจัดซื้อวัตถุดิบลำบาก
- โรงเรียนที่ไม่มีไฟฟ้าใช้และมีปัญหาเรื่องการจัดเก็บวัตถุดิบสด
- โรงเรียนที่มีปัญหาเรื่องน้ำดื่มเนื่องมาจากน้ำประปาภูเขามีตะกอน
- และอื่นๆ