cover_1
เทใจแนะนำ

หัวขวานลดไฟ ไร้ฝุ่น PM2.5

ดร.เจน ชาญณรงค์ดร.เจน ชาญณรงค์
เด็กและเยาวชน
สิ่งแวดล้อม/ธรรมชาติ

เงินบริจาคของคุณจะนำไปจัดพิมพ์นิทานชุดหัวขวานลดไฟ ไร้ฝุ่น PM2.5ให้กับกลุ่มเด็กและเยาวชน1กลุ่ม

ระยะเวลาระดมทุน

19 เม.ย. 2567 - 28 ก.พ. 2568

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ทั่วประเทศ

เป้าหมาย SDGs

GOOD HEALTH AND WELL-BEINGQUALITY EDUCATIONPARTNERSHIPS FOR THE GOALS

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

กลุ่มเด็กและเยาวชน
1กลุ่ม

ประเทศไทยประสบปัญหาไฟป่าและมลพิษ PM2.5 ในระดับสูงในช่วงไม่กี่ปีที่ผ่านมา ไฟป่ามนุษย์สร้างขึ้นนําไปสู่หมอกควันและมลพิษทางอากาศภายในประเทศ ในช่วงที่เกิดไฟป่าระดับของ PM2.5 ในอากาศจะเพิ่มสูงขึ้นมากจนก่อให้เกิดความเสี่ยงต่อสุขภาพอย่างร้ายแรงกับประชาชนทุกคน โดยเฉพาะอย่างยิ่งกับกลุ่มเปราะบาง เช่น เด็ก ผู้สูงอายุ และบุคคลที่มีปัญหาสุขภาพอยู่ก่อนแล้ว การแก้ไขปัญหาไฟป่าและมลพิษ PM2.5 จากสาเหตุที่แท้จริงอย่างยั่งยืนนั้นควรมีการเสริมสร้างความตระหนักรู้ของประชาชนเกี่ยวกับความสําคัญของการลดมลพิษทางอากาศ หนังสือนิทานภาพชุดหัวขวานลดไฟ ไร้ฝุ่น PM2.5 ประกอบด้วย 3 เรื่อง ได้แก่ ไฟป่าน่ากลัวจัง ไฟนาอย่าก่อนะ และฝุ่นเมืองเรื่องใหญ่ เพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องกับเด็กและเยาวชน รวมถึงประชาสัมพันธ์ให้ประชาชนเข้าใจถึงปัญหาและนำไปสู่ทางแก้ไข

ปัญหาสังคม

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

ประเทศไทยประสบปัญหาฝุ่น PM2.5 เป็นประจำทุกปี โดยมีต้นเหตุที่สำคัญคือการเผาในที่โล่ง ซึ่งประกอบไปด้วย ไฟป่าและการเผาในภาคเกษตรทั้งจากภายในประเทศไทยและประเทศเพื่อนบ้าน

สำหรับปัญหาฝุ่นในกรุงเทพมหานครนั้นมีลักษณะเฉพาะตัวจากการจราจรและอุตสาหกรรมเป็นหลักรวมกับการเผาในที่โล่งตามฤดูกาล

การแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 นั้นเป็นประเด็นที่หลายฝ่ายโดยเฉพาะภาคประชาสังคมที่ติดตามวาระแห่งชาติการแก้ปัญหามลพิษด้านฝุ่นละอองให้ความสนใจและตั้งข้อสังเกตว่าภาครัฐยังมีข้อจำกัดด้านการบริหารจัดการทั้งการเผาในที่โล่งและการควบคุมมลพิษจากการจราจร จากการติดตามการเผาในที่โล่งนั้นโดยวิเคราะห์ข้อมูลดาวเทียม FIRECCI51 ของ European Space Agency ประกอบกับข้อมูลการใช้ประโยชน์ที่ดินของกรมพัฒนาที่ดินปี 2560-2562 ทำให้ทราบข้อมูลเบื้องต้นว่าในรอบ 10 ปี ระหว่างปี พ.ศ. 2553-2562 มีพื้นที่เผาไหม้ซ้ำซากเฉลี่ยรวม 9.7 ล้านไร่ จำแนกเป็นพื้นที่ป่า ร้อยละ 65 นาข้าวร้อยละ 22 ไร่ข้าวโพดร้อยละ 6 และ เกษตรกรรมอื่นๆ ร้อยละ 3 ส่วนไร่อ้อยนั้นมีสัดส่วนเพียงร้อยละ 2 ทำให้สรุปได้ว่าไฟป่านั้นเป็นแหล่งกำเนิดฝุ่น PM2.5 อันดับหนึ่ง รองลงมาคือการเผาภาคเกษตรกรรม

ในกรุงเทพมหานครและปริมณฑลนั้น สาเหตุหลักมาจากการจราจร ได้แก่ ไอเสียที่มาจากเครื่องยนต์ที่เผาไหม้ไม่สมบูรณ์ โดยเฉพาะเครื่องยนต์ดีเซลที่ใช้กับยานพาหนะโดยเฉพาะอย่างยิ่ง รถบรรทุก รถประจำทางและ รถปิคอัพ โดยมีการการใช้เชื้อเพลิงดีเซลร้อยละ 61 ในภาคการขนส่ง รองลงมาได้แก่ยานพาหนะกลุ่มเบนซิน สาเหตุหลักอันดับต่อมาได้แก่มลพิษทางอากาศจากภาคอุตสาหกรรม สำหรับการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 นั้น การบังคับใช้กฎหมายที่เกี่ยวข้องในเรื่องต่างๆที่เกี่ยวข้องเพียงอย่างเดียวไม่สามารถแก้ไขปัญหาได้อย่างลุล่วง เพราะฝุ่นเกิดจากการขาดความรู้เท่าทัน การละเลยไม่ใส่ใจ แม้กระทั่งการจงใจกระทำผิดกฎหมายเพื่อประโยชน์ของตัวเองโดยไม่สนใจผลกระทบต่อสังคมและสิ่งแวดล้อม นอกจากนี้การจับกุมยังพบอุปสรรคอีกมากมายซึ่งไม่สามารถทำได้โดยง่าย

ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องสร้างความรู้และความตระหนักเกี่ยวกับปัญหาฝุ่น PM2.5 ให้เกิดเป็นวัฒนธรรมแก่คนรุ่นใหม่ เพื่อให้มีสำนึกและหลีกเลี่ยง รวมทั้งป้องกันกิจกรรมที่ก่อกำเนิดฝุ่นอันจะส่งผลกระทบต่อสิ่งแวดล้อม และสังคม โดยเฉพาะอย่างยิ่งการปลูกฝังตั้งแต่ระดับปฐมวัย เพราะการปลูกฝังนี้จะถูกบันทึกไว้อย่างถาวรในใจ และเมื่อเยาวชนเหล่านี้เติบโตขึ้นก็จะกลายเป็นวัฒนธรรมในการลดการสร้างฝุ่นและผลกระทบต่อสังคมตลอดไป

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. จัดทำต้นฉบับของหนังสือนิทานภาพชุดหัวขวานลดไฟ ไร้ฝุ่น PM2.5 ประกอบด้วย 3 เรื่อง ได้แก่ ไฟป่าน่ากลัวจัง ไฟนาอย่าก่อนะ และฝุ่นเมืองเรื่องใหญ่ เพื่อเป็นการส่งเสริมความรู้ความเข้าใจที่ถูกต้องสำหรับเยาวชน และประชาสัมพันธ์ให้กับประชาชนทั่วไป ได้ช่วยกันปลูกจิตสำนึกถึงความสำคัญของการอนุรักษ์ธรรมชาติ สิ่งแวดล้อม สัตว์ป่าในการลดมลภาวะ ได้รับการจัดทำเป็นที่เรียบร้อยแล้ว
  2. ปัจจุบันยังขาดงบประมาณเพื่อการจัดพิมพ์เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับเด็กปฐมวัยตามโรงเรียนอนุบาล สถานรับเลี้ยงเด็กเอกชน โรงเรียนประถม ห้องสมุดประชาชน และอื่นๆ จึงต้องจัดการระดมทุน

ผู้รับผิดชอบโครงการ

  1. ผู้ช่วยศาสตราจารย์ สัตวแพทย์หญิง ดร.วรพร สุขุมาวาสี (หัวหน้าโครงการ)
  2. ดร.เจน ชาญณรงค์ (ประธานชมรมฯ)
  3. ดร.กิตติพร พันธุ์วิจิตรศิริ (เลขานุการชมรมฯ)
  4. คุณเมษนี สถาวรินทุ (ฝ่ายประชาสัมพันธ์)

วิธีการแก้ปัญหา

  1. ระดมทุนจัดพิมพ์นิทานเป็นชุดๆ ละ 3 เรื่อง เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับเด็กปฐมวัยตามโรงเรียนต่างๆ เพื่อให้เด็กมีความเข้าใจถึงโทษและภัยอันตรายของการเผามากขึ้น และช่วยปลูกฝังแนวคิดในการอนุรักษ์ทรัพยากรธรรมชาติ

  2. ครอบครัวของเด็กๆ ได้รับความรู้จากการอ่านนิทานให้ฟัง หรือเรียนรู้จากเด็กนักเรียนทางอ้อม อาจช่วยกระตุ้นเตือนผู้ปกครองให้ลดการเผาป่า ช่วยดับไฟป่า เป็นส่วนหนึ่งของการช่วยแก้ไขปัญหาในอนาคต รวมถึงการใช้พาหนะขนส่งสาธารณะมากขึ้น

แผนการดำเนินงาน

  1. จัดพิมพ์เพื่อนำไปแจกจ่ายให้กับเด็กปฐมวัยตามโรงเรียนอนุบาล สถานรับเลี้ยงเด็กเอกชน โรงเรียนประถม ห้องสมุดประชาชน และอื่นๆ

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
จัดพิมพ์นิทานเป็นชุดๆ ละ 3 เรื่อง (ราคาชุดละ 108 บาท)

1. ไฟป่าน่ากลัวจัง 2. ไฟนาอย่าก่อนะ 3. ฝุ่นเมืองเรื่องใหญ่

7,000ชุด756,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด756,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)75,600.00
ยอดระดมทุน
831,600.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ดร.เจน ชาญณรงค์

ดร.เจน ชาญณรงค์

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon