project สิ่งแวดล้อม

ส่งน้ำใจ ดับไฟป่า และช่วยเหลือสัตว์ป่าในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของเมืองไทย

ร่วมสนับสนุนอุปกรณ์ช่วยดับไฟ และหน้ากากกันควันให้เจ้าหน้าที่อย่างเร่งด่วน ช่วยเพื่อความปลอดภัยของเจ้าหน้าทีพิทักษ์ป่า ลดความเสียหายต่อถิ่นอาศัยของสัตว์ป่าและเพื่อลดมลพิษหมอกควัน

พื้นที่ดำเนินโครงการ ไทย

ยอดบริจาคขณะนี้

1,967,819 บาท

เป้าหมาย

1,906,740 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 103%
จำนวนผู้บริจาค 2,042

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

ส่งมอบอุปกรณ์ให้กับหน่วยงานในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า จำนวน 24 แห่ง

2 มีนาคม 2023

หลังจากโครงการระดมทุนได้เป็นเงินจำนวน 214,469 บาท ได้ดำเนินการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ 193,022 บาท ดังนี้

  1. สนับสนุนการดูแลลูกเลียงผาหนีไฟป่า (ขุนราม) ได้แก่ นมแพะ ขวดนม อุปกรณ์ วัสดุทำคอก สปริงเกอร์ ฯลฯ
  2. เครื่องเป่าลมใบไม้ สำหรับทำแนวกันไฟ จำนวน 11 เครื่อง
  3. ถังน้ำแบบลูกเต๋ามีโครงเหล็ก IBC ขนาด 1,000 ลิตร มือสอง พาเลจเหล็ก 10 ใบ
  4. ไฟฉายคาดหัว จำนวน 90 อัน
  5. เป้ใส่น้ำสะพายหลัง จำนวน 93 ใบ
  6. สายยาง 1 นิ้ว จำนวน 1 มัวน
  7. รองเท้าสตั๊นดอย 60 คู่
  8. ไฟโซลาเซลขนาดเล็ก 2 ชุด
  9. โดรนพร้อมแบตเตอรีสำรอง 1 ชุด
  10. ค่าน้ำมันเครื่องเป่าลม เสบียง ยา
  11. ค่าจัดส่งพัสดุ 9 แห่ง

ค่าธรรมเนียมในการให้บริการเทใจดอทคอม 10% เป็นเงิน 21,447 บาท รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 214,469 บาท

โดยได้ส่งมอบให้กับ หน่วยงานในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า จำนวน 24 แห่ง ได้แก่  

  1. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเวียงหล้า จ.แม่ฮ่องสอน
  2. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสันปันแดน จ.แม่ฮ่องสอน
  3. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน จ.แม่ฮ่องสอน
  4. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเชียงแสน จ.เชียงราย
  5. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ จ.พะเยา
  6. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาช้าง จ.พะเยา
  7. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าขุนน้ำยม จ.พะเยา
  8. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาช้าง จ.พะเยา
  9. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าช้างผาด่าน จ.แพร่
  10. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยหลวง จ.แพร่
  11. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดอยพระบาท จ.ลำปาง
  12. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าถ้ำเจ้าราม จ.สุโขทัย
  13. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จ.ตาก
  14. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น จ.ตาก
  15. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าห้วยผึ้ง วังยาว จ.พิษณุโลก
  16. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตะเบาะ – ห้วยใหญ่ จ.เพชรบูรณ์
  17. ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์
  18. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์
  19. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทับเสลา จ.อุทัยธานี
  20. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าป่าเขาภูหลวง จ.นครราชสีมา
  21. ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าห้วยกุ่ม จ.ชัยภูมิ
  22. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าแก่งคอย จ.สระบุรี
  23. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะระเกาะพระทอง จ.พังงา
  24. หน่วยเฉพาะกิจปฏิบัติการพิเศษผู้พิทักษ์อุทยานแห่งชาติและสัตว์ป่า
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
  1. พื้นที่ป่าอนุรักษ์
  2. เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า
  1. พื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่เกิดไฟป่า
  2. เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่าที่ปฏิบัติภารกิจดับไฟป่าและช่วยเหลือสัตว์ป่า
หน่วยงานที่ดูแลพื้นที่ป่าอนุรักษ์
24 แห่ง
  1. สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่มีเครื่องมือในการดับไฟป่า และช่วยเหลือสัตว์ป่าจากผลกระทบของไฟป่าได้สะดวก รวดเร็วขึ้น
  2. ทรัพยากรป่าและสัตว์ป่าในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่าได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  3. สร้างความร่วมมือของสังคมไทยในการมีส่วนร่วมกันป้องกันไฟป่า ดูแลสัตว์ป่า และรักษาพื้นที่สีเขียวของประเทศไทย เตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ภัยแล้ง จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกสนับสนุนการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทรายและความแห้งแล้งซึ่งเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับโลก
รูปภาพกิจกรรม

  

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

เรามีพื้นที่ป่าในประเทศไทย 73 ล้านไร่ แต่มีหน่วยไฟป่า 163 หน่วย ศูนย์ปฏิบัติการไฟป่า 15 แห่ง และสถานีควบคุมไฟป่า 148 แห่ง

ในสภาวะที่สภาพภูมิอากาศโลกเปลี่ยนแปลง เกิดความแห้งแล้ง อากาศร้อน ทำให้เกิดไฟป่าได้ง่าย เป็นอันตรายต่อชีวิตสัตว์ป่า คน และทรัพย์สิน การดับไฟมีความยากลำบาก ในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า
เมื่อไฟป่าลุกลามเข้าพื้นที่ก็ต้องรีบช่วยดับ และยังต้องคอยดูแลช่วยเหลือสัตว์ป่าจากไฟป่า การสนับสนุนอุปกรณ์ช่วยดับไฟ และหน้ากากกันควันอย่างเร่งด่วน ช่วยทำงานและความปลอดภัยของเจ้าหน้าทีพิทักษ์ป่า ลดความเสียหายต่อถิ่นอาศัยของสัตว์ป่าและเพื่อลดมลพิษหมอกควัน และช่วยเหลือสัตว์ป่าให้ปลอดภัยจากเปลวเพลิงได้



ปัจจุบันประเทศไทย มีพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า รวมเนื้อที่ 28,175,617.975 ไร่ ได้แก่ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 60 แห่ง เขตห้ามล่าสัตว์ป่า 96 แห่ง คุ้มครองดูแลสัตว์ป่าไม่น้อยกว่า 1,304 ชนิด เป็นสัตว์ป่า สัตว์ป่าสงวน 15 ชนิด สัตว์ป่าคุ้มครอง (สัตว์มีกระดูกสันหลังและแมลง) 1,289 ชนิด มีจำนวนเจ้าหน้าที่ภาคสนามประมาณ 8,000 คน ทำหน้าที่ดูแลพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่าป่าอย่างน้อยคนละไม่น้อยกว่า 3,500 ไร่ (หรือเท่ากับพื้นที่สวนลมพินี 10 สวน) มีภารกิจในการป้องกันรักษาพื้นที่ป่า ลาดตระเวน การจัดการพื้นที่ การส่งเสริมการอนุรักษ์สัตว์ป่าโดยการมีส่วนร่วมของประชาชน ให้บริการนักท่องเที่ยว งานช่วยเหลือสัตว์ป่า รวมทั้งการควบคุมไฟป่า

ไฟป่าเป็นสาเหตุหนึ่งของการลดลงของพื้นที่ป่าอย่างรวดเร็ว และเป็นสาเหตุที่เป็นอันตรายต่อชีวิตของสัตว์ป่าด้วยเช่นกัน ปัจจุบันระดับการเกิดไฟป่าในประเทศไทยมีความรุนแรงจนกลายเป้นปัจจัยที่รบกวนสมดุลของระบบนิเวศอย่างรุนแรง ส่งผลกระทบต่อสังคมพืช ดิน น้ำ และสิ่งมีชีวิตในป่า ตลอดจนชีวิตและทรัพย์สินของประชาชน อีกทั้งยังก่อให้เกิดมลพิษหมอกควัน ที่ส่งผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชน อุตสาหกรรมการท่องเที่ยวของประเทศ และสภาพภูมิอากาศของโลก โดยเฉพาะในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงเมษายนของทุกปี สาเหตุของปัญหาส่วนใหญ่เกิดจากการเก็บหาของป่า การล่าสัตว์ป่า และการเผาไร่ สถานการณ์จุดความร้อน (Hotspots) จากดาวเทียม ในปี 2561 พบจุดความร้อนถึง 2,537 
จุด โดยเฉพาะในภาคเหนือ และมีแนวโน้มว่าจะเพิ่มขึ้นเนื่องจากสภาวะภัยแล้ง

พื้นที่เร่งด่วน ไฟป่าเข้าพื้นที่แล้ว

  1. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดอยพระบาท จังหวัดลำปาง
  2. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบ้านโฮ่ง จังหวัดลำพูน
  3. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบุญฑริก-ยอดมน จังหวัดอุบลราชธานี
  4. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก จังหวัดศรีสะเกษ
  5. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ จังหวัดสุรินทร์
  6. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา จังหวัดศรีสะเกษ
  7. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยหลวง จังหวัดแพร่
  8. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูผาแดง จังหวัดเพชรบูรณ์
  9. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภาชี จังหวัดราชบุรี
  10. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าป่าเขาภูหลวง จังหวัดนครราชสีมา

พื้นที่ป่าพรุ ที่ต้องเตรียมการเนื่องจากเมื่อเข้าจะไหม้รุนแรงมาก

  1. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบ่อล้อ จังหวัดนครศรีธรรมราช
  2. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลน้อย จังหวัดพัทลุง
  3. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเฉลิมพระเกียรติฯ จังหวัดนราธิวาส

พื้นที่เสี่ยง

  1. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ จังหวัดพะเยา
  2. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม จังหวัดอุบลราชธานี
  3. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง จังหวัดลำปาง
  4. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่
  5. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย จังหวัดเชียงใหม่
  6. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาช้าง จังหวัดพะเยา
  7. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าขุนน้ำยม จังหวัดพะเยา
  8. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทับพญาลอ จังหวัดพะเยา
  9. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตี่น จังหวัดตาก
  10. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จังหวัดตาก
  11. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลำน้ำน่านฝั่งขวา จังหวัดแพร่-อุตรดิตถ์
  12. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเมี่ยงและภูทอง จังหวัดพิษณุโลก
  13. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูขัด จังหวัดพิษณุโลก
  14. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสนามเพรียง จังหวัดกำแพงเพชร
  15. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จังหวัดอุทัยธานี
  16. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตะเบาะห้วยใหญ่ จังหวัดเพชรบูรณ์
  17. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง จังหวัดเลย
  18. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูค้อ-ภูกระแต จังหวัดเลย
  19. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว    
  20. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบางพระ จังหวัดชลบุรี
  21. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ จังหวัดกาญจนบุรี
  22. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จังหวัดลพบุรี
  23. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าแก่งคอย จังหวัดสระบุรี

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. ติดตามประสานงานกับพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า เพื่อติดตามสถานการณ์ไฟป่า
  2. จัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็น เพื่อสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าทีพิทักษ์ป่าที่ทำหน้าที่ดับไฟป่า และช่วยเหลือสัตว์ป่า โดยจัดหาให้กับพื้นที่ที่ไฟป่าลุกลามเข้าพื้นที่ก่อนเป็นอันดับแรก        
  3. รายงานสถานการณ์และผลการดับไฟป่า ความเสียหาย และการช่วยเหลือสัตว์ป่าในพื้นที่

ประโยชน์ของโครงการ

  1. เพิ่มประสิทธิภาพการควบคุมไฟป่าในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า
  2. ช่วยเหลือสัตว์ป่าให้ปลอดภัยจากเปลวเพลิง ในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า
  3. เพื่อรักษาสมดุลสิ่งแวดล้อม ลดมลพิษหมอกควัน
  4. เพิ่มขวัญกำลังใจ และความปลอดภัยให้กับเจ้าหน้าที่

ทีมงาน

นางวัลยา ไชยภักดี นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช

เทใจดอทคอม ขออนุญาตหักค่าธรรมเนียมการให้บริการ 10%
(ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway ค่าคัดกรองโครงการ ตรวจสอบ ติดตาม วัดผล และรายงานความคืบหน้า)

7 เมษายน 2020

ความคืบหน้าของโครงการ

ขณะนี้พื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า กว่า 92 แห่งแล้วที่เกิดไฟป่า ในช่วงเวลาเพียงสองเดือนที่ผ่านมา

เนื่องจากในปีนี้มีความแห้งแล้งมาก ทำให้พื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่าเกิดไฟป่ามากขึ้นกว่าเคย โดยสาเหตุหลักๆ มาจากน้ำมือมนุษย์ ประกอบกับความแล้ง มีเชื้อเพลิงมาก ไฟเลยค่อนข้างรุนแรง ขณะนี้พื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า กว่า 92 แห่งแล้วที่เกิดไฟป่า ในช่วงเวลาเพียงสองเดือนที่ผ่านมา มีจำนวนเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า จำนวนกว่า 2,000 คน ต้องช่วยกันดับไฟป่าในพื้นที่รับผิดชอบ ซึ่งก็คือเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า อันเป็นบ้านของสัตว์ป่า เมื่อไฟป่าไหม้ลามเข้าพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าที่เคยทำหน้าที่ลาดตระเวนก็ต้องมาช่วยกันดับไฟป่า และช่วยเหลือสัตว์ป่าให้รอดจากไฟป่า ทำให้เราต้องปรับรายละเอียดสิ่งของที่จะจัดหา ตามโครงการ ส่งน้ำใจ ดับไฟป่า และช่วยเหลือสัตว์ป่าในพื้นที่ป่าอนุรักษ์ของเมืองไทย ให้เป็นไปตามความจำเป็นและความต้องการของเจ้าหน้าที่ที่จำนวนมากที่ปฏิบัติงานจริงอยู่หน้าไฟ 

จึงขอรายงานความคืบหน้าในการจัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็นให้กับเจ้าหน้าที่ และขออนุญาตปรับการใช้จ่ายเงินในส่วนหนึ่งไปใช้ในภารกิจ ช่วยเหลือสัตว์ป่าที่บาดเจ็บจากไฟป่า โดยเฉพาะลูกสัตว์ป่าที่ต้องกำพร้าแม่

โดยมีรายละเอียดดังนี้

อุปกรณ์ที่ได้จัดหาให้กับเจ้าหน้าที่แล้วมี ดังนี้

  1. เครื่องเป่าลมใบไม้ สำหรับทำแนวกันไฟ จำนวน 110 เครื่อง ให้กับ 78 หน่วยงาน
  2. ไฟฉายคาดหัว จำนวน 303 อัน ให้กับ 24 หน่วยงาน
  3. เป้ใส่น้ำสะพายหลัง จำนวน 554 ใบ ให้กับ 47 หน่วยงาน
  4. เครื่องพ่นยาสามสูบ พร้อมอุปกรณ์และสายยาง 200 เมตร จำนวน 4 ชุด ให้กับ 3 หน่วยงาน
  5. คราดอ่อน จำนวน 174 อัน ให้กับ 7 หน่วยงาน
  6. สายยางดับเพลิง 100 เมตร ให้กับ 1 หน่วยงาน
  7. สนับสนุนช่วยเหลือลูกแมวดาวกำพร้า 5 ตัว รอดจากไฟป่าที่เชียงใหม่ เป็นนม KMR กรงและอุปกรณ์ 22,130 บาท
  8. สนับสนุนช่วยเหลือลูกหมีบ้านคา รอดจากไฟป่าที่ราชบุรี และลูกหมีกันเอง รอดจากไฟป่าที่ทุ่งแสลงหลวง จ.พิษณุโลก เป็นนมวัวรสจืดและอุปกรณ์ 4,194 บาท
  9. สนับสนุนช่วยเหลือ ลูกแมวดาวกำพร้า 1 ตัว ที่บึงฉวาก เป็นนม KMR 3,750 บาท
  10. สนับสนุนช่วยเหลือลูกเก้งอัคคี รอดจากไฟป่าที่พะเยา เป็นนมแพะ 5,400 บาท
  11. สนับสนุนช่วยเหลือน้องเรนเจอร์ อีเห็นข้างลายตาบอดที่รอดตายจากไฟป่าดอยสุเทพ จ.เชียงใหม่ เป็นยา อาหาร และอุปกรณ์ต่าง ๆ ในการช่วยเหลือรักษาสัตว์ป่ารอดตายจากไฟป่าดอยสุเทพชนิดอื่น ๆ *** อยู่ระหว่างดำเนินการ***...

พื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า กว่า 92 แห่งที่เกิดไฟป่า

  1. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดอยสุเทพ เชียงใหม่
  2. เขตห้ามล่าสัตว์ป่านันทบุรี เชียงใหม่
  3. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย เชียงใหม่
  4. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเชียงดาว เชียงใหม่
  5. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสะเมิง เชียงใหม่
  6. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่เลา-แม่แสะ เชียงใหม่
  7. ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเชิงดอยสุเทพ เชียงใหม่
  8. สถานีเพาะเลี้ยงสัตว์ป่าห้วยยางปาน เชียงใหม่
  9. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าป่าบ้านโฮ่ง ลำพูน
  10. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ยวมฝั่งขวา แม่ฮ่องสอน
  11. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสันปันแดน แม่ฮ่องสอน
  12. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเวียงหล้า แม่ฮ่องสอน
  13. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน แม่ฮ่องสอน
  14. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำปาย แม่ฮ่องสอน
  15. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเวียงเทิง เชียงราย
  16. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าแม่จัน เชียงราย
  17. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดอนศิลา เชียงราย
  18. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดอยอินทรีย์ เชียงราย
  19. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเวียงเชียงรุ้ง เชียงราย
  20. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเชียงแสน เชียงราย
  21. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าแม่โท เชียงราย
  22. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ พะเยา
  23. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองเล็งทราย พะเยา
  24. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทับพญาลอ พะเยา
  25. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าขุนน้ำยม พะเยา
  26. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาช้าง พะเยา
  27. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดอยพระบาท ลำปาง
  28. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง ลำปาง
  29. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น ตาก
  30. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง ตาก
  31. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร (ด้านตะวันออก) ตาก
  32. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าช้างผาด่าน แพร่
  33. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลำน้ำน่านฝั่งขวา แพร่
  34. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยหลวง แพร่
  35. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าภูฟ้า น่าน
  36. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าถ้ำเจ้าราม สุโขทัย
  37. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสนามเพรียง กำแพงเพชร
  38. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำประทุน อุทัยธานี
  39. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง อุทัยธานี
  40. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าห้วยผึ้ง-วังยาว อุตรดิตถ์
  41. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าสองแคว อุตรดิตถ์
  42. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าน้ำปาด อุตรดิตถ์
  43. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่จริม อุตรดิตถ์
  44. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูผาแดง เพชรบูรณ์
  45. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาค้อ เพชรบูรณ์
  46. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาน้อย-เขาประดู่ พิษณุโลก
  47. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาพนมทอง พิษณุโลก
  48. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเมี่ยงและภูทอง พิษณุโลก
  49. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูขัด พิษณุโลก
  50. ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าพิษณุโลก พิษณุโลก
  51. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าผาผึ้ง ชัยภูมิ
  52. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าป่าเขาภูหลวง นครราชสีมา
  53. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ บุรีรัมย์
  54. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าลำนางรอง บุรีรัมย์
  55. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูหลวง เลย
  56. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูค้อ-ภูกระแต เลย
  57. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาน้ำทิพย์ ร้อยเอ็ด
  58. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ สุรินทร์
  59. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา ศรีสะเกษ
  60. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก ศรีสะเกษ
  61. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม อุบลราชธานี
  62. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบุณฑริก-ยอดมน อุบลราชธานี
  63. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน มุกดาหาร
  64. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว บึงกาฬ
  65. ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าลำปาว กาฬสินธุ์
  66. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่น้ำภาชี ราชบุรี
  67. ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าราชบุรี ราชบุรี
  68. ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาน้ำพุ กาญจนบุรี
  69. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวร (ด้านตะวันตก) กาญจนบุรี
  70. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสลักพระ กาญจนบุรี
  71. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ากรมหลวงฯ ด้านทิศเหนือ (ตอนล่าง) ชุมพร
  72. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองทุ่งทอง สุราษฎร์ธานี
  73. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาท่าเพชร สุราษฎร์ธานี
  74. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบ่อล้อ นครศรีธรรมราช
  75. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาปะช้าง-แหลมขาม สงขลา
  76. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าอ่างเก็บน้ำบางพระ ชลบุรี
  77. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสอยดาว จันทบุรี
  78. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองเครือหวายเฉลิมพระเกียรติ จันทบุรี
  79. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาอ่างฤๅไน ฉะเชิงเทรา
  80. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าแก่งคอย สระบุรี
  81. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา ลพบุรี
  82. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาสมโภชน์ ลพบุรี
  83. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ ลพบุรี
  84. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาเอราวัณ ลพบุรี
  85. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาวงจันแดง ลพบุรี
  86. ศูนย์ช่วยเหลือสัตว์ป่า ที่ 1 นครนายก นครนายก
  87. อุทยานแห่งชาติเขาใหญ่ ขญ14วังรี นครนายก
  88. อุทยานแห่งชาติทับลาน ปราจีนบุรี
  89. อุทยานแห่งชาติปางสีดา จันทบุรี
  90. อุทยานแห่งชาติน้ำตกคลองแก้ว ตราด
  91. อุทยานแห่งชาติเฉลิมพระเกียรติไทยประจัน ราชบุรี
  92. อุทยานแห่งชาติแม่ปืม พะเยา

ข้อมูลเมื่อวันที่ 7 เมษายน 2563

ส่งมอบอุปกรณ์ให้กับหน่วยงานในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า จำนวน 24 แห่ง

2 มีนาคม 2023

หลังจากโครงการระดมทุนได้เป็นเงินจำนวน 214,469 บาท ได้ดำเนินการจัดหาวัสดุ อุปกรณ์ 193,022 บาท ดังนี้

  1. สนับสนุนการดูแลลูกเลียงผาหนีไฟป่า (ขุนราม) ได้แก่ นมแพะ ขวดนม อุปกรณ์ วัสดุทำคอก สปริงเกอร์ ฯลฯ
  2. เครื่องเป่าลมใบไม้ สำหรับทำแนวกันไฟ จำนวน 11 เครื่อง
  3. ถังน้ำแบบลูกเต๋ามีโครงเหล็ก IBC ขนาด 1,000 ลิตร มือสอง พาเลจเหล็ก 10 ใบ
  4. ไฟฉายคาดหัว จำนวน 90 อัน
  5. เป้ใส่น้ำสะพายหลัง จำนวน 93 ใบ
  6. สายยาง 1 นิ้ว จำนวน 1 มัวน
  7. รองเท้าสตั๊นดอย 60 คู่
  8. ไฟโซลาเซลขนาดเล็ก 2 ชุด
  9. โดรนพร้อมแบตเตอรีสำรอง 1 ชุด
  10. ค่าน้ำมันเครื่องเป่าลม เสบียง ยา
  11. ค่าจัดส่งพัสดุ 9 แห่ง

ค่าธรรมเนียมในการให้บริการเทใจดอทคอม 10% เป็นเงิน 21,447 บาท รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 214,469 บาท

โดยได้ส่งมอบให้กับ หน่วยงานในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า จำนวน 24 แห่ง ได้แก่  

  1. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเวียงหล้า จ.แม่ฮ่องสอน
  2. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสันปันแดน จ.แม่ฮ่องสอน
  3. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน จ.แม่ฮ่องสอน
  4. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเชียงแสน จ.เชียงราย
  5. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเวียงลอ จ.พะเยา
  6. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาช้าง จ.พะเยา
  7. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าขุนน้ำยม จ.พะเยา
  8. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาช้าง จ.พะเยา
  9. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าช้างผาด่าน จ.แพร่
  10. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยหลวง จ.แพร่
  11. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดอยพระบาท จ.ลำปาง
  12. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าถ้ำเจ้าราม จ.สุโขทัย
  13. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จ.ตาก
  14. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื่น จ.ตาก
  15. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าห้วยผึ้ง วังยาว จ.พิษณุโลก
  16. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าตะเบาะ – ห้วยใหญ่ จ.เพชรบูรณ์
  17. ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์
  18. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงบอระเพ็ด จ.นครสวรรค์
  19. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทับเสลา จ.อุทัยธานี
  20. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าป่าเขาภูหลวง จ.นครราชสีมา
  21. ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าห้วยกุ่ม จ.ชัยภูมิ
  22. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าแก่งคอย จ.สระบุรี
  23. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหมู่เกาะระเกาะพระทอง จ.พังงา
  24. หน่วยเฉพาะกิจปฏิบัติการพิเศษผู้พิทักษ์อุทยานแห่งชาติและสัตว์ป่า
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
  1. พื้นที่ป่าอนุรักษ์
  2. เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า
  1. พื้นที่ป่าอนุรักษ์ที่เกิดไฟป่า
  2. เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่าที่ปฏิบัติภารกิจดับไฟป่าและช่วยเหลือสัตว์ป่า
หน่วยงานที่ดูแลพื้นที่ป่าอนุรักษ์
24 แห่ง
  1. สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่มีเครื่องมือในการดับไฟป่า และช่วยเหลือสัตว์ป่าจากผลกระทบของไฟป่าได้สะดวก รวดเร็วขึ้น
  2. ทรัพยากรป่าและสัตว์ป่าในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่าได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  3. สร้างความร่วมมือของสังคมไทยในการมีส่วนร่วมกันป้องกันไฟป่า ดูแลสัตว์ป่า และรักษาพื้นที่สีเขียวของประเทศไทย เตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ภัยแล้ง จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลกสนับสนุนการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทรายและความแห้งแล้งซึ่งเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับโลก
รูปภาพกิจกรรม

  

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
 พื้นที่เร่งด่วน 10 พื้นที่ที่ไฟลุกลามเข้าแล้ว 
เครื่องเป่าลม ดับไฟป่า 32 เครื่อง5,700 X 32 =‭‭182,400‬
หน้ากากกันควันพิษ200 อัน550 X 250 = ‭110,000‬
ไม้กวาดทางมะพร้าว  200 อัน 50 X 250 = ‭10,000‬

รวม302,400‬ บาท
 สำรองสำหรับพื้นที่ไฟป่าเข้าเดือน กพ-พค 63
เครื่องเป่าลม ดับไฟป่า40 เครื่อง‭ 5,700 X 40 =‭228,000‬
หน้ากากกันควันพิษ200 อัน550 x 250 = 110,000
ไม้กวาดทางมะพร้าว  200 อัน ‭50 x 250 = 10,000

รวม‭ ‭348,000‬ บาท
พื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่าที่เป้นพื้นที่ป่าพรุ ซึ่งไฟรุนแรงทั้งบนดินและใต้ดิน
สายสายส่งน้ำ 1.5 นิ้ว ยาว 20 เมตร พร้อมข้อต่อชนิดอลูมิเนียม  120 เส้น7,500 X 120 = 900,000 
หัวฉีดลำตรงขนาด 2.5 นิ้ว ยาว 18 นิ้ว ชนิดอลูมิเนียม 4 อัน2,500 X 4 = 10,000
หน้ากากกันควันพิษ 60 อัน550 X 60 = ‭33,000‬
ลูกบอลดับเพลิง (ดับจุดวิกฤติ )50 ลูก2,800 X 50 = ‭140,000‬

รวม‭1,083,000‬ บาท

สรุปจำนวนเงินระดมทุน

รายการจำนวนเงิน (บาท)
เงินระดมทุนทั้งหมด 1,733,400
ค่าดำเนินงานเทใจดอทคอม 10%
(ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway ค่าคัดกรองโครงการ ตรวจสอบ ติดตาม วัดผล และรายงานความคืบหน้า)
173,340
รวม1,906,740 บาท

หมายเหตุ: ราคาดังกล่าว มาจากการสำรวจราคาโดยประมาณ อาจมีการเปลี่ยนแปลงได้