วีลแชร์แด่น้องนักเรียนพิการไปโรงเรียน

โรงเรียนศึกษาพิเศษชัยนาทเป็นโรงเรียนเฉพาะทางสำหรับเด็กพิการด้านร่างกาย มีเด็กพิการมาเรียนกว่า150คน ส่วนใหญ่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ค่อยดี ดังนั้นวีลแชร์ของน้องมีขนาดไม่เหมาะสม หรือพังชำรุด เปิดเทอมนักเรียนก็จะกลับมาโรงเรียนพร้อมวีลแชร์ที่มีสภาพพัง-ชำรุด มูลนิธิฯ จึงอาสาที่จะจัดหาวีลแชร์ใหม่ไปให้น้องๆ พร้อมจัดกิจกรรมซ่อมบำรุง เพื่อเป็นของขวัญวันเปิดเทอมต้อนรับน้องๆสู่ปีการศึกษาใหม่ที่สดใสไฉไลกว่าเดิม
ระยะเวลาโครงการ 15 พ.ค. 2566 ถึง 31 ก.ค. 2566 พื้นที่ดำเนินโครงการ ทั่วประเทศ
ยอดบริจาคขณะนี้
42,031 บาทเป้าหมาย
264,000 บาทปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา
เมื่อเดือนธันวาคม 2565 ที่ผ่านมา มูลนิธิฯ ได้เดินทางไปเยี่ยมเยือนและติดตามข้อมูลนักเรียนพิการทางร่างกายที่มูลนิธิฯได้ให้การสนับสนุนทุนส่งเสริมการศึกษาที่กำลังเรียนอยู่ในโรงเรียนศึกษาพิเศษชัยนาท อ.เมือง จ.ชัยนาท ซึ่งเป็นโรงเรียนเฉพาะทางสำหรับเด็กพิการทางด้านร่างกายที่ต้องใช้เก้าอี้ล้อเข็นและกายอุปกรณ์อย่างอื่น เช่น ขาเทียม ไม้ค้ำยัน หรือวอล์กเกอร์ ซึ่งมูลนิธิฯ ได้เข้าพบพูดคุยกับผู้บริหารโรงเรียน และครูที่ดูแลนักเรียนในเรื่องต่างๆ รวมถึงปัญหาใหญ่ๆของนักเรียนทั้งหมดรวม 151 คน คือ การขาดแคลนเก้าอี้ล้อเข็นที่เหมาะสม (ขนาด/คุณภาพ) รวมถึงการซ่อมแซมเมื่อชำรุด มูลนิธิฯ จึงได้ให้ครูนำนักเรียนพร้อมวีลแชร์ที่ต้องการซ่อมแซมมาให้ตรวจสอบทีละชั้นเรียน และพบว่า
มีน้องๆ ที่ต้องการวีลแชร์ใหม่ที่เหมาะสมกว่า 30 คน และที่วีลแชร์ชำรุดต้องได้รับการซ่อมบำรุงใหม่กว่า50 คัน
ดังนั้น มูลนิธิฯ จึงอาสาที่จะจัดหาวีลแชร์ใหม่ไปให้บริการน้องๆ ที่มีความจำเป็นต้องการ พร้อมจัดกิจกรรมซ่อมบำรุงวีลแชร์ให้น้องๆที่กำลังใช้วีลแชร์ที่ชำรุด โดยพี่ๆอาสาสมัครในนาม “เพื่อนมนุษย์ล้อ” เพื่อเป็นของขวัญวันเปิดเทอมใหม่ปี 2566 ให้กับน้องๆ และแบ่งเบาภาระของคุณครูด้วย
อนึ่งโรงเรียนศึกษาพิเศษชัยนาทเป็นโรงเรียนเฉพาะทางสำหรับเด็กพิการทางด้านร่างกายที่เป็นแบบพักประจำและอยู่กินฟรี มีเด็กพิการทั้งที่อาศัยในพื้นที่ภาคกลางและภาคอื่นๆ มาเรียนรวมกันที่นี่ ซึ่งส่วนใหญ่ล้วนแล้วแต่มีฐานะทางบ้านที่ไม่ค่อยดี ดังนั้นน้องๆ นักเรียนแต่ละคนจึงไม่ค่อยได้กลับบ้านน้องจากช่วงปิดเทอม เวลาที่วีลแชร์หรือกายอุปกรณ์เครื่องช่วยที่ใช้อยู่พัง หรือชำรุด ทางบ้านก็จะขาดแคลนทุนทรัพย์ในการจัดซื้อจัดหาอะไหล่ใหม่ซ่อมแซม หรือเปลี่ยนให้ ช่วงเปิดเทอมนักเรียนมักจะกลับมาโรงเรียนพร้อมวีลแชร์ที่สภาพถูกใช้งานหนักตามสภาพแวดล้อมที่อยู่อาศัยที่ทำให้พังชำรุดหนักกว่าเดิม ซึ่งครูทุกท่านก็จพยายามช่วยซ่อมบำรุงให้ลูกศิษย์อย่างเต็มที่ตามกำลังความสามารถของครู
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
1. ประชุมหารือการดำเนินโครงการกับภาคีหลัก คือโรงเรียนศึกษาพิเศษชัยนาท พร้อมแกนนำอาสาสมัครเพื่อนมนุษย์ล้อ
2. ดำเนินการสำรวจสภาพวีแลแชร์และกายอุปกรณ์ของน้องๆ นักเรียนทั้งหมด
3. มูลนิธิฯ ดำเนินการระดมทุนและจัดหาจัดวีลแชร์ใหม่สำหรับเด็กที่มีความจำเป็นต้องการวีลแชร์ใหม่
4. มูลนิธิฯ ซื้ออะไหล่ และจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับการไปให้บริการซ่อมแซม
5. มูลนิธิฯ ประชาสัมพันธ์เปิดรับอาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรม
6. มูลนิธิฯนำอาสาสมัครออกไปให้บริการซ่อมแซม ร่วมกับภาคีหลัก
7. มูลนิธิฯ ส่งมอบวีลแชร์ใหม่ให้กับน้องๆ ที่มีความจำเป็นต้องการวีลแชร์ใหม่
8. มูลนิธิฯ จัดทำสรุปผลโครงการ และรายงาน
ผู้รับผิดชอบโครงการ
มูลนิธิศูนย์มิตรภาพมนุษย์ล้อเอเซีย (ประเทศไทย)

Facebook: https://www.facebook.com/wafcat.wafcatthai
Website: www.wafcat.or.th
แผนการใช้เงิน
ลำดับ | รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|---|
1 | ค่าจัดหาจัดซื้อวีลแชร์ใหม่ (ไม่รวมค่าขนส่ง) | 30 | 165,000.00 |
2 | ค่าจัดหาจัดซื้ออะไหล่สำหรับซ่อมวีลแชร์ | 50 | 75,000.00 |