ซ่อมแซมวีลแชร์ฟรีแก่น้องผู้พิการโดยอาสาสมัคร

เป็นโครงการให้บริการซ่อมแซมวีลแชร์ฟรีแก่เด็กพิการที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และความเชี่ยวชาญในการซ่อมแซมวีลแชร์ ในจังหวัดอ่างทองและจังหวัดเลย จำนวน 60 คัน
ระยะเวลาโครงการ 12 ส.ค. 2565 ถึง 05 ธ.ค. 2565 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: อ.วิเศษชัยชาญ จ.อ่างทอง (ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดอ่างทอง), อ. เมือง จ.เลย (ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดเลย)
ยอดบริจาคขณะนี้
93,430 บาทเป้าหมาย
88,000 บาทสำเร็จแล้ว
ความคืบหน้าโครงการ
ซ่อมแซมเก้าอี้ล้อเข็นฟรีแก่ผู้พิการที่จังหวัดเลย
เมื่อวันที่ 25-26 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา มูลนิธิฯ ได้จัดกิจกรรมอาสาสมัครเพื่อซ่อมแซมเก้าอี้ล้อเข็นฟรีแก่ผู้พิการที่จังหวัดเลย โดยได้รับความร่วมมือจากศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดเลยเป็นเจ้าภาพด้านสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 34 คน ดังนี้
- อาสาสมัคร 9 คน เลขาธิการศูนย์ WAFCA ญี่ปุ่น 1 คน
- สหภาพแรงงานเด็นโซ่ประเทศไทย 6 คน
- สหภาพแรงงานสยามเด็นโซ่และสยามเคียวซัน 4 คน
- สหภาพแรงงานเด็นโซ่อิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย 1 คน
- ครูศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดหนองคาย ครูศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดหนองบัวลำภู และครูศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดอุดรธานี รวมทั้งหมด 13 คน
ซึ่งสามารถช่วยกันซ่อมเก้าอี้ล้อเข็นได้กว่า 39 คัน หลังซ่อมเสร็จแล้วครูการศึกษาพิเศษแต่ละจังหวัดได้นำส่งคืนแก่เด็กพิการ และบางคัน/ส่วน ได้นำไปจัดให้บริการกับเด็กที่มารับบริการที่ศูนย์การศึกษาพิเศษด้วย
ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์
ครูออม ครูกายภาพบำบัดประจำศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดเลย กล่าวว่า โดยส่วนตัวครูมีความสุขมากๆที่ได้เป็นแกนนำทีมคณะดำเนินงานของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดเลย ที่เป็นเจ้าภาพด้านสถานที่และอำนวยความสะดวกพร้อมหการต้อนรับทุกคนที่มาร่วมกิจกรรมกันวันนี้ และดีใจที่วีลแชร์กว่า15 คันของเด็กพิการจังหวัดเลยได้รับบริการซ่อมแซมจนเหมือนของใหม่ ภูมิใจ และขอบคุณแทนเด็กพิการทุกคนด้วยค่ะ
คุณนิกกี้ อาสาสมัครเพื่อนมนุษย์ล้อ กล่าวว่า ดีใจมากๆเลยครับ ที่ได้มาร่วมเป็นอาสาสมัครกับมูลนิธิในพื้นที่ได้สักทีหลังจากที่ต้องห่างหายไปนานเพราะสถานการณ์โควิด-19 มาครั้งนี้ก็ยังรู้สึกมีความสุขเหมือนเดิมครับ ที่ได้มีส่วนช่วยซ่อมวีลแชร์ให้น้องๆ ให้กลับไปใช้งานได้อีกครั้ง ขอบคุณผู้ที่มีส่วนในการสนับสนุนทุนในการจัดซื้อจัดหาอะไหล่ และจัดกิจกรรมครั้งนี้ด้วยนะครับ ครั้งต่อไปที่จ.มหาสารคาม ผมก็จะไม่พลาดแน่นอนครับ
น้องน้ำหวาน ผู้พิการนั่งวีลแชร์ กล่าวว่า หนูได้รับบริการซ่อมบำรุงวีลแชร์คันที่หนูนั่งด้วยค่ะ แกนโครงสร้างมันหลวม พี่ๆ เลยโมดิฟายให้แข็งแรงมากขึ้นค่ะ และยังปรับเบรกมือให้พอดี แข็งแรง ใช้งานคล่องมากขึ้น สะดวกขึ้นมากๆค่ะ ขอบคุณพี่ๆ ทุกคน รวมถึงผู้ที่ร่วมสนับสนุนทุนจัดหาจัดซื้ออะไหล่ครั้งนี้ด้วยนะคะ หนูขอเป็นตัวแทนเด็กพิการทุกคนในการกล่าวคำว่า ขอบคุณมากๆค่ะ
ครูโฟลท ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวว่า เรานำวีลแชร์มาร่วมรับบริการ12 คันครับ ดีใจมากๆเลยครับ ซ่อมได้หมดทุกคน ก็จะได้นำกลับไปใช้งานให้เต็มที่เพื่อประโยชน์สู.สุดของเด็กพิการครับ ขอบคุณครับ
ครูโอม ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า วันนี้นำวีลแชร์มาร่วมรับบริการซ่อมฟรีที่จ.เลย 6 คัน และได้มีส่วนช่วยซ่อมเองด้วย ภูมิใจมากครับและดีใจแทนเด็กพิการจังหวัดอุดรธานีด้วย ขอบคุณผู้สนับสนุนโครงการทุกท่านด้วยครับ
คุณทิว(ซ้าย)อาสาสมัครเจ้าประจำและคุณโจ(ขวา) อาสาสมัครที่เพิ่งมาร่วมครั้งแรก กล่าวว่า ประทับใจกับกิจกรรมครั้งนี้มากๆ ดีใจที่ช่วยซ่อมวีลแชร์ได้หลายคันเลย โดยเฉพาะคุณโจที่บ้านเกิดอยู่ที่จ.เลยด้วย จึงภูมิใจที่ได้มาร่วมกิจกรรมดีๆที่เป็นประโยชน์กับสังคมที่บ้านเกิดของตน
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์ | อธิบาย | จำนวนที่ได้ประโยชน์ | ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น |
คนพิการและผู้ด้อยโอกาส | เด็กพิการจ.อ่างทอง
จ.สุพรรณบุรี จ.สระบุรี จ.นครสวรรค์ จ.เลย จ.หนองบัวลำภู จ.หนองคาย จ.อุดรธานี | 78 คน
| เด็กพิการได้รับบริการซ่อมแซมวีลแชร์ และนำไปใช้ในการออกหนอกบ้าน ไปสถานศึกษาเพื่อฝึกพัฒนาร่างกายให้แข็งแรงมากขึ้น ตลอดจนช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกาย ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดภาระผู้ปกครอง ครู หรือผู้ดูแล ที่ไม่ต้องอุ้มด้วย มีความสะดวกในการเคลื่อนย้ายและช่วยเหลือเด็กพิการอย่างปลอดภัย |
วิดีโอกิจกรรม
ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา
จากประสบการณ์การทำงานของมูลนิธิฯ ด้านการจัดหาเก้าอี้ล้อเข็นให้กับเด็กพิการในต่างจังหวัดของประเทศไทย มา20กว่าปี และมีการติดตามผลการใช้งาน รวมถึงความเปลี่ยนแปลงของชีวิตของเด็กพิการเหล่านั้น อย่างหนึ่งที่ได้รับการสะท้อนกลับมาคือเก้าอี้ล้อเข็นชำรุด ครอบครัวหาอะไหล่ซ่อมไม่ได้ ไม่มีแหล่งซื้อในพื้นที่ หรือหาแหล่งซื้อได้แต่ราคาสูง ครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดีก็ไม่สามารถซ่อมแซมให้ลูกได้ บางคนก็ต้องทนใช้แบบชำรุดไป หรือไม่ได้ใช้ บ้างก็ทำให้เป็นภาระของผู้ปกครองหรือคนในครอบครัว บ้างก็ไม่ได้ออกไปไหน ได้แต่นอนอยู่ในบ้าง ทำให้ความพิการหนักหรือแย่ไปกว่าเดิม
มูลนิธิฯ จึงได้เริ่มกิจกรรมอาสาสมัครออกให้บริการซ่อมแซมวีลแชร์ฟรีแก่เด็กพิการมาตั้งแต่ปี 2543 รวมแล้วกว่า 40 ครั้ง โดยอาสาสมัครที่มีชื่อกลุ่มว่า “เพื่อนมนุษย์ล้อ” ที่ประกอบไปด้วยผู้คนที่มีทักษะด้านงานช่าง และทักษะอื่นๆ รวมกันจนทำให้สามารถซ่อมแซมวีลแชร์แก่เด็กพิการได้30-60 คัน ต่อการจัดกิจกรรมหนึ่งครั้ง ปัจจุบันมูลนิธิฯ มีสมาชิกเพื่อนมนุษย์ล้อกว่า 1,000 คน และแต่ละครั้งจะมีอาสาสมัครหมุนเวียนเปลี่ยนสลับกันตามความสะดวกไปช่วยซ่อมวีลแชร์แบบจ่ายค่าอาหารและที่พักเองครั้งละไม่ต่ำกว่า 30 คน และมีจำนวนเก้าอี้ล้อเข็นมากกว่า 1,000 คันที่ได้รับการซ่อมแซมไปแล้วในกว่า 30 จังหวัดทั่วประเทศไทย ทำให้เด็กพิการเหล่านั้นสามารถใช้เก้าอี้ล้อเข็นต่อไปได้ บ้างก็ได้ไปเรียนหนังสือในโรงเรียนต่างๆ บ้างก็ได้ออกจากบ้านมากขึ้น เป็นภาระของครอบครัวน้อยลง ที่สำคัญคือช่วยให้ภาวะความพิการไม่ได้แย่ลงไปกว่าเดิม แต่กลับเพิ่มเติมให้ดีขึ้นจากการได้เคลื่อนไหวและเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
1. ประชุมหารือการดำเนินโครงการกับภาคีหลัก ได้แก่ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดอ่างทอง และศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดเลย
2. ศูนย์การศึกษาพิเศษทั้งสองจังหวัด เริ่มประชาสัมพันธ์รวบรวมความจำเป็นต้องการของเด็กพิการและครอบครัวในการซ่อมแซมวีลแชร์ แล้วจัดส่งข้อมูลมายังมูลนิธิฯ
3. มูลนิธิฯ ดำเนินการจัดหาจัดซื้ออะไหล่ และจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับการออกบริการซ่อมแซม
4. มูลนิธิฯ ประชาสัมพันธ์เปิดรับอาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรม
5. ภาคือหลักรวบรวมวีลแชร์ที่แจ้งรับการซ่อมมารวมกันยังสถานที่จัดกิจกรรม
6. มูลนิธิฯนำอาสาสมัครออกไปให้บริการซ่อมแซม
7. ภาคีหลักส่งคืนวีลแชร์แก่เด็กพิการและครอบครัว
ผู้รับผิดชอบโครงการ
มูลนิธิศูนย์มิตรภาพมนุษย์ล้อเอเซีย (ประเทศไทย)

Facebook: https://www.facebook.com/wafcat.wafcatthai
Website: https://www.wafcat.or.th/
ซ่อมแซมวีลแชร์ฟรีแก่น้องผู้พิการโดยอาสาสมัครกันยายนนี้ใครสนใจไปกับเราสมัครมากันเลย
มูลนิธิศูนย์มิตรภาพมนุษย์ล้อเอเซีย (ประเทศไทย) มีกำหนดการบริการซ่อมแซมเก้าอีล้อเข็นฟรีแก่คนพิการจังหวัดอ่างทองวันเสารที๋ 3 กันยายน 2565
ปัจจุบันอยู่ในช่วงของการสำรวจเก้าอี้ล้อเข็นของน้องๆเด็กพิการ
เพื่อรวบรวมมาสั่งซื้ออะไหล่ หรือจัดหาวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ เพิ่มเติมค่ะ
ดิฉันเลยขอแนบภาพการทำงานดังกล่าวมา ดังไฟล์แนบค่ะ
ขณะนี้ยังได้เปิดรับอาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรมอีกจำนวน 30 คนเพื่อเดินทางไปกับมูลนิธิตามภาพด้านล่าง
หากใครสนใจเข้าร่วมติดต่อเรามาได้เลยค่ะ
กำหนดการเดินทาง
ขอบคุณค่ะ
มูลนิธิศูนย์มิตรภาพมนุษย์ล้อเอเซียและอาสาสมัครเพื่อนมนุษย์ล้อ ร่วมกันซ่อมแซมวีลแชร์ให้น้องๆพิการ 50 คัน
เมื่อวันเสาร์ที่ 3 กันยายน 2565 มูลนิธิฯ ได้นำอาสาสมัครเพื่อนมนุษย์ล้อ 28 คน ไปซ่อมเก้าอี้ล้อเข็น(วีลแชร์) แก่เด็กพิการ ณ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดอ่างทอง โดยมีวีลแชร์ที่ได้รับการซ่อมแซม ด้วยการเปลี่ยนอะไหล่ใหม่ และทำความสะอาด ให้สามารถกลับมาใช้งานได้ใหม่รวม 40 คัน แบ่งเป็นวีลแชร์จังหวัดอ่างทอง 20 คัน จังหวัดสุพรรณบุรี 11 คัน จังหวัดสระบุรี 4 คัน จังหวัดนครสวรรค์ 4 คัน และจังหวัดพระนครศรีอยุธยา 1 คัน
ต่อมาในวันเสาร์ที่ 10 กันยายน 2565 เจ้าหน้าที่ 3 ท่าน พร้อมอาสาสมัครอีก 2 คน ได้เดินทางไปให้บริการซ่อมแซมวีลแชร์แก่เด็กพิการที่สมาคมชมผู้ปกครองเด็กพิการ (ประเทศไทย) ที่เขตหนองแขม กรุงเทพฯ อีก 10 คัน ซึ่งเด็กพิการที่นั่นนำวีลแชร์ไปใช้ที่โรงเรียน และเข้ารับการเตรียมความพร้อมทั้งด้ายกายภาพฟื้นฟูที่สมาคม ชมรม และศูนย์การศึกษาพิเศษ ก่อนจะถูกส่งต่อไปเรียนในสถานศึกษาอื่นๆ เมื่อน้องๆ มีความพร้อม
สัมภาษณ์ความประทับใจของผู้ที่ได้รับการซ่อมแซมวีลแชร์
น้องเตชิน อายุ 7ขวบ
"รู้สึกชอบใจมากกับวีลแชร์คันของตนเองที่ดูเหมือนคันใหม่หลังได้รับการซ่อมบำรุง ด้วยการเปลี่ยนล้อหน้า ขัดสนิม และเปลี่ยนที่วางแขนใหม่"
น้องไอซ์ เด็กพิการที่มารับบริการที่สมาคม ตั้งแต่อายุ13 จนตอนนี้อายุ 23 มีภาวะสมองพิการ กล้ามเนื้อแข็งเกร็ง
แม้น้องจะพูดไม่ชัดแต่ก็จับใจความได้ว่าน้องเขาดีใจและขอบคุณมากๆ พร้อมยกมือไหว้ขอบคุณพี่ๆ ทุกคน
ยายของน้องใยไหม เด็กพิการตัวเล็ก อายุ5ขวบ
ตอบว่า "รู้สึกประทับใจ ตื้นตันใจ และมีความสุขมากมายที่วันนี้วีลแชร์ของน้องใยไหมได้รับการดูแล เพราะยายแก่แล้วอีกทั้งไม่มีเงินเปลี่ยนยางอะไหล่ใหม่ พร้อมขอบคุณที่ช่วยทาสีกันสนิมให้ด้วย สีส้มโอโรสถูกใจน้องใยไหมสุดๆ"
แม่รุ่ง ซึ่งเป็นแม่ของน้องซํน นอกจากมานั่งขัดสนิมก้านที่วางเท้าวีลแชร์ของลูกชายเองแล้ว
กล่าวขอบคุณแทนผู้ปกครองและน้องๆ เจ้าของวีลแชร์ทุกคัน "ที่วันนี้น้องๆได้เปลี่ยนยางอะไหล่วีลแชร์ใหม่ให้มีอายุการใช้งานที่นานขึ้น แม่รุ่งบอกว่าวีลแชร์ก็เหมือนขาของเด็กๆ เมื่อวันนี้ขาได้รับการซ่อมแซมดีแล้ว พวกเขาก็พร้อมที่จะสู้ต่อไป"
แม่หน่อย ผู้ปกครองของเด็กพิการอีกคนหนึ่งที่ช่วยพวกเราทำทุกอย่างที่ทำได้ กล่าวด้วยความดีใจสุดๆ ว่าภูมิใจมากๆ ที่เด็กๆได้รับการดูแลจากพี่ๆ เพราะหาร้านซ่อมวีลแชร์ว่ายากแล้ว ค่าอะไหล่แต่ละชิ้นก็มีราคาสูง "ต้องขอบคุณจริงๆ สำหรับการให้บริการซ่อมฟรีทั้งค่าแรงและอะไหล่ครั้งนี้ ผู้ปกครองและเด็กๆ จะใช้วีลแชร์ให้คุ้มค่าเป็นการตอบแทนพี่ๆ แน่นอนค่ะ"
ครูสหพัฒน์ ครูการศึกษาพิเศษ จ.สุพรรณบุรี
กล่าวว่า "ดีใจมากๆ ที่มีกิจกรรมแบบนี้ เพราะลำพังครูคงไม่มีทั้งกำลังแรงและกำลังทรัพย์ที่จะซ่อมวีลแชร์ให้แก่เด็กๆแน่นอน ขอบคุณครับ"
ครูอุ้ย ครูกายภาพบำบัด จ.อ่างทอง
กล่าวว่า "ดีใจมากๆ ที่โครงการนี้ช่วยให้น้องๆ มีวีลแชร์ที่แข็งแรงใช้นั่งทำกิจกรรมประจำวันได้ดีขึ้น ช่วยลดภาระผู้ปกครองที่มีรายได้น้อยไม่พอจ่ายทั้งค่าแรงและค่าอะไหล่ ขอบคุณค่ะ"
ผลกระทบจากการทำโครงการ

ภาพประกอบ
ตัวแทน 7 ภาคีหน่วยงานถ่ายภาพที่ระลึกร่วมกัน
อาสาสมัครและเจ้าหน้าที่ร่วมกว่า100 คนร่วมพิธีเปิด
ตัวอย่างการเตรียมอะไหล่ให้วีลแชร์ที่นำมารับบริการซ่อมวันที่ 3 ก.ย.2565
บรรยากาศการซ่อมวันที่ 3 กันยายน 2565
น้องน้ำตาลและคุณยาย ตัวแทนเด็กพิการและผู้ปกครองเมื่อวันที่ 3 กันยายน 2565
ภาพบรรยากาศการซ่อมวีลแชร์ วันที่ 10 กันยายน 2565 (กทม.)
ซ่อมแซมเก้าอี้ล้อเข็นฟรีแก่ผู้พิการที่จังหวัดเลย
เมื่อวันที่ 25-26 กุมภาพันธ์ 2566 ที่ผ่านมา มูลนิธิฯ ได้จัดกิจกรรมอาสาสมัครเพื่อซ่อมแซมเก้าอี้ล้อเข็นฟรีแก่ผู้พิการที่จังหวัดเลย โดยได้รับความร่วมมือจากศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดเลยเป็นเจ้าภาพด้านสถานที่ และสิ่งอำนวยความสะดวกต่างๆ ทั้งนี้มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมทั้งสิ้น 34 คน ดังนี้
- อาสาสมัคร 9 คน เลขาธิการศูนย์ WAFCA ญี่ปุ่น 1 คน
- สหภาพแรงงานเด็นโซ่ประเทศไทย 6 คน
- สหภาพแรงงานสยามเด็นโซ่และสยามเคียวซัน 4 คน
- สหภาพแรงงานเด็นโซ่อิเล็กทรอนิกส์ประเทศไทย 1 คน
- ครูศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดหนองคาย ครูศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดหนองบัวลำภู และครูศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดอุดรธานี รวมทั้งหมด 13 คน
ซึ่งสามารถช่วยกันซ่อมเก้าอี้ล้อเข็นได้กว่า 39 คัน หลังซ่อมเสร็จแล้วครูการศึกษาพิเศษแต่ละจังหวัดได้นำส่งคืนแก่เด็กพิการ และบางคัน/ส่วน ได้นำไปจัดให้บริการกับเด็กที่มารับบริการที่ศูนย์การศึกษาพิเศษด้วย
ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์
ครูออม ครูกายภาพบำบัดประจำศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดเลย กล่าวว่า โดยส่วนตัวครูมีความสุขมากๆที่ได้เป็นแกนนำทีมคณะดำเนินงานของศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดเลย ที่เป็นเจ้าภาพด้านสถานที่และอำนวยความสะดวกพร้อมหการต้อนรับทุกคนที่มาร่วมกิจกรรมกันวันนี้ และดีใจที่วีลแชร์กว่า15 คันของเด็กพิการจังหวัดเลยได้รับบริการซ่อมแซมจนเหมือนของใหม่ ภูมิใจ และขอบคุณแทนเด็กพิการทุกคนด้วยค่ะ
คุณนิกกี้ อาสาสมัครเพื่อนมนุษย์ล้อ กล่าวว่า ดีใจมากๆเลยครับ ที่ได้มาร่วมเป็นอาสาสมัครกับมูลนิธิในพื้นที่ได้สักทีหลังจากที่ต้องห่างหายไปนานเพราะสถานการณ์โควิด-19 มาครั้งนี้ก็ยังรู้สึกมีความสุขเหมือนเดิมครับ ที่ได้มีส่วนช่วยซ่อมวีลแชร์ให้น้องๆ ให้กลับไปใช้งานได้อีกครั้ง ขอบคุณผู้ที่มีส่วนในการสนับสนุนทุนในการจัดซื้อจัดหาอะไหล่ และจัดกิจกรรมครั้งนี้ด้วยนะครับ ครั้งต่อไปที่จ.มหาสารคาม ผมก็จะไม่พลาดแน่นอนครับ
น้องน้ำหวาน ผู้พิการนั่งวีลแชร์ กล่าวว่า หนูได้รับบริการซ่อมบำรุงวีลแชร์คันที่หนูนั่งด้วยค่ะ แกนโครงสร้างมันหลวม พี่ๆ เลยโมดิฟายให้แข็งแรงมากขึ้นค่ะ และยังปรับเบรกมือให้พอดี แข็งแรง ใช้งานคล่องมากขึ้น สะดวกขึ้นมากๆค่ะ ขอบคุณพี่ๆ ทุกคน รวมถึงผู้ที่ร่วมสนับสนุนทุนจัดหาจัดซื้ออะไหล่ครั้งนี้ด้วยนะคะ หนูขอเป็นตัวแทนเด็กพิการทุกคนในการกล่าวคำว่า ขอบคุณมากๆค่ะ
ครูโฟลท ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดหนองบัวลำภู กล่าวว่า เรานำวีลแชร์มาร่วมรับบริการ12 คันครับ ดีใจมากๆเลยครับ ซ่อมได้หมดทุกคน ก็จะได้นำกลับไปใช้งานให้เต็มที่เพื่อประโยชน์สู.สุดของเด็กพิการครับ ขอบคุณครับ
ครูโอม ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดอุดรธานี กล่าวว่า วันนี้นำวีลแชร์มาร่วมรับบริการซ่อมฟรีที่จ.เลย 6 คัน และได้มีส่วนช่วยซ่อมเองด้วย ภูมิใจมากครับและดีใจแทนเด็กพิการจังหวัดอุดรธานีด้วย ขอบคุณผู้สนับสนุนโครงการทุกท่านด้วยครับ
คุณทิว(ซ้าย)อาสาสมัครเจ้าประจำและคุณโจ(ขวา) อาสาสมัครที่เพิ่งมาร่วมครั้งแรก กล่าวว่า ประทับใจกับกิจกรรมครั้งนี้มากๆ ดีใจที่ช่วยซ่อมวีลแชร์ได้หลายคันเลย โดยเฉพาะคุณโจที่บ้านเกิดอยู่ที่จ.เลยด้วย จึงภูมิใจที่ได้มาร่วมกิจกรรมดีๆที่เป็นประโยชน์กับสังคมที่บ้านเกิดของตน
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์ | อธิบาย | จำนวนที่ได้ประโยชน์ | ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น |
คนพิการและผู้ด้อยโอกาส | เด็กพิการจ.อ่างทอง
จ.สุพรรณบุรี จ.สระบุรี จ.นครสวรรค์ จ.เลย จ.หนองบัวลำภู จ.หนองคาย จ.อุดรธานี | 78 คน
| เด็กพิการได้รับบริการซ่อมแซมวีลแชร์ และนำไปใช้ในการออกหนอกบ้าน ไปสถานศึกษาเพื่อฝึกพัฒนาร่างกายให้แข็งแรงมากขึ้น ตลอดจนช่วยฟื้นฟูสภาพร่างกาย ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น ลดภาระผู้ปกครอง ครู หรือผู้ดูแล ที่ไม่ต้องอุ้มด้วย มีความสะดวกในการเคลื่อนย้ายและช่วยเหลือเด็กพิการอย่างปลอดภัย |
วิดีโอกิจกรรม
แผนการใช้เงิน
ลำดับ | รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|---|
1 | ค่าจัดหาจัดซื้ออะไหล่สำหรับซ่อมวีลแชร์ | 60เซต | 60,000.00 |
2 | ค่าบริหารจัดการโครงการ (ค่าพาหนะเดินทางของจนท. ค่าขนส่งวีลแชร์ไป-กลับ เบี้ยเลี้ยงของจนท. ฯลฯ) | 2จังหวัด | 10,000.00 |
3 | ค่าอาหารเครื่องดื่มวันประกอบกิจกรรม | 2จังหวัด | 10,000.00 |