เงินบริจาคของคุณจะนำไปบริการซ่อมแซมวีลแชร์ฟรีให้กับเด็กพิการที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และความเชี่ยวชาญในการซ่อมแซมวีลแชร์60คน
โครงการให้บริการซ่อมแซมวีลแชร์ฟรีแก่เด็กพิการที่ขาดแคลนทุนทรัพย์และความเชี่ยวชาญในการซ่อมแซมวีลแชร์ ในจังหวัดอ่างทองและจังหวัดเลย จำนวน 60 คัน
มูลนิธิฯ จึงได้เริ่มกิจกรรมอาสาสมัครออกให้บริการซ่อมแซมวีลแชร์ฟรีแก่เด็กพิการมาตั้งแต่ปี 2543 รวมแล้วกว่า 40 ครั้ง โดยอาสาสมัครที่มีชื่อกลุ่มว่า “เพื่อนมนุษย์ล้อ” ที่ประกอบไปด้วยผู้คนที่มีทักษะด้านงานช่าง และทักษะอื่นๆ รวมกันจนทำให้สามารถซ่อมแซมวีลแชร์แก่เด็กพิการได้30-60 คัน ต่อการจัดกิจกรรมหนึ่งครั้ง ปัจจุบันมูลนิธิฯ มีสมาชิกเพื่อนมนุษย์ล้อกว่า 1,000 คน และแต่ละครั้งจะมีอาสาสมัครหมุนเวียนเปลี่ยนสลับกันตามความสะดวกไปช่วยซ่อมวีลแชร์แบบจ่ายค่าอาหารและที่พักเองครั้งละไม่ต่ำกว่า 30 คน และมีจำนวนเก้าอี้ล้อเข็นมากกว่า 1,000 คันที่ได้รับการซ่อมแซมไปแล้วในกว่า 30 จังหวัดทั่วประเทศไทย ทำให้เด็กพิการเหล่านั้นสามารถใช้เก้าอี้ล้อเข็นต่อไปได้ บ้างก็ได้ไปเรียนหนังสือในโรงเรียนต่างๆ บ้างก็ได้ออกจากบ้านมากขึ้น เป็นภาระของครอบครัวน้อยลง ที่สำคัญคือช่วยให้ภาวะความพิการไม่ได้แย่ลงไปกว่าเดิม แต่กลับเพิ่มเติมให้ดีขึ้นจากการได้เคลื่อนไหวและเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม
ประเภท | จำนวน | รายละเอียด | เปลี่ยนแปลง |
ผู้พิการ | 60 | กำลังใช้งานวีลแชร์ที่มีสภาพชำรุด/ ไม่ได้ใช้วิลแชร์เลย อาศัยอยู่แต่ในบ้าน ขาดอิสระทางการเคลื่อนไหวด้วยตนเอง สภาพจิตใจห่อเหี่ยว หรือเป็นภาระในการช่วยเคลื่อนย้ายของผู้ปกครองหรือคนในครอบครัว | ได้ใช้วีลแชร์ที่มีสภาพดีพร้อมต่อการใช้งาน ทำให้สามารถเคลื่อนไหวได้ด้วยตนเองสภาพจิตใจ อารมณ์และร่างกายดีขึ้น ไม่เป็นภาระของผู้ปกครองและคนในครอบครัว |
จัดกิจกรรมอาสาสมัครออกให้บริการซ่อมแซมวีลแชร์ฟรีแก่เด็กพิการ
ประชุมหารือการดำเนินโครงการกับภาคีหลัก ได้แก่ ศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดอ่างทอง และศูนย์การศึกษาพิเศษประจำจังหวัดเลย
ศูนย์การศึกษาพิเศษทั้งสองจังหวัด เริ่มประชาสัมพันธ์รวบรวมความจำเป็นต้องการของเด็กพิการและครอบครัวในการซ่อมแซมวีลแชร์ แล้วจัดส่งข้อมูลมายังมูลนิธิฯ
มูลนิธิฯ ดำเนินการจัดหาจัดซื้ออะไหล่ และจัดเตรียมเครื่องมืออุปกรณ์สำหรับการออกบริการซ่อมแซม
มูลนิธิฯ ประชาสัมพันธ์เปิดรับอาสาสมัครเข้าร่วมกิจกรรม
ภาคีหลักรวบรวมวีลแชร์ที่แจ้งรับการซ่อมมารวมกันยังสถานที่จัดกิจกรรม
มูลนิธิฯนำอาสาสมัครออกไปให้บริการซ่อมแซม
ภาคีหลักส่งคืนวีลแชร์แก่เด็กพิการและครอบครัว
รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|
ค่าจัดหาจัดซื้ออะไหล่สำหรับซ่อมวีลแชร์ | 60เซต | 60,000.00 |
ค่าบริหารจัดการโครงการ (ค่าพาหนะเดินทางของจนท. ค่าขนส่งวีลแชร์ไป-กลับ เบี้ยเลี้ยงของจนท. ฯลฯ) | 2จังหวัด | 10,000.00 |
ค่าอาหารเครื่องดื่มวันประกอบกิจกรรม | 2จังหวัด | 10,000.00 |
รวมเป็นเงินทั้งหมด | 80,000.00 | |
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%) | 8,000.00 |
มูลนิธิศูนย์มิตรภาพมนุษย์ล้อเอเซีย (ประเทศไทย) ก่อตั้งขึ้นเพื่อดำเนินงานช่วยเหลือเด็กพิการทางการเคลื่อนไหวเป็นหลัก โดยการจัดหาเก้าอี้ล้อเข็นที่เหมาะสมให้แก่เด็กพิการ และส่งเสริมให้เด็กพิการได้ไปเรียนหนังสือเหมือนกับเด็กๆทั่วไป ด้วยการจัดหาทุนส่งเสริมการศึกษา การจัดปรับสภาพแวดล้อมให้ปราศจากอุปสรรค และสร้างทัศนคติต่อคนทั่วไปให้เห็นถึงศักยภาพของคนพิการ นอกจากนั้นยังส่งเสริมให้ผู้คนทั่วไปเข้ามามีส่วนร่วมในกิจกรรมผ่านการเป็นอาสาสมัครอีกด้วย จากประสบการณ์การทำงานของมูลนิธิฯ ด้านการจัดหาเก้าอี้ล้อเข็นให้กับเด็กพิการในต่างจังหวัดของประเทศไทย มา20กว่าปี และมีการติดตามผลการใช้งาน รวมถึงความเปลี่ยนแปลงของชีวิตของเด็กพิการเหล่านั้น อย่างหนึ่งที่ได้รับการสะท้อนกลับมาคือเก้าอี้ล้อเข็นชำรุด ครอบครัวหาอะไหล่ซ่อมไม่ได้ ไม่มีแหล่งซื้อในพื้นที่ หรือหาแหล่งซื้อได้แต่ราคาสูง ครอบครัวที่มีฐานะทางเศรษฐกิจไม่ดีก็ไม่สามารถซ่อมแซมให้ลูกได้ บางคนก็ต้องทนใช้แบบชำรุดไป หรือไม่ได้ใช้ บ้างก็ทำให้เป็นภาระของผู้ปกครองหรือคนในครอบครัว บ้างก็ไม่ได้ออกไปไหน ได้แต่นอนอยู่ในบ้าง ทำให้ความพิการหนักหรือแย่ไปกว่าเดิม มูลนิธิฯ จึงได้เริ่มกิจกรรมอาสาสมัครออกให้บริการซ่อมแซมวีลแชร์ฟรีแก่เด็กพิการมาตั้งแต่ปี 2543 รวมแล้วกว่า 40 ครั้ง โดยอาสาสมัครที่มีชื่อกลุ่มว่า “เพื่อนมนุษย์ล้อ” ที่ประกอบไปด้วยผู้คนที่มีทักษะด้านงานช่าง และทักษะอื่นๆ รวมกันจนทำให้สามารถซ่อมแซมวีลแชร์แก่เด็กพิการได้30-60 คัน ต่อการจัดกิจกรรมหนึ่งครั้ง ปัจจุบันมูลนิธิฯ มีสมาชิกเพื่อนมนุษย์ล้อกว่า 1,000 คน และแต่ละครั้งจะมีอาสาสมัครหมุนเวียนเปลี่ยนสลับกันตามความสะดวกไปช่วยซ่อมวีลแชร์แบบจ่ายค่าอาหารและที่พักเองครั้งละไม่ต่ำกว่า 30 คน และมีจำนวนเก้าอี้ล้อเข็นมากกว่า 1,000 คันที่ได้รับการซ่อมแซมไปแล้วในกว่า 30 จังหวัดทั่วประเทศไทย ทำให้เด็กพิการเหล่านั้นสามารถใช้เก้าอี้ล้อเข็นต่อไปได้ บ้างก็ได้ไปเรียนหนังสือในโรงเรียนต่างๆ บ้างก็ได้ออกจากบ้านมากขึ้น เป็นภาระของครอบครัวน้อยลง ที่สำคัญคือช่วยให้ภาวะความพิการไม่ได้แย่ลงไปกว่าเดิม แต่กลับเพิ่มเติมให้ดีขึ้นจากการได้เคลื่อนไหวและเข้าร่วมกิจกรรมทางสังคม เมื่อปี2565 ที่ผ่านมา มูลนิธิฯ ได้ระดมทุนผ่านโครงการเทใจเพื่อจัดหางบปรมาณสนับสนุนกิจกรรมซ่อมแซมแชร์พรีแก่ๆน้องๆเด็กพิการในภาคกลาง ที่จ.อ่างทอง และภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ที่จ.เลย ซึ่งสามารถซ่อมแซมวีลแชร์รวมกันได้มากกว่า 80 คัน
ดูโปรไฟล์ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้
สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้