เงินบริจาคของคุณจะสร้างพื้นที่สาธารณะสีเขียวขนาดเล็กให้กับทุกคนได้มีโอกาสเป็นเจ้าของสวนนี้ร่วมกัน1ผืน
ผ่านกระบวนการมีส่วนร่วมในทุกๆ ขั้นตอน ทั้งการมีส่วนร่วมกับคนในพื้นที่ การเปิดพื้นที่ให้บุคคลภายนอกได้เข้ามาลองใช้ และร่วมระดมทุนเพื่อให้ทุกคนได้มีโอกาสเป็นเจ้าของสวนนี้ร่วมกัน
พื้นที่สาธารณะแห่งใหม่ที่กำลังจะเกิดขึ้น เป็นหนึ่งในยุทธ์ศาสตร์ที่มุ่งสร้างโอกาสในการพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวขนาดเล็กให้กระจายไปตามเขต เพื่อสร้างพื้นที่สีเขียวและพื้นที่สุขภาวะที่เข้าถึงได้อย่างสะดวกและเท่าเทียม พื้นที่ว่าง ซอยหน้าวัดหัวลำโพงเป็นหนึ่งในพื้นที่นำร่องของโครงการ we!park ซึ่งเป็นแพลตฟอร์มที่กระตุ้นให้เกิดการสร้างพื้นที่สาธารณะสีเขียวอย่างมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน เพื่อให้ได้พื้นที่สาธารณะสีเขียวที่มีคุณภาพและยั่งยืน รวมถึงการสร้างเครือข่ายความร่วมมือระหว่างสหวิชาชีพและผู้ที่มีความสนใจด้านพื้นที่สีเขียว พื้นที่สาธารณะ และการพัฒนาเมือง สร้างองค์ความรู้และการบริหารจัดการพื้นที่อย่างยั่งยืน ปัจจุบันกรุงเทพฯ มีปริมาณพื้นที่สีเขียวต่อประชากรเพียง 6.9 ตร.ม. ต่อคน ซึ่งน้อยกว่าที่องค์การอนามัยโลก (WHO) ระบุไว้ที่จำนวน 9 ตร.ม. ต่อคน ดังนั้นโครงการพัฒนาพื้นที่สาธารณะสีเขียวบริเวณซอยหน้าวัดหัวลำโพงนี้ จะมีส่วนช่วยในการบรรเทาปัญหาต่างๆ ของเมืองที่หนาแน่น ทั้งปัญหาด้านสุขภาพ พบจากผู้ป่วยโรคเรื้อรังที่ไม่ติดต่อ (Non-Communicable Disease: NCDs) เป็นจำนวนกว่าร้อยละ 5 ของประชากร ที่เป็นสาเหตุของการเสียชีวิตอันดับหนึ่งของไทย และมีผู้ป่วยถึง 14 ล้านคน ภายใน 10 ปี มีค่าเฉลี่ยเสียชีวิตกว่า 300,000 คนต่อปี และส่วนใหญ่เสียชีวิตก่อนอายุ 60 ปี ที่เกิดจากปัญหาด้านสิ่งแวดล้อม จากมลภาวะที่พบฝุ่นละอองขนาดไม่เกิน 2.5 ไมครอน (PM2.5) ที่ส่งผลกระทบต่อทางเดินหายใจ ปัญหาน้ำท่วมขังช่วงฤดูน้ำหลากและฤดูฝน ปรากฏการณ์เกาะความร้อนเมือง (Urban Heat Island) จนถึงปัญหาเรื่องความหลากหลายของระบบนิเวศเมือง (Urban Ecology) เป็นต้น
พื้นที่สาธารณะซอยหน้าวัดหัวลำโพงได้ผ่านกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมกับผู้มีส่วนได้ส่วนเสีย ตั้งแต่ช่วงเดือนธันวาคม 2563 จนถึงปัจจุบัน ซึ่งเป็นช่วงที่ได้รับงบประมาณสนับสนุนจากทางภาครัฐในการจัดสร้างส่วนงานหลักของงานภูมิทัศน์พื้นที่ และให้เกิดการสร้างการมีส่วนร่วมของทุกภาคส่วน จึงได้เปิดระดมทุนในการจัดซื้อเครื่องเล่นและชุดโต๊ะเก้าอี้ ถือเป็นการมอบของขวัญพิเศษให้กับชุมชนและผู้ใช้งานในพื้นที่สาธารณะ เพื่อสร้างโอกาสการใช้งานที่หลากหลาย ดึงดูดผู้คนและเสริมคุณค่าให้กับสวน และสร้างการมีความรู้สึกเป็นเจ้าของให้กับทั้งชุมชนในละแวกพื้นที่และผู้ที่ได้ร่วมระดมทุน โดยพื้นที่สาธารณะแห่งนี้มีกำหนดการสร้างเสร็จและเปิดใช้งานประมาณช่วงเดือนกรกฎาคม 2564
จัดทำกระบวนการออกแบบอย่างมีส่วนร่วมกับชุมชนและผู้มีส่วนได้ส่วนเสียโดยรอบพื้นที่ผ่านการจัดเวทีสาธารณะและกิจกรรมกลุ่ม
อยู่ในช่วงกระบวนการก่อสร้างหลังจากมีการอนุมัติงบประมาณจากภาครัฐที่ครอบคลุมค่าก่อสร้าง 96.2% ของค่าก่อสร้างทั้งหมด
เปิดให้ภาคสังคมได้ร่วมระดมทุนพัฒนาพื้นที่สาธารณะร่วมกัน ในส่วนเครื่องเล่นและชุดโต๊ะเก้าอี้
ส่งมอบเงิน ซึ่งตรงกันวันเด็กประจำปี
รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|
สนามเด็กเล่น Playground -Windmill *Community identity *Eco-Children friendly | 6ชิ้น | 90,000.00 |
ป้ายส่งเสริมการเรียนรู้ Pocket Park Story สวนข้างบ้าน : ประโยชน์พืชผักสมุนไพร เครื่องออกกำลังการ : ประโยชน์ต่อร่างกาย Reflexology stone สอนการล้างมือ สอนการแยกขยะ Workout inspiration | 7เซท | 67,000.00 |
ความปลอดภัยและความเป็นระเบียบเรียบร้อย ไฟฟ้าแสงสว่าง | 4เซท | 40,000.00 |
ที่จัดเก็บอุปกรณ์ บริเวณจุดล้างมือ และจุดแยกขยะ | 2เซท | 30,000.00 |
รวมเป็นเงินทั้งหมด | 227,000.00 | |
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%) | 22,700.00 |
ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้
สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้