project สัตว์ สิ่งแวดล้อม

เติมน้ำให้ชีวิต ช่วยสัตว์ป่าสู้วิกฤติ ไฟป่าและภัยแล้ง

จัดสร้างหรือฟื้นฟูแหล่งน้ำขนาดเล็กที่เคยมีทั่วผืนป่า แต่ต้องเหือดแห้ง
เพราะผลกระทบจากไฟป่าและภัยแล้ง โดยทำการขนน้ำไปเติมอย่างสม่ำเสมอ
 เพื่อคืนชีวิต และความชุ่มชื้นให้ป่า สัตว์ป่า และประชาชน

ยอดบริจาคขณะนี้

276,947 บาท

เป้าหมาย

2,893,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 10%
จำนวนผู้บริจาค 373

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

จัดทำแหล่งน้ำขนาดเล็ก ให้กับหน่วยงานในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า 72 แห่ง

1 มีนาคม 2023

หลังจากที่โครงการระดมทุนได้เป็นเงินจำนวน 276,947 บาท ได้เริ่มดำเนินโครงการ ดังนี้

1. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำแหล่งน้ำขนาดเล็ก ให้กับหน่วยงานในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า 72 แห่งรวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 249,252 บาท

  • ถังน้ำแบบลูกเต๋ามีโครงเหล็ก IBC ขนาด 1,000 ลิตร มือสอง พาเลจเหล็ก จำนวน 94 ใบ
  • วัสดุอุปกรณ์ เช่น ท่อวงซีเมนต์ ปูน ทราย จอบ พลั่ว ปั้มน้ำ สายยาง ฯลฯ

2. ค่าธรรมเนียมในการให้บริการเทใจดอทคอม 10% เป็นเงิน 27,695 บาท

และได้ทำการส่งมอบให้กับ หน่วยงาน ในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า จำนวน 72 แห่ง ได้แก่

  1. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำปาย จ.แม่ฮ่องสอน
  2. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ยวมฝั่งขวา จ.แม่ฮ่องสอน
  3. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน จ.แม่ฮ่องสอน
  4. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย
  5. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสันปันแดน จ.เชียงใหม่
  6. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าฮอด จ.เชียงใหม่
  7. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่เลา-แม่แสะ จ.เชียงใหม่
  8. เขตรักาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย จ.เชียงใหม่
  9. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบ้านโฮ่ง จ.ลำพูน
  10. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดอนศิลา จ.เชียงราย
  11. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเวียงเทิง จ.เชียงราย
  12. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าแม่จัน จ.เชียงราย
  13. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเชียงแสน จ.เชียงราย
  14. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าขุนน้ำยม จ.เชียงราย
  15. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าแม่โท จ.เชียงราย
  16. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเวียงลอ จ.พะเยา
  17. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง จ.ลำปาง
  18. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดอยพระบาท จ.ลำปาง
  19. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าถ้ำเจ้าราม จ.สุโขทัย
  20. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จ.ตาก
  21. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าช้างผาด่าน จ.แพร่
  22. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสนามเพรียง จ.กำแพงเพชร
  23. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาน้อย-เขาประดู่ จ.พิษณุโลก
  24. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเมี่ยง-ภูทอง จ.พิษณุโลก
  25. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าสองแคว จ.พิษณุโลก
  26. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าพนมทอง จ.พิษณุโลก
  27. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล จ.พิษณุโลก
  28. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าห้วยผึ้ง-วังยาว จ.พิษณุโลก
  29. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูขัด จ.พิษณุโลก
  30. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าท่าแดง จ.อุตรดิษถ์
  31. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าผาผึ้ง จ.ชัยภูมิ
  32. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จ.ชัยภูมิ
  33. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงละหาน จ.ชัยภูมิ
  34. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาแผงม้า จ.นครราชสีมา
  35. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าลำนางรอง จ.บุรีรัมย์
  36. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ จ.บุรีรัมย์
  37. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าป่าภูหลวง จ.เลย
  38. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก จ.ศรีสะเกษ
  39. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา จ.ศรีสะเกษ
  40. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ จ.สุรินทร์
  41. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน จ. กาฬสินธุ์
  42. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบุณฑริก-ยอดมน จ. อุบลราชธานี
  43. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จ.บึงกาฬ
  44. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาสมโภชน์ จ.ลพบุรี
  45. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จ.ลพบุรี
  46. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขื่อนป่าสัก จ.ลพบุรี
  47. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาวงจันแดง จ.สระบุรี
  48. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาเอราวัณ จ.สระบุรี
  49. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าแก่งคอย จ.สระบุรี
  50. สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ จ.อุทัยธานี
  51. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้าประทุน จ.อุทัยธานี
  52. ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการจัดการพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่าภาคกลาง จ.อุทัยธานี
  53. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าชะอำ จ.เพชรบุรี
  54. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาไชยราช จ.ประจวบคีรีขันธ์
  55. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุทยาน เสด็จในกรม กรมหลวงชุมพร ด้านทิศเหนือ (ตอนบน) จ.ประจวบคีรีขันธ์
  56. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุทยานเสด็จในกรมกรมหลวงชุมพร ด้านทิศเหนือตอนล่าง จ.ชุมพร
  57. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งระยะ-นาสัก จ. สุราษฏร์ธานี
  58. ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาท่าเพชร จ.สุราษฎร์ธานี
  59. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองยัน จ.สุราษฎร์ธานี
  60. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาท่าเพชร จ.สุราษฎร์ธานี
  61. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทุ่งทะเล จ.กระบี่
  62. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองพระยา จ.ตรัง
  63. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนปริวรรต จ.พังงา
  64. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าแหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช
  65. ศูนย์ศึกษานครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช
  66. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าควนแม่ยายหม่อน จ.นครศรีธรรมราช
  67. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาเหรง จ.สงขลา
  68. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลสาบ จ.สงขลา
  69. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด จ.สงขลา
  70. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาปะช้าง-แหลมขาม จ.สงขลา
  71. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าป่ากราด จ.สงขลา
  72. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองปลักพระยาและเขาระยาบังสา จ.สตูล
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
  1. สัตว์ป่าในพื้นที่อนุรักษ์
  2. เจ้าหน้าที่อนุรักษ์สัตว์ป่า
  1. สัตว์ป่า กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากไฟป่าและภัยแล้ง
  2. เจ้าหน้าที่อนุรักษ์สัตว์ป่า
    ในหน่วยงานในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า ที่ต้องปฏิบัติภารกิจ รับมือภัยแล้งเติมน้ำให้กับสัตว์ป่า
พื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า
จำนวน 72 แห่ง
  1. ช่วยเหลือให้สัตว์ป่าในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่ามีน้ำกินระหว่างฤดูแล้ง ลดผลกระทบจากไฟป่าและภัยแล้ง ที่ทำให้น้ำผิวดินและใต้ดินเหือดแห้ง
  2. สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่มีเครื่องมือในการแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า ได้สะดวก รวดเร็วขึ้น
  3. ทรัพยากรป่าและสัตว์ป่าในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่าได้รับ
    การดูแลอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  4. สร้างความร่วมมือของสังคมไทยในการมีส่วนร่วมกันดูแลสัตว์ป่า และรักษาพื้นที่สีเขียวของประเทศไทย เตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ภัยแล้ง จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก สนับสนุนการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทรายและความแห้งแล้ง ซึ่งเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับโลก
รูปภาพกิจกรรม

     

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ปัจจุบันประเทศไทยประสบปัญหาภาวะภัยแล้ง ที่เกิดจากการขาดแคลนน้ำ เป็นระยะเวลานานเป็นเดือนๆ ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ถึงกลางเดือนพฤษภาคม และช่วงปลายเดือนมิถุนายน
ถึงเดือนกรกฎาคม ซึ่งจะมีฝนทิ้งช่วงเกิดขึ้น ประกอบกับเกิดไฟป่าขึ้นในระดับที่รุนแรงและมีความถี่มากขึ้น 
จนเป็นปัจจัยที่รบกวนสมดุลของระบบนิเวศ ส่งผลกระทบต่อคุณภาพดินทำลายพืชคลุมดินทำให้ดินไม่สามารถอุ้มน้ำไว้ได้ ความสามารถในการดูดซับน้ำลดลง ปริมาณน้ำผิวดินและใต้ดินลดลง ในชั้นดินไม่มีน้ำเก็บสะสม อยู่ตามช่องรูพรุนของดิน จึงไม่มีน้ำไหลออกมาหล่อเลี้ยงลำน้ำ ทำให้เกิดภาวะแห้งแล้ง แอ่งน้ำเล็กๆ ที่เคยมี
ทั่วผืนป่าต่างเหือดแห้ง ส่งผลให้สัตว์ป่าขาดน้ำ และอาหาร ทำให้เกิดปัญหาสัตว์ป่าออกนอกพื้นที่อนุรักษ์
ตามมา



ปีนี้พื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่ากว่า 90 แห่ง ได้แก่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า และเขตห้ามล่าสัตว์ป่า
ได้เกิดไฟไหม้ป่า บางแห่งเกิดไฟป่ายาวนานตั้งแต่เดือนมกราคม ถึงเมษายน ขณะนี้ทุกพื้นที่จึงต้องเตรียมรับมือ
กับผลกระทบภายหลังจากการเกิดไฟป่าและสภาวะภัยแล้ง โดยการเตรียมการจัดทำหรือฟื้นฟูแหล่งน้ำ
ขนาดเล็กในบริเวณพื้นที่อาศัยสำคัญของสัตว์ป่า บริเวณที่เคยมีสัตว์ป่าชุกชุม บริเวณทางด่านที่สัตว์ป่า
ต้องเดินผ่าน และทำการขนน้ำจากแหล่งน้ำใกล้เคียงไปเติมอย่างสม่ำเสมอ เพื่อให้สัตว์ป่ามีน้ำกินในระหว่าง
ฤดูแล้ง ไม่ออกไปหาแหล่งน้ำตามชายป่าที่ติดกับพื้นที่เกษตรกรรมหรือชุมชนรอบแนวป่า ซึ่งอาจจะเกิดอันตรายต่อสัตว์ป่า หรือไปรบกวนประชาชนได้ สัตว์ป่าจำพวกกวาง เก้ง เนื้อทราย หมูป่า ลิง ฯลฯ ต้องการน้ำวันละ 5-10 ต่อตัว จึงต้องจัดเตรียมบ่อน้ำขนาดเล็กกระจายไปในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า โครงการนี้
มีเป้าหมายจัดทำหรือฟื้นฟูแหล่งน้ำขนาดเล็กในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า 80 แห่ง โดยจัดทำหรือฟื้นฟูและเติมน้ำ
ในบ่อน้ำอย่างสม่ำเสนอ เป็นจำนวน 800 บ่อ เพื่อให้สัตว์ป่ามีน้ำกินในระหว่างฤดูแล้ง และช่วยเหลือเจ้าหน้าที่ด้านอนุรักษ์สัตว์ป่า ในการจัดหาถังสำรองน้ำเพื่ออุปโภคและช่วยเหลือสัตว์ป่า นอกจากนี้ยังจะสามารถ
ช่วยบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนโดยรอบพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า โดยการขนน้ำอุปโภคไปช่วยเหลือประชาชนที่ขาดแคลนน้ำได้อีกด้วย


ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. ติดต่อประสานงานกับพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า เพื่อติดตามสถานการณ์ภัยแล้งและผลกระทบจากไฟป่า
  2. จัดหาอุปกรณ์ที่จำเป็น เพื่อสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที ดำเนินการจัดสร้างหรือฟื้นฟูแหล่งน้ำขนาดเล็กในป่า และขนน้ำไปเติมเพื่อช่วยเหลือสัตว์ป่าให้มีน้ำกิน โดยจัดหาให้กับพื้นที่ที่แห้งแล้งและเคยเกิดไฟป่าลุกลามเข้าพื้นที่ก่อนเป็นอันดับแรก        
  3. รายงานสถานการณ์และผลดำเนินงานในพื้นที่ ติดตามร่องรอยหรือดักถ่ายภาพสัตว์ป่าในบริเวณ
ที่จัดทำแหล่งน้ำ เพื่อตรวจสอบการเข้าใช้ประโยชน์ของสัตว์ป่า

ประโยชน์ของโครงการ

  1. ลดผลกระทบจากไฟป่าและภัยแล้ง ที่ทำให้น้ำผิวดินและใต้ดินเหือดแห้ง 
  2. ช่วยเหลือให้สัตว์ป่าในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่ามีน้ำกินระหว่างฤดูแล้ง 
  3. สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่มีเครื่องมือในการแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่าและท้องถิ่น
  4. การติดตามตรวจสอบการเข้าใช้ประโยชน์แหล่งน้ำ ยังทำให้ทราบว่าในพื้นที่นั้นมีความหลากหลายของสัตว์ป่าชนิดใดบ้าง เพื่อนำมาวางแผนในการรับมือภัยแล้งในปีต่อไป
  5. สำหรับอุปกรณ์ในการขนน้ำ นอกจากช่วยเติมน้ำให้สัตว์ป่า ยังสามารถนำไปช่วยเหลือประชาชนโดยรอบพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่าที่ขาดแคลนน้ำอุปโภคได้อีกด้วย 

ทีมงาน

  • นางวัลยา ไชยภักดี นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ 
  • สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
  • หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 48 แห่ง
  • หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่า 32 แห่ง

จัดทำแหล่งน้ำขนาดเล็ก ให้กับหน่วยงานในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า 72 แห่ง

1 มีนาคม 2023

หลังจากที่โครงการระดมทุนได้เป็นเงินจำนวน 276,947 บาท ได้เริ่มดำเนินโครงการ ดังนี้

1. จัดหาวัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำแหล่งน้ำขนาดเล็ก ให้กับหน่วยงานในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า 72 แห่งรวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 249,252 บาท

  • ถังน้ำแบบลูกเต๋ามีโครงเหล็ก IBC ขนาด 1,000 ลิตร มือสอง พาเลจเหล็ก จำนวน 94 ใบ
  • วัสดุอุปกรณ์ เช่น ท่อวงซีเมนต์ ปูน ทราย จอบ พลั่ว ปั้มน้ำ สายยาง ฯลฯ

2. ค่าธรรมเนียมในการให้บริการเทใจดอทคอม 10% เป็นเงิน 27,695 บาท

และได้ทำการส่งมอบให้กับ หน่วยงาน ในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า จำนวน 72 แห่ง ได้แก่

  1. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าลุ่มน้ำปาย จ.แม่ฮ่องสอน
  2. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ยวมฝั่งขวา จ.แม่ฮ่องสอน
  3. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน จ.แม่ฮ่องสอน
  4. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเวียงเชียงรุ้ง จ.เชียงราย
  5. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสันปันแดน จ.เชียงใหม่
  6. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าฮอด จ.เชียงใหม่
  7. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่เลา-แม่แสะ จ.เชียงใหม่
  8. เขตรักาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อย จ.เชียงใหม่
  9. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบ้านโฮ่ง จ.ลำพูน
  10. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดอนศิลา จ.เชียงราย
  11. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเวียงเทิง จ.เชียงราย
  12. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าแม่จัน จ.เชียงราย
  13. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเชียงแสน จ.เชียงราย
  14. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าขุนน้ำยม จ.เชียงราย
  15. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าแม่โท จ.เชียงราย
  16. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเวียงลอ จ.พะเยา
  17. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยผาเมือง จ.ลำปาง
  18. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าดอยพระบาท จ.ลำปาง
  19. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าถ้ำเจ้าราม จ.สุโขทัย
  20. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จ.ตาก
  21. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าช้างผาด่าน จ.แพร่
  22. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาสนามเพรียง จ.กำแพงเพชร
  23. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาน้อย-เขาประดู่ จ.พิษณุโลก
  24. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเมี่ยง-ภูทอง จ.พิษณุโลก
  25. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าสองแคว จ.พิษณุโลก
  26. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าพนมทอง จ.พิษณุโลก
  27. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้ำผาท่าพล จ.พิษณุโลก
  28. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าห้วยผึ้ง-วังยาว จ.พิษณุโลก
  29. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูขัด จ.พิษณุโลก
  30. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าท่าแดง จ.อุตรดิษถ์
  31. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าผาผึ้ง จ.ชัยภูมิ
  32. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว จ.ชัยภูมิ
  33. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าบึงละหาน จ.ชัยภูมิ
  34. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาแผงม้า จ.นครราชสีมา
  35. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าลำนางรอง จ.บุรีรัมย์
  36. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดงใหญ่ จ.บุรีรัมย์
  37. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าป่าภูหลวง จ.เลย
  38. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก จ.ศรีสะเกษ
  39. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยศาลา จ.ศรีสะเกษ
  40. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ จ.สุรินทร์
  41. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูสีฐาน จ. กาฬสินธุ์
  42. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบุณฑริก-ยอดมน จ. อุบลราชธานี
  43. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูวัว จ.บึงกาฬ
  44. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาสมโภชน์ จ.ลพบุรี
  45. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าซับลังกา จ.ลพบุรี
  46. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขื่อนป่าสัก จ.ลพบุรี
  47. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาวงจันแดง จ.สระบุรี
  48. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาเอราวัณ จ.สระบุรี
  49. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าแก่งคอย จ.สระบุรี
  50. สถานีวิจัยสัตว์ป่าเขานางรำ จ.อุทัยธานี
  51. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าถ้าประทุน จ.อุทัยธานี
  52. ศูนย์ศึกษาและพัฒนาการจัดการพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่าภาคกลาง จ.อุทัยธานี
  53. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าชะอำ จ.เพชรบุรี
  54. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาไชยราช จ.ประจวบคีรีขันธ์
  55. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า อุทยาน เสด็จในกรม กรมหลวงชุมพร ด้านทิศเหนือ (ตอนบน) จ.ประจวบคีรีขันธ์
  56. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุทยานเสด็จในกรมกรมหลวงชุมพร ด้านทิศเหนือตอนล่าง จ.ชุมพร
  57. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งระยะ-นาสัก จ. สุราษฏร์ธานี
  58. ศูนย์ศึกษาธรรมชาติและสัตว์ป่าเขาท่าเพชร จ.สุราษฎร์ธานี
  59. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองยัน จ.สุราษฎร์ธานี
  60. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาท่าเพชร จ.สุราษฎร์ธานี
  61. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทุ่งทะเล จ.กระบี่
  62. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าคลองพระยา จ.ตรัง
  63. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าโตนปริวรรต จ.พังงา
  64. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าแหลมตะลุมพุก จ.นครศรีธรรมราช
  65. ศูนย์ศึกษานครศรีธรรมราช จ.นครศรีธรรมราช
  66. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าควนแม่ยายหม่อน จ.นครศรีธรรมราช
  67. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาเหรง จ.สงขลา
  68. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าทะเลสาบ จ.สงขลา
  69. เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด จ.สงขลา
  70. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าเขาปะช้าง-แหลมขาม จ.สงขลา
  71. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าป่ากราด จ.สงขลา
  72. เขตห้ามล่าสัตว์ป่าหนองปลักพระยาและเขาระยาบังสา จ.สตูล
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
  1. สัตว์ป่าในพื้นที่อนุรักษ์
  2. เจ้าหน้าที่อนุรักษ์สัตว์ป่า
  1. สัตว์ป่า กลุ่มที่ได้รับผลกระทบจากไฟป่าและภัยแล้ง
  2. เจ้าหน้าที่อนุรักษ์สัตว์ป่า
    ในหน่วยงานในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า ที่ต้องปฏิบัติภารกิจ รับมือภัยแล้งเติมน้ำให้กับสัตว์ป่า
พื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า
จำนวน 72 แห่ง
  1. ช่วยเหลือให้สัตว์ป่าในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่ามีน้ำกินระหว่างฤดูแล้ง ลดผลกระทบจากไฟป่าและภัยแล้ง ที่ทำให้น้ำผิวดินและใต้ดินเหือดแห้ง
  2. สนับสนุนให้เจ้าหน้าที่มีเครื่องมือในการแก้ปัญหาภัยแล้งในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า ได้สะดวก รวดเร็วขึ้น
  3. ทรัพยากรป่าและสัตว์ป่าในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่าได้รับ
    การดูแลอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  4. สร้างความร่วมมือของสังคมไทยในการมีส่วนร่วมกันดูแลสัตว์ป่า และรักษาพื้นที่สีเขียวของประเทศไทย เตรียมความพร้อมในการรับมือกับสถานการณ์ภัยแล้ง จากการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศโลก สนับสนุนการต่อต้านการแปรสภาพเป็นทะเลทรายและความแห้งแล้ง ซึ่งเป็นปัญหาสิ่งแวดล้อมระดับโลก
รูปภาพกิจกรรม

     

แผนการใช้เงิน


รายการจำนวนเงิน
1

วัสดุอุปกรณ์ในการจัดทำหรือฟื้นฟูแหล่งน้ำให้สัตว์ป่า จำนวน 80 แห่ง 
เป็นเงิน 27,000 บาทต่อแห่ง

  • ค่าใช้จ่ายในการจัดทำแหล่งน้ำให้สัตว์ป่า เช่น ท่อวงซีเมนต์ ปูน ทราย จอบ พลั่ว = 6,000 บาท
  • ถังน้ำแบบลูกเต๋ามีโครงเหล็ก IBC ขนาด 1,000 ลิตร มือสอง พาเลจเหล็ก 
1 ใบ = 3,500 บาท
  • ปั้มน้ำ 4 จังหวะ เครื่องยนต์เบนซิน 5.5 แรงม้า 1 เครื่อง = 5,000 บาท
  • สายยางดูดน้ำ PVC ขนาด 2 นิ้ว ยาว 24 เมตร 1 ม้วน = 2,500 บาท
  • สายส่งน้ำไร้กลิ่น PVC สีฟ้า 2 นิ้ว ยาว 100 เมตร พร้อมโรลม้วนสายยาง = 3,500 บาท
  • ถังน้ำสะพายหลัง 20 ใบ X 150 บาท เป็นเงิน 3,000 บาท
  • กล้องดักถ่ายภาพสัตว์ป่าพร้อมอุปกรณ์ 1 ชุด X 3,500 บาท  

หมายเหตุ : สำหรับหน่วยงานที่มีอุปกรณ์บางรายการแล้ว สนับสนุนเป็น
 ค่าน้ำมันเชื้อเพลิง สำหรับภารกิจในการขนน้ำไปเติมแทน

2,160,000
2ถังเก็บน้ำขนาด 1,000 ลิตร เพื่อสำรองน้ำ 120 ใบ X 3,500 บาท420,000
3ค่าอาหาร น้ำดื่ม และอาหารว่าง ให้จิตอาสา 100 บาทต่อคน จำนวนแห่งละ 100 คน
 จำนวน 5 แห่ง50,000
4ค่าดำเนินงานเทใจดอทคอม 10% 
ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway 
ค่าคัดกรองโครงการ ตรวจสอบ ติดตาม วัดผล และรายงานความคืบหน้า263,000

รวมทั้งหมด2,893,000‬