cover_1

วิจัยชีวิตเสือดาว-เสือโคร่ง เพื่อการอนุรักษ์เสือที่ใกล้สูญพันธุ์

พี่หวาน มูลนิธิแม่ฟ้าหลวงพี่หวาน มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง
สัตว์
สิ่งแวดล้อม/ธรรมชาติ

เงินบริจาคของคุณจะนำมาวิจัยชีวิตเสือดาว-โคร่งให้กับเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง1แห่ง

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

4 มิ.ย. 2562 - 31 ส.ค. 2562

พื้นที่ดำเนินโครงการ

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง จ.อุทัยธานี

เป้าหมาย SDGs

LIFE ON LANDPARTNERSHIPS FOR THE GOALS

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง
1แห่ง

ชวนคนไทยมาร่วมกันสนับสนุนงานวิจัยชีวิตเสือดาว-โคร่งในผืนป่าไทย เพื่อประโยชน์ในงานอนุรักษ์เสือที่ใกล้สูญพันธุ์

ปัญหาสังคม

เรารู้จักเรื่องของชีวิตเสือน้อยมาก

แม้คนในวงการอนุรักษ์และนักวิจัยเอง ก็อาจรู้จักเสือแต่ละชนิดแบบเชิงลึกไม่มากเช่นกัน

เพราะการศึกษาเรื่องชีวิตของเสือ ตั้งแต่ การล่าเหยื่อ พื้นที่อยู่ การสืบพันธ์ุ และใครเป็นศัตรู ต้องใช้ "เงิน" และ "เวลา" นาน 

วันนี้เรารู้แต่เพียงว่า เสือแต่ละชนิดใกล้สูญพันธุ์ 

เพราะเราไม่เริ่มตอนนี้... เสือแต่ละชนิดก็อาจจะสูญหายจากป่าในประเทศไทยไปเลยก็ได้

เราจึงอยากชวนคนไทยมาร่วมกันสนับสนุนงานวิจัยชีวิตเสือดาว-โคร่งในผืนป่าไทย เพื่อประโยชน์ในงานอนุรักษ์เสือที่ใกล้สูญพันธุ์ คณะผู้วิจัย นำโดยอัจฉรา ซิ้มเจริญ หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ สำนักงานบริหารอนุรักษ์ที่12 และทีมงาน จึงต้องการศึกษาเสือโคร่งและเสือดาว เพื่อวางแผนอนุรักษ์ได้ถูกต้อง

เพราะป่าใดที่มี “เสือโคร่ง” แสดงถึงฝืนป่าที่มีสภาพอันอุดมสมบูรณ์ เพราะเสือโคร่งนั้นจะเป็นเรื่องของการควบคุมจำนวนของเหยื่อในระบบนิเวศ และในปัจจุบันไม่มีรายงานการพบเห็นในประเทศเพื่อนบ้านของไทยได้แก่ เวียดนาม ลาว กัมพูชา และ พม่า ประเทศไทยจึงเป็นพื้นที่แห่งความหวังในการฟื้นฟูประชากรเสือโคร่งในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ 

ขณะที่ “เสือดาว” ผู้ปราดเปรียวมีสถานภาพที่น่าเป็นห่วง เพราะทางองค์กรระหว่างประเทศเพื่อการอนุรักษ์ธรรมชาติ หรือ IUCN ได้จัดให้เสือชนิดดังกล่าวอยู่ในสถานภาพใกล้สูญพันธุ์ (Endangered -EN) 

ทำไมเราต้องศึกษาเสือ 2 ชนิดนี้

การศึกษาถึงการอยู่ร่วมกันของเสือโคร่งและเสือดาวที่ในประเทศอินเดีย พบว่าผู้ล่าสองชนิดนี้มีความซ้อนทับกันสูงทั้งด้านชนิดสัตว์ที่เป็นเหยื่อและการใช้พื้นที่หากิน และการที่มีสัตว์ผู้ล่าที่อาศัยอยู่ในระบนเวศเดียวกันอาจเกิดใน 2 รูปแบบคือ 

  • interference competition แสดงออกในรูปแบบที่ที่เสือโคร่งขับไล่หรือกำจัดเสือดาวออกจากระบบ 
  • exploitation competition เป็นรูปแบบการแก่งแย่งกันที่เกิดจากการที่เสือดาวล่าชนิดเหยื่อหลักของเสือโคร่งเป็นอาหารในปริมาณมากซึ่งอาจส่งผลกระทบต่อความเป็นอยู่ของเสือโคร่ง 

ดังนั้นหากทีมวิจัยมีข้อมูลด้านการปฏิสัมพันธ์ของการใช้พื้นที่และชนิดเหยื่อระหว่างเสือโคร่งและเสือดาว ข้อมูลและความรู้ที่ได้จะเป็นประโยชน์ต่อการวางแผนเชิงละเอียดต่อการอนุรักษ์ทั้งเสือโคร่งและเสือดาว

สิ่งที่ศึกษาคืออะไร

  1. ศึกษารูปแบบและพฤติกรรมในช่วงเวลาและพื้นที่เดียวกันของเสือโคร่งและเสือดาว โดยมีสมมุติฐานว่าเสือดาวจะมีพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการเผชิญหน้ากับเสือโคร่ง
  2. ศึกษาชนิดสัตว์ที่เป็นเหยื่อของเสือดาวจากการติดตามพฤติกรรมการล่าอาหารได้ โดยมีสมมุติฐานว่าชนิดเหยื่อหลักของเสือดาวเป็นชนิดเดียวกันกับชนิดเหยื่อหลักของเสือโคร่งเพียงแต่เสือดาวเลือกล่าเหยื่อที่มีขนาดเล็กกว่าหรืออ่อนวัยกว่าชนิดเหยื่อของเสือโคร่ง

ทีมวิจัยทำงานอย่างไร

  • การดักจับเสือโคร่ง เพื่อใส่ปลอกคอวิทยุสัญญาณดาวเทียม (Vectronic, Germany ศึกษาการเคลื่อนที่ไว้ที่ทุกๆ 1 ชั่วโมง ซึ่งจะทำใหทราบพฤติกรรมของเสือโคร่งที่สื่อสารกับเสือโคร่งตัวอื่น เช่นในรูปแบบการหมายอาณาเขตสื่อสารที่พบบ่อยในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้งได้แก่ การตะกุยพื้นดิน การพ่นปัสสาวะ การถูแก้มกับต้นไม้ ซึ่งเสือโคร่งจะเลือกพ่นปัสสาวะที่ พุ่มไม้ หรือลำต้นของต้นไม้ที่อยู่ไม่ห่างจากเส้นทางด่านสัตว์หรือเส้นทางตรวจการณ์ โดยความถี่และรูปแบบของการหมายอาณาเขตขึ้นอยู่กับปัจจัยแวดล้อม และสถานะการสืบพันธุ์ของเพศเมีย รวมถึงพฤติกรรมการใช้พื้นที่ของเสือโคร่งตัวอื่น
  • การดักจับเสือดาว เพื่อศึกษาเพื่อใส่ปลอกคอวิทยุสัญญาณดาวเทียม (Vectronic, Germanyศึกษาการเคลื่อนที่ไว้ที่ทุกๆ 1 ชั่วโมง ซึ่งจะทำให้ทราบพฤติกรรมของเสือดาวเช่นกัน

ดังนั้นนักวิจัยจึงอยากมีข้อมูลที่ของเสือ 2 ชนิดที่มากพอและประโยชน์ต่อการวางแผนเชิงละเอียดต่อการอนุรักษ์ทั้งเสือโคร่งและเสือดาว มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของโครงการนี้กันเถอะ

*อนึ่งทางทีมวิจัยได้รับค่าปลอกคอสัญญาณดาวเทียม 1 เส้นจากมูลนิธิห้วยขาแข้ง และค่าปลอกคอสัญญาณดาวเทียม 2 เส้นจาก University of Minnesota แล้ว

ทีมวิจัย

  1. นางอัจฉรา ซิ้มเจริญ หัวหน้ากลุ่มงานวิชาการ สบอ.12 หัวหน้าโครงการ
  2. นายศักดิ์สิทธิ์ ซิ้มเจริญ หัวหน้ากลุ่มวิจัยสัตว์ป่า คณะผู้วิจัย
  3. นายสมโภชน์ ดวงจันทราศิริ หัวหน้าสถานีวิจัยสัตว์ป่า คณะผู้วิจัย
  4. นายธานี วงศ์นาค หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง คณะผู้วิจัย
  5. นายสมพร พากเพียร เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยขาแข้ง คณะผู้วิจัย
  6. Prof. James David Smith University of Minnesota คณะผู้วิจัย

วิธีการแก้ปัญหา

  1. ระดมทุนวิจัยชีวิตเสือดาว-โคร่งในผืนป่าไทย เพื่อประโยชน์ในการอนุรักษ์ทั้งเสือโคร่งและเสือดาว

แผนการดำเนินงาน

  1. ดักจับเสือโคร่งและเสือดาว เพื่อใส่ปลอกคอวิทยุสัญญาณดาวเทียม (Vectronic, Germany ศึกษาการเคลื่อนที่ไว้ที่ทุกๆ 1 ชั่วโมง ซึ่งจะทำให้ทราบพฤติกรรมของเสือโคร่งและเสือดาว

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
ค่าธรรมเนียมในการรับ ส่ง ตำแหน่งผ่านดาวเทียม (iridium fee) เสือดาว

21,000 บาท/ตัว/ปี

3ตัว63,000.00
ค่าวัสดุทำกรงดักจับ

1,000 บาท/กรง

10กรง10,000.00
ค่า GPS

20,000 บาท/เครื่อง

2เครื่อง40,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด113,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)11,300.00
ยอดระดมทุน
124,300.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

พี่หวาน มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง

พี่หวาน มูลนิธิแม่ฟ้าหลวง

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon