project ผู้พิการและผู้ป่วย

"ยากำลังใจ เวอร์ชั่น 2" ยาเม็ดแรกสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง

เนื่องจากผู้ป่วยที่เพิ่งทราบผลวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคมะเร็งนั้น ผู้ป่วยมักจะเกิดความวิตกกังวลใจเป็นอย่างมาก ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุด นั่นคือ “กำลังใจ” เพื่อให้ผู้ป่วยได้มีความเข้มแข็งทางด้านจิตใจ รวมถึงมีความหวังในการรักษา เปิดใจเรียนรู้ข้อมูลความรู้และวิธีการรับมือกับโรคจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยมีความเข้าใจความเข้าใจ ที่ถูกต้องในการเตรียมพร้อมเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม ผ่านชุดยากำลังใจ เวอร์ชั่น 2 ที่จะส่งมอบไปยังผู้ป่วยมะเร็ง จำนวน 20,000 รายทั่วประเทศผ่านโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ

ระยะเวลาโครงการ 20 ก.พ. 2566 ถึง 31 ธ.ค. 2567 พื้นที่ดำเนินโครงการ ทั่วประเทศ

ยอดบริจาคขณะนี้

450,998 บาท

เป้าหมาย

880,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 51%
จำนวนผู้บริจาค 614

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

เปิดตัวโครงการยากำลังใจ เพื่อผู้ป่วยมะเร็งและผู้ดูแล

16 มิถุนายน 2023

เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ทางโครงการได้จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการยากำลังใจ เพื่อเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์โครงการ ในการส่งมอบยาเม็ดแรกสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ผ่านข้อมูลความรู้ที่ถูกต้อง รวมถึงแนวทางในการปฎิบัติตัวของผู้ป่วยมะเร็งในช่วงก่อนเข้ารับการรักษา ในรูปแบบสื่อสร้างสรรค์ที่ชื่อว่า “ยากำลังใจ” ที่ Glowfish Hall 3 สาทรธานี

โดยสื่อความรู้นี้จะถูกส่งต่อไปยังกว่า 30 โรงพยาบาลรัฐที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งและผู้ดูแล จำนวน 20,000 รายทั่วประเทศ ได้เสริมสร้างกำลังใจที่ดี เพิ่มเติมองค์ความความรู้เกี่ยวกับโรค เพื่อจะได้นำไปปรับใช้และปฎิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีควบคู่ไปกับการรักษา และเพิ่มโอกาสอัตราการรอดชีวิตให้แก่ผู้ป่วยมะเร็งไทย

ทั้งนี้มีพันธมิตรเข้าร่วมสนับสนุนโครงการ ได้แก่ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ สถานวิทยามะเร็งศิริราช ชมรมผู้ป่วยมะเร็งเต้านมแห่งประเทศไทย และมูลนิธิเครือข่ายมะเร็ง อีกทั้งยังมีตัวแทนจากทางภาคเอกชนและภาคประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมให้โครงการได้ลุล่วงวัตถุประสงค์อีกมากมาย อาทิ เชฟน่าน หงษ์วิวัฒน์ รมิดา ประภาสโนบล และอนุชิต คำน้อย

ซึ่งโครงการยังต้องการความสนับสนุนในการส่งต่อชุดยากำลังใจให้ครบตามเป้าหมายจำนวน 20,000 ชุดให้แก่ผู้ป่วยมะเร็งและผู้ดูแลทั่วประเทศ

รูปภาพกิจกรรม

 ประมวลภาพจากงานแถลงข่าวใน Session แรก จะเป็นการเสวนาให้ความรู้จากภาคีพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่มีส่วนร่วมในโครงการยากำลังใจ อาทิ
นพ.ศุภกร พิทักษ์การกุล รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
รศ.ดร.นพ.วิทูร ชินสว่างวัฒนกุล หัวหน้าสถานวิทยามะเร็งศิริราช
ดร.กมล ไชยสิทธิ์ อุปนายกสมาคมโภชนาการและสมุนไพรเชิงบูรณาการ
และ เชฟน่าน หงษ์วิวัฒน์ ผู้ออกแบบเมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง

 ประธานในพิธี นพ.ศุภกร พิทักษ์การกุล รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ร่วมทำพิธีเปิดงานแถลงข่าวร่วมกับคุณออย ไอรีล ไตรสารศรี ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะที่ 4 และผู้ก่อตั้งอาร์ต ฟอร์ แคนเซอร์ บาย ไอรีล อย่างเป็นทางการ

 ใน Session สอง จะเป็นการพูดคุยเกี่ยวกับความร่วมมือและสนับสนุนจากภาคประชาชน โดยมีตัวแทนศิลปินดารา และ Influencer ได้แก่ คุณนุ่น รมิดา คุณเก๋ ชลลดา และคุณอนุชิต คำน้อย เจ้าของเพจ “คิ้วต่ำ” ที่มาบอกเล่าความประทับใจ และประโยชน์ที่เล็งเห็นว่าโครงการจะช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งได้อย่างไร พร้อมร่วมเป็นกระบอกเสียงให้โครงการ พร้อมพลักดันให้วัตถุประสงค์ของโครงการบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้

 ภาคีพันธมิตร ผู้สนับสนุนโครงการ ที่เล็งเห็นประโยชน์ของโครงการ พร้อมส่งต่อความห่วงใยแก่ผู้ป่วยมะเร็งไทยรวมถึงตัวแทนจากโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ ร่วมถ่ายภาพเป็นที่ระลึกร่วมกัน  

 1 ในกิจกรรมข้อความกำลังใจจากผู้เข้าร่วม ส่งถึงผู้ป่วยมะเร็ง โดยทางอาร์ต ฟอร์ แคนเซอร์ บาย ไอรีล จะนำไปส่งมอบให้แก่ 4 โรงพยาบาลภาครัฐที่เปิดกองทุนเพื่อผู้ป่วยมะเร็งยากไร้ไว้

วิดีโอกิจกรรม


อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

เนื่องจากผู้ป่วยที่เพิ่งทราบผลวินิจฉัยว่าป่วยเป็นโรคมะเร็งนั้น ผู้ป่วยมักจะเกิดความวิตกกังวลใจเป็นอย่างมาก ดังนั้นสิ่งที่สำคัญที่สุด นั่นคือ “กำลังใจ” เพื่อให้ผู้ป่วยได้มีความเข็มแข็งทางด้านจิตใจ รวมถึงมีความหวังในการรักษา เปิดใจเรียนรู้ข้อมูลความรู้และวิธีการรับมือกับโรคจากแหล่งข้อมูลที่น่าเชื่อถือ ซึ่งส่งผลให้ผู้ป่วยมีความเข้าใจความเข้าใจ ที่ถูกต้องในการเตรียมพร้อมเข้ารับการรักษาอย่างเหมาะสม ผ่านชุดยากำลังใจ เวอร์ชั่น 2 ที่จะส่งมอบไปยังผู้ป่วยมะเร็ง จำนวน 20,000 รายทั่วประเทศผ่านโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

จากสถิติล่าสุดของกรมควบคุมโรค พบมีผู้ป่วยมะเร็งรายใหม่จำนวน 139,206 คน/ปี และในจำนวนนี้มีผู้เสียชีวิต 84,073 คน/ปี ซึ่งถือว่าเป็นอัตราการเกิดโรคที่สูงขึ้นอย่างต่อเนื่องอาร์ต ฟอร์ แคนเซอร์ บาย ไอรีล ภายใต้ บริษัท อาร์ต ออฟไลฟ์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด ก่อตั้งเมื่อปี 2564 และมุ่งเน้นการดำเนินกิจกรรมเชิงสร้างสรรค์ เพื่อผู้ป่วยมะเร็งไทยมาโดยตลอด ได้เล็งเห็นความสำคัญในการส่งมอบกำลังใจ แนวทางการรับมือกับโรค และความรู้ที่ถูกต้องเกี่ยวกับโรคแก่ผู้ป่วยและผู้ดูแล


รายละเอียดโครงการ “ยากำลังใจ” เวอร์ชั่น 2

ในปี 2563 ที่ผ่านมาได้ดำเนินกิจกรรม “โครงการก้าวข้ามมะเร็ง” ในรูปแบบการจัดทำสื่อความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งทั้งในรูปแบบออนไลน์ผ่านสื่อวิดีโอแชร์ประสบการณ์จากผู้ป่วยมะเร็ง ในรูปแบบสื่อสิ่งพิมพ์ในนาม "ชุดยากำลังใจ" ให้แก่ผู้ป่วยมะเร็งจำนวน 10,000 รายทั่วประเทศผ่านจุดแจกจ่าย 20 โรงพยาบาลรัฐและมีผู้ดูแลรวมถึงบุคคลทั่วไปที่สนใจมากกว่า 1,179,061 คนที่เข้าถึงข้อมูลความรู้ของโครงการ โดยในครั้งนั้นได้รับความสนับสนุนจากทางภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน


ผลตอบรับที่ได้ในครั้งนั้นคือผู้ป่วยได้รับความรู้ ความเข้าใจ รวมถึงกำลังใจที่ดี ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่ทางอาร์ต ฟอร์ แคนเซอร์ บาย ไอรีล ได้ตระหนักถึงความสำคัญในการผลักดัน
ให้ผู้ป่วยมีกำลังใจที่ดีควบคู่กับการรักษาอย่างถูกต้องและเหมาะสม อีกทั้งยังส่งผลให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดียิ่งขึ้น

ในปี 2566 ทางอาร์ต ฟอร์ แคนเซอร์ มีแผนงานที่จะดำเนินกิจกรรมต่อยอดจากปี 2563 ที่กล่าวมาคือโครงการ “ยากำลังใจเวอร์ชั่น 2” โดยมีเป้าหมายในการระดมเงินทุนสนุบสนุนสื่อให้ความรู้แก่ผู้ป่วยมะเร็งทั้งในรูปแบบออนไลน์และสื่อสิ่งพิมพ์แก่ผู้ป่วยมะเร็งจำนวน 20,000 รายทั่วประเทศผ่านเครือข่ายโรงพยาบาลที่ให้การตอบรับเข้าร่วมโครงการ โดยในการนี้อาร์ ฟอร์ แคนเซอร์ ได้ขอรับการสนับสนุนจากทั้งภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน เพื่อระดมทุนในการจัดพิมพ์ชุดยากำลังใจ เวอร์ชั่น 2 เพื่อส่งมอบถึงผู้ป่วยมะเร็งจำนวน 20,000 ชุด ซึ่งคิดเป็น 15% ของผู้ป่วยโรคมะเร็งใหม่ในประเทศไทย แต่เนื่องจากสถานการณ์การระบาดของไวรัสโคโรนา หรือ COVID-19 ส่งผลต่อภาคธุรกิจและเศรษฐกิจโดยรวม ทำให้โครงการไม่สามารถขอการสนับสนุนจากภาคเอกชนได้ตามเป้าหมาย จึงขอเปิดรับความสนับสนุนสนุนโครงการจากภาคประชาชน โดยมีความประสงค์ขอเปิดการระดมทุนต้นทุนในการผลิตชุดยากำลังใจจำนวน 8,000 ชุด

เนื้อหาใน “ชุดยากำลังใจ เวอร์ชั่น 2” จะมีทั้งข้อมูลที่เป็นประโยชน์แก่ผู้ป่วยและผู้ดูแล เช่น

  • การเสริมสร้างกำลังใจ
  • เรียนรู้วิธีการรับมือกับโรค
  • เสริมความรู้เกี่ยวข้องกับการดูแลตัวเอง

เพิ่มเติมในเว่อร์ชั้น 2

  • 7 เมนูอาหารต้านมะเร็งออกแบบสูตรอาหารและ VDOโดยเชฟน่าน หงษ์วิวัฒน์ 
  • ความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็งที่ถูกต้องผ่าน CHATBOT ผ่านช่องทาง LINE OA ชื่อ"ยากำลังใจ"
  • เสริมพลังบวก ผ่าน VDO เคสตัวอย่างของผู้ป่วยมะเร็งที่มีประสบการณ์การรักษา



ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

• เดือนพฤศจิกายน 65 – มกราคม 66 ดำเนินการหาความร่วมมือเพื่อขอการสนับสนุนโครงการ

(ยังไม่ครบตามเป้าของโครงการ จึงต้องดำเนินการเสาะหาการสนับสนุนจากภาคเอกชนและประชาชนเพิ่มเติม)

• เดือนมกราคม - กุมภาพันธ์ 66 ดำเนินการประสานสถาบันทางการแพทย์เพื่อขอความร่วมมือในการตรวจสอบข้อมูล

และข้อมูลความรู้เกี่ยวกับโรคมะเร็ง ความเหมาะสมของเนื้อหาโดยรวมทั้งหมด

• เดือนมีนาคม 66 ดำเนินการออกแบบยากำลังใจ เวอร์ชั่น 2 และวีดิโอเสริมสร้างกำลังใจ

สำหรับเคสผู้ป่วยตัวอย่างในการส่งต่อกำลังใจที่มีพลังบวก

• เดือนพฤษภาคม 66 ดำเนินการจัดพิมพ์ยากำลังใจ เวอร์ชั่น 2 และงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการ “ยากำลังใจ เวอร์ชั่น 2”

• เดือนมิถุยายน - สิงหาคม 66 เริ่มดำเนินการแจกจ่ายไปตามรพ. เป้าหมาย

• เดือนกันยายน 66 สรุปผลกระทบเชิงสังคมของโครงการ “ยากำลังใจ เวอร์ชั่น 2”


ผู้รับผิดชอบโครงการ

นภาลัย เชื้อเชียงเม่น 
ผู้จัดการโครงการอาวุโส
บริษัท อาร์ต ออฟ ไลฟ์ วิสาหกิจเพื่อสังคม จำกัด

เปิดตัวโครงการยากำลังใจ เพื่อผู้ป่วยมะเร็งและผู้ดูแล

16 มิถุนายน 2023

เมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2566 ที่ผ่านมา ทางโครงการได้จัดงานแถลงข่าวเปิดตัวโครงการยากำลังใจ เพื่อเป็นช่องทางในการประชาสัมพันธ์โครงการ ในการส่งมอบยาเม็ดแรกสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง ผ่านข้อมูลความรู้ที่ถูกต้อง รวมถึงแนวทางในการปฎิบัติตัวของผู้ป่วยมะเร็งในช่วงก่อนเข้ารับการรักษา ในรูปแบบสื่อสร้างสรรค์ที่ชื่อว่า “ยากำลังใจ” ที่ Glowfish Hall 3 สาทรธานี

โดยสื่อความรู้นี้จะถูกส่งต่อไปยังกว่า 30 โรงพยาบาลรัฐที่เข้าร่วมโครงการ เพื่อให้ผู้ป่วยมะเร็งและผู้ดูแล จำนวน 20,000 รายทั่วประเทศ ได้เสริมสร้างกำลังใจที่ดี เพิ่มเติมองค์ความความรู้เกี่ยวกับโรค เพื่อจะได้นำไปปรับใช้และปฎิบัติตัวได้อย่างถูกต้อง ส่งผลให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีควบคู่ไปกับการรักษา และเพิ่มโอกาสอัตราการรอดชีวิตให้แก่ผู้ป่วยมะเร็งไทย

ทั้งนี้มีพันธมิตรเข้าร่วมสนับสนุนโครงการ ได้แก่ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ สถานวิทยามะเร็งศิริราช ชมรมผู้ป่วยมะเร็งเต้านมแห่งประเทศไทย และมูลนิธิเครือข่ายมะเร็ง อีกทั้งยังมีตัวแทนจากทางภาคเอกชนและภาคประชาชน เข้ามามีส่วนร่วมให้โครงการได้ลุล่วงวัตถุประสงค์อีกมากมาย อาทิ เชฟน่าน หงษ์วิวัฒน์ รมิดา ประภาสโนบล และอนุชิต คำน้อย

ซึ่งโครงการยังต้องการความสนับสนุนในการส่งต่อชุดยากำลังใจให้ครบตามเป้าหมายจำนวน 20,000 ชุดให้แก่ผู้ป่วยมะเร็งและผู้ดูแลทั่วประเทศ

รูปภาพกิจกรรม

 ประมวลภาพจากงานแถลงข่าวใน Session แรก จะเป็นการเสวนาให้ความรู้จากภาคีพันธมิตรทั้งภาครัฐและภาคเอกชนที่มีส่วนร่วมในโครงการยากำลังใจ อาทิ
นพ.ศุภกร พิทักษ์การกุล รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ
รศ.ดร.นพ.วิทูร ชินสว่างวัฒนกุล หัวหน้าสถานวิทยามะเร็งศิริราช
ดร.กมล ไชยสิทธิ์ อุปนายกสมาคมโภชนาการและสมุนไพรเชิงบูรณาการ
และ เชฟน่าน หงษ์วิวัฒน์ ผู้ออกแบบเมนูอาหารสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง

 ประธานในพิธี นพ.ศุภกร พิทักษ์การกุล รองผู้อำนวยการด้านการแพทย์ สถาบันมะเร็งแห่งชาติ ร่วมทำพิธีเปิดงานแถลงข่าวร่วมกับคุณออย ไอรีล ไตรสารศรี ผู้ป่วยมะเร็งเต้านมระยะที่ 4 และผู้ก่อตั้งอาร์ต ฟอร์ แคนเซอร์ บาย ไอรีล อย่างเป็นทางการ

 ใน Session สอง จะเป็นการพูดคุยเกี่ยวกับความร่วมมือและสนับสนุนจากภาคประชาชน โดยมีตัวแทนศิลปินดารา และ Influencer ได้แก่ คุณนุ่น รมิดา คุณเก๋ ชลลดา และคุณอนุชิต คำน้อย เจ้าของเพจ “คิ้วต่ำ” ที่มาบอกเล่าความประทับใจ และประโยชน์ที่เล็งเห็นว่าโครงการจะช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งได้อย่างไร พร้อมร่วมเป็นกระบอกเสียงให้โครงการ พร้อมพลักดันให้วัตถุประสงค์ของโครงการบรรลุตามเป้าหมายที่วางไว้

 ภาคีพันธมิตร ผู้สนับสนุนโครงการ ที่เล็งเห็นประโยชน์ของโครงการ พร้อมส่งต่อความห่วงใยแก่ผู้ป่วยมะเร็งไทยรวมถึงตัวแทนจากโรงพยาบาลที่เข้าร่วมโครงการ ร่วมถ่ายภาพเป็นที่ระลึกร่วมกัน  

 1 ในกิจกรรมข้อความกำลังใจจากผู้เข้าร่วม ส่งถึงผู้ป่วยมะเร็ง โดยทางอาร์ต ฟอร์ แคนเซอร์ บาย ไอรีล จะนำไปส่งมอบให้แก่ 4 โรงพยาบาลภาครัฐที่เปิดกองทุนเพื่อผู้ป่วยมะเร็งยากไร้ไว้

วิดีโอกิจกรรม


แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าจัดพิมพ์ชุดยากำลังใจ เวอร์ชั่น 2 8,000 800,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
800,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
80,000.00

ยอดระดมทุน
880,000.00