project สิ่งแวดล้อม

ชาปลูกชีวิต คืนผืนป่าดอยปู่หมื่น

สร้างต้นแบบการปลูกชาแบบวนเกษตรบนดอยปู่หมื่น จ.เชียงใหม่ โมเดลที่ลูกหลานชาวลาหู่จะสามารถปลูกชาต้นเล็กๆไปพร้อมกับปลูกต้นไม้ใหญ่ อาทิ ต้นพีช, ต้นบ๊วย,พลัม ,พีแคน เพื่อคืนผืนป่า รักษาระบบนิเวศน์และทรัพยากรธรรมชาติให้มีความอุดมสมบูรณ์ตามเดิม

ระยะเวลาโครงการ 5 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ ดอยปู่หมื่น อ.แม่อาย จ.เชียงใหม่

ยอดบริจาคขณะนี้

120,638 บาท

เป้าหมาย

176,550 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 68%
จำนวนผู้บริจาค 41

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

ความคืบหน้าการดำเนินงาน สิงหาคม-กันยายน 2564

7 ตุลาคม 2021

ช่วงที่ 1 
วันที่ 4-13 สิงหาคม 2564
สนับสนุนการซื้อกล้าพันธุ์และจ้างงานในหมู่บ้านปู่หมื่น กลุ่มที่สมัครมาปลูกต้นไม้ช่วยให้คนในชุมชนมีงานทำ  จากที่เคยว่างงานเพราะผลกระทบของสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19

ช่วงที่ 2
15 กันยายน 2564 เป็นต้นไป จนถึงปี 2565
รับซื้อเมล็ดชาช่วงที่ 1 ในปริมาณ 10 กิโลกรัม และเริ่มงานเพาะกล้าชาจากเมล็ดชา เพื่อนำกล้าชาไปปลูกและแจกจ่ายต่อไป โดยให้คนในชุมชนช่วยดูแลกระบวนการเพาะจนกว่าจะได้กล้าชา ต่อเนื่องไปอีก 1 ปี คาดว่าจะได้กล้าชาประมาณ 10,000 - 20,000 ต้น และจะมีการอัพเดทยอดต้นกล้าที่ได้ทั้งหมดอีกครั้งในปี 2565 เมื่อสิ้นสุดการดำเนินงานตามที่ระบุไว้ของโครงการ

คำขอบคุณจากผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการ

รู้สึกดีใจมากที่ได้เข้าร่วมโครงการปลูกต้นไม้ ได้เงินค่าจ้างไปเลี้ยงครอบครัว และดีที่ได้ปลูกต้นไม้ ทำให้มีต้นไม้มากขึ้น เป็นที่ทำมาหากินต่อไป อยากให้มีโครงการนี้จะได้ทำงานต่อไปค่ะ

นางฟ๋อแล จะมู (นามี) - 39 ปี


รู้สึกดีใจมากและมีความสุขที่ได้เข้าร่วมโครกงารปลูกป่า ได้เงินค่าจ้างจากการทำงานไปผ่อนรถมอเตอร์ไซค์ และใช้จ่ายในครอบครัว อยากทำงานอีกครั้ง การปลูกต้นไม้ทำให้มีธรรมชาติที่ดีมากขึ้น และเป็นอาชีพต่อไปในอนาคต ช่วงนี้ว่างงาน ไม่มีใครจ้าง อยากได้งานเพิ่มอีกครับ
นายอรุณ - 21 ปี


อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ดอยปู่หมื่นเป็นพื้นที่ชาวลาหู่อาศัยอยู่และมีอาชีพปลูกชา ปีพ.ศ. 2515 ในหลวงราชกาลที่ 9 ได้พระราชทานต้นชาให้แก่ชาวบ้านให้ได้มีอาชีพ

ปัจจุบันจำนวนคนในชุมชนเพิ่มสูงขึ้น ทำให้มีความต้องการใช้ทรัพยากรธรรมชาติมากขึ้น ชาวบ้านขาดความรู้และความเข้าใจในการบริหารจัดการพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ ทำให้เกิดการบุกรุกพื้นที่ป่าตัดไม้มาใช้ในชีวิตประจำวันและการทำไร่เลื่อนลอย จึงส่งผลกระทบต่อสภาพแวดล้อมในพื้นที่ 

ภาพประกอบ : พวกเราชาวดอยปู่หมื่น

ดิฉันจิราวรรณ ไชยกอ เป็นลูกผู้นำชุมชนดอยปู่หมื่น ซึ่ง ปัจจุปันเป็นเจ้าแบรนด์ชา Ahpa Tea อาปาที ชาของพ่อ ที่อำเภอฝาง และทำเส้นทางท่องเที่ยววิถีชาชุมชนที่หมู่บ้านปู่หมื่น อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ กับ ดร.ไพรัช พิลบูลย์รุ่งโรจน์  คณะเศรษฐสตร์  มหาวิทยาลัยเชียงใหม่  และ นายอุดม ชิดนายี ที่ปรึกษา สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเขต จังหวัดเชียงใหม่ ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาชุมชนชาวเขาให้ยั่งยืน  จึงอยากช่วยกันให้ดอยปู่หมื่นยังมีป่าไม้เหมือนเดิม ขณะที่ชาวบ้านก็มีรายได้ที่จะเลี้ยงตัวเองได้เช่นกัน

โครงการ "ชาปลูกชีวิต คืนผืนป่า" มีจุดมุ่งหมายเพื่อพัฒนาเรื่องการบริหารจัดการที่ดินหรือพื้นที่ทำกินที่มีอยู่อย่างจำกัดให้เกิดประโยชน์สูงสุด นั่นก็คือ การทำแปลงชาวนเกษตรต้นแบบที่ควบคู่ไปกับต้นไม้ใหญ่ 

ทั่วไปแล้ว เรามักเห็นภาพแปลงชาบนภูเขามีลำต้น ความสูงที่เท่ากัน ทว่าการปลูกชาสายพันธ์ดังกล่าวต้องใช้พื้นที่ในการจัดการเยอะ สำหรับโครงการนี้เราจะให้กล้าชา สายพันธุ์อัสสัม ที่สามารถปลูกไปพร้อมกับต้นไม้ใหญ่ อาทิ ต้นพีช, ต้นบ๊วย,พลัม ,พีแคน ซึ่งจะทำเป็นการรักษาระบบนิเวศน์และทรัพยากรธรรมชาติให้มีความอุดมสมบูรณ์ตามเดิม  

ภาพประกอบ : แผนการปลูกพืชผสมผสานและป่า

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ 

  1. วางแผนการจัดการพื้นที่14 ไร่ ในแปลงสาธิตโดยมีเจ้าหน้าที่โครงการหลวงเกษตรอ่างขาง เป็นที่ปรึกษาในการวางแผนการจัดการพื้นที่ครั้งนี้
  2. เตรียมพื้นที่สำหรับการเพาะปลูกพืชพรรณแต่ละชนิด ให้เหมาะสมตามฤดูกาล
  3. ลงมือเพาะปลูกพืชพรรณตามที่วางแผนไว้
  4. ดูแลรักษาและพัฒนาพื้นที่แปลงสาธิตให้อยู่เคียงคู่กับดอยปู่หมื่นจากรุ่นสู่รุ่น

ภาพประกอบ : เริ่มเตรียมพื้นที่ปลูกชา

ประโยชน์ของโครงการ

  1. สร้างความรู้และความเข้าใจในการจัดสรรพื้นที่เดิมได้อย่างมีประสิทธิภาพและเกิดประโยชน์สูงสุด
  2. สร้างแหล่งการเรียนรู้เพื่อให้ผู้ที่สนใจจะศึกษาในเรื่องของการทำแปลงสาธิต
  3. ช่วยรักษาระบบนิเวศน์และธรรมชาติป่าไม้ ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำและหัวใจสำคัญที่หล่อเลี้ยงคนในพื้นที่ ให้คงอยู่ตลอดไป
  4. สร้างรายได้ให้กับชาวบ้านและเกษตรกรในชุมชน
  5. ปลูกจิตสำนึกให้ชาวบ้านรู้คุณค่าของธรรมชาติป่าไม้ เพื่อหลีกเลี่ยงการบุกรุกพื้นที่อุทยาน
  6. เพื่อสร้างความสมดุลในการอยู่ร่วมกันของชาวบ้านและธรรมชาติ

สมาชิกภายในทีม

นส.จิราวรรณ ไชยกอ ฝ่ายพัฒนาเศรษฐกิจดอยปู่หมื่น

นาย อุดม ชิดนายี ที่ปรึกษา สภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวเขต จังหวัดเชียงใหม่ ที่ปรึกษาด้านการพัฒนาชุมชนชาวเขาให้ยั่งยืน

ดร.ไพรัช พิลบูลย์รุ่งโรจน์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะเศรษฐสตร์   ที่ปรึกษาโครงการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน ดอยปู่หมื่น

นางฟ๋อแล จะมู ชุมชนบ้านปู่หมื่น 

ภาคี

มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ คณะเศรษฐสตร์ 

สำนักวิจัยและพัฒนาการเกษตรเขตที่ 1 จังหวัดเชียงใหม่ โดย นายสมพล นิลเวศน์นักวิชาการเกษตรชำนาญการพิเศษ   


ความคืบหน้าการดำเนินงาน สิงหาคม-กันยายน 2564

7 ตุลาคม 2021

ช่วงที่ 1 
วันที่ 4-13 สิงหาคม 2564
สนับสนุนการซื้อกล้าพันธุ์และจ้างงานในหมู่บ้านปู่หมื่น กลุ่มที่สมัครมาปลูกต้นไม้ช่วยให้คนในชุมชนมีงานทำ  จากที่เคยว่างงานเพราะผลกระทบของสถานการณ์ระบาดของโรคโควิด-19

ช่วงที่ 2
15 กันยายน 2564 เป็นต้นไป จนถึงปี 2565
รับซื้อเมล็ดชาช่วงที่ 1 ในปริมาณ 10 กิโลกรัม และเริ่มงานเพาะกล้าชาจากเมล็ดชา เพื่อนำกล้าชาไปปลูกและแจกจ่ายต่อไป โดยให้คนในชุมชนช่วยดูแลกระบวนการเพาะจนกว่าจะได้กล้าชา ต่อเนื่องไปอีก 1 ปี คาดว่าจะได้กล้าชาประมาณ 10,000 - 20,000 ต้น และจะมีการอัพเดทยอดต้นกล้าที่ได้ทั้งหมดอีกครั้งในปี 2565 เมื่อสิ้นสุดการดำเนินงานตามที่ระบุไว้ของโครงการ

คำขอบคุณจากผู้ได้รับประโยชน์จากโครงการ

รู้สึกดีใจมากที่ได้เข้าร่วมโครงการปลูกต้นไม้ ได้เงินค่าจ้างไปเลี้ยงครอบครัว และดีที่ได้ปลูกต้นไม้ ทำให้มีต้นไม้มากขึ้น เป็นที่ทำมาหากินต่อไป อยากให้มีโครงการนี้จะได้ทำงานต่อไปค่ะ

นางฟ๋อแล จะมู (นามี) - 39 ปี


รู้สึกดีใจมากและมีความสุขที่ได้เข้าร่วมโครกงารปลูกป่า ได้เงินค่าจ้างจากการทำงานไปผ่อนรถมอเตอร์ไซค์ และใช้จ่ายในครอบครัว อยากทำงานอีกครั้ง การปลูกต้นไม้ทำให้มีธรรมชาติที่ดีมากขึ้น และเป็นอาชีพต่อไปในอนาคต ช่วงนี้ว่างงาน ไม่มีใครจ้าง อยากได้งานเพิ่มอีกครับ
นายอรุณ - 21 ปี


แผนการใช้เงิน


รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
1.ต้นกล้าชา ต้นละ 15 บาท9,500 ต้น142,500  
2.ต้นพีช, ต้นบ๊วย,พลัม ,พีแคน ต้นละ 20 บาท900 ต้น 18,000
3.ค่าดำเนินงานเทใจดอทคอม 10%
(ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway ค่าคัดกรองโครงการ ตรวจสอบ ติดตาม วัดผล และรายงานความคืบหน้า)
16,050
รวม176,550