ลําเลียงนํ้า สู่ความมั่นคง

ชุมชนรอบเหมืองใน ต.วังประจบ อ.เมืองจ.ตาก กว่า 32 ครัวเรือน มักจะมีปัญหาน้ำใช้ทำเกษตรกรรมและเลี้ยงสัตว์ ผมนายจักรวาล อัมพรพฤติ ได้ขอความร่วมกับบ. พิพัฒน์กร จำกัด เพื่อจัดทำแผนบริหารการจัดการน้ำจากบ่อพักน้ำของเหมืองที่กักน้ำฝนและนํ้าจากป่ากว่า 4 ล้านลูกบาก์เมตร ให้เป็นประโยชน์แก่ชาวบ้านที่จะมีน้ำใช้ทั้งปี
ระยะเวลาโครงการ 15 ต.ค. 2566 ถึง 30 ส.ค. 2567 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: ตำบลวังประจบ อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก (หมู่ 6 บ้านนํ้าดิบ , หมู่ 7 บ้านโป่งแค)
ยอดบริจาคขณะนี้
10,084 บาทเป้าหมาย
131,824 บาทปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา
ชาวบ้านหมู่ 6 บ้านน้ำดิบ และหมู่ 7 บ้านโป่งแค รวม 32 ครัวเรือน มีปัญหาขาดแคลนนํ้าอุปโภคและเกษตรอย่างมากในช่างหน้าหนาวและหน้าร้อน อ้างอิงจากกรมอุตุนิยมวิทยาจังหวัดตาก ช่วงต้นเดือนมกราคมและกุมภาพันธ์ บริเวณชุมชนทางด้านฝั่งขวาของอําเภอเมืองตาก มีฝนตกเฉลี่ย 0.1-1.0 มม หรือแปลว่าไม่ตกเลยก็ว่าได้ ซึ่งทําให้การขาดแคลนน้ำเป็นปัญหาหลัก และกระทบต่อประชาชนแถบนี้ที่ทำอาชีพเกษตรกรรม
ปี 2547 ชาวบ้านหมู่ 6 บ้านน้ำดิบ และหมู่ 7 บ้านโป่งแค 7 ครัวเรือนได้ต่อท่อน้ำในบ่อนี้ไปใช้ อย่างไรก็ตามเมื่อจำนวนครอบครัวขยายตัวมากขึ้น ประกอบกับน้ำที่ขาดแคลน ผมจึงเก็บข้อมูลเพื่อสำรวจความต้องการในพื้นที่อีกครั้งและพบว่า การติดตั้งท่อส่งน้ำ ปั๊มน้ำ และแท็งค์น้ำ จะทําให้ชุมชนได้มีนํ้าใช้ในยามจําเป็น เพื่อใช้ในชีวิตประจำวัน แล้วยังมีน้ำเหลือใช้ในการทำเกษตรกรรมด้วย ทําให้เศรษกิจในบริเวณนั้นดีขึ้น เพราะคนในชุมชนได้ทําการเพาะปลูกพืชผักต่างๆ เพื่อเลี้ยงตนเอง สามารถพึ่งพาตนเองได้ดีขึ้น เจริญขึ้น อย่างยั่งยืน
ด้านความปลอดภัยน้ำในบ่อนี้ทางบริษัทได้ใช้อุปโภคเช่นเดียวกันมายาวนาน และบริษัทได้ให้บริษัทอื่นมาช่วยตรวจสอบสภาพน้ำปีละ 2 ครั้ง
หากโครงการเสร็จแล้ว ทีมงานตั้งใจจะให้มอบอุปกรณ์ให้อบต.วังประจบเพื่อดูแลต่อ โดยวางแผนหน่วยงานที่ดูแลจัดเก็บค่าใช้จ่ายในราคาถูก เพื่อนำเงินส่วนนี้มาเป็นเงินทุนเพื่อใช้ในการดูแลรักษาอุปกรณ์ส่งน้ำให้สามารถใช้งานได้ในระยะยาวและยั่งยืน
จดหมายขอความช่วยเหลือจากชาวบ้าน:
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
1. สํารวจน้ำในบ่อเหมือง และชุมชนบริเวณใกล้เคียง เพื่อวางแผนจุดที่จะติดตั้งปั๊มนํ้า ท่อส่งน้ำ และแท็งค์นํ้าเพิ่ม เพื่อให้ครอบคลุมทั้ง 2 ชุมชน
2. วัดระยะทาง ตรวจเช็คบ่อนํ้า ปั๊มน้ำ และติดต่อผู้รับเหมา เพื่อให้เสนอราคา
3. ระดมทุนให้ครบตามที่ต้องการ และเริ่มโครงการได้เลย
4. ดำเนินการติดตั้งให้แล้วเสร็จและทำการทดสอบระบบ
5. เปิดใช้งานให้กับชุมชน และมอบโครงการให้กับหน่วยงานราชการท้องถิ่นดูแล พร้อมแนะนำแผนการดูแลแบบยั่งยืน จึงถือเป็นการเสร็จสมบูรณ์
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ผม นายจักรวาล อัมพรพฤติ เป็นนักเรียนศึกษาอยู่ชั้น มัธยมศึกษาปีที่ 6 ที่ Tabor Academy ในรัฐแมสซาชูเซตส์ ประเทศสหรัฐอเมริกา ผมมีความสนใจในการศึกษาต่อทางด้านเศรษฐศาสตร์ซึ่งมีความเกี่ยวข้องกับธรรมชาติและความยั่งยืน ทางด้านประสบการณ์การทํางานเพื่อสังคม ประสบการณ์ที่ผ่านมาผมกับทางทีมงานได้เข้าไปมีการแก้ไขไปบางส่วน โดยการติดตั้งระบบหัวนํ้าหยดให้กับโรงเรียนทรัพย์สมบูรณ์ จ.ตาก ในบริเวณนี้ เพื่อให้ใช้นํ้าอย่างมีประสิทธิภาพ และมีการระดมทุนส่วนตัวเพื่อติดตั้งท่อส่งน้ำ ปั๊มน้ำ และแท็งค์น้ำไปบางส่วนแล้ว แต่ไม่เพียงพอ เมื่อเทียบกับจำนวนชุมชนที่ขยายตัวอย่างรวดเร็ว การแก้ปัญหายังเป็นการแก้ปัญหาที่จุดเล็กๆ และไม่ยั่งยืน เพราะท่อส่งน้ำ เมื่อใช้ไปนานๆ จะมีตะกอน และตะไคร่น้ำสะสมในท่อน้ำ ทำให้ท่อลำเลียงน้ำได้น้อย และน้ำไม่แรงพอ ซึ่งผม และทีมงานได้มีความคิดที่จะแก้ปัญหาให้ครอบคลุมพื้นที่ให้กว้างขึ้น โดยการระดมเงินทุนจากการบริจาคไปติดตั้งท่อส่งน้ำ ปั๊มน้ำ และแท็งค์น้ำเพิ่ม ซึ่งการแก้ปัญหานี้ ทางรัฐมีการช่วยเหลือบางส่วน เช่นมีการติดตั้งแท็งค์น้ำให้โรงเรียน ซึ่งช่วยบรรเทาได้แค่โรงเรียน และคนในบริเวณใกล้กับโรงเรียนเท่านั้น
นางสาว พันธุดา กลิ่นโอชา
นาง ภาสินี ด้วงคํา
บริษัท พิพัฒน์กร จํากัด

แผนการใช้เงิน
ลำดับ | รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|---|
1 | 1. ชุดส่งนํ้ารักษาแรงดัน (Booster Pump Control) - ปริมาณนํ้า Range 1-5m3/hr - แรงดัน ช่วง 20-34mH - ขนาดท่อ 2 นิ้ว 2. ประกอบติดตั้งหน้างาน 3. ค่าซ่อมแซมและอื่นๆ | 1 เซ็ต | 119,840.00 |