เงินบริจาคของคุณจะส่งเสริมอาชีพผู้ช่วยแพทย์แผนไทย 330 ชั่วโมงให้กับลุ่มคนที่ได้รับผลกระทบจากโควิด-1930คน
ส่งเสริมอาชีพผู้ช่วยแพทย์แผนไทย 330 ชั่วโมงเพื่อช่วยเหลือกลุ่มคนที่ตกงาน เน้นการนวดไทย แบบราชสำนักและนวดไทยแบบเฉลยศักดิ์ พร้อมการใช้ยาสมุนไพรรักษาอาการเจ็บป่วย เมื่อเรียนจบสามารถนำความรู้ไปดูแลตนเอง ญาติพีน้อง คนในชุมชน และนำไปประกอบอาชีพ การนวดรักษาอาการโรคต่างๆ ได้
การแพร่ระบาดของโควิดในช่วง 1 ปี ที่ผ่านมา ได้กระทบภาคเศรษฐกิจในวงกว้าง การตกงานที่เพิ่มขึ้นทำให้คนในกลุ่มเปราะบางเสี่ยงเป็นคนยากจนมากขึ้น การแพร่ระบาดของโควิด-19 มาพร้อมกับเศรษฐกิจที่ตกต่ำถดถอย การปิดตัวของกิจการ การตกงานของแรงงานจำนวนมาก ผลกระทบจากวิกฤตนี้ยังทำให้ “คนจน” โดยเฉพาะในกลุ่มเปราะบางทางเศรษฐกิจที่มีรายได้ต่ำมาก และเข้าไม่ถึงสวัสดิการสังคม คนกลุ่มนี้มีความเสี่ยงจะเผชิญกับความยากจนมากยิ่งขึ้นไปอีกและสถานการณ์ความยากจนในประเทศไทยกำลังตกอยู่ในความเสี่ยงที่จะมี “คนจน”เพิ่มขึ้นอีกมากเช่นกัน ในปัจจุบันแม้เราจะควบคุมโควิด-19 ได้ดีขึ้นแต่การที่เศรษฐกิจไทยติดลบ 8 - 10% ก็ทำให้ความมั่งคั่งที่สั่งสมอยู่ในระบบเศรษฐกิจถดถอยไปหลายปีเช่นกัน ข้อมูลจากรายงานการวิเคราะห์สถานการณ์ความยากจนและเหลื่อมล้ำของประเทศไทย ปี 2562 ที่สภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) ได้เผยแพร่ล่าสุดเมื่อเดือน ก.ย.ที่ผ่านมาโดยเป็นข้อมูลที่ทำการสำรวจสถานการณ์ความยากจนและความเหลื่อมล้ำในประเทศไทยระหว่างปี 2561 - 2562 ซึ่งแม้ในปี 2562 สัดส่วนคนจนจะลดลงจาก9.85% ในปี 2561 มาอยู่ที่6.24 % ในปี 2562 หรือมีคนจนจำนวน 4.3 ล้านคน ลดลงจาก6.7 ล้านคนในปี 2561 อีกทั้งประเทศไทยเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ ตั้งแต่ปี 2548 ซึ่งตอนนั้นมีผู้สูงอายุ 10.4% และปีนี้ 2564 จะเข้าสู่ “สังคมสูงอายุโดยสมบูรณ์” ตามหลักเกณฑ์ อายุ 60 ปีขึ้นไป มากกว่า 20% ของประชากรทั้งประเทศ และคาดการณ์ว่าในปี 2574 ประเทศไทยจะเข้าสู่ “สังคมสูงอายุระดับสูงสุด” โดยองค์การสหประชาชาติ คาดการณ์ว่า ช่วงปี 2001-2100 ( พ.ศ.2544-2643 ) จะเป็นศตวรรษแห่งผู้สูงอายุ โลกจะก้าวเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุ แต่ละประเทศจะเข้าสู่สังคมผู้สูงอายุแตกต่างกันไป ตามสภาพแวดล้อม เช่น การพัฒนาด้านการแพทย์ ความเจริญเติบโตทางเศรษฐกิจ และโภชนาการทางด้านอาหาร ฯลฯ และรัฐบาลได้กำหนดเรื่องนี้เป็น “วาระแห่งชาติ” จัดทำแผนปฏิบัติการด้านผู้สูงอายุ (พ.ศ.2545-2565)ไว้รองรับในอนาคต
ทางมูลนิธิฯจึงตระหนักเป็นอย่างยิ่งถึงสถานการณ์ดังกล่าว และเพื่อให้เกิดผลการพัฒนาคุณภาพชีวิตที่มั่นคง มั่งคั่ง ยั่งยืน ตามแผนแม่บทพัฒนาชาติ 20ปี การสร้างอาชีพให้กลุ่มคนดังกล่าวจึงสำคัญ โดยผ่านความร่วมมือจากส่วนงานต่างๆและโครงการของมูลนิธิฯ ซึ่งสืบเนื่องจากในพื้นที่จังหวังสงขลามีความขาดแคลนบุคคลด้านผู้ช่วยแพทย์แผนไทยอย่างมาก มูลนิธิฯจึงเห็นช่องทางการสร้างอาชีพให้กับกลุ่มเป้าหมายในทำงานได้หลุดพ้นจากการว่างงาน ความยากจนและเป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ อีกทั้งผู้เข้าร่วมสามารถนำความรู้ที่ได้มาดูแลผู้สูงอายุในครอบครัว ในชุมชนได้อีกทาง และมีโอกาสพัฒนาคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นได้อย่างยั่งยืน
คัดเลือกกลุ่มเป้าหมายที่สมัครใจและคัดเลือกคุณสมบัติที่เหมาะสมต่อการศึกษาต่อเป็นผู้ช่วยแพทย์แผนไทย เช่น ความยากจน ความตั้งใจ ความพยายาม และความรับผิดชอบ ในพื้นที่จังหวัดสงขลา
ประสานความร่วมมือร่วมกับศูนย์สถาบันแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก สมานคุณคลินิกการแพทย์แผนไทย เพื่อออกแบบหลักสูตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทย ที่เหมาะสม ระยะเวลา 5 เดือน
ข้าเรียนหลักสูตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทย ณ จังหวัดสงขลา
ฝึกงาน ณ สถาบันการแพทย์แผนไทย, ศูนย์บริการสุขภาพ, คลินิกหรือสปา ร้านนวดแผนไทยในพื้นที่จังหวัดสงขลา โดยประเมินผลโดยผู้ประกอบการในพื้นที่ร่วมกับอาจารย์สอนจากศูนย์สถาบันแพทย์แผนไทยและแพทย์ทางเลือก สมานคุณคลินิกการแพทย์แผนไทย และ ปลักคล้าคลินิกการแพทย์แผนไทย ระยะเวลา 1 เดือน
การติดตามสนับสนุน ส่งเสริมจากเจ้าหน้าที่มูลนิธิฯ อย่างใกล้ชิดต่อเนื่องตลอดโครงการ และทุก 3 เดือนหลังจบโครงการ
เมื่อผู้เรียนผ่านสอบใบประกอบวิชาชีพผู้ช่วยแพทย์แผนไทยได้แล้ว มูลนิธิฯจะสนับสนุนให้ทุกคนมีทางเลือกในการประกอบอาชีพ เช่นไปทำงานที่คลินิก หรือสถานประกอบการในพื้นที่หรือเดินทางไปทำงานที่ประเทศมาเลเซีย หรือเปิดร้านนวด หรือพัฒนาที่อยู่อาศัยเพื่อให้บริการการนวดแผนไทย
ถอดบทเรียนผู้เรียนเพื่อประเมินความต้องการ สนับสนุน ส่งเสริมให้มีความมั่นคงในระยะยาว
รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|
ค่าวิทยากรภาคทฤษฎีการแพทย์แผนไทยวิทยากรจำนวน 4 ท่าน ประกอบด้วย 1.วิทยากรด้านเวชกรรมไทย 1 ท่าน จำนวน 15 ชั่วโมง 2.วิทยากรด้านการนวดไทยแบบราชสำนักและเชลยศักด์ 2 ท่านๆละ 100 ชั่วโมง 3.วิทยากรด้านเภสัชกรรมไทย 1 ท่าน จำนวน 15 ชั่วโมง รวมทั้งหมด 230 ชั่วโมง ค่าตอบแทนชั่วโมงละ450 บาท | 230ชั่วโมง | 103,500.00 |
ค่าที่ปรึกษาในการฝึกภาคปฎิบัติ 100 ชั่วโมง จำนวน 1 ท่าน ณ ปลักคล้าคลินิกการแพทย์แผนไทย ชั่วโมงละ 100 บาท | 100ชั่วโมง | 10,000.00 |
งบประมาณตั้งต้นสำหรับการประกอบอาชีพในชุมชนเพื่อสุขภาพ 3 พื้นที่ อ.สะเดา , อ.รัตภูมิ, อ.สิงหนคร จ.สงขลา พื้นที่ละ 30,000 บาท เพื่อจัดตั้งวิสาหกิจชุมชนให้เป็นศูนย์บริการสุขภาพชุมชนและจัดซื้อวัสดุอุปกรณ์ เช่น เตียง ตู้อบ | 3ศูนย์ | 90,000.00 |
ค่าตอบแทนผู้ประสานงานโครงการฯ เดือนละ 15,000 บาท | 6เดือน | 90,000.00 |
เอกสารประกอบการอบรม ตลอดหลักสูตร | 30ขุุด | 20,000.00 |
รวมเป็นเงินทั้งหมด | 313,500.00 | |
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%) | 31,350.00 |
ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้
สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้