project สิ่งแวดล้อม

ส่งโซล่าเซลล์ช่วยคนเฝ้าป่า ในจุดสกัดบริเวณตะเข็บชายแดนที่ยังไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง

มีจุดสกัดที่ลำบากมากๆ อยู่ติดกับตะเข็บชายแดน ซึ่งไม่มีไฟฟ้า ไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวกใดๆ กลางคืนผู้พิทักษ์ป่าต้องจุดเทียนหรือตะเกียง อยู่กับความมืดมิดและเงียบเหงากลางผืนป่า ห่างไกล ทุรกันดาร มาช่วยสนับสนุนให้ผู้พิทักษ์ป่า โดยหาชุดโซลาเซลเล็ก ๆ ที่พอจะให้เปิดไฟส่องสว่างในยามค่ำคืน

พื้นที่ดำเนินโครงการ พื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า 10 แห่ง

ยอดบริจาคขณะนี้

184,319 บาท

เป้าหมาย

171,600 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 107%
จำนวนผู้บริจาค 444

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

ส่งโซล่าเซลล์ช่วยคนเฝ้าป่า จำนวน 13 หน่วยงาน

22 กุมภาพันธ์ 2023
หลังจากโครงการระดมทุนได้สำเร็จตามเป้าหมาย เป็นจำนวนเงิน 184,319 บาท ก็ได้เริ่มทำการจัดหาชุดโซลาเซลล์ ดังนี้
  • 2.1. จัดหาชุดโซลาเซลล์ จำนวน 13 ชุด ๆ ละ 11,400 บาท เป็นเงิน 148,200 บาท
  • 2.2. จัดซื้อสายไฟและชุดชาร์ทไฟ 17,687 บาท
  • 2.3. ค่าธรรมเนียมในการให้บริการเทใจดอทคอม 10% เป็นเงิน 18,432 บาท

รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 184,319 บาท

และได้ทำการส่งมอบให้กับ จุดสกัด ในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า จำนวน 13 แห่ง ได้แก่
  1. หน่วยพิทักษ์ป่าหัวทุ่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยพระบาท จังหวัดลำปาง (สำนักงาน)
  2. หน่วยพิทักษ์ป่าหัวทุ่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยพระบาท จังหวัดลำปาง (จุดดูแลลูกช้างทับเสลา)
  3. จุดสกัดชั่วคราวอาโจ้ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสันปันแดน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  4. จุดสกัดห้วยอ้อ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเวียงหล้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  5. จุดสกัดห้วยส้าน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเวียงหล้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  6. จุดสกัดนอปานา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน จ.แม่ฮ่องสอน
  7. จุดสกัดกิ่วห้วยเรียบ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าภูฟ้า จ.น่าน
  8. จุดสกัดกะแง่คี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จ.ตาก
  9. จุดสกัดดวงเจริญ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุทยานเสด็จในกรมกรมหลวงชุมพรด้านทิศเหนือ (ตอนล่าง) จ .ชุมพร
  10. จุดสกัดช่องพลาญกระต่าย เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบุณฑริก-ยอดมน จ.อุบลราชธานี
  11. จุดสกัดกบาลกะไบ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก จ.ศรีสะเกษ
  12. ฐานปฏิบัติการพิทักษ์ป่ากะเลงเวก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ จ.สุรินทร์
  13. จุดสกัดสี่พยัคฆ์ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม จ.อุบลราชธานี

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

 " ขอบคุณทุกภาคส่วนที่มีส่วนร่วมในโครงการนี้ค่ะ "

 " ดำเนินการติดตั้งชุดโซลาเซลล์ ผลใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ "

กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
หน่วยงานในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่าเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ในจุดสกัด ซึ่งเป็นหน่วยงานในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า ที่อยู่ห่างไกล ทุรกันดาร หรืออยู่ชายแดน จุดสกัด ในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า จำนวน13 แห่ง   1. เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ในหน่วยงานห่างไกล ทุรกันดาร หรืออยู่ชายแดนได้มีไฟฟ้าใช้ในการปฏิบัติงานดูแลทรัพยากรป่าและสัตว์ป่าในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2. ทรัพยากรป่าและสัตว์ป่าในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่าได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. สร้างความร่วมมือของสังคมไทยในการมีส่วนร่วมกันเฝ้าป่า รักษาพื้นที่สีเขียวของประเทศไทย
4. ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดจากธรรมชาติ เพื่อให้คุณภาพสิ่งแวดล้อม
ของประเทศไทยดีขึ้น

รูปภาพกิจกรรม

 โครงการฯ ได้ส่งโซล่าเซลล์ช่วยคนเฝ้าป่า ในจุดสกัดบริเวณตะเข็บชายแดนที่ยังไม่มีไฟฟ้าเข้าถึงแล้ว จำนวน 13 หน่วยงาน ช่วยทำให้เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าในหน่วยงานห่างไกล ทุรกันดาร อยู่ชายแดน ได้มีไฟฟ้าใช้ในการปฏิบัติงานดูแลทรัพยากรป่าและสัตว์ป่าและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

พื้นที่ป่าในประเทศไทย ที่ถูกอนุรักษ์รักษาไว้เพื่อเป็นบ้านแหล่งอาศัยที่สำคัญของสัตว์ป่า
คือพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า 158 แห่ง อันได้แก่

  • เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 62 แห่ง
  • เขตห้ามล่าสัตว์ป่า 96 แห่ง


และที่เตรียมการอีก 90 แห่ง แต่ละแห่งจะมีหน่วยพิทักษ์ป่าและจุดสกัดกระจายอยู่ทั่วพื้นที่ในจุดที่มีความล่อแหลม
ต่อการบุกรุกป่าและลักลอบล่าสัตว์ป่า รวม 493 หน่วยพิทักษ์ป่า และ 149 จุดสกัด โดยจะมีเจ้าหน้าที่ผู้พิทักษ์ป่าประจำหน่วยละ 3 – 9 คน หลายแห่งโดยเฉพาะจุดสกัดไม่มีอาคารถาวร มีเพียงเพิงพักที่ปลูกสร้างกันเองอย่างง่าย พอให้เจ้าหน้าที่ได้ปฏิบัติงาน และส่วนใหญ่อยู่ในพื้นที่ป่าห่างไกล ทุรกันดาร 



ในขณะที่พวกเราคนเมืองอยู่ท่ามกลางความสะดวกสบายของเครื่องปรับอากาศและสิ่งอำนวยความสะดวก 
แต่มีจุดสกัดที่ลำบากมากๆ อยู่ติดกับตะเข็บชายแดน ซึ่งไม่มีไฟฟ้า ไม่มีเครื่องอำนวยความสะดวกใดๆ กลางคืนผู้พิทักษ์ป่าต้องจุดเทียนหรือตะเกียง อยู่กับความมืดมิดและเงียบเหงากลางผืนป่า ห่างไกล ทุรกันดาร การช่วยสนับสนุนให้ผู้พิทักษ์ป่า โดยหาชุดโซลาเซลเล็ก ๆ ที่พอจะให้เปิดไฟส่องสว่างในยามค่ำคืน และมีทีวี DC เล็กๆ ราคาพันกว่าบาท ไว้ติดตามข่าวสาร พักผ่อนหย่อนใจในยามเสร็จสิ้นภารกิจระหว่างวัน เป็นการส่งกำลังใจและความห่วงใยเอื้ออาทรจากสังคมเมืองไปสู่กลางผืนป่า เพื่อให้คนเฝ้าป่าตระหนักว่าอาชีพของเขามีความสำคัญยิ่งใหญ่ ที่จะพิทักษ์รักษาทรัพยากรป่าไม้และสัตว์ป่าไว้ให้ลูกหลานไทยต่อไป แม้ว่าภารกิจนั้นจะเหนื่อยยาก ลำบาก และเงียบเหงา ต้องเสี่ยงภัยอยู่ท่ามกลางอันตรายจากผู้ร้ายที่จ้องจะลักลอบตัดไม้หรือล่าสัตว์ป่าอยู่ตลอดเวลา เสี่ยงต่อโรคภัยไข้เจ็บ และต้องห่างไกลครอบครัว มีสภาพความเป็นอยู่ที่ต้องอดทน เสียสละ เพื่อภารกิจเฝ้าป่าให้คนไทย น้ำใจเพียงน้อยนิด ส่งผ่านเป็นกำลังใจ

โครงการนี้จึงจัดทำขึ้นเพื่อหวังจะช่วยสนับสนุนภารกิจของผู้พิทักษ์ป่า พัฒนาคุณภาพชีวิตของ
ผู้พิทักษ์ป่าให้ดีขึ้น สร้างรอยยิ้ม สร้างกำลังใจ และสร้างความร่วมมือของสังคมไทยในการมีส่วนร่วมกันรักษาป่า พื้นที่สีเขียวของประเทศไทย และส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดจากธรรมชาติ เพื่อให้คุณภาพสิ่งแวดล้อม
ของประเทศไทยดีขึ้น และอยู่คู่คนไทยตลอดไป

เป้าหมายโครงการ

จัดหาชุดโซลาเซลเอนกประสงค์ พร้อมอุปกรณ์ไฟฟ้าให้กับผู้พิทักษ์ป่า ในจุดสกัดบริเวณตะเข็บชายแดน
ที่ไม่มีไฟฟ้า จำนวน 10 แห่ง โดยอุปกรณ์ที่จะมอบให้แต่ละแห่งมีดังนี้


  1. ชุดแผงโซล่า 90 W พร้อมแบตเตอรี่ความจุรวม 200 W ซึ่งจะเปิดอุปกรณ์ทุกชนิดพร้อมกันได้เฉลี่ย 6 ชั่วโมง ประกอบด้วย
    1. หลอดไฟ จำนวน 3 หลอด
    2. ทีวี DC จำนวน 1 เครื่อง
    3. เครื่องรับสัญญาณดาวเทียม จำนวน 1 เครื่อง
    4. รองรับการชาร์จโทรศัพท์มือถือ
    5. รองรับการชาร์จถ่านสำหรับ GPS
  2. ชุดหลอดไฟตุ้ม พร้อมแผงโซล่าขนาดเล็ก จำนวน 4 ชุด

โดยอุปกรณ์ทั้งหมดนี้ ราคาของรวมค่าขนส่งสำหรับจุดสกัด 1 พื้นที่ ชุดละประมาณ 13,650 บาท

พื้นที่ดำเนินการ


ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. ติดต่อประสานงานกับพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า รวบรวมข้อมูลจุดสกัด หน่วยพิทักษ์ป่า และหน่วยงาน
ในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า ที่ไม่มีไฟฟ้า ความเป็นอยู่ลำบาก ทุรกันดาร หรืออยู่ในพื้นที่เสี่ยงภัยชายแดน
  2. จัดหาอุปกรณ์โซลาเซลล์ที่จำเป็น เพื่อสนับสนุนการทำงานของเจ้าหน้าที่        
  3. ประสานงานและนำส่งอุปกรณ์
  4. ติดตามผลการติดตั้ง และผลการดำเนินงานโครงการ

ประโยชน์ของโครงการ

  1. เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ในหน่วยงานห่างไกล ทุรกันดาร หรืออยู่ชายแดนได้มีไฟฟ้าใช้ในการปฏิบัติงานดูแลทรัพยากรป่าและสัตว์ป่าในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  2. ทรัพยากรป่าและสัตว์ป่าในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่าได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
  3. สร้างความร่วมมือของสังคมไทยในการมีส่วนร่วมกันเฝ้าป่า รักษาพื้นที่สีเขียวของประเทศไทย 
  4. ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดจากธรรมชาติ เพื่อให้คุณภาพสิ่งแวดล้อมของประเทศไทยดีขึ้น

ทีมดำเนินงาน

  1. นางวัลยา ไชยภักดี นักวิชาการป่าไม้ชำนาญการ ส่วนแผนงานและงบประมาณ 
สำนักอนุรักษ์สัตว์ป่า กรมอุทยานแห่งชาติ สัตว์ป่า และพันธุ์พืช
  2. หัวหน้าเขตห้ามล่าสัตว์ป่าภูฟ้า 
  3. หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเวียงหล้า
  4. หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสันปันแดน 
  5. หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันออก
  6. หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุทยานเสด็จในกรมกรมหลวงชุมพรด้านทิศเหนือ(ตอนล่าง)
  7. หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ
  8. หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก  
  9. หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบุณฑริก-ยอดมน 
  10. หัวหน้าเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม

ส่งโซล่าเซลล์ช่วยคนเฝ้าป่า จำนวน 13 หน่วยงาน

22 กุมภาพันธ์ 2023

หลังจากโครงการระดมทุนได้สำเร็จตามเป้าหมาย เป็นจำนวนเงิน 184,319 บาท ก็ได้เริ่มทำการจัดหาชุดโซลาเซลล์ ดังนี้
  • 2.1. จัดหาชุดโซลาเซลล์ จำนวน 13 ชุด ๆ ละ 11,400 บาท เป็นเงิน 148,200 บาท
  • 2.2. จัดซื้อสายไฟและชุดชาร์ทไฟ 17,687 บาท
  • 2.3. ค่าธรรมเนียมในการให้บริการเทใจดอทคอม 10% เป็นเงิน 18,432 บาท

รวมทั้งสิ้นเป็นเงิน 184,319 บาท

และได้ทำการส่งมอบให้กับ จุดสกัด ในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า จำนวน 13 แห่ง ได้แก่
  1. หน่วยพิทักษ์ป่าหัวทุ่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยพระบาท จังหวัดลำปาง (สำนักงาน)
  2. หน่วยพิทักษ์ป่าหัวทุ่ง เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยพระบาท จังหวัดลำปาง (จุดดูแลลูกช้างทับเสลา)
  3. จุดสกัดชั่วคราวอาโจ้ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสันปันแดน จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  4. จุดสกัดห้วยอ้อ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเวียงหล้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  5. จุดสกัดห้วยส้าน เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าดอยเวียงหล้า จังหวัดแม่ฮ่องสอน
  6. จุดสกัดนอปานา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าสาละวิน จ.แม่ฮ่องสอน
  7. จุดสกัดกิ่วห้วยเรียบ เขตห้ามล่าสัตว์ป่าภูฟ้า จ.น่าน
  8. จุดสกัดกะแง่คี เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุ้มผาง จ.ตาก
  9. จุดสกัดดวงเจริญ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอุทยานเสด็จในกรมกรมหลวงชุมพรด้านทิศเหนือ (ตอนล่าง) จ .ชุมพร
  10. จุดสกัดช่องพลาญกระต่าย เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบุณฑริก-ยอดมน จ.อุบลราชธานี
  11. จุดสกัดกบาลกะไบ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าพนมดงรัก จ.ศรีสะเกษ
  12. ฐานปฏิบัติการพิทักษ์ป่ากะเลงเวก เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าห้วยทับทัน-ห้วยสำราญ จ.สุรินทร์
  13. จุดสกัดสี่พยัคฆ์ เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่ายอดโดม จ.อุบลราชธานี

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

 " ขอบคุณทุกภาคส่วนที่มีส่วนร่วมในโครงการนี้ค่ะ "

 " ดำเนินการติดตั้งชุดโซลาเซลล์ ผลใช้งานได้อย่างมีประสิทธิภาพ "

กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
หน่วยงานในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่าเจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ในจุดสกัด ซึ่งเป็นหน่วยงานในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า ที่อยู่ห่างไกล ทุรกันดาร หรืออยู่ชายแดน จุดสกัด ในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า จำนวน13 แห่ง   1. เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่า ในหน่วยงานห่างไกล ทุรกันดาร หรืออยู่ชายแดนได้มีไฟฟ้าใช้ในการปฏิบัติงานดูแลทรัพยากรป่าและสัตว์ป่าในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่า มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
2. ทรัพยากรป่าและสัตว์ป่าในพื้นที่อนุรักษ์สัตว์ป่าได้รับการดูแลอย่างมีประสิทธิภาพมากขึ้น
3. สร้างความร่วมมือของสังคมไทยในการมีส่วนร่วมกันเฝ้าป่า รักษาพื้นที่สีเขียวของประเทศไทย
4. ส่งเสริมการใช้พลังงานสะอาดจากธรรมชาติ เพื่อให้คุณภาพสิ่งแวดล้อม
ของประเทศไทยดีขึ้น

รูปภาพกิจกรรม

 โครงการฯ ได้ส่งโซล่าเซลล์ช่วยคนเฝ้าป่า ในจุดสกัดบริเวณตะเข็บชายแดนที่ยังไม่มีไฟฟ้าเข้าถึงแล้ว จำนวน 13 หน่วยงาน ช่วยทำให้เจ้าหน้าที่พิทักษ์ป่าในหน่วยงานห่างไกล ทุรกันดาร อยู่ชายแดน ได้มีไฟฟ้าใช้ในการปฏิบัติงานดูแลทรัพยากรป่าและสัตว์ป่าและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

แผนการใช้เงิน


รายละเอียดจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
ชุดอุปกรณ์โซลาเซลล์เอนกประสงค์ พร้อมค่าขนส่ง
ชุดละประมาณ 13,000 บาท
10 แห่ง130,000
ชุดไฟตุ้ม 100 W และอุปกรณ์พร้อมค่าขนส่ง
ชุดละประมาณ 650 บาท
40 ชุด26,000

ค่าดำเนินงานเทใจดอทคอม 10%
ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway 
ค่าคัดกรองโครงการ ตรวจสอบ ติดตาม วัดผล และรายงานความคืบหน้า


15,600
รวม
171,600