แสงสว่างที่ปลายอุโมงค์มีจริงมั๊ย ? มอบโซล่าเซลล์ให้น้องได้ทำการบ้าน !!!!!

ไม่เชื่อก็ต้องเชื่อ ผมไปมาแล้วยืนยันว่า ยังมีหลายหมู่บ้านในประเทศไทยเราที่ยังไม่มีไฟฟ้าเข้าถึง บางหมู่บ้าน อยู่กันมา 30-80 ปี ก็แทบไม่เชื่อสายตาตัวเอง แต่ยอมรับยังมีอยู่จริง ทีมงาน มูลนิธิฯบ้านนานา ได้ลงพื้นที่สำรวจหมู่บ้านที่ยังไม่มีไฟฟ้า พบว่ามีอยู่จริง แม้แต่ในจังหวัดที่มีกระแสการเงินสะพลัดมีเศรษฐกิจดี อย่างเชียงราย เชียงใหม่ แต่หมู่บ้านอำเภอห่างไกล เรากลับพบว่าเป็นเรื่องจริง เชื่อว่ายังมีอีกหลายจังหวัดในประเทศไทยที่ไฟฟ้าเข้าไม่ถึง ด้วยความห่างไกลของชนบท ชนเผ่าชาวเขาที่อาศัยตามเขตพื้นที่สูง และระยะทางที่ห่างไกลไม่ใช่พื้นที่เขตอาศัย แต่กลับมีชนเผาที่ดั่งเดิมอาศัยปักหลักทำมาหากินทางการเกษตร ไม่อยู่แผนพัฒนาระดับอำเภอหรือจังหวัด ชุมชนเหล่านี้จึงถูกละเลย แต่ผลกระทบนั้นเด็กๆที่เกิดและอาศัยตามพ่อแม่บรรพบุรุษ พวกเค้าได้รับผลนั้น บ้านไม่มีไฟฟ้า
ระยะเวลาโครงการ 15 เม.ย. 2566 ถึง 15 ก.ค. 2566 พื้นที่ดำเนินโครงการ ทั่วประเทศ
ยอดบริจาคขณะนี้
21,900 บาทเป้าหมาย
141,900 บาทปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา
คนที่ไม่เคยอาศัยอยู่ในที่ๆ ไม่มีไฟฟ้าไม่อาจเข้าใจความรู้สึกนี้ได้
เพราะ มูลนิธิฯบ้านนานาเราเคย อยู่ในภาวะยากลำบากไม่มีไฟ มาก่อนจึงเข้าใจหัวอกคนที่ไม่มีไฟฟ้าหรือแสงสว่างในยามค่ำคืนเป็นอย่างไร
ในยามค่ำคืน ในยามที่ต้องทำการบ้าน อ่านหนังสือ ในยามที่ต้องเข้าห้องน้ำ ในยามที่เจ็บป่วยใคร่ ในยามที่นอนมีแมลง งูสัตว์มีพิษ เข้ามานอนอยู่ใต้ผ้าห่ม
คนทั่วไปไม่อาจรู้ได้ว่าเราเผชิญอะไรบ้าง
ยังคงมีเด็กๆอีกจำนวนเยอะหลายร้อยครอบครัว บนดอยที่ห่างไกลชุมชน ตามหมู่บ้านชาวเขา ครอบครัวยากจนต้องอาสัยพื้นที่ห่างไกล ทำการเกษตรเลี้ยงชีพ อาศัยรวมกลุ่ม
เป็นหมู่บ้านเล็กๆ ที่ความเจริญเข้าไม่ถึง ทั้งทางถนนและไฟฟ้า แม้นแต่ในจังหวัดที่เจริญแล้วอย่างเช่น เชียงใหม่ เชียงราย มีเศรษฐกิจการเงินที่ไหลเวียนดี แต่ก็ยังมีหมู่บ้านนอกเขตแผนการพัฒนาของอำเภอหรือจังหวัด
ไฟฟ้าถือว่าเป็นปัจจัยหนึ่งที่เอื้อต่อการพัฒนาชีวิต ให้มีความสว่างในครอบครัวที่ดีขึ้น
วันนี้ มูลนิธิฯบ้านนานา เป็นองค์กรภาคเอกชน ที่เราเห็นความสำคัญต่อเรื่องการพัฒนาคุณภาพชีวิต ของชุมชนสังคมที่ห่างไกลเพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตให้ดีขึ้นโดยเฉพราะกลุ่มเด็กๆ ในพื้นที่เราลงสำรวจตามคำร้องข้อจากชาวบ้าน เช่น เชียงใหม่ อำเภอพร้าว หมู่บ้าน แม่งัดน้อย ชาวเขาเผาลาหู่ 18 หลังคา หมู่บ้านเผะโต๊ 25 หลังคา
และที่ อำเภอ แม่อาย หมู่บ้านจะโต๊ะ 45 หลังคาเรือน และ เชียงราย อำเภอเมือง หมู่บ้านหมอผี 12 รวม 100 หลังคาเรือน
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
โครงการส่งมอบไฟฟ้าโซล่าเซลล์ให้กับชาวเขาผู้ยากไร้ในถิ่นธุระกันดาน
ในแถบพื้นที่ เชียงใหม่ เชียงราย 4 หมู่บ้าน แถบอำเภอพร้าว หมู่บ้าน แม่งัดน้อย ชาวเขาเผาลาหู่ 18 หลังคา หมู่บ้านเผะโต๊ 25 หลังคา
และที่ อำเภอแม่อาย หมู่บ้านจะโต๊ะ 45 หลังคาเรือน และเชียงราย อำเภอเมือง หมู่บ้านหมอผี 12 รวม 100 หลังคาเรือน
หลังจากได้รับการติดต่อจากชาวบ้านว่าชาวบ้านที่ไม่มีไฟ้ามีดังนี้
1 มูลนิธิฯได้ลงพื้นที่ไสำรวจ ที่เชียงใหม่ อำเภอพร้าว บ้านแม่งัดน้อย 15 หลังคา ระหว่างทาง ก่อนถึงมีหมูบ้านเผะโต๊ะอีก 25 หลังคา
2 มูลนิธิฯได้ลงพื้นที่ อำเภอแม่อาย หมู่บ้าน จะโต๊ะ 45 หลังคาเรือน
3 มูลนิธิฯลงพื้นที่สำรวจที่เชียงราย อำเภอเมือง หมู่บ้านหมอผี 12 หลังคาเรือน
4 รวบรวมข้อหมู จำนวน ชาวบ้านประสานงาน อบต.พื้นที่และผู้นำชุมชน เพื่อแจ้งให้ทราบ
5 เขียนร่างโครงการเพื่อหาแนวรวบในการระดมทุนหาจัดหาจัดซื้อ แผงไฟฟ้าโซล่าเซลล์แบบครอบครัว
6 ประชุมจัดตั้งคณะดำเนินงาน วางแผนระดมทุนเพื่อหาทุน
7 ประสานงานเคลือข่ายในพื้นที่เพื่อทำการติดตั้งโซล่าเซลล์ ตามรายชื่อที่ร้องข้อมา
8 หลังเสร็จสิ้นสรุปงบประมาณการจัดซื้อและรายงานผลการดำเนินงาน
ผู้รับผิดชอบโครงการ
คณะทำงานชุดที่ 1 ครั้งที่ 1
1 นายกรรจร เจียมรัมย์ ผู้อำนวยการมูลนิธิฯ บ้านนานา
2 นส.เจนจิรา แลเชอกู่ เลขาจัดการงบประมาณ
3 นาย ศิรศักดิ์ หมื่นแสง
4 นาย สุริน ยาแสน
5 นาย นิวัตฒ์ แสนไวยากรณ์

แผนการใช้เงิน
ลำดับ | รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|---|
1 | ค่าจัดซื้อ ชุดไฟฟ้าโซ่ลาเซลล์ 990 / ต่อ 1 ชุด | 100 | 99,000.00 |
2 | ไฟกริ่งโซล่าเซลล์ในมุมมืด 1500 ในชุ่มชน ละ 5 ชุด 4 หมู่บ้าน | 20 | 30,000.00 |