project เด็กและเยาวชน

“Smile Bag” ถุงสร้างรอยยิ้มให้ผู้ป่วยปากแหว่งเพดานโหว่ที่กำลังเข้ารับการผ่าตัด

มูลนิธิสร้างรอยยิ้มชวนมอบกระเป๋า “Smile Bag” ของใช้จำเป็น อาทิกระเป๋า สบู่ หวี แปรงสีฟัน ยาสีฟัน กระดาษทิชชู่ แป้ง แชมพู ผ้าขนหนูให้กับผู้ป่วยที่เข้ารับการผ่าตัดแก้ไขภาวะปากแหว่งเพดานโหว่เพื่อใช้ระหว่างการพักรักษาตัว (1 ถุง 699 บาท)

ระยะเวลาโครงการ 10 ก.พ. 2566 ถึง 31 ธ.ค. 2566 พื้นที่ดำเนินโครงการ ทั่วประเทศ

ยอดบริจาคขณะนี้

18,575 บาท

เป้าหมาย

246,048 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 8%
จำนวนผู้บริจาค 60

สำเร็จแล้ว

โครงการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ หากผู้ป่วยได้ผ่านการคัดกรองและได้รับการรับรองจากแพทย์ว่า ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ ทางมูลนิธิฯ จะมอบกระเป๋า “Smile Bag” เป็นของใช้จำเป็นที่ใช้ระหว่างเข้ารับการผ่าตัด ซึ่งประกอบด้วย กระเป๋า สบู่ หวี แปรงสีฟัน ยาสีฟัน กระดาษทิชชู่ แป้ง แชมพู ผ้าขนหนู เป็นต้น

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

ในทุกๆ 3 นาที ทั่วโลก มีเด็กหนึ่งคนที่เกิดมาพร้อมกับภาวะปากแหว่งเพดานโหว่

เด็ก 1 ใน 700 ราย มีภาวะปากแหว่ง หรือเพดานโหว่ บางรายมีอาการทั้งสองอย่าง

ประเทศไทยโดยเฉลี่ยจะมีเด็ก 2,000 รายต่อปีที่มีภาวะปากแหว่ง หรือเพดานโหว่ ยังไม่รวมถึงชาวเขา หรือผู้ลี้ภัยที่ยังไม่ทราบจำนวนแน่นอน

เด็กที่เกิดมาพร้อมกับภาวะปากแหว่งเพดานโหว่นั้นจะไม่สามารถดื่มนมแม่ หรือทานอาหารได้อย่างปกติ มีความผิดปกติทั้งในการออกเสียง และได้ยินเสียง หรือมีปัญหากับระบบการหายใจ มักเกิดภาวะแทรกซ้อน เช่น ปอดบวม เด็กที่เกิดมาพร้อมโรคนี้ต้องใช้ชีวิตอย่างหลบซ่อน ถูกกีดกันจากสังคม มักจะมองตนเองไร้ค่า และหลบเลี่ยงสังคม ใช้ชีวิตอย่างโดดเดี่ยว ในประเทศไทย มีผู้ป่วยเด็กปากแหว่งเพดานโหว่จำนวนมากที่ไม่เคยได้รับโอกาสผ่าตัดแก้ไขเลยจนตลอดชีวิต

สาเหตุของภาวะปากแหว่ง เพดานโหว่ยังไม่ปรากฏแน่ชัด แต่มักเกิดความผิดปกติในช่วงไตรมาสแรกของการตั้งครรภ์และเกิดจากความผิดปกติของยีนส์ และปัจจัยจากสิ่งแวดล้อม เช่น โรคของมารดา การขาดสารอาหาร หรือยาเสพติด

มูลนิธิสร้างรอยยิ้ม ได้จัดทำ “โครงการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ให้การผ่าตัดภายในหนึ่งสัปดาห์” โดยเป็นการระดมบุคลากรแพทย์อาสาสมัครจากสาขาศัลยแพทย์ตกแต่ง วิสัญญีแพทย์ และพยาบาลอาสาสมัครจากที่ต่างๆ เพื่อออกหน่วยมอบการผ่าตัดศัลยกรรมแก้ไขภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ ความผิดปกติพิการบนใบหน้า และความพิการทางศัลยศาสตร์ตกแต่งอื่น ๆ เช่น แผลเป็นหดรั้งจากไฟไหม้ น้ำร้อนลวก นิ้วติด นิ้วเกิน ให้แก่ผู้ป่วยในพื้นที่ที่ห่างไกลความเจริญ หรือขาดศัลยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญในพื้นที่ทำการรักษาผู้ป่วย ซึ่งในปี พ.ศ.2565 นี้

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

 ทางมูลนิธิฯได้มีโครงการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ จำนวน 4 ครั้ง ได้แก่

  1. โรงพยาบาลพะเยา จังหวัดพะเยา ช่วยเหลือผู้ป่วยจำนวน 40 ราย ระหว่างวันที่ 6-9 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2566
  2. โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก ช่วยเหลือผู้ป่วยจำนวน 80 ราย ระหว่างวันที่ 7-12 พฤษภาคม พ.ศ. 2566
  3. โรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด ช่วยเหลือผู้ป่วยจำนวน 80 ราย ระหว่างวันที่ 11-15 กันยายน พ.ศ. 2566
  4. โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก ช่วยเหลือผู้ป่วยจำนวน 120 ราย ระหว่างวันที่ 7-12 พฤษภาคม พ.ศ. 2566

ทางมูลนิธิสร้างรอยยิ้มให้การรักษาผ่าตัดให้กับผู้ป่วยที่มีภาวะปากแหว่งเพดานโหว่ นิ้วติด นิ้วเกิน แผลไหม้ แผลยึดติดหดรั้ง เป็นจำนวนกว่า 320 คน

ในโครงการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ หากผู้ป่วยได้ผ่านการคัดกรองและได้รับการรับรองจากแพทย์ว่า ผู้ป่วยสามารถเข้ารับการผ่าตัดได้ ทางมูลนิธิฯ จะมอบ “Smile Bag” เป็นของใช้จำเป็นที่ใช้ระหว่างเข้ารับการผ่าตัด ซึ่งประกอบด้วย กระเป๋า สบู่ หวี แปรงสีฟัน ยาสีฟัน กระดาษทิชชู่ แป้ง แชมพู ผ้าขนหนู เป็นต้น

Smile Bag 1 ถุง สำหรับครอบครัวผู้ป่วยจำนวน 1 ครอบครัว

Smile Bag 1 ถุง ราคา 699 บาท

ผู้รับผิดชอบโครงการ

-

ไม่มีข้อมูล

แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 โครงการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ณ โรงพยาบาลพะเยา จังหวัดพะเยา 40 27,960.00
2 โครงการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ณ โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก 80 55,920.00
3 โครงการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ณ โรงพยาบาลร้อยเอ็ด จังหวัดร้อยเอ็ด 80 55,920.00
4 โครงการออกหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ณ โรงพยาบาลแม่สอด จังหวัดตาก 120 83,880.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
223,680.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
22,368.00

ยอดระดมทุน
246,048.00