project ผู้พิการและผู้ป่วย

อุปกรณ์สื่อสารผ่านดวงตาเพื่อผู้ป่วยอัมพาตเพื่อโรงพยาบาลรามาธิบดี

เพราะการสื่อสารกับแพทย์สำคัญกับการวินิจฉัยโรค เราจึงอยากมอบเครื่องสื่อสารผ่านดวงตาให้กับโรงพยาบาลรามาธิบดี เพื่อให้ผู้ป่วยอัมพาตและกล้ามเนื้ออ่อนแรงสามารถสื่ออาการกับแพทย์ได้

ระยะเวลาโครงการ 6 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี

ยอดบริจาคขณะนี้

200,458 บาท

เป้าหมาย

198,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 101%
จำนวนผู้บริจาค 102

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

มอบเครื่องสื่อสารผ่านดวงตาให้กับโรงพยาบาลรามาฯ

31 ธันวาคม 2019

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 ทีมงานผู้จัดทำโครงการได้ทำการส่งมอบเครื่องสื่อสารผ่านดวงตาให้แก่ อ.ดร.นพ.ปรเมษฐ์ ฉายารัตนศิลป์ หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และได้นำไปใช้งานจริงกับผู้ป่วย


หลังจากการใช้งานกับผู้ป่วย ทางเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลและ อ.ปรเมษฐ์ ให้คำติชมว่า การทำงานของเครื่องมีความเสถียรและใช้งานง่าย มีหมวดหมู่ความต้องการขั้นพื้นฐานที่ครบครัน รวมทั้งแป้นพิมพ์เพื่อใช้สนทนากับทางผู้ดูแลอีกทั้งยังมีฟังก์ชั่นออนไลน์ให้กับผู้ป่วยสามารถดูโทรทัศน์หรือฟังวิทยุได้ ซึ่งทำให้ผู้ป่วยลดความเครียดจากการอยู่โรงพยาบาลได้มาก หากในอนาคตสามารถทำให้เชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายของแต่ละวอร์ดได้ ก็จะดีเยี่ยม อาจนำมาใช้ในเชิงลักษณะคล้ายกับ emergency call ที่ติดตามห้องผู้ป่วย อีกทั้งทางโรงพยาบาลยังได้มีการนำไปใช้กับทางผู้ป่วยเด็ก ICU ที่ยังไม่สามารถสื่อสารได้ชัดเจน ได้ลองใช้กับโดยคาดหวังว่าจะเป็นอีกเครื่องหนึ่งที่สามารถทำให้การสื่อสารกับผู้ป่วยเป็นได้ไปได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม

ความประทับใจจากผู้ป่วย


คุณภัทรพงษ์ ศรีภิรมย์ (คุณยอด)
รู้สึกดีใจที่โรงพยาบาลมีเครื่องนี้ (Senze) ทำให้บอกความรู้ ความต้องการได้ ถึงแม้จะไม่ได้เร็วเหมือนมือพิมพ์ แต่ก็ยังดีกว่าทำอะไรไม่ได้เลย  


คุณพิพัฒพงษ์ ชีพจิตตรง (คุณพัฒ)
ไม่เคยเห็นเครื่องแบบนี้มาก่อน ขอให้พัฒนาต่อไปเรื่อยๆ ใช้ง่ายกว่ากระดานใบ้คำ หรือต้องให้คนมาเดาความรู้สึกเอง

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

องค์การอัมพาตโลก (WSO) ระบุว่า ในแต่ละปีจะมีคนเสียชีวิตด้วยโรคอัมพาตทั่วโลกประมาณ 6.5 ล้านคน

ขณะที่ประเทศไทย ปี พ.ศ.2559 คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคหลอดเลือดสมองหรืออัมพาต จำนวน 25,000 คน มีผู้ป่วยสะสมประมาณ 500,000 คน

และในรอบ 10 ปีที่ผ่านมา พบผู้ป่วยอัมพาตเพิ่มขึ้น 2.45 เท่า และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง

นอกจากนี้ ยังมีผู้ป่วยอีกกลุ่มหนึ่งที่เป็นโรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง (ALS) เป็นโรคที่เกิดจากการเสื่อมสลายของเซลล์ประสาทที่ควบคุมการทำงานของกล้ามเนื้อ ทำให้ผู้ป่วยมีกล้ามเนื้อแขนขา และลำตัวอ่อนแรง กลืนลำบากและพูดไม่ชัด ในระยะสุดท้ายของโรค ผู้ป่วยจะกลืนอาหารและน้ำไม่ได้ หอบเหนื่อย  และไม่สามารถช่วยเหลือตนเองได้เลย

ผู้ป่วยอัมพาต และ ALS ส่วนใหญ่จะไม่สามารถที่จะสื่อสารได้ทั้งการพูด และเขียน ทั้งที่สมองยังรับรู้เหมือนคนปกติ ทำให้เป็นอุปสรรคในการดำเนินชีวิต รวมถึงผู้ดูแล ญาติ หรือแพทย์ ไม่สามารถเข้าใจถึงสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการได้ ซึ่งส่งผลเสียทำให้สุขภาพจิตของผู้ป่วยย่ำแย่ลงอย่างมาก

SenzE : อุปกรณ์สื่อสารผ่านดวงตา : เป็นเทคโนโลยีระบบติดตามดวงตา (Eye Controlled System) ที่ใช้งานร่วมกับซอฟท์แวร์ภาษาไทยเครื่องแรกของโลก พัฒนาด้วยเทคนิคการประมวลผลภาพ (Image Processing) โดยใช้กล้องความละเอียดสูง (HD Camera) และ Infrared Sensor ตรวจจับการเคลื่อนไหวของดวงตา ผู้ป่วยจะใช้การมองค้างในตำแหน่งที่ต้องการ 2 วินาที แทนการออกคำสั่งเสมือนการกด enter หรือคลิ๊กเมาส์ เพื่อเลือกเมนูที่ต้องการ หรือพูดง่ายๆ ว่า เป็นเทคโนโลยีในการใช้ดวงตา ออกคำสั่งแทนเมาส์ สั่งการเมนูบนคอมพิวเตอร์นั่นเอง


ผู้ป่วยสามารถเลือกเมนูที่ต้องการจะสื่อสาร บนหน้าเมนูหลัก ได้แก่ ความรู้สึก อาการ ความต้องการ อาหาร/เครื่องดื่ม กิจกรรม และความบันเทิง นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังสามารถพิมพ์ข้อความ บนเมนูคีย์บอร์ดสนทนา ที่รองรับถึง 17 ภาษา พร้อมระบบการแปลภาษาอัตโนมัติ อีกทั้งมีระบบช่วยเดาคำศัพท์ และระบบสนทนากับผู้ดูแล (Live Chat) แบบโต้ตอบกันได้อีกด้วย ทำให้ผู้ป่วยสามารถสื่อสารกับแพทย์ ญาติ และผู้ดูแลได้อย่างถูกต้อง ทันท่วงที และมีประสิทธิภาพ

ในปีพ.ศ. 2560 ที่ผ่านมา บริษัทเมดิเทค โซลูชั่น จำกัด ได้ร่วมกับ www.taejai.com ได้ระดมทุนเพื่อมอบ "SenzE : อุปกรณ์สื่อสารผ่านดวงตา" ให้กับโโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย และสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ ซึ่งเครื่องมือดังกล่าวเป็นประโยชน์ต่อทั้งผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์ในโรงพยาบาล ช่วยให้ผู้ป่วยอัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนแรง และผู้ป่วยในภาวะวิกฤติ (ICU) ที่สื่อสารลำบาก สามารถสื่อสารกับคนอื่นได้อย่างปกติ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีกำลังใจที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปอย่างมีความหวังอีกครั้งหนึ่ง

บริษัทฯ จึงมีความตั้งใจที่จะระดมทุนบริจาคอุปกรณ์ SenzE Version 5 ให้แก่โรงพยาบาลรามาธิบดี หวังสร้างประโยชน์ให้แก่ผู้ป่วยอัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนแรง และผู้ป่วยในภาวะวิกฤติ (ICU) ที่สื่อสารลำบาก ได้สามารถสื่อสาร และมีคุณภาพชีวิตที่ดีต่อไป โดยปกติบริษัทขายที่ชุดละ 240,000 บาท แต่สำหรับการระดมทุนจะระดมที่ 198,000 บาท (รวมค่าใช้จ่ายในการะดมทุนผ่านเทใจดอทคอมแล้ว)

นอกจากนี้เรายังแผนสนับสนุนโรงพยาบาลอย่างต่อเนื่อง 2 ปี โดยเราจะทำการ ติดตั้ง และอบรมการใช้งานอุปกรณ์แก่บุคลากรของ รพ. และผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด รวมทั้งการบำรุง ดูแลรักษาแบบ Onsite Service ซึ่งรวมถึงการ Upgrade Software และ Application ใหม่ ให้แก่ทาง รพ. โดยไม่มีค่าใช้จ่าย ตลอดระยะเวลา 2 ปี ของการรับประกันอีกด้วย


ประโยชน์ของโครงการ 

  1. เพื่อบริจาคอุปกรณ์ SenzE Version 5 : อุปกรณ์สื่อสารผ่านดวงตา สำหรับผู้ป่วยที่สื่อสารลำบาก ให้แก่โรงพยาบาลรามาธิบดี 1 ชุด เพื่อไปใช้ประโยชน์กับผู้ป่วยที่สื่อสารลำบาก อาทิ อัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนแรง บาดเจ็บกระดูกสันหลัง และผู้ป่วยในภาวะวิกฤติ ให้สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้
  2. เพื่อช่วยให้แพทย์ พยาบาล ผู้ดูแล และนักกายภาพบำบัด สามารถสื่อสาร และวินิจฉัยอาการผู้ป่วย ได้อย่างถูกต้อง ทันท่วงที และมีประสิทธิภาพ
  3. เพื่อส่งเสริมให้คนไทย ได้สามารถใช้ประโยชน์ และเข้าถึงเทคโนโลยี และอุปกรณ์ด้านซอฟท์แวร์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องพึ่งพิงการนำเข้าเทคโนโลยีราคาแพงจากต่างประเทศ


สมาชิกภายในทีม 

Meditech Solution Co.,Ltd.

มอบเครื่องสื่อสารผ่านดวงตาให้กับโรงพยาบาลรามาฯ

31 ธันวาคม 2019

วันที่ 27 พฤศจิกายน 2562 ทีมงานผู้จัดทำโครงการได้ทำการส่งมอบเครื่องสื่อสารผ่านดวงตาให้แก่ อ.ดร.นพ.ปรเมษฐ์ ฉายารัตนศิลป์ หัวหน้าภาควิชาเวชศาสตร์ฟื้นฟู คณะแพทย์ศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี และได้นำไปใช้งานจริงกับผู้ป่วย


หลังจากการใช้งานกับผู้ป่วย ทางเจ้าหน้าที่ของโรงพยาบาลและ อ.ปรเมษฐ์ ให้คำติชมว่า การทำงานของเครื่องมีความเสถียรและใช้งานง่าย มีหมวดหมู่ความต้องการขั้นพื้นฐานที่ครบครัน รวมทั้งแป้นพิมพ์เพื่อใช้สนทนากับทางผู้ดูแลอีกทั้งยังมีฟังก์ชั่นออนไลน์ให้กับผู้ป่วยสามารถดูโทรทัศน์หรือฟังวิทยุได้ ซึ่งทำให้ผู้ป่วยลดความเครียดจากการอยู่โรงพยาบาลได้มาก หากในอนาคตสามารถทำให้เชื่อมต่อกับระบบโครงข่ายของแต่ละวอร์ดได้ ก็จะดีเยี่ยม อาจนำมาใช้ในเชิงลักษณะคล้ายกับ emergency call ที่ติดตามห้องผู้ป่วย อีกทั้งทางโรงพยาบาลยังได้มีการนำไปใช้กับทางผู้ป่วยเด็ก ICU ที่ยังไม่สามารถสื่อสารได้ชัดเจน ได้ลองใช้กับโดยคาดหวังว่าจะเป็นอีกเครื่องหนึ่งที่สามารถทำให้การสื่อสารกับผู้ป่วยเป็นได้ไปได้ง่ายขึ้นกว่าเดิม

ความประทับใจจากผู้ป่วย


คุณภัทรพงษ์ ศรีภิรมย์ (คุณยอด)
รู้สึกดีใจที่โรงพยาบาลมีเครื่องนี้ (Senze) ทำให้บอกความรู้ ความต้องการได้ ถึงแม้จะไม่ได้เร็วเหมือนมือพิมพ์ แต่ก็ยังดีกว่าทำอะไรไม่ได้เลย  


คุณพิพัฒพงษ์ ชีพจิตตรง (คุณพัฒ)
ไม่เคยเห็นเครื่องแบบนี้มาก่อน ขอให้พัฒนาต่อไปเรื่อยๆ ใช้ง่ายกว่ากระดานใบ้คำ หรือต้องให้คนมาเดาความรู้สึกเอง

แผนการใช้เงิน


รายการจำนวนเงิน
1.อุปกรณ์ SenzE Version 5 จำวนวน 1 ชุด 180,000
2.ค่าใช้จ่ายในการระดมทุนของเทใจโดยประมาณ18,000
รวม198,000