project สิ่งแวดล้อม ภัยพิบัติ อื่นๆ

โครงการอนุรักษ์ป่าชุมชนและลดปัญหา PM2.5 ด้วยแนวกันไฟแบบภูมิปัญญาท้องถิ่น บ้านป่าเกี๊ยะโฮมสเตย์ อำเภอแม่สรวย จ.เชียงราย

ร่วมด้วยช่วยกันทำเส้นทางป้องกันไฟ 15 กิโลเมตรเพื่อปกป้องผืนป่ากว่า 20,000 ไร่ในพื้นที่หมู่บ้านป่าเกี๊ยะ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย แก้ปัญหาหมอกควันและ PM 2.5 อย่างยั่งยื่นและให้พี่น้องชุมชนชาวบ้านป่าเกี๊ยะให้กลับมามีอากาศที่บริสุทธิ์อีกครั้ง

ระยะเวลาโครงการ 25 พ.ค. 2565 ถึง 25 พ.ค. 2566 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: เชียงราย (ชุมชนป่าเกี๊ยะ แม่สรวย จ.เชียงราย)

ยอดบริจาคขณะนี้

36,500 บาท

เป้าหมาย

220,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 17%
จำนวนผู้บริจาค 53

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

สร้างแนวกันไฟบ้านป่าเกี๊ยะโฮมสเตย์ จังหวัดเชียงราย

10 กรกฎาคม 2023

กิจกรรมทำเส้นทางป้องกันไฟได้ดำเนินการทำเส้นทางหลังจากได้รับเงินระดมทุนจากเทใจ และจากการช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นเพิ่มเติม

โดยเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2566 มีชุมชนจำนวน 200 คนช่วยกันผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาทำเส้นทางกันไฟ ในช่วงในช่วงมีนาคม ถึงเมษายนที่ผ่านมามีไฟป่าเกิดขึ้นจำนวนมากและป่าชุมป่าเกี๊ยะเกิดไฟไหม้ประมาณกว่า 5,000 ไร่ และจากการทำเส้นทางกันไฟชุมชนสามารถรักษาผืนป่าไปได้กว่า 2,000 ไร่ แต่ด้วยงบประมาณที่มีจำกัด จึงยังไม่สามารถทำเส้นทางกันไฟได้ครอบคลุมตามเป้าหมายทำดำเนินไปได้ประมาณ 10 กิโลเมตร ยังคงเหลืออีกกว่า 5 กิโลเมตร

ดังนั้นเพื่อให้ โครงการการอนุรักษ์ป่าชุมชนและลดปัญหา PM2.5 ด้วยแนวกันไฟแบบภูมิปัญญาท้องถิ่น บ้านป่าเกี๊ยะโฮมสเตย์ อำเภอแม่สรวย จ.เชียงราย ดำเนินไปได้อย่างเสร็จสิ้นสมบูรณ์เพื่อรักษาผืนป่าที่ชุมชนป่าเกี๊ยะช่วยกันดูแลจึงควรมีการระดมทุน หรือขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

นายมานพ บุญยังกุล รู้สึกประทับใจกับการเข้าร่วมกับโครงการเนื่องจากสามารถนำเงินระดมทุนไปแก้ปัญหาได้จริง โดยชาวบ้านสามารถประหยัดแรงงงานและงบประมาณในการทำแนวกันไฟซึ่งจากเดิมใช้แรงงานกว่า 400 คน นอกจากนี้การทำเส้นทางกันไฟถาวรยังทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการไปดับไฟป่า หลังจากเสร็จสิ้นโครงการนี้ ชุมชนจะใช้แรงงานลดลง เหลือเพียงปีละ 100 คน และงบประมาณในการทำแนวกันไฟในแต่ละปีก็จะลดลงด้วย

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
พื้นที่ป่า

ชุมชนพื้นที่บ้านป่าเกี๊ยะ หมู่ที่18 ตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย 

1 ชุมชนชุมชนมีความสะดวกในการเข้าไปดับไฟป่าได้อย่างทันท่วงที ใช้แรงงานลดลง จาก 400 คน เหลือเพียงปีละ 100 คน และงบประมาณในการทำแนวกันไฟในแต่ละปีก็จะลดลง
รูปภาพกิจกรรม

   

รูปภาพไฟป่าเข้ามาจากจุดที่ยังไม่ได้ทำถนนแนวกันไฟ

 

วิดีโอกิจกรรม


อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ร่วมด้วยช่วยกันทำเส้นทางป้องกันไฟ 15 กิโลเมตรเพื่อปกป้องผืนป่ากว่า 20,000 ไร่ในพื้นที่หมู่บ้านป่าเกี๊ยะ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย แก้ปัญหาหมอกควันและ PM 2.5 อย่างยั่งยื่นและให้พี่น้องชุมชนชาวบ้านป่าเกี๊ยะให้กลับมามีอากาศที่บริสุทธิ์อีกครั้ง

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

ชุมชนบ้านป่าเกี๊ยะ อ.แม่สรวย จ.เชียงราย เป็นชุมชนชาวไทยภูเขาเผ่าอาข่า มีหน้าที่ดูแลรักษาป่าประมาณกว่า 2 หมื่นไร่ ทุกปีชุมชนจะประสบปัญหาจากไฟป่าซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งของปัญหาฝุ่นควัน PM 2.5 ส่งผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตของประชาชนในพื้นที่รวมถึงการท่องเที่ยวของหมู่บ้านและจังหวัดเชียงรายในภาพรวม

ที่ผ่านมาชาวบ้านจะเข้าไปดับไฟป่าด้วยวิธีการเดินเท้าเท่านั้น ทำให้ไม่สามารถเข้าไปดับไฟได้ทันท่วงที ส่งผลให้ป่าไม้ได้รับความเสียหายเป็นวงกว้างโดยที่ผ่านมาได้รับความเสียหายมากถึง 10,000ไร่ ชาวบ้านภายใต้การนำของผู้ใหญ่บ้านป่าเกี๊ยะได้คิดหาวิธีที่มีประสิทธิภาพที่สุดนั่นคือ การสร้างแนวกันไฟด้วยการถางทางที่ทำให้รถจักรยานยนต์สามารถเข้าไปยังจุดไฟป่าได้อย่างรวดเร็ว เพื่ออำนวยความสะดวกให้ชาวบ้านกลุ่มเดิมที่แม้จะอยู่วัยผู้สูงอายุแต่ก็มีประสบการณอย่างดีได้เข้าถึงจุดที่ไฟไหม้ได้เร็วขึ้น    โดยคนรุ่นใหม่ที่มีทักษะขี่จักรยานยนต์ในพื้นที่ภูเขาสูงอย่างดีจะเป็นคนพาไป  แนวคิดและการทำงานประสานกำลังพิสูจน์แล้วว่าสามารถรักษาป่าได้ดีกว่าวิธีดั้งเดิม

โดยเส้นทางแนวกันไฟจะต้องทำเพิ่มเติม 15 กิโลเมตร แผนการทำงานคือ ชาวบ้าน 200 คน เพื่อช่วยกันถางเส้นทางดังกล่าว คาดว่าจะใช้เวลา 20 วันจะทำให้ชุมชนพื้นที่บ้านป่าเกี๊ยะ หมู่ที่18 ตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงรายซึ่งประกอบไปด้วย 4 หย่อมบ้าน ได้แก่ 1บ้านป่าเกี๊ยะ2บ้านป่าม่วง 3.บ้านสันกลาง 4.บ้านทรายคำ จำนวน 205 หลังคาเรือ มีประชากร1200คน และพื้นที่ใกล้เคียงในเขตลุ่มน้ำแม่ต๋ำ และภาคการท่องเที่ยวจังหวัดเชียงราย ได้รับประโยชน์ โดยงบประมาณที่ระดมทุนจะเป็นการสนับสนุนค่าอาหารกลางวันของชาวบ้านที่มาทำทางป้องกันแนวกันไฟนี้


ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. ประชุมวางร่วมกับแกนนำไฟป่าในชุมชน
  2. ดำเนินการถางทางเพื่อเป็นแนวกันไฟ
  3. ประเมินผลโครงการ

ผู้รับผิดชอบโครงการ

กาญจนา สมมิตร (หัวหน้าโครงการ)

สร้างแนวกันไฟบ้านป่าเกี๊ยะโฮมสเตย์ จังหวัดเชียงราย

10 กรกฎาคม 2023

กิจกรรมทำเส้นทางป้องกันไฟได้ดำเนินการทำเส้นทางหลังจากได้รับเงินระดมทุนจากเทใจ และจากการช่วยเหลือจากหน่วยงานอื่นเพิ่มเติม

โดยเริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ 2566 มีชุมชนจำนวน 200 คนช่วยกันผลัดเปลี่ยนหมุนเวียนมาทำเส้นทางกันไฟ ในช่วงในช่วงมีนาคม ถึงเมษายนที่ผ่านมามีไฟป่าเกิดขึ้นจำนวนมากและป่าชุมป่าเกี๊ยะเกิดไฟไหม้ประมาณกว่า 5,000 ไร่ และจากการทำเส้นทางกันไฟชุมชนสามารถรักษาผืนป่าไปได้กว่า 2,000 ไร่ แต่ด้วยงบประมาณที่มีจำกัด จึงยังไม่สามารถทำเส้นทางกันไฟได้ครอบคลุมตามเป้าหมายทำดำเนินไปได้ประมาณ 10 กิโลเมตร ยังคงเหลืออีกกว่า 5 กิโลเมตร

ดังนั้นเพื่อให้ โครงการการอนุรักษ์ป่าชุมชนและลดปัญหา PM2.5 ด้วยแนวกันไฟแบบภูมิปัญญาท้องถิ่น บ้านป่าเกี๊ยะโฮมสเตย์ อำเภอแม่สรวย จ.เชียงราย ดำเนินไปได้อย่างเสร็จสิ้นสมบูรณ์เพื่อรักษาผืนป่าที่ชุมชนป่าเกี๊ยะช่วยกันดูแลจึงควรมีการระดมทุน หรือขอรับการสนับสนุนจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องต่อไป

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

นายมานพ บุญยังกุล รู้สึกประทับใจกับการเข้าร่วมกับโครงการเนื่องจากสามารถนำเงินระดมทุนไปแก้ปัญหาได้จริง โดยชาวบ้านสามารถประหยัดแรงงงานและงบประมาณในการทำแนวกันไฟซึ่งจากเดิมใช้แรงงานกว่า 400 คน นอกจากนี้การทำเส้นทางกันไฟถาวรยังทำให้เกิดความสะดวกรวดเร็วในการไปดับไฟป่า หลังจากเสร็จสิ้นโครงการนี้ ชุมชนจะใช้แรงงานลดลง เหลือเพียงปีละ 100 คน และงบประมาณในการทำแนวกันไฟในแต่ละปีก็จะลดลงด้วย

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
พื้นที่ป่า

ชุมชนพื้นที่บ้านป่าเกี๊ยะ หมู่ที่18 ตำบลท่าก๊อ อำเภอแม่สรวย จังหวัดเชียงราย 

1 ชุมชนชุมชนมีความสะดวกในการเข้าไปดับไฟป่าได้อย่างทันท่วงที ใช้แรงงานลดลง จาก 400 คน เหลือเพียงปีละ 100 คน และงบประมาณในการทำแนวกันไฟในแต่ละปีก็จะลดลง
รูปภาพกิจกรรม

   

รูปภาพไฟป่าเข้ามาจากจุดที่ยังไม่ได้ทำถนนแนวกันไฟ

 

วิดีโอกิจกรรม


แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าใช้จ่ายในการดำเนินงานโดยหลักจะเป็นค่าอาหารกลางวันของกลุ่มชาวบ้านที่เข้าไปทำ มื้อละ 50 บาท จำนวนชาวบ้าน200 คน ใช้ระยะเวลาในการทำประมาณ 20 วัน 200 คน 200,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
200,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
20,000.00

ยอดระดมทุน
220,000.00