Save Drop Out Students ต่อลมหายใจให้น้องได้เรียนจบ

มอบทุนการศึกษาให้กับเด็กนักเรียนชั้นม.2 หรือ ม.3 จำนวน 150 คนๆละ 2,000 บาท ซึ่งเป็นเด็กนักเรียนที่เรียนอยู่ในโรงเรียนขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยและเคยสมัครขอรับทุนการศึกษามาที่มูลนิธิ EDF ในปีการศึกษา 2564 ที่ผ่านมา แต่ไม่ได้รับทุนเนื่องจากเงินบริจาคที่ทางมูลนิธิได้รับมานั้นไม่เพียงพอ จึงต้องการระดมทุนให้แก่เด็กๆกลุ่มนี้ได้รับทุนการศึกษาในปีการศึกษา 2565 นี้ เพื่อที่จะเป็นกำลังใจที่จะช่วยประคับประคองชีวิตในการเรียนของพวกเขาให้จบชั้นม.3 เป็นอย่างน้อย โดยไม่ออกจากโรงเรียนกลางคัน และเพื่อแบ่งเบาภาระของครอบครัวของพวกเขาในภาวะที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19
ระยะเวลาโครงการ 01 มี.ค. 2565 ถึง 30 มิ.ย. 2565 พื้นที่ดำเนินโครงการ ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ยอดบริจาคขณะนี้
414,904 บาทเป้าหมาย
412,500 บาทสำเร็จแล้ว
ความคืบหน้าโครงการ
มอบทุนการศึกษาให้เด็ก ม.2 และ ม.3 ในภาคอีสาน จำนวน 151 ทุน
ตามที่มูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนา (EDF) ได้ทำโครงการระดมทุนผ่านเว็บไซต์เทใจดอทคอม ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2565 จนถึง วันที่ 31 กรกฎาคม 2565 โดยมีเป้าหมายการระดมทุนอยู่ที่ 412,500 บาท เพื่อจะนำเงินบริจาคไปเป็นทุนการศึกษาให้กับเด็กนักเรียนชั้นม.2 หรือ ม.3 จำนวน 150 คนๆละ 2,000 บาท ซึ่งเป็นเด็กนักเรียนที่เรียนอยู่ในโรงเรียนประถมขยายโอกาสขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยนั้น หลังจากปิดโครงการสามารถระดมทุนได้เงินบริจาคทั้งสิ้น 414,904 บาท ซึ่งสามารถนำไปจัดสรรเป็นทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้ทั้งหมด 151 ทุน
ทางมูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนา (EDF) ได้ทำการโอนเงินทุนการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนทุนทั้ง 151 คน เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2565 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ก่อนการโอนเงินทุนการศึกษานั้น มูลนิธิ EDF ได้ร่วมมือกับทั้งทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนแต่ละโรงเรียนในการช่วยคัดเลือกเด็กนักเรียนชั้นม.2 และ ม.3 ที่มีความจำเป็นในการขอรับทุนการศึกษา โดยพิจารณาจากจดหมายแนะนำตัวพร้อมรูปถ่ายที่ถ่ายคู่กับที่อยู่อาศัย รวมทั้งข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรายได้ของครอบครัวของเด็กนักเรียน หลังจากพิจารณาข้อมูลเหล่านี้แล้ว ทางฝ่ายทุนการศึกษาจะทำการเช็คข้อมูลบัญชีธนาคารของเด็กนักเรียนแต่ละคน (บางกรณีอาจจะโอนไปที่บัญชีธนาคารของโรงเรียนก่อน) ก่อนจะทำการโอนทุนการศึกษา และหลังจากเงินทุนการศึกษาเข้าบัญชีธนาคารของเด็กนักเรียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คุณครูที่ดูแลโครงการทุนการศึกษาจะทำการสแกนหน้าบัญชีธนาคารที่มีเงินเข้าและส่งมาในระบบของงานทุนการศึกษาของมูลนิธิเพื่อเป็นหลักฐานต่อไป
นอกจากนั้น คุณครูที่ดูแลเรื่องงานทุนการศึกษาจะเป็นผู้ดูแลสมุดบัญชีธนาคารของเด็กนักเรียนทุนทุกคน ดังนั้นผู้บริจาคสามารถมั่นใจได้ว่าเงินทุนที่เด็กๆต้องการถอนไปใช้จ่ายนั้นจะนำไปใช้เกี่ยวกับการศึกษาแต่เพียงอย่างเดียว
รายชื่อนักเรียนทุนที่ได้รับทุนการศึกษา จากโครงการ “Save Drop Out Students ต่อลมหายใจให้น้องได้เรียนจบ” โดยแบ่งเป็นเด็กนักเรียนชั้นม.2 จำนวน 44 คน และชั้นม.3 จำนวน 107 คน รวม 151 คน
จากการมอบทุนให้แก่เด็กนักเรียน ทางมูลนิธิฯ ได้รวบรวมข้อมูลของเด็กนักเรียนที่ได้รับทุนเก็บเป็นสถิติของการรับทุนในครั้งนี้ได้ ต่อไปนี้
อายุของเด็กนักเรียนทุน
สถานภาพของครอบครัว
ผู้ปกครองที่เด็กนักเรียนอาศัยอยู่ด้วยในปัจจุบัน
ความประทับใจจากเด็กนักเรียนที่ได้รับทุน
นางสาวสุพัตรา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านแกใหญ่ จังหวัดสุรินทร์
“ครอบครัวดิฉันมีคุณตา คุณยาย คุณแม่ พี่ชายและน้องชาย พ่อกับแม่แยกทางกันตั้งแต่ดิฉันอยู่ป.1 หลังจากนั้นแม่ก็ไปทำงานต่างจังหวัด ดิฉันจึงอาศัยอยู่กับตายายที่มีอาชีพรับจ้างทำไร่ทำนา พี่ชายดิฉันเมื่อโตขึ้นก็ไปทำงานต่างจังหวัดและส่งเงินมาช่วยแบ่งเบาภาระของครอบครัวอยู่บ้าง พอดิฉันขึ้นชั้นม.1 ค่าใช้จ่ายในครอบครัวก็เริ่มมากขึ้น แม่ก็กลับมาอยู่บ้านเพื่อดูแลน้องเพราะยายแก่มากแล้วร่างกายไม่แข็งแรงดูแลไม่ไหว ดิฉันได้เงินจากเบี้ยเลี้ยงชีพคนชราของยายเป็นค่าใช้จ่ายในการไปโรงเรียน
ดิฉันพยายามหางานเพื่อที่จะได้ไม่ต้องขอเงินยายอีก แต่ก็หาไม่ได้เพราะอายุยังน้อยไม่มีที่ไหนรับ จึงหันมาขายขนมที่โรงเรียน แรกๆก็ขายดีแต่หลังๆก็ไม่ค่อยดีเพราะโรงเรียนมีกิจกรรมมากและต้องอ่านหนังสือเพื่อเตรียมสอบด้วย
หากได้ทุนการศึกษา ดิฉันจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับการเรียนให้ได้มากที่สุด เช่นนำไปซื้ออุปกรณ์การเรียนหรือนำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายที่โรงเรียน และจะนำส่วนหนึ่งให้ยายเก็บไว้เพื่อใช้ในยามลำบากจริงๆ สุดท้ายนี้ดิฉันขอขอบคุณผู้ใหญ่ใจดีที่ได้สนับสนุนทุนการศึกษาต่อเด็กนักเรียนที่ครอบครัวยากไร้มา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ”
นายอภินันท์ ลาน้ำเที่ยง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนาคำ จังหวัดบึงกาฬ
“ปัจจุบันผมอาศัยอยู่กับพ่อ แม่ใหม่ และตา ครอบครัวมีอาชีพรับจ้างกรีดยาง ตาของผมถึงแม้จะอายุมากแล้วแต่ก็ยังต้องทำงานเป็นหลักอยู่เพราะพ่อผมขาพิการ แต่ถึงกระนั้นพ่อผมก็พยายามทำงานให้ได้เพราะถ้าไม่ทำงานเลยเราจะไม่มีเงินไว้ใช้จ่ายในครอบครัว ส่วนผมเองหลังเลิกเรียนจะไปช่วยพ่อรับจ้างกรีดยาง แต่ด้วยสถานการณ์โควิด19 ที่ผ่านมาและข้าวของเครื่องใช้ที่ราคาแพงขึ้น พวกเราจึงจำเป็นต้องประหยัดอดออมมากยิ่งขึ้นเพื่อไว้ใช้ในยามจำเป็นและเพื่อเก็บไว้สำหรับการศึกษาต่อ เพระพ่อต้องการให้ผมเรียนสูงๆเพื่อที่จะได้ทำงานได้เงินเดือนดีและพ่อยังสอนให้ผมเป็นคนดีที่คอยช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอ ในอนาคตผมอยากมีงานที่มั่นคงเพราะจะทำให้ครอบครัวของผมสบายและผมสามารถเลี้ยงดูท่านในยามชราได้
ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเมื่อท่านได้อ่านจดหมายฉบับนี้แล้วจะเมตตาและให้ความอนุเคราะห์ทุนการศึกษาเพื่อนำไปใช้ในการเรียนต่อไป ขอบพระคุณท่านผู้อุปการะทุนเป็นอย่างสูงครับ”
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
ภาพประกอบ
เด็กนักเรียนโรงเรียนโคกค่ายโคกใหญ่วิทยา จ.กาฬสินธุ์
เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านโคกลำดวน จ.สุรินทร์
เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านบัวเชด จ.สุรินทร์
เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านผือ จ.สุรินทร์
เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านโสน จ.สุรินทร์
เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองโจงโลง จ.สุรินทร์
เด็กนักเรียนโรงเรียนราษฎร์พัฒนา จ.สุรินทร์
เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านชุมแสง จ.สุรินทร์
เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านเหล่าหลวงเตาถ่าน จ.มุกดาหาร
อ่านต่อ »
ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา
ในปัจจุบัน ถึงแม้ว่าการเข้าถึงระบบการศึกษาขั้นพื้นฐานจะดีขึ้นกว่าในอดีตเนื่องจากมีนโยบายเรียนฟรีเข้ามาช่วยเหลือ แต่ปัญหา "ความยากจน" ทำให้เด็กที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชนบทห่างไกลอีกจำนวนมากไม่สามารถรับผิดชอบค่าใช้จ่ายอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาได้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในภาวะที่ค่าครองชีพปัจจุบันที่สูงขึ้น ยังผลให้เด็กๆกลุ่มนี้มีความเสี่ยงที่จะหลุดออกจากระบบการศึกษา อีกทั้งปัญหาความยากจนและความเหลื่อมล้ำทางการศึกษาที่มีมาอย่างยาวนานนี้ยังเป็นอุปสรรคสำคัญต่อพัฒนาทรัพยากรบุคคลของประเทศชาติอีกด้วย
จากรายงานของกองทุนเพื่อความเสมอภาคทางการศึกษา (กสศ.) ประจำปี 2564 เด็กนักเรียนในครอบครัวยากจนยังคงเป็นเหยื่อของความเสี่ยงทางการศึกษาแทบทุกประเภท เช่น การมีโอกาสได้รับการศึกษาน้อย การออกเรียนกลางคัน และการมีผลสัมฤทธิ์ในการเรียนต่ำ ซึ่งก็อาจหมายถึงโอกาสในการเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นไปนั้นมีน้อยลงยิ่งไปกว่าเดิม ทั้งนี้ยังไม่รวมถึงความเสี่ยงทางเศรษฐกิจและสังคมอื่นๆ เช่น การเป็นแรงงานนอกระบบที่ถูกกดขี่รายได้ การมีครอบครัวในวัยเรียน หรือการหลุดเข้าสังคมมืด ซึ่งมีแนวโน้มที่จะเป็นผลพวงตามมา
มูลนิธิ EDF เริ่มต้นดำเนินโครงการทุนการศึกษาเพื่อเด็กยากจน ในปี พ.ศ 2531 ที่จังหวัดอุดรธานีเป็นจังหวัดแรก โดยมีนักเรียนที่ได้รับทุนในปีแรกจำนวน 41 คน ในปัจจุบัน มูลนิธิ EDF สามารถส่งต่อความช่วยเหลือที่ได้รับบริจาคจากผู้มีจิตศรัทธาทั้งคนไทยและชาวต่างชาติที่อาศัยอยู่ในประเทศไทยในรูปแบบของทุนการศึกษาไปยังเด็กนักเรียนด้อยโอกาสแล้วกว่า 400,000 คน ใน 5,600 โรงเรียน ครอบคลุม 61 จังหวัดทั่วประเทศไทย
ในปี 2564 ที่ผ่านมา มีนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ยื่นใบสมัครเพื่อขอรับทุนการศึกษาสำหรับชั้นมัธยมศึกษาตอนต้นมาที่ EDF กว่า 10,000 คน ในขณะที่ทาง EDF สามารถจัดสรรทุนการศึกษาในแก่เด็กนักเรียนได้เพียง 8,000 คนตามเงินบริจาคที่ได้รับมา ซึ่งยังมีเด็กนักเรียนอีกกว่า 2,000 คน ที่ถึงแม้ว่าจะได้เลื่อนชั้นไปเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในปีการศึกษานี้แล้วก็ตาม แต่เนื่องด้วยพวกเขาไม่ได้รับทุนการศึกษา มูลนิธิ EDF จึงมีความมุ่งหวังที่จะระดมทุนการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนกลุ่มนี้เพื่อใช้เป็นค่าใช้จ่ายต่างๆที่เกี่ยวกับการศึกษา เช่น อุปกรณ์การเรียน ชุดนักเรียน เพื่อที่จะให้พวกเขาได้เรียนหนังสือจนจบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โดยไม่ต้องออกจากโรงเรียนกลางคัน เพื่อไปเป็นแรงงานไร้ฝีมือเพียงเพราะมีความยากจนเป็นข้อจำกัด และยังเป็นการแบ่งเบาภาระของผู้ปกครองของพวกเขาในภาวะที่ได้รับผลกระทบจากการแพร่ระบาดของโควิด-19 ที่ทำให้ขาดแคลนรายได้หรือมีข้อจำกัดในการทำงานเนื่องมาตรการควบคุมโรค
ตัวอย่างเด็กนักเรียนที่ต้องการทุนการศึกษา
สวัสดีค่ะ หนูชื่อเด็กหญิงพัชราภา อายุ 12 ปี กำลังศึกษาอยู่ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 1 ในจังหวัดนครราชสีมา หนูอาศัยอยู่กับพ่อและแม่ พ่อแม่ของหนูทำงานรับจ้างทั่วไปเช่น ตัดอ้อย เก็บข้าวโพด ขุดมันสำปะหลัง รายได้ไม่แน่นอน หากวันไหนไม่มีงานก็ไม่มีรายได้ บางครั้งหนูต้องหยุดเรียนเพื่อไปช่วยแม่รับจ้างเพื่อหารายได้เข้าครอบครัวและเป็นค่าใช้จ่ายในการเรียน
น้องพัชราภากับแม่
หนูเดินทางไปโรงเรียนโดยปั่นจักรยานระยะทางประมาณ 5 กิโลเมตร ทางจากบ้านไปโรงเรียนเป็นดินลูกรังค่อนข้างลำบากมาก หากวันไหนฝนตกหนัก หนูต้องลาหยุดเนื่องจากเดินทางโรงเรียนไม่ได้ บางวันต้องอาศัยมากับผู้ปกครองของเพื่อนที่มีรถมอเตอร์ไซค์
สภาพถนนเข้าบ้านของน้องพัชราภา
บ้านของน้องพัชราภา
หนูสัญญากับตัวเองและพ่อแม่ว่าจะอดทนและพยายามเรียนหนังสือเพื่ออนาคตภายภาคหน้าหนูจะได้มีงานที่ดีทำ เพื่อที่จะได้มีรายได้ที่มั่นคงมาเลี้ยงดูพ่อแม่ให้ท่านได้สุขสบาย หนูจึงอย่างได้รับทุนการศึกษา เพื่อจะสามารถเรียนต่อในระดับที่สูงขึ้นไป ถ้าได้รับทุนการศึกษาหนูจะนำไปใช้ในการศึกษาเล่าเรียนและซื้ออุปกรณ์การเรียนต่างๆที่จำเป็น เช่น สมุด ปากกา ชุดนักเรียน หนังสือ และหากมีเงินเหลือหนูจะเก็บออมไว้เพื่อใช้เรียนต่อในอนาคตค่ะ
สุดท้ายนี้ หนูกราบขอบคุณผู้ที่จะมอบทุนการศึกษาให้แก่หนู หนูสัญญาว่าจะตั้งใจเรียน เป็นเด็กดีและไม่ทำให้พ่อแม่ คุณครู และผู้ให้ทุนต้องผิดหวังในตัวหนู ขอบคุณค่ะ
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
เมษายน – พฤษภาคม 2565 : มูลนิธิ EDF รับสมัครข้อมูลนักเรียนที่ต้องการขอรับทุนการศึกษาจากโรงเรียนและพิจารณาใบสมัครจากรูปถ่ายที่ถ่ายคู่กับบ้านพร้อมข้อมูลครอบครัว โดยมีเกณฑ์การคัดเลือกดังต่อไปนี้
1) เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
2) ครอบครัวมีฐานะยากจนโดยมีรายได้เฉลี่ยต่อปีต่ำกว่า 50,000-70,000 บาท
3) ไม่เป็นบุตรข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานท้องถิ่นของรัฐ หรือลูกจ้างประจำ
4) เป็นผู้ที่สนใจในการศึกษา มีความประพฤติเรียบร้อย มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองและบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมโดยไม่ได้นำผลการเรียนมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณามอบทุน
มิถุนายน 2565 : มูลนิธิ EDF ปิดรับการบริจาคสำหรับปีการศึกษา 2565
กรกฎาคม – สิงหาคม 2565 : โอนเงินทุนการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียน โดยหลังจากนักเรียนได้รับเงินทุนการศึกษาเรียบร้อยแล้ว คุณครูผู้ดูแลโครงการทุนการศึกษา EDF ในแต่ละโรงเรียนจะต้องส่งสำเนาหน้าเงินเข้าบัญชีธนาคารของเด็กนักเรียน กลับมาให้มูลนิธิฯเพื่อเป็นหลักฐานเงินเข้า
กันยายน – ตุลาคม 2565 : มูลนิธิ EDF ส่งรายงานของเด็กนักเรียนที่ได้รับทุนการศึกษาให้กับผู้บริจาคได้รับทราบ
ผู้รับผิดชอบโครงการ
อนุชาติ คงมา
ฝ่ายรณรงค์ทุนการศึกษา มูลนิธิ EDF

ขยายความช่วยเหลือจาก 100 คน เป็น 150 คน
เนื่องจากขณะนี้ (ณ วันที่ 23 พฤษภาคม 2565) โครงการ "Save Drop Out Students ต่อลมหายใจให้น้องได้เรียนจบ" ของมูลนิธิ EDF สามารถระดมทุนจากผู้บริจาคที่มีจิตศรัทธาได้มากกว่า 80% แล้ว ทางมูลนิธิ EDF ขอขอบพระคุณทุกท่านเป็นอย่างสูงที่คำนึงถึงความสำคัญของการศึกษาที่มีต่อเยาวชนไทยผู้ที่จะเติบโตขึ้นเป็นอนาคตของชาติให้ได้มีทุนการศึกษาที่จะช่วยประคับประคองชีวิตการเรียนของพวกเขาอย่างน้อยให้จบชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3
และในเดือนพฤษภาคมนี้ ทางมูลนิธิกำลังคัดเลือกเด็กนักเรียนทุนที่ส่งใบสมัครพร้อมรูปถ่ายมายังระบบของมูลนิธิ โดยคาดว่าจะมีนักเรียนที่ส่งเข้ามามากถึง 10,000 คน ซึ่งจากสถิติของปีที่ผ่านมา เราสามารถระดมทุนจากทั้งรายบุคคลและบริษัทเพื่อนำมามอบเป็นทุนการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนได้กว่า 8,000 คน
เนื่องด้วยในครั้งนี้เป็นครั้งแรกที่ทางมูลนิธิได้ทำการระดมทุนผ่านทางเทใจดอมคอม โดยมุ่งหวังว่าจะสามารถมอบทุนการศึกษาให้แก่เด็กๆได้มากกว่าปีที่ผ่านมา ดังนั้นในระยะเวลาการระดมทุนของโครงการ "Save Drop Out Students ต่อลมหายใจให้น้องได้เรียนจบ" ที่เหลืออีกประมาณ 1 เดือนก่อนจะปิดโครงการนี้ ทางมูลนิธิ EDF จึงต้องการขยายเป้าการระดมทุนจาก 100 คน เป็น 150 คน รวมเป็นเงิน 412,500 บาท (รวมค่าธรรมเนียม 10% ของเทใจแล้ว)
อนุชาติ คงมา
ฝ่ายรณรงค์ทุนการศึกษา มูลนิธิ EDF
ขยายเวลาความช่วยเหลือถึง 31 กรกฎาคม 2565
ตามที่ มูลนิธิ EDF ต้องการขยายเป้าการระดมทุนจาก 100 คน เป็น 150 คน จึงขอเปลี่ยนแปลงการปิดระดมทุนเป็น 31 ก.ค. 2565
สำหรับขั้นตอนการทำงานมีการปรับเปลี่ยนเพิ่ม ตามนี้
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
เมษายน – พฤษภาคม 2565 : มูลนิธิ EDF รับสมัครข้อมูลนักเรียนที่ต้องการขอรับทุนการศึกษาจากโรงเรียนและพิจารณาใบสมัครจากรูปถ่ายที่ถ่ายคู่กับบ้านพร้อมข้อมูลครอบครัว โดยมีเกณฑ์การคัดเลือกดังต่อไปนี้
เป็นนักเรียนที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับมัธยมศึกษาตอนต้น
- ครอบครัวมีฐานะยากจนโดยมีรายได้เฉลี่ยต่อปีต่ำกว่า 50,000-70,000 บาท
- ไม่เป็นบุตรข้าราชการ พนักงานรัฐวิสาหกิจ พนักงานท้องถิ่นของรัฐ หรือลูกจ้างประจำ
- เป็นผู้ที่สนใจในการศึกษา มีความประพฤติเรียบร้อย มีความรับผิดชอบต่อหน้าที่ของตนเองและบำเพ็ญตนให้เป็นประโยชน์ต่อส่วนรวมโดยไม่ได้นำผลการเรียนมาเป็นเกณฑ์ในการพิจารณามอบทุน
31 กรกฎาคม 2565 : ปิดการระดมทุน
สิงหาคม- กันยายน 2565 : หลังจากทางเทใจโอนเงินบริจาคที่ระดมมาได้มายัง EDF แล้ว ทางเราจะทำการเบิกถอนและทำการโอนไปยังบัญชีของโรงเรียนหรือเด็กนักเรียนทุนต่อไป
กันยายน ตุลาคม 2565 : ส่งรายงานลิสต์รายชื่อและรูปถ่ายของเด็กนักเรียนทุน
อนุชาติ คงมา
ฝ่ายรณรงค์ทุนการศึกษา มูลนิธิ EDF
มอบทุนการศึกษาให้เด็ก ม.2 และ ม.3 ในภาคอีสาน จำนวน 151 ทุน
ตามที่มูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนา (EDF) ได้ทำโครงการระดมทุนผ่านเว็บไซต์เทใจดอทคอม ระหว่างวันที่ 1 มีนาคม 2565 จนถึง วันที่ 31 กรกฎาคม 2565 โดยมีเป้าหมายการระดมทุนอยู่ที่ 412,500 บาท เพื่อจะนำเงินบริจาคไปเป็นทุนการศึกษาให้กับเด็กนักเรียนชั้นม.2 หรือ ม.3 จำนวน 150 คนๆละ 2,000 บาท ซึ่งเป็นเด็กนักเรียนที่เรียนอยู่ในโรงเรียนประถมขยายโอกาสขนาดเล็กในภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศไทยนั้น หลังจากปิดโครงการสามารถระดมทุนได้เงินบริจาคทั้งสิ้น 414,904 บาท ซึ่งสามารถนำไปจัดสรรเป็นทุนการศึกษาแก่เด็กนักเรียนที่เป็นกลุ่มเป้าหมายได้ทั้งหมด 151 ทุน
ทางมูลนิธิกองทุนการศึกษาเพื่อการพัฒนา (EDF) ได้ทำการโอนเงินทุนการศึกษาให้แก่เด็กนักเรียนทุนทั้ง 151 คน เมื่อวันที่ 25 กันยายน 2565 เป็นที่เรียบร้อยแล้ว
ก่อนการโอนเงินทุนการศึกษานั้น มูลนิธิ EDF ได้ร่วมมือกับทั้งทางสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาและโรงเรียนแต่ละโรงเรียนในการช่วยคัดเลือกเด็กนักเรียนชั้นม.2 และ ม.3 ที่มีความจำเป็นในการขอรับทุนการศึกษา โดยพิจารณาจากจดหมายแนะนำตัวพร้อมรูปถ่ายที่ถ่ายคู่กับที่อยู่อาศัย รวมทั้งข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับรายได้ของครอบครัวของเด็กนักเรียน หลังจากพิจารณาข้อมูลเหล่านี้แล้ว ทางฝ่ายทุนการศึกษาจะทำการเช็คข้อมูลบัญชีธนาคารของเด็กนักเรียนแต่ละคน (บางกรณีอาจจะโอนไปที่บัญชีธนาคารของโรงเรียนก่อน) ก่อนจะทำการโอนทุนการศึกษา และหลังจากเงินทุนการศึกษาเข้าบัญชีธนาคารของเด็กนักเรียนเป็นที่เรียบร้อยแล้ว คุณครูที่ดูแลโครงการทุนการศึกษาจะทำการสแกนหน้าบัญชีธนาคารที่มีเงินเข้าและส่งมาในระบบของงานทุนการศึกษาของมูลนิธิเพื่อเป็นหลักฐานต่อไป
นอกจากนั้น คุณครูที่ดูแลเรื่องงานทุนการศึกษาจะเป็นผู้ดูแลสมุดบัญชีธนาคารของเด็กนักเรียนทุนทุกคน ดังนั้นผู้บริจาคสามารถมั่นใจได้ว่าเงินทุนที่เด็กๆต้องการถอนไปใช้จ่ายนั้นจะนำไปใช้เกี่ยวกับการศึกษาแต่เพียงอย่างเดียว
รายชื่อนักเรียนทุนที่ได้รับทุนการศึกษา จากโครงการ “Save Drop Out Students ต่อลมหายใจให้น้องได้เรียนจบ” โดยแบ่งเป็นเด็กนักเรียนชั้นม.2 จำนวน 44 คน และชั้นม.3 จำนวน 107 คน รวม 151 คน
จากการมอบทุนให้แก่เด็กนักเรียน ทางมูลนิธิฯ ได้รวบรวมข้อมูลของเด็กนักเรียนที่ได้รับทุนเก็บเป็นสถิติของการรับทุนในครั้งนี้ได้ ต่อไปนี้
อายุของเด็กนักเรียนทุน
สถานภาพของครอบครัว
ผู้ปกครองที่เด็กนักเรียนอาศัยอยู่ด้วยในปัจจุบัน
ความประทับใจจากเด็กนักเรียนที่ได้รับทุน
นางสาวสุพัตรา ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 3 โรงเรียนบ้านแกใหญ่ จังหวัดสุรินทร์
“ครอบครัวดิฉันมีคุณตา คุณยาย คุณแม่ พี่ชายและน้องชาย พ่อกับแม่แยกทางกันตั้งแต่ดิฉันอยู่ป.1 หลังจากนั้นแม่ก็ไปทำงานต่างจังหวัด ดิฉันจึงอาศัยอยู่กับตายายที่มีอาชีพรับจ้างทำไร่ทำนา พี่ชายดิฉันเมื่อโตขึ้นก็ไปทำงานต่างจังหวัดและส่งเงินมาช่วยแบ่งเบาภาระของครอบครัวอยู่บ้าง พอดิฉันขึ้นชั้นม.1 ค่าใช้จ่ายในครอบครัวก็เริ่มมากขึ้น แม่ก็กลับมาอยู่บ้านเพื่อดูแลน้องเพราะยายแก่มากแล้วร่างกายไม่แข็งแรงดูแลไม่ไหว ดิฉันได้เงินจากเบี้ยเลี้ยงชีพคนชราของยายเป็นค่าใช้จ่ายในการไปโรงเรียน
ดิฉันพยายามหางานเพื่อที่จะได้ไม่ต้องขอเงินยายอีก แต่ก็หาไม่ได้เพราะอายุยังน้อยไม่มีที่ไหนรับ จึงหันมาขายขนมที่โรงเรียน แรกๆก็ขายดีแต่หลังๆก็ไม่ค่อยดีเพราะโรงเรียนมีกิจกรรมมากและต้องอ่านหนังสือเพื่อเตรียมสอบด้วย
หากได้ทุนการศึกษา ดิฉันจะนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์กับการเรียนให้ได้มากที่สุด เช่นนำไปซื้ออุปกรณ์การเรียนหรือนำไปใช้เป็นค่าใช้จ่ายที่โรงเรียน และจะนำส่วนหนึ่งให้ยายเก็บไว้เพื่อใช้ในยามลำบากจริงๆ สุดท้ายนี้ดิฉันขอขอบคุณผู้ใหญ่ใจดีที่ได้สนับสนุนทุนการศึกษาต่อเด็กนักเรียนที่ครอบครัวยากไร้มา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ ขอบคุณค่ะ”
นายอภินันท์ ลาน้ำเที่ยง ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 2 โรงเรียนบ้านนาคำ จังหวัดบึงกาฬ
“ปัจจุบันผมอาศัยอยู่กับพ่อ แม่ใหม่ และตา ครอบครัวมีอาชีพรับจ้างกรีดยาง ตาของผมถึงแม้จะอายุมากแล้วแต่ก็ยังต้องทำงานเป็นหลักอยู่เพราะพ่อผมขาพิการ แต่ถึงกระนั้นพ่อผมก็พยายามทำงานให้ได้เพราะถ้าไม่ทำงานเลยเราจะไม่มีเงินไว้ใช้จ่ายในครอบครัว ส่วนผมเองหลังเลิกเรียนจะไปช่วยพ่อรับจ้างกรีดยาง แต่ด้วยสถานการณ์โควิด19 ที่ผ่านมาและข้าวของเครื่องใช้ที่ราคาแพงขึ้น พวกเราจึงจำเป็นต้องประหยัดอดออมมากยิ่งขึ้นเพื่อไว้ใช้ในยามจำเป็นและเพื่อเก็บไว้สำหรับการศึกษาต่อ เพระพ่อต้องการให้ผมเรียนสูงๆเพื่อที่จะได้ทำงานได้เงินเดือนดีและพ่อยังสอนให้ผมเป็นคนดีที่คอยช่วยเหลือผู้อื่นอยู่เสมอ ในอนาคตผมอยากมีงานที่มั่นคงเพราะจะทำให้ครอบครัวของผมสบายและผมสามารถเลี้ยงดูท่านในยามชราได้
ผมหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเมื่อท่านได้อ่านจดหมายฉบับนี้แล้วจะเมตตาและให้ความอนุเคราะห์ทุนการศึกษาเพื่อนำไปใช้ในการเรียนต่อไป ขอบพระคุณท่านผู้อุปการะทุนเป็นอย่างสูงครับ”
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ

ภาพประกอบ
เด็กนักเรียนโรงเรียนโคกค่ายโคกใหญ่วิทยา จ.กาฬสินธุ์
เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านโคกลำดวน จ.สุรินทร์
เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านบัวเชด จ.สุรินทร์
เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านผือ จ.สุรินทร์
เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านโสน จ.สุรินทร์
เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านหนองโจงโลง จ.สุรินทร์
เด็กนักเรียนโรงเรียนราษฎร์พัฒนา จ.สุรินทร์
เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านชุมแสง จ.สุรินทร์
เด็กนักเรียนโรงเรียนบ้านเหล่าหลวงเตาถ่าน จ.มุกดาหาร
แผนการใช้เงิน
ลำดับ | รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|---|
1 | ทุนการศึกษาที่โอนให้กับเด็กนักเรียน | 150 (คนละ 2,000 บาท) | 300,000.00 |
2 | ค่าบริหารจัดการในการสุ่มลงพื้นที่เพื่อตรวจสอบคุณสมบัติเด็กนักเรียนทุน ติดตามข้อมูล ประเมินผลข้อมูลของเด็กนักเรียน รวมทั้งค่าเดินทาง ที่พัก อาหาร ฯลฯ | 150 (200 บาทต่อคน) | 30,000.00 |
3 | ค่าใช้จ่ายด้านเอกสารเพื่อการติดต่อประสานงานกับโรงเรียนและเด็กนักเรียน ค่าโทรศัพท์ ค่าไปรษณีย์ ค่าการจัดทำเอกสารต่างๆที่ใช้ในการดำเนินโครงการ | 150 (111.5 บาทต่อคน) | 16,725.00 |
4 | ค่าจ้างบุคลากรในการดำเนินโครงการทุนการศึกษารวมถึงค่าวัสดุอุปกรณ์ต่างๆที่เกี่ยวข้อง | 150 (108.50 บาทต่อคน) | 16,275.00 |
5 | ค่าธรรมเนียมในการโอนเงินไปยังธนาคารต่างๆ | 150 (80 บาทต่อคน) | 12,000.00 |