น้องหรั่ง รอโอกาสที่จะได้มอง (เห็น) ชัด ๆ หลังทนปวดตากว่า 12 ปี

แม้ว่าน้องหรั่งสายตาสั้นมาก แต่ยังไม่สามารถตัดแว่นใส่ได้ เนื่องจากม่านตากระตุกและมีรูม่านตาไม่เท่ากัน หลังจากแม่จะพาน้องหรั่งไปตรวจวัดค่าสายตาที่โรงพยาบาลนครพนม แพทย์แจ้งอาการที่น้องหรั่งเผชิญอยู่นั้นมีวิธีรักษา คือ “ผ่าตัด”
ระยะเวลาโครงการ 13 ก.ย. 2566 ถึง 13 ธ.ค. 2566 พื้นที่ดำเนินโครงการ ทั่วประเทศ
ยอดบริจาคขณะนี้
32,670 บาทเป้าหมาย
32,670 บาทปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา
น้องหรั่ง รอโอกาสที่จะได้มอง(เห็น)ชัด ๆ
หลังทนปวดตากว่า 12 ปี
แม้ว่าน้องหรั่งสายตาสั้นมาก แต่ยังไม่สามารถตัดแว่นใส่ได้ เนื่องจากม่านตากระตุกและมีรูม่านตาไม่เท่ากัน หลังจากแม่จะพาน้องหรั่งไปตรวจวัดค่าสายตาที่โรงพยาบาลนครพนม แพทย์แจ้งอาการที่น้องหรั่งเผชิญอยู่นั้นมีวิธีรักษา คือ “ผ่าตัด”
นอกจากอาการมองไม่ชัดเจนแล้ว หากวันไหนน้องหรั่งต้องทำกิจกรรมกลางแจ้ง ตาก็จะมีอาการพร่ามัว มองแทบไม่เห็นทาง ซึ่งปัญหานี้ทำให้น้องหรั่งได้รับอันตรายอยู่บ่อยครั้ง “แม่สังเกตุเห็นว่าน้องมีความผิดปกติ ที่ดวงตาตั่งแต่หลังคลอดแล้วว่าตาของน้องไม่เท่ากัน แต่แม่คิดว่าเมื่อน้องโตขึ้นดวงตาของน้องน่าจะกลับมาเท่ากันเอง จนกระทั่งน้องหรั่งอายุได้ราว 3 ขวบ น้องหรั่งกับมีอาการรุนแรงเพิ่มมากขึ้นเพราะมองไม่ค่อยเห็นมากขึ้น แม่จึงได้พาน้องไปปรึกษาแพทย์ที่โรงพยาบาลใกล้บ้าน”
แต่เนื่องจากที่โรงพยาบาลนครพนมไม่มีแพทย์เฉพาะทาง จึงได้ส่งตัวต่อไปตรวจที่โรงพยาบาลศรีนครินทร์เพื่อรักษาต่อ แต่ด้วยระยะทางที่ไกลบ้านถึง 94 กิโลเมตร ครอบครัวฐานะยากจน แม่จึงไม่มีเงินค่าเดินทางพาน้องไปรักษาตามแพทย์นัดได้ ปัจจุบันน้องหรั่งยังไม่ได้รับการรักษาและต้องทนกับปัญหาด้านสายตาเรื่อยมาจนถึงตอนนี้ อายุ 12 ปีแล้ว
ยังมีเด็กด้อยโอกาสกำลังตกในภาวะวิกฤติขั้นรุนแรง ที่ต้องการความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วนอีก มีความจำเป็นต้องการดูแลรักษาเฉพาะทางเป็นพิเศษ และได้รับการรักษาอย่างปลอดภัย เพื่อช่วยบรรเทาความเจ็บปวดให้น้อยลง
เด็กที่อยู่ในภาวะวิกฤติได้แก่
1) เด็กเจ็บป่วยรุนแรง
2) เด็กพิการหรือไม่มีผู้ใหญ่ดูแล หรืออาศัยอยู่กับผู้สูงอายุที่เจ็บป่วย
3) เด็กต้องรับภาระเลี้ยงดูคนในครอบครัวทั้งที่เป็นผู้พิการ หรือเป็นผู้สูงอายุ
4) เด็กที่ขาดความมั่นคงปลอดภัย ด้านที่อยู่อาศัย
ปฏิบัติการให้ความช่วยเหลือเด็กที่อยู่ในภาวะวิกฤติ
1) ระยะเร่งด่วน
• สนับสนุนการช่วยเหลือเฉพาะทาง
• สนับสนุนอาหารและน้ำเพื่อการยังชีพ
• ปรับปรุง ซ่อม สร้าง ที่พักอาศัยให้ปลอดภัยถูกสุขลักษณะ
2) ระยะฟื้นฟู
• สร้างแหล่งอาหารในครัว เช่น การปลูกผัก เลี้ยงสัตว์
• สนับสนุนทุนการศึกษาหรือทุนพัฒนาทักษะอาชีพ
3) ระยะยาว
• ประสานหน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอรับสนับสนุน
• มอบทุนพัฒนาทักษะอาชีพ
• ระดมจิตอาสาจากชุมชนและชาวบ้าน เพื่อร่วมให้การช่วยเหลือ
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
ขั้นที่ 1 การสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูล
ขั้นที่ 2 วางแผนให้ความช่วยเหลือ
ขั้นที่ 3 ดำเนินการให้ความช่วยเหลือ
ผู้รับผิดชอบโครงการ
มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ.เพื่อเด็กและเยาวชนฯ

Facebook: https://www.facebook.com/ThaiCCF
Website: https://www.ccfthai.or.th/
แผนการใช้เงิน
ลำดับ | รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|---|
1 | ค่าเดือนทางจากหมู่บ้านไปโรงพยาบาลศรีนครินทร์ จังหวัดขอนแก่น ครั้งละ 5,000 บาท | 4 ครั้ง | 20,000.00 |
2 | ค่าอาหารระหว่างไปรับการรักษา จำนวน 3 คน (พ่อ แม่ และน้องหรั่ง) วันละ 2 มื้อ มื้อละ 100 บาท จำนวน 4 ครั้ง | 18 มื้อ | 2,400.00 |
3 | ค่าเครื่องนอน (ที่นอน ผ้าห่ม หมอน มุ้ง) | 1 ชุด | 1,500.00 |
4 | ชุดนักเรียน กระเป๋า รองเท้า | 1 ชุด | 2,000.00 |
5 | แว่นตากรองแสง | 1 อัน | 3,800.00 |