ฟื้นฟูสวัสดิภาพช้างเลี้ยง ป้องกันการทารุณกรรมช้างเลี้ยงทุกรูปแบบ

เนื่องจากประเทศไทยถูกมองและถูกจัดอันดับให้ประเทศที่การทรมานช้างเลี้ยงเป็นอันดับต้นๆของโลก และมีการเข้าใจรวมถึงมุมมองที่ผิดของชาวต่างชาติ มูลนิธิฯจึงมุ่งเน้นปรับเปลี่ยนและแก้ไขภาพลักษณ์การเลี้ยงช้างบ้านในประเทศไทย อีกทั้งยังต้องการฟื้นฟูความเป็นอยู่ของช้างเลี้ยงให้ดียิ่งขึ้น จัดให้มีการสำรวจและตรวจสอบความเป็นอยู่ของช้างเลี้ยงในประเทศไทย รวมถึงเข้าไปให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาสวัสดิภาพของช้างเลี้ยงให้กับปางช้างต่างๆ โดยจะเริ่มจากปางช้างในบริเวณภาคเหนือ
ระยะเวลาโครงการ 01 ก.พ. 2565 ถึง 31 ก.ค. 2565 พื้นที่ดำเนินโครงการ ปางช้างในเขตภาคเหนือ 10 ปาง
ยอดบริจาคขณะนี้
114,000 บาทเป้าหมาย
379,500 บาทสำเร็จแล้ว
ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา
ปัจจุบันมีช้างเลี้ยงในประเทศไทยมากกว่า 3,000 เชือก และยังพบปัญหาการทารุณกรรมช้างเลี้ยงในหลายๆรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นการใช้เเรงงานช้างที่เกินขอบเขต การฝึกฝนช้างเลี้ยงที่ขาดความเข้าใจหรือขาดการสอนที่ถูกวิธี รวมถึงความเป็นอยู่ของช้างเลี้ยงที่ถูกปล่อยปะละเลย ทั้งที่ยู่อาศัย อาหารการกิน รวมถึงยารักษาช้าง โดยในขณะนี้กฏหมายบังคับใช้สำหรับการป้องกันการทารุณกรรมและการจัดสวัสดิภาพช้างยังอยู่ในระหว่างดำเนินการของภาครัฐ ยิ่งในวิกฤตโควิด-19 หลายๆปางช้างยังขาดทั้งความรู้ และ ปัจจัยที่สำคัญต่อการเลี้ยงช้างทำให้สวัสดิภาพช้างเลี้ยงไทยยิ่งน่าเป็นห่วง
ดังนั้นเพื่อพัฒนาและฟื้นฟูสวัสดิภาพช้างเลี้ยงในประเทศไทยให้เป็นที่ประจักษ์ต่อสายตาชาวโลกว่าช้างไทยจะมีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น ทางมูลนิธิฯจึงจัดให้มีการดำเนินการจัดตั้งแผนฟื้นฟูสวัสดิภาพช้างเลี้ยงในประเทศไทยและงบประมาณสำหรับช้างเลี้ยงเเละปางช้างโดยเริ่มจาก 10 ปางแรกในเขต ภาคเหนือ ที่จะทำให้ช้างประมาณ 300 เชือก มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
1. สำรวจและตรวจสอบปางช้างในประเทศไทย ภาคเหนือ - กลาง - อีสาน - ใต้ เกี่ยวกับพฤติกรรมการเลี้ยงช้างในปางช้างว่าเกิดการทารุณกรรมช้างหรือไม่ โดยหัวข้อในการตรวจสอบมีดังนี้ การให้อาหารช้างในปริมาณที่เพียงพอต่อวัน การใช้งานช้างอยู่ในขอบเขตหรือไม่ สภาพที่อยู่อาศัยของช้าง และการตรวจสุขภาพช้าง
2. วิเคราะห์แนวทางแก้ปัญหาและวางแผนฟื้นฟูสำหรับปางช้างที่เข้าข่ายมีการทารุณกรรมช้าง
3. จัดงบประมาณสำหรับพัฒนาและฟื้นฟูสวัสดิภาพช้างเลี้ยง โดยแบ่งเป็นค่าอาหารและยาสำหรับปางช้าง การสนับสนุนทางวิชาการและการอบรมการเลี้ยงช้างที่ถูกวิธีโดยผู้คณะเชี่ยวชาญ การสนับสนุนตรวจสุขภาพช้างโดยคณะสัตวแพทย์ และการพัฒนาที่อยู่อาศัยรวมถึงระบบน้ำสำหรับช้างดื่มกิน
4. สรุปผลการดำเนินการในระยะหกเดือนแรก สำรวจและวิเคราะห์แนวโน้มการฟื้นฟูสวัสดิภาพช้างเลี้ยง
ผู้รับผิดชอบโครงการ
นาย ณัฐกานต์ แก้วกันภัย (ผู้จัดการมูลนิธิอนุรักษ์ช้างเอเชีย)

Facebook: https://web.facebook.com/esafthailand
Website: http://elephantsanctuaryasiafoundation.org/
แผนการใช้เงิน
ลำดับ | รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|---|
1 | ค่าอาหารสำหรับช้างในเขตภาคเหนือ (กล้วย อ้อย) เป็นระยะเวลา 6 เดือน | 30 เชือก | 120,000.00 |
2 | ค่ายาสำหรับรักษาช้างในเขตภาคเหนือ (กล้วย อ้อย) เป็นระยะเวลา 6 เดือน | 10 ปาง | 40,000.00 |
3 | สนับสนุนทางวิชาการและการอบรมการเลี้ยงช้างที่ถูกวิธีโดยผู้คณะเชี่ยวชาญให้กับปางช้างในเขภาคเหนือ | 10 ปาง | 25,000.00 |
4 | เสริมสร้างปัจจัย การปรับปรุงที่อยู่อาศัย ระบบน้ำสำหรับช้างดื่มกิน | 10 ปาง | 160,000.00 |