จัดหาอุปกรณ์ป้องกันการแพร่เชื้อสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลสตรีตั้งครรภ์

จัดหาอุปกรณ์ป้องกันการแพร่เชื้อสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลสตรีตั้งครรภ์ ทารกแรกคลอดและผู้ป่วยมะเร็งของภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ เพราะเราต้องการลดโอกาสเสี่ยงในการสัมผัสเชื้อให้กับผู้ป่วยในความรับผิดชอบซึ่งต้องการการรักษาอย่างเร่งด่วนและไม่สามารถรอให้การระบาดโควิด 19 หยุดลงได้
ระยะเวลาโครงการ 3 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
ยอดบริจาคขณะนี้
384,022 บาทเป้าหมาย
99,000 บาทสำเร็จแล้ว
ความคืบหน้าโครงการ
ความคืบหน้าโครงการระดมทุนจัดซื้ออุปกรณ์ป้องกันโควิดสำหรับบุคลากรที่ดูแลหญิงตั้งครรภ์ ครั้งที่ 3
ความคืบหน้าโครงการระดมทุนจัดซื้ออุปกรณ์ป้องกันโควิดสำหรับบุคลากรที่ดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่หมอจัดทำขึ้นสำหรับภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ครั้งที่ 3
ช่วงที่ผ่านมา ทีมงานได้มีการกำหนดมาตรการเพื่อความปลอดภัยของคนไข้และบุคลากร ปรับปรุงสถานที่ รวมทั้งจัดซื้ออุปกรณ์ป้องกันหลายรายการ ดังนี้
1. ตู้อบ UVC ขนาดใหญ่ (ของ Kiosk) จำนวน 2 เครื่อง สำหรับคลินิกผู้ป่วยนอก และห้องคลอด
2. ตู้อบ UVC Faceshow รุ่น 208A จำนวน 4 เครื่อง และเครื่องบริจาคจากเพจ 59S Thailand 👉 https://www.facebook.com/59SThailand/ สำหรับจุดบริการทั้งคลินิกผู้ป่วยนอก ห้องผ่าตัด ห้องคลอด ภาควิชา หอผู้ป่วยในพื้นที่บริการของภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา (ขอขอบพระคุณเพจ 59S Thailand มา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ)
3. ชุด Coverall type 5 และ 6 จำนวน 300 ชุด
4. หน้ากาก KN95 จำนวน 500 ชิ้น
5. Leg cover จำนวน 300 คู่
6. แว่นนิรภัย จำนวน 50 ชิ้น
โดยอุปกรณ์ทั้งหมดได้แจกจ่ายไปยังหน่วยงานในพื้นที่บริการของภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาอย่างทั่วถึงค่ะ
ขอขอบคุณทุกท่านสำหรับทุกการบริจาคนะคะ เพราะน้ำใจจากทุกคน ทำให้พวกเราสามารถดูแลหญิงตั้งครรภ์และคนไข้มะเร็งนรีเวชได้อย่างทั่วถึงและเต็มที่
ขณะนี้คาดว่ายังมีทุนและอุปกรณ์เพียงพอสำหรับการดูแลผู้ป่วยของเราไปจนถึงปลายปี (ในกรณีที่การระบาดคงที่แบบในสถานการณ์ปัจจุบัน) สำหรับความคืบหน้าต่อไปจะมาอัพเดตเป็นระยะนะคะ
สถิติระบาดของไวรัสโควิด 19 โดยกรมควบคุมโรคประกาศว่า วันที่ 24 มีนาคม 2563 บุคลากรทางการแพทย์อย่างน้อย 4 ราย
หากบุคลากรทางแพทย์ได้รับเชื้อ จะสามารถแพร่เชื้อต่อไปให้กับผู้ป่วยในวงกว้าง บุคลากรของภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสต์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ มีหน้าที่ดูแลผู้ป่วยตั้งครรภ์ ทารกแรกคลอด รวมถึงผู้ป่วยมะเร็งนรีเวช ขั้นต่ำวันละประมาณ 100-300 ราย ผู้ป่วยส่วนหนึ่งซึ่งไม่ฉุกเฉิน ได้รับคำแนะนำให้เลื่อนนัดหรือหลีกเลี่ยงการมาโรงพยาบาล แต่กลุ่มนี้ไม่สามารถเลี่ยงการมาโรงพยาบาลได้ เนื่องจากต้องติดตามฝากครรภ์ตามเวลา ต้องคลอดและผ่าคลอดแม้จะมีการระบาด รวมถึงผู้ป่วยมะเร็งนรีเวชที่ต้องผ่าตัดและได้รับยาเคมีบำบัดก่อนที่โรคจะลุกลาม
ผู้ป่วยเหล่านี้มีความเปราะบาง มีโอกาสติดเชื้อได้ง่าย และเป็นกลุ่มเสี่ยงที่จะมีอาการรุนแรง บุคลากรทางการแพทย์ที่ดูแลจึงต้องมีอุปกรณ์เพื่อป้องกันตนเองเพื่อไม่ให้ติดเชื้อ รวมถึงป้องกันไม่ให้แพร่เชื้อไปยังผู้ป่วยในความดูแลด้วย
โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อรับบริจาคอุปกรณ์ป้องกันสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ ได้แก่ N95, ชุด PPE, face shield และ surgical mask และระดมเงินทุนสำหรับจัดซื้ออุปกรณ์ทดแทนอุปกรณ์ป้องกันทางการแพทย์ ได้แก่ อุปกรณ์ทำ face shield แบบใช้แล้วทิ้ง (เช่น แผ่นพลาสติกใส, ฟองน้ำ, ยางยืด กระดาษกาว เป็นต้น), เสื้อกันฝนแบบคลุมทั้งตัวและปลายแขนรูด และจัดทำกล่องแผ่นอะคลิลิคสำหรับกั้นพื้นที่ในการรอตรวจและในห้องตรวจเพื่อลดการสัมผัสเชื้อทั้งสำหรับบุคลากรและผู้ป่วย
ภาพประกอบ : ปัจจุบันที่คลินิกฝากครรภ์และคลินิกนรีเวช ใช้เสื้อคลุมฝนพลาสติกทดแทน เพื่อประหยัดอุปกรณ์สำหรับกรณีจำเป็นจริงๆ
กลุ่มเป้าหมายที่จะร่วมดำเนินโครงการ
คือ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ซึ่งต้องดูแลผู้ป่วยตั้งครรภ์และผู้ป่วยมะเร็งนรีเวชที่เสี่ยงต่อการรับเชื้อและอาจมีอาการรุนแรงหากติดเชื้อ
ภาพประกอบ : การปฏิบัติงานในห้องคลอด ซึ่งยังคงมีหญิงตั้งครรภ์มาใช้บริการทุกวัน หญิงตั้งครรภ์ที่มาคลอดส่วนหนึ่งมีไข้ไม่ทราบสาเหตุ แต่เนื่องจากไม่เข้าเกณฑ์ PUI จึงไม่สามารถตรวจยืนยันการติดเชื้อได้ แต่บุคลากรก็จำเป็นต้องดูแลแบบกลุ่มความเสี่ยงสูง เพื่อป้องกันไม่ให้หญิงตั้งครรภ์รายอื่นได้รับความเสี่ยงด้วย
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
1.เปิดรับบริจาคสิ่งของ ได้แก่ N95, ชุด PPE, face shield และ surgical mask โดยส่งอุปกรณ์มาที่ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (วิทยาเขตองครักษ์) 62 หมู่ที่ 7 ถ.รังสิต-นครนายก ต.องครักษ์ อ.องครักษ์ จ.นครนายก 26120
2.ระดมทุนสำหรับจัดซื้ออุปกรณ์ทดแทนอุปกรณ์ป้องกันทางการแพทย์ ได้แก่ อุปกรณ์ทำ face shield แบบใช้แล้วทิ้ง (เช่น แผ่นพลาสติกใส, ฟองน้ำ, ยางยืด กระดาษกาว เป็นต้น), เสื้อกันฝนแบบคลุมทั้งตัวและปลายแขนรูด และจัดทำกล่องแผ่นอะคลิลิคสำหรับกั้นพื้นที่ในการรอตรวจและในห้องตรวจเพื่อลดการสัมผัสเชื้อทั้งสำหรับบุคลากรและผู้ป่วย ทั้งนี้เมื่อได้รับเงินบริจาค ทีมแพทย์ พยาบาลและเจ้าหน้าที่จะดำเนินการจัดซื้ออุปกรณ์และทำอุปกรณ์สำรองให้เพียงพอ
3.จัดซื้ออุปกรณ์สำหรับป้องกันการติดเชื้อ จัดผังห้องตรวจ ห้องรอตรวจ ห้องคลอดและหอผู้ป่วย เพื่อลดโอกาสแพร่เชื้อระหว่างบุคคล
4.สามารถติดตามความเคลื่อนไหวของโครงการได้ทาง facebook page: ใกล้มิตรชิดหมอ https://www.facebook.com/Drnextdoor/
ประโยชน์ของโครงการ
1.จัดหาอุปกรณ์ป้องกันและอุปกรณ์ทดแทนสำหรับบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องสัมผัสดูแลผู้ป่วยที่เสี่ยงต่อการติดเชื้อ ได้แก่ ผู้ป่วยตั้งครรภ์ ทารกแรกเกิด และผู้ป่วยมะเร็งนรีเวช
2.ลดโอกาสเสี่ยงที่บุคลากรทางการแพทย์จะแพร่เชื้อให้กับผู้ป่วยตั้งครรภ์ ทารกแรกคลอดและผู้ป่วยมะเร็งนรีเวชซึ่งมีความเสี่ยงสูง
สมาชิกภายในทีม
พญ.เมสิตา สุขสมานวงศ์ สูติแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านเวชศาสตร์มารดาและทารกในครรภ์ และอาจารย์แพทย์ของภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา และทำ เพจใกล้มิตรชิดหมอ
ดร.นพ.อมรินทร์ นาควิเชียร อาจารย์แพทย์ ภาควิชาสูติศาสตร์-นรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ
รายงานความคืบหน้าโครงการระดมทุน สัปดาห์ที่ 1
หลังจากที่ทีมงานได้ศึกษาข้อมูลเพิ่มเติมเกี่ยวกับมาตรฐานของอุปกรณ์ป้องกันภัยส่วนบุคคล หรือ personal protective equipment ทางผู้จัดทำโครงการจึงนำเงินบริจาคที่ระดมทุนร่วมกับเทใจดอทคอม จัดซื้อ PPE โดยคัดเลือกชุดตามมาตรฐานทางการแพทย์ในการป้องกันการแพร่เชื้อในระดับ airborne transmission สำหรับการตรวจ/ดูแล/ผ่าตัด/ทำคลอดผู้ป่วยที่สงสัยหรือยืนยันว่าติดเชื้อโควิด 19 ซึ่งอุปกรณ์ดังกล่าวผ่านการรับรองคุณภาพว่าสามารถใช้ในห้องผ่าตัดและช ICU ได้
อุปกรณ์ชุดแรกที่ทำการจัดซื้อเรียบร้อยแล้ว ได้แก่
- แว่นตา (Goggles) สำหรับสูตินรีแพทย์และพยาบาลห้องคลอดสำหรับใส่ผ่าตัด ทำคลอด และตรวจผู้ป่วย จำนวน 50 ชุด
- ถุงคลุมขา หรือ leg cover จำนวน 100 คู่
ภาพประกอบ: แว่นตา หรือ Goggles สำหรับสูตินรีแพทย์ใส่ผ่าตัด ทำคลอด และตรวจผู้ป่วย
อุปกรณ์ที่กำลังดำเนินการจัดซื้อ ได้แก่
- ชุด coverall หรือชุดหมี จำนวน 100 ชุด
- หน้ากากอนามัยชนิด N95 ยี่ห้อ 3M รุ่น 1860 จำนวน 200 ชิ้น
และมีแผนจัดซื้ออุปกรณ์ PPE เพิ่มเติม รวมถึงจัดทำอุปกรณ์ป้องกันการแพร่เชื้อที่คลินิกฝากครรภ์และหอผู้ป่วย ซึ่งทางทีมงานจะรายงานความรืบหน้าเป็นระยะ
ขอบคุณค่ะ
รายงานความคืบหน้าสัปดาห์ที่ 2
1. จัดซื้อชุด coverall (ชุดหมี) ยี่ห้อ safety space โมเดล 789 จำนวน 100 ชุด โดยเป็นชุดที่ได้รับรองคุณภาพตามมาตรฐาน ดังนี้
ภาพประกอบชุด coverall จำนวน 100 ตัวและสัญลักษณ์แสดงมาตรฐาน
- EN ISO 13982-1: 2004 type 5 - limited life, full body protection against airborne solid particulates
- EN13034: 2005 type 6 - limited life, full body chemical protection clothing against liquids
- EN1003-2: 2002 - non ventilated protective clothing against particulate radioactive contamination - perfomance of classification of TIL class 1
- EN 1149-1: 1995 - for elastrostatic dissipative protective clothing on both surfaces
- EN14126:2003 type 3-B, 4-B - limited life, full body clothing protection against infective agents
2. จัดทำฉากอะคลิลิค และฉากกั้นพลาสติกบริเวณรับผู้ป่วย และในห้องตรวจเพื่อความปลอดภัยของผู้ป่วยที่มาตรวจรักษาและบุคลากรทางการแพทย์
ภาพประกอบ : จัดสถานที่นั่งรอและเว้นระยะห่างเพื่อความปลอดภัย
ภาพประกอบ :จัดทำฉากกั้นพลาสติกก่อนพบแพทย์
ภาพประกอบ :ในห้องตรวจเป็นฉากกั้นอะคลิลิค
ขอบคุณมากค่ะ
ความคืบหน้าโครงการระดมทุนจัดซื้ออุปกรณ์ป้องกันโควิดสำหรับบุคลากรที่ดูแลหญิงตั้งครรภ์ ครั้งที่ 3
ความคืบหน้าโครงการระดมทุนจัดซื้ออุปกรณ์ป้องกันโควิดสำหรับบุคลากรที่ดูแลหญิงตั้งครรภ์ที่หมอจัดทำขึ้นสำหรับภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ ครั้งที่ 3
ช่วงที่ผ่านมา ทีมงานได้มีการกำหนดมาตรการเพื่อความปลอดภัยของคนไข้และบุคลากร ปรับปรุงสถานที่ รวมทั้งจัดซื้ออุปกรณ์ป้องกันหลายรายการ ดังนี้
1. ตู้อบ UVC ขนาดใหญ่ (ของ Kiosk) จำนวน 2 เครื่อง สำหรับคลินิกผู้ป่วยนอก และห้องคลอด
2. ตู้อบ UVC Faceshow รุ่น 208A จำนวน 4 เครื่อง และเครื่องบริจาคจากเพจ 59S Thailand 👉 https://www.facebook.com/59SThailand/ สำหรับจุดบริการทั้งคลินิกผู้ป่วยนอก ห้องผ่าตัด ห้องคลอด ภาควิชา หอผู้ป่วยในพื้นที่บริการของภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยา (ขอขอบพระคุณเพจ 59S Thailand มา ณ ที่นี้ด้วยค่ะ)
3. ชุด Coverall type 5 และ 6 จำนวน 300 ชุด
4. หน้ากาก KN95 จำนวน 500 ชิ้น
5. Leg cover จำนวน 300 คู่
6. แว่นนิรภัย จำนวน 50 ชิ้น
โดยอุปกรณ์ทั้งหมดได้แจกจ่ายไปยังหน่วยงานในพื้นที่บริการของภาควิชาสูติศาสตร์และนรีเวชวิทยาอย่างทั่วถึงค่ะ
ขอขอบคุณทุกท่านสำหรับทุกการบริจาคนะคะ เพราะน้ำใจจากทุกคน ทำให้พวกเราสามารถดูแลหญิงตั้งครรภ์และคนไข้มะเร็งนรีเวชได้อย่างทั่วถึงและเต็มที่
ขณะนี้คาดว่ายังมีทุนและอุปกรณ์เพียงพอสำหรับการดูแลผู้ป่วยของเราไปจนถึงปลายปี (ในกรณีที่การระบาดคงที่แบบในสถานการณ์ปัจจุบัน) สำหรับความคืบหน้าต่อไปจะมาอัพเดตเป็นระยะนะคะ
แผนการใช้เงิน
รายการ | จำนวน | บาท |
1.อุปกรณ์ทำ Face shield DIY | 3000 ชิ้น | 32,000 |
2.แว่นตาสำหรับผ่าตัด | 100 ชิ้น | 3,000 |
3.ชุดกันฝนผ้าหนาแขนยางยืดทดแทนชุด PPE | 3000 ชิ้น | 30,000 |
4.หมวกคลุมผมพลาสติกแบบใช้แล้วทิ้ง | 5000 ชิ้น | 5,000 |
5.ค่าฉากกั้นอะคลิลิค และอุปกรณ์ | 20 ชุด | 20,000 |
6.ค่าดำเนินงานเทใจดอทคอม 10% (ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway ค่าคัดกรองโครงการ ตรวจสอบ ติดตาม วัดผล และรายงานความคืบหน้า) | 9,000 | |
รวม | 99,000 |
*หมายเหตุ งบประมาณอาจจะมีการปรับเปลี่ยนตามราคาขายจริงในช่วงนั้นๆ