project โควิด-19 กลุ่มคนเปราะบาง

เป็ดไทยสู้ภัย #Startupสู้โควิด19

เรามาช่วยผู้ที่มีความเสี่ยงหลังจากไปตรวจโควิด19 กัน เพื่อไม่ต้องให้พวกเขากลับบ้านก่อนฟังผลหรือรอเทสใหม่ โดยเราตั้งเป้าหมายที่จะช่วยให้ได้ถึง 200 คน เงินบริจาคเพียงคนละ 500 บาทของท่าน จะช่วยให้พวกเขาเหล่านั้นมีที่พักในหนึ่งคืน เพียงเท่านี้ท่านก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งของการหยุดแพร่กระจายโรคร้ายนี้ได้

ระยะเวลาโครงการ 3 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ กรุงเทพมหานครและปริมณฑล

ยอดบริจาคขณะนี้

132,866 บาท

เป้าหมาย

495,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 27%
จำนวนผู้บริจาค 129

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

ขยายพื้นที่นำระบบช่วยคัดกรองผู้ป่วยไปใช้ในโรงพยาบาลสนามทั้งในกรุงเทพ และต่างจังหวัด

12 ตุลาคม 2021

หลังจากที่ได้นำระบบไปสนับสนุนการทำงานของโรงพยาบาลสนามจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ โรงพยาบาลสนามกองทัพทหารอากาศแล้ว โครงการฯ ยังได้ขยายความช่วยเหลือโดยนำระบบการดังกล่าวไปช่วยทำงานการคัดกรองผู้ป่วยโควิด19 ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ดังนี้

พื้นที่ต่างจังหวัด

  • รพ.สนามสุโขทัย
  • CI อำเภอเมืองกำแพงเพชร
  • CI อบต.ไกรนอก
  • CI อบต.ไกรใน
  • CI อบต.ไกรกลาง
  • CI ศาลาวัดบ้านใหม่สุขเกษม หลังที่ 1,2
  • CI อาคารวัฒนธรรมเทศบาลตำบลกงไกรลาศ
  • CI โรงเรียนข่อยสองนาง
  • CI อาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.ดงเดือย
  • CI วัดโบสถ์ ม.1 ต.ไกรนอก
  • CI ตลาดชุมชนบ้านโป่งแค หมู่ที่ 7 ต.ไกรนอก
  • CI อาคารเอนกประสงค์ที่สาธารณะประโยชน์ ต.กกแรต หมู่ที่ 10
  • CI อาคารผู้สูงอายุ ม.3 ต.หนองตูม
  • CI อาคารเอนกประสงค์เอกชน ม.8 ต.ท่าฉนวน
  • รพ.สนาม บางระกำ (พิษณุโลก)
  • รพ.สนาม วังทอง (พิษณุโลก)
  • รพ.สนาม บ้านฉาง อีอีซี
  • รพ.สนาม สีคิ้ว
  • รพ.สนามพระปกเกล้า
  • รพ.สนาม จันทเขลม
  • รพ.สนาม รำไพ
  • รพ.สนาม บ้านฉาง
  • รพ.พระปกเกล้า (ตึกสูติกรรม2)
  • CI อบจ.จันทบุรี
  • CI พระยืน

ในพื้นที่กรุงเทพฯ

  • รพ.สนาม ทอ
  • CI รามคำแหง
  • CI วัดบุญรอด (พระโขนง)
  • CI ศูนย์พักคอยศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนวัดไผ่ตัน
  • CI วัดสุทธิวราราม
  • CI ศูนย์พักคอยศูนย์กีฬาเขตสาทร
  • CI เขตคลองสาน
  • เครือโรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมืองทั้งหมด
  • CI ศูนย์พักคอยศูนย์สร้างสุขทุกวัย (บางกะปิ)
  • CI ศูนย์สร้างสุขทุกวัยคลองสามวา

ภาพประกอบ


ศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ เขตพระโขนง

การทำงานของเจ้าหน้าที่ผ่านระบบ

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด
เรามาช่วยผู้ที่มีความเสี่ยงหลังจากไปตรวจโควิด19 กัน เพื่อไม่ต้องให้พวกเขากลับบ้านก่อนฟังผลหรือรอเทสใหม่

เป็ดไทยสู้ภัยเป็นแพลทฟอร์มที่ประสานงานกับโรงพยาบาลต่างๆ เพื่อช่วยเหลือผู้รอฟังผลหลังจากตรวจหาเชื้อโควิด ด้วยการสนับสนุนให้เขาเหล่านี้ได้อยู่ใน ‘ห้องพักรักษาดูตัวและอาการ’ ที่จัดให้ถูกต้องตามที่กรมควบคุมโรคกำหนด เพื่อไม่ให้เชื้อโรคกระจายต่อไปอีกหลายสิบเท่า 

โครงการนี้ตั้งเป้าหมายที่จะช่วยได้ให้ถึง 2,000 คน 

วันนี้ เป็ดไทยสู้ภัย ได้ร่วมกับ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และอีกหลากหลายโรงพยาบาลเพื่อที่จะช่วยในส่วนที่ภาครัฐยังเข้าไม่ถึง 

เงินบริจาคเพียงคนละ 500 บาทของท่าน จะช่วยให้พวกเขาเหล่านั้นมีที่พักในหนึ่งคืน เพียงเท่านี้ท่านก็สามารถเป็นส่วนหนึ่งของการแพร่กระจายโรคร้ายนี้ได้ เงินบริจาคของท่านยังสามารถนำไปลดหย่อนภาษีได้อีกด้วย

แพลทฟอร์มเป็ดไทยสู้ภัย เป็นความร่วมมือของ startup ไทยชื่อดังจากสมาคม Thai Tech Startup Association และพันธมิตร อาทิ ZTRUS, QueQ, AIYA, Wisible, Horganice, Bellugg, ARINCARE, DayWork, RGB72, WISESIGHT, YDM Thailand, Techsauce, HerInterview, ชัวร์ก่อนแชร์, Chiiwii, Raksa, Doctor AtoZ, Privazy, Smart Contract, Zipevent, Shippop, ZWIZ, ClaimDi, Giztix, Skootar, Octagon, myHealthFirst, Loops และ Krungsri Finnovate เป็นต้น 

มาร่วมเป็นส่วนหนึ่งของเพื่อช่วยเหลือคนไทยให้ผ่านวิกฤตCovid-19 ไปด้วยกัน

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

เพื่อให้คนไม่ไปโรงพยาบาลโดยไม่จำเป็น เราต้องให้ความรู้และความช่วยเหลือคนที่สามารถดูแลตัวเองได้ เราจึงตั้งหน่วยทำงาน 5 กลุ่มหลัก ดังต่อไปนี้ เพื่อให้หลักการของเรานั้นเป็นจริงได้


  1. เป็ดข่าวสาร ให้ข้อมูลที่จำเป็นไม่ตื่นตระหนก ประชาสัมพันธ์ให้คนเข้าใจวิธีป้องกันและดูแลตัวเอง
  2. เป็ดคัดกรอง ให้คนกังวลตรวจสอบตัวเองได้ ด้วยแบบสอบถามที่ออกแบบโดยกรมควบคุมโรค เรากรองได้ครับว่าใครแค่กังวล ใครมีความเสี่ยง และใครคือผู้ที่ต้องไปพบแพทย์แล้ว โดยเรามีแพทย์และพยาบาลสอบอาการได้เบื้องต้นผ่านเทคโนโลยี VDO Call 
  3. เป็ดติดตาม เราสามารถติดตามผู้มีความเสี่ยง และผู้มีโอกาสแพร่เชื่อให้คนหมู่มากได้ ด้วยการใช้การแสกนบัตรประชาชนซึ่งเชื่อมข้อมูลกับกรมควบคุมโรค ติดตามคนเหล่านี้แล้วส่งให้โรงพยาบาลดูแลต่อ
  4. เป็ดที่พัก เราร่วมกับหอพักและโรงแรมเพื่อจัดหาที่พักให้กับผู้ป่วยอาการน้อย หรือคนที่ต้องการกักตัวเพื่อดูอาการ ซึ่งได้มาตรฐานตามกรมควบคุมโรค ที่พักเฉพาะผู้ป่วยช่วยลดการแพร่ระบาดไปยังผู้ใกล้ชิดโดยเฉพาะคนในครอบครัวของผู้ป่วย
  5. เป็ดส่งของส่งคน เราจัดหายานพาหนะพร้อมคนขับที่ผ่านมาตรฐาน คอยรับส่งผู้ป่วยจากโรงพยาบาลไปที่พัก คอยส่งเครื่องดำรงชีพและยาที่จำเป็น เพื่อป้องกันไม่ให้ผู้ป่วยออกไปอยู่ร่วมสัมผัสกับคนทั่วไป

คนเลี้ยงเป็ด เราได้รับการสนับสนุนจากองค์กรต่างๆ เพื่อให้การทำงานของเป็ดไทยสู้ภัยเป็นไปอย่างมีประสิทธิภาพ และครอบคลุมพื้นที่การให้ความช่วยเหลือให้ประชาชนได้มากที่สุด

ทั้งหมดนี้เราเริ่มดำเนินการมาได้ตั้งแต่วันที่ 7 มีนาคม 2563 โดยทั้งหมดเป็นความร่วมมือแบบอาสาสมัคร ทั้งหน่วยงานภาครัฐ ประชาชนอาสาสมัครช่วยกันทำงานในทุกส่วน


ประโยชน์ของโครงการ

ในช่วงเวลาเพียง 27 วัน เราช่วยให้ผู้มีความกังวลใจตรวจสอบความเสี่ยงโควิด19 ด้วยตัวเองไปแล้วกว่า 93,207 เคส ซึ่งเราค้นพบว่าเป็นผู้ที่มีความเสี่ยงต่ำไม่จำเป็นต้องไปโรงพยาบาลเพื่อแบ่งเบาภาระโรงพยาบาลไปแล้ว 34,224 คน และส่งต่อผู้มีความเสี่ยงสูงให้กับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และโรงพยาบาลราชวิถีวันละประมาณ 50 ราย

อย่างไรก็ตามผู้มีความเสี่ยงสูง 50 รายต่อวันนี้ จำเป็นต้องพักอาศัยแยกออกจากคนในครอบครัวและคนทั่วไปเพื่อเฝ้าดูอาการ รวมถึงจำเป็นต้องมีรถรับส่งตัวเพื่อเข้ารับการตรวจและเข้ารับการรักษา จนกว่าจะมั่นใจว่าหายเป็นปกติ กลับไปใช้ชีวิตตามปกติร่วมกับคนทั่วไปได้

ค่าใช้จ่ายนี้ ยังมีผู้ป่วยและผู้มีความเสี่ยงสูงจำนวนหนึ่งที่ไม่สามารถออกค่าใช้จ่ายนี้ได้ทั้งหมด ทำให้เกิดความเสี่ยงในการพยายามอยู่อาศัยและเดินทางร่วมกับคนปกติ และมีโอกาสแพร่เชื้อในวงกว้างได้โดยไม่ตั้งใจ 

เพิ่มความมั่นใจว่าการเดินทางครั้งนี้ คุณไม่ได้นั่งข้างๆ คนที่มีความเสี่ยง

เพิ่มความอุ่นใจว่าวันนี้เราเดินสวนไปมากับคนที่ควรพักรักษาหรือดูอาการ

ติดตามความเคลื่อนไหวได้ที่ Facebook page ‘เป็ดไทยสู้ภัย’ และ Twitter @Pedthaisuphai

พวกเรามีเป้าหมาย เพื่อนำเทคโนโลยีและนวัตกรรมาช่วยแก้ปัญหาสังคม ทั้งการช่วยเหลือประชาชนให้ได้รับข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง ช่วยลดภาระการทำงานของบุคคลกรทางการแพทย์ รวมไปถึงช่วยเหลือภาครัฐในการรับมือกับการแพร่ระบาดไวรัส COVID-19

ภาคี 



ปรับแผนนำระบบเข้ามาช่วยรองรับการทำงานของโรงพยาบาลสนาม 2 แห่ง

11 มิถุนายน 2021

เนื่องจากสถานการณ์ความจำเป็นเร่งด่วนในปัจจุบัน ทีมงานจึงขอปรับแผนการทำงานเป็นการสร้างระบบเพื่อสนับสนุนการทำงานของโรงพยาบาลสนามในหลายๆ พื้นที่เพื่อจุดประสงค์เดียวกันในการรองรับผู้ป่วยที่ล้นออกมาจากโรงพยาบาล และช่วยขยายการรองรับผู้ป่วยของโรงพยาบาล ทางกลุ่มจึงขอใช้งบดังกล่าวในการจัดทำระบบเพื่อซัพพอร์ตให้โรงพยาบาลสนามสองแห่งได้แก่ โรงพยาบาลสนามจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ โรงพยาบาลสนามกองทัพทหารอากาศ ให้สามารถดำเนินการได้อย่างคล่องตัว มีการจัดการที่ดี ลดความเสี่ยงของภาระหน้าที่ของบุคคลากรหน้างาน และสามารถนำข้อมูลมาใช้เพื่อวิเคราะห์วางแผนในการบริหารจัดการได้อย่างเต็มประสิทธิภาพ อีกทั้งระบบสามารถนำไปประยุกต์ใช้ในโรงพยาบาลสนามแห่งอื่นๆ ได้ในอนาคต


ขยายพื้นที่นำระบบช่วยคัดกรองผู้ป่วยไปใช้ในโรงพยาบาลสนามทั้งในกรุงเทพ และต่างจังหวัด

12 ตุลาคม 2021

หลังจากที่ได้นำระบบไปสนับสนุนการทำงานของโรงพยาบาลสนามจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ โรงพยาบาลสนามกองทัพทหารอากาศแล้ว โครงการฯ ยังได้ขยายความช่วยเหลือโดยนำระบบการดังกล่าวไปช่วยทำงานการคัดกรองผู้ป่วยโควิด19 ในพื้นที่ต่างๆ ทั่วประเทศ ดังนี้

พื้นที่ต่างจังหวัด

  • รพ.สนามสุโขทัย
  • CI อำเภอเมืองกำแพงเพชร
  • CI อบต.ไกรนอก
  • CI อบต.ไกรใน
  • CI อบต.ไกรกลาง
  • CI ศาลาวัดบ้านใหม่สุขเกษม หลังที่ 1,2
  • CI อาคารวัฒนธรรมเทศบาลตำบลกงไกรลาศ
  • CI โรงเรียนข่อยสองนาง
  • CI อาคารศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก อบต.ดงเดือย
  • CI วัดโบสถ์ ม.1 ต.ไกรนอก
  • CI ตลาดชุมชนบ้านโป่งแค หมู่ที่ 7 ต.ไกรนอก
  • CI อาคารเอนกประสงค์ที่สาธารณะประโยชน์ ต.กกแรต หมู่ที่ 10
  • CI อาคารผู้สูงอายุ ม.3 ต.หนองตูม
  • CI อาคารเอนกประสงค์เอกชน ม.8 ต.ท่าฉนวน
  • รพ.สนาม บางระกำ (พิษณุโลก)
  • รพ.สนาม วังทอง (พิษณุโลก)
  • รพ.สนาม บ้านฉาง อีอีซี
  • รพ.สนาม สีคิ้ว
  • รพ.สนามพระปกเกล้า
  • รพ.สนาม จันทเขลม
  • รพ.สนาม รำไพ
  • รพ.สนาม บ้านฉาง
  • รพ.พระปกเกล้า (ตึกสูติกรรม2)
  • CI อบจ.จันทบุรี
  • CI พระยืน

ในพื้นที่กรุงเทพฯ

  • รพ.สนาม ทอ
  • CI รามคำแหง
  • CI วัดบุญรอด (พระโขนง)
  • CI ศูนย์พักคอยศูนย์พัฒนาเด็กก่อนวัยเรียนชุมชนวัดไผ่ตัน
  • CI วัดสุทธิวราราม
  • CI ศูนย์พักคอยศูนย์กีฬาเขตสาทร
  • CI เขตคลองสาน
  • เครือโรงพยาบาลธนบุรี บำรุงเมืองทั้งหมด
  • CI ศูนย์พักคอยศูนย์สร้างสุขทุกวัย (บางกะปิ)
  • CI ศูนย์สร้างสุขทุกวัยคลองสามวา

ภาพประกอบ


ศูนย์พักคอยเพื่อส่งต่อ เขตพระโขนง

การทำงานของเจ้าหน้าที่ผ่านระบบ

แผนการใช้เงิน


รายการจำนวนจำนวน (บาท)
1.สนับสนุนการกักตัว ผู้ติดเชื้อโรคไวรัส Covid-19 หรือผู้มีความเสี่ยงโดย "เป็ดที่พัก"600 คืน300,000
2.สนับสนุนการ รับ-ส่ง ผู้ติดเชื้อโรคไวรัส Covid-19 หรือผู้มีความเสี่ยงโดย "เป็ดส่งคน"200 เที่ยว140,000
ค่่าใช้จ่ายในการดำเนินงาน ต่างๆ ของ เป็ดที่พัก และเป็นส่งคน

- พนักงานทำความสะอาด พร้อมค่าความเสี่ยง ตลอดระยะเวลาโครงการ

10,000
- ค่าดัดแปลงและ Modify รถ เป็ดส่งคน เพื่อความปลอดภัยทั้งผู้ขับ และผู้โดยสาร
2,000
- ค่าน้ำยาทำความสะอาดตลอดระยะเวลาโครงการ
1,000
- ค่าประกันคน Covid สำหรับพนักงาน
2,000
ค่าดำเนินงานเทใจดอทคอม 10%
(ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway ค่าคัดกรองโครงการ ตรวจสอบ ติดตาม วัดผล และรายงานความคืบหน้า)

45,000
รวม
495,000