project เด็กและเยาวชน

สร้างทายาทสืบสานภูมิปัญญาชาติพันธุ์

จัดหาวัสดุ อุปกรณ์ วัตถุดิบ และเสริมสร้างทักษะให้กับเยาวชนกลุ่มชาติพันธุ์ในจังหวัดแม่ฮ่องสอนในการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากภูมิปัญญาบรรพบุรุษ เพื่อยกระดับสู่ผลิตภัณฑ์ชุมชน เสริมสร้างเศรษฐกิจฐานราก และสืบสานภูมิปัญญาของตนเพื่อความยั่งยืน

ระยะเวลาโครงการ 01 ต.ค. 2564 ถึง 31 มี.ค. 2565 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: ชุมชนละว้าบ้านป่าแป๋ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน (ชุมชนท่องเที่ยวบ้านป่าแป๋), ชุมชนปกาเกอะญอบ้านหนองเขียว อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน (โรงเรียนบ้านหนองเขียว), ชุมชนไทใหญ่บ้านแพมบก อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน (ชุมชนท่องเที่ยวบ้านแพมบก)

ยอดบริจาคขณะนี้

12,581 บาท

เป้าหมาย

103,950 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 12%
จำนวนผู้บริจาค 25

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

กิจกรรมโครงการสร้างทายาทสืบสานภูมิปัญญาชาติพันธุ์

14 กุมภาพันธ์ 2022

กิจกรรมจัดขึ้นที่ โรงเรียนบ้านหนองเขียวในวันที่ 11 – 13 กุมภาพันธ์ 2565 มีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม 20 คน และคุณครู 5 คน


กิจกรรมประกอบไปด้วย ฐานการพัฒนาทักษะวิชาชีพ จำนวน 3 ฐาน ได้แก่

  1. อบรมทักษะการตัดเย็บเบื้องต้นและการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสิ่งทอ
    กิจกรรม: ทำสายคล้องหน้ากากอนามัยจากฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ และทำกระเป๋าเอนกประสงค์จากผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติ จากภูมิปัญญาของชาวปกาเกอะญอ)
  2. อบรมทักษะการแปรรูปอาหารจากผลิตผลทางการเกษตรในชุมชน
    กิจกรรม: ฝึกทำขนมมันรังนกบอล และขนมเผือกกวน ผลผลิตทางการเกษตรที่มีอยู่จำนวนมากในชุมชน เพื่อจัดจำหน่ายและต้อนรับคณะทำงานต่างๆที่เข้ามาเยี่ยมในชุมชน
  3. อบรมทักษะการออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์อิเล็กทรอนิกส์
    กิจกรรม: การถ่ายภาพด้วยมือถือรวมถึงการตัดต่อภาพถ่ายเพื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ที่ได้พัฒนาขึ้นจากฐานที่ 1 และ 2 รวมถึงการสอนการตัดต่อวีดิโอสั้น เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมในชุมชน และฝึกการใช้สื่อดิจิตอล

ความรู้สึกจากครูและนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม


ภาพกิจกรรม

กิจกรรมฐานตัดเย็บ


กิจกรรมฐานแปรรูปอาหาร


กิจกรรมฐานออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์   

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

กว่า 10 ปีในการทำงานร่วมกับภาครัฐและเอกชน ในการพัฒนาด้านการท่องเที่ยว การออกแบบผลิตภัณฑ์ การแปรรูปอาหาร การผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ุ จากความต้องการที่แท้จริงของชุมชนชาติพันธุ์ ทำให้มองเห็นศักยภาพของแต่ละชุมชนว่ามีภูมิปัญญาอีกมากมายที่มีคุณค่าและสามารถนำมาสร้างมูลค่าเพิ่มได้ และมีหลายชุมชนที่ภูมิปัญญาเหล่านั้นกำลังจะเลือนหายไปเพราะขาดผู้สืบทอด ไม่ว่าจะเป็น การทอผ้าให้มีลวดลายแบบโบราณ การสานไม้ไผ่เพื่อเป็นอุปกรณ์ในการดำรงชีวิต การฉลุปานซอยเพื่อประดับอาคารต่างๆภายในวัด การใช้สมุนไพรเพื่อบรรเทาอาการต่างๆ การประกอบอาหารตามวิถีชาติพันธุ์ การประกอบเกษตรกรรมตามวิถีดั้งเดิม เป็นต้น

จะดีแค่ไหนหากเราเปลี่ยนภาพของผู้สูงอายุเจ้าของภูมิปัญญาเป็นภาพของทายาทภูมิปัญญาที่พร้อมสืบสานและต่อยอดสิ่งที่ทรงคุณค่านี้ไว้

ชุมชนเป้าหมายของโครงการ

เป้าหมายของโครงการ คือ เยาวชนกลุ่มชาติพันธ์ุ 60 คน จาก 3 ชุมชนในจังหวัดแม่ฮ่องสอน (ชุมชนละ 20 คน)

1. ชุมชนชาติพันธ์ุละว้าบ้านป่าแป๋ อำเภอแม่สะเรียง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

เป็นชุมชนท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรมละว้า ที่มีความโดดเด่นในวิถีชีวิตและการแต่งกายที่มีเอกลักษ์เฉพาะ ที่หาชมได้ยาก มีภูมิปัญญาการทำสิ่งทอ เครื่องประดับจากลูกปัด การปลูกข้าวซ้อมมือ อาหารจากสมุนไพรพื้นบ้าน และการปลูกกาแฟ

 

2. ชุมชนชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ บ้านหนองเขียว อำเภอเมือง จังหวัดแม่ฮ่องสอน

มีเอกลักษณ์ของความเป็นกลุ่มชาติพันธ์ุที่ชัดเจน มีภูมิปัญญาที่หลากหลายที่ทำให้วิถีชีวิตดำเนินไปพร้อมกับการอนุรักษ์ธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม โดยเฉพาะการทอผ้าลายโบราณด้วยฝ้ายที่ได้จากการย้อมสีจากธรรมชาติ การจักสาน และการทำเกษตรอินทรีย์

 

3. ชุมชนชาติพันธุ์ไทใหญ่ บ้านแพมบก อำเภอปาย จังหวัดแม่ฮ่องสอน

มีวิถีชีวิตที่ผูกพันธ์กับพระพุทธศาสนา ถ่ายทอดผ่านการแต่งกาย อาหารการกิน สิ่งปลูกสร้าง ศิลปะการแสดง มีภูมิปัญญาด้านการตัดเย็บ การประดิษฐ์สิ่งของเครื่องใช้จากวัสดุธรรมชาติรอบชุมชน และการทำการเกษตรปลอดสารพิษ

  

หากโครงการนี้แล้วเสร็จ เราจะมีทายาทภูมิปัญญาจำนวน 60 คน จาก 3 ชุมชนชาติพันธุ์ ที่จะประกอบไปด้วยนักสร้างสรรค์ นักออกแบบ นักพัฒนาผลิตภัณฑ์ นักแปรรูปอาหาร นักประชาสัมพันธ์ ที่สามารถต่อยอดเป็นอาชีพหลักหรืออาชีพเสริม สร้างรายได้ให้ชุมชนในขณะที่ภูมิปัญญาถูกสืบทอดรักษาไว้ไปพร้อมกัน

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

จากโครงการนี้ ทายาทภูมิปัญญาทั้ง 60 คนจะได้รับทักษะ ความรู้เพื่อนำไปต่อยอดภูมิปัญญาให้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ที่มีมูลค่า สร้างรายได้ในระยะยาวให้กับเยาวชนและครอบครัว และจากเครื่องมือและความรู้ที่ได้รับจัดหาจากโครงการ จะสามารถขยายผลสู่ชุมชนใกล้เคียงต่อไป ขั้นตอนการดำเนินงานมีดังนี้

  1. สำรวจความพร้อมเบื้องต้นของชุมชนเป้าหมาย และนำมาวางแผนการดำเนินโครงการ
  2. มอบวัสดุและจัดฝึกอบรมให้กับเยาวชนในชุมชนเป้าหมายทั้ง 3 ชุมชน ชุมชนละ 20 คน โดยเริ่มตั้งแต่พื้นฐาน จนสามารถสร้างสรรค์ผลิตภัณฑ์ต้นแบบได้จำนวน ชุมชนละ 5 ผลิตภัณฑ์
  3. จัดหาช่องทางการจัดจำหน่ายผ่านเครือข่ายและประชาสัมพันธ์ผ่านสื่อออนไลน์
  4. ประสานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการจัดแสดงผลิตภัณฑ์ในงานต่างๆทั้งในและต่างจังหวัด

ผู้รับผิดชอบโครงการ

เครือข่ายพัฒนาเศรษฐกิจกลุ่มชาติพันธ์ุเพื่อความยั่งยืน

กิจกรรมโครงการสร้างทายาทสืบสานภูมิปัญญาชาติพันธุ์

14 กุมภาพันธ์ 2022

กิจกรรมจัดขึ้นที่ โรงเรียนบ้านหนองเขียวในวันที่ 11 – 13 กุมภาพันธ์ 2565 มีนักเรียนเข้าร่วมกิจกรรม 20 คน และคุณครู 5 คน


กิจกรรมประกอบไปด้วย ฐานการพัฒนาทักษะวิชาชีพ จำนวน 3 ฐาน ได้แก่

  1. อบรมทักษะการตัดเย็บเบื้องต้นและการพัฒนาผลิตภัณฑ์จากสิ่งทอ
    กิจกรรม: ทำสายคล้องหน้ากากอนามัยจากฝ้ายย้อมสีธรรมชาติ และทำกระเป๋าเอนกประสงค์จากผ้าฝ้ายทอมือย้อมสีธรรมชาติ จากภูมิปัญญาของชาวปกาเกอะญอ)
  2. อบรมทักษะการแปรรูปอาหารจากผลิตผลทางการเกษตรในชุมชน
    กิจกรรม: ฝึกทำขนมมันรังนกบอล และขนมเผือกกวน ผลผลิตทางการเกษตรที่มีอยู่จำนวนมากในชุมชน เพื่อจัดจำหน่ายและต้อนรับคณะทำงานต่างๆที่เข้ามาเยี่ยมในชุมชน
  3. อบรมทักษะการออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์อิเล็กทรอนิกส์
    กิจกรรม: การถ่ายภาพด้วยมือถือรวมถึงการตัดต่อภาพถ่ายเพื่อประชาสัมพันธ์ผลิตภัณฑ์ที่ได้พัฒนาขึ้นจากฐานที่ 1 และ 2 รวมถึงการสอนการตัดต่อวีดิโอสั้น เพื่อประชาสัมพันธ์กิจกรรมในชุมชน และฝึกการใช้สื่อดิจิตอล

ความรู้สึกจากครูและนักเรียนที่เข้าร่วมกิจกรรม


ภาพกิจกรรม

กิจกรรมฐานตัดเย็บ


กิจกรรมฐานแปรรูปอาหาร


กิจกรรมฐานออกแบบสื่อประชาสัมพันธ์   

แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าเดินทางทีมงานในการลงพื้นที่ชุมชนละ 3 ครั้ง ครั้งละ 1000 บาท 9 ครั้ง 9,000.00
2 ค่าอุปกรณ์ในการตัดเย็บ ชุดละ 1000 บาท ชุมชนละ 5 ชุด (ไม้บรรทัด ไม้โค้งนกแก้ว ดินสอ ยางลบ กระดาษบรู๊ฟ ลูกกลิ้ง กระดาษคาร์บอน สายวัดตัว สมุดวัดตัว หุ่นสำหรับจับเสื้อผ้าบนหุ่น เข็มหมุด เข็ม ด้าย กรรไกร สก๊อตเทป เตารีด มีดคัตเตอร์ แผ่นรองตัด จักรกระเป๋าสำหรับเย็บผ้า ผ้าฝ้ายสำหรับขึ้นต้นแบบ ผ้ากาว กระดุม) 15 ชุด 15,000.00
3 ค่าอุปกรณ์ในการแปรรูปอาหาร ชุดละ 1000 บาท ชุมชนละ 2 ชุด (เครื่องตีไฟฟ้า เครื่องชั่งอิเล็กทรอนิกส์ แม่พิมพ์อบ แม่พิมพ์คุกกี้ แม่พิมพ์ทาร์ตไข่รูปดอกไม้ เครื่องมืออบ ถุงมือทนความร้อน ฟอยล์ดีบุก เครื่องแยกไข่ ถ้วยตวง มีด มีดซิลิโคน แปรงซิลิโคน ช้อนตวง ตะแกรงแป้ง กระดาษซับน้ำมัน ถุงมือแบบใช้แล้วทิ้ง) 6 ชุด 6,000.00
4 ค่าอุปกรณ์ในการทำการตลาดออนไลน์และการประชาสัมพันธ์สินค้า ชุดละ 1500 บาท (ไฟวงแหวน 6 นิ้ว ไมค์ AIM ตัวยึดมือถือ 2 ชิ้น ตัวยึดไมค์ แขนยึดไมค์ เสาขาตั้ง ฐานยึดขาตั้ง ตัวจับมือถือสามขาพับเป็นไม้กันสั่นได้) 3 ชุด 4,500.00
5 ค่ารถขนอุปกรณ์ในการทำ workshop 3 ครั้ง ครั้งละ 2000 บาท 3 ครั้ง 6,000.00
6 ค่าอาหารและอาหารว่างในการทำ workshop คนละ 100 บาท ต่อวัน (ชุมชนละ 3 วัน) 60 คน 18,000.00
7 ค่าตอบแทนวิทยากรในการทำ workshop 9 วัน (ชุมชนละ 3 วัน) วันละ 2000 บาท 9 วัน 18,000.00
8 ค่าบริหารจัดการ การประสานของทีมงาน เดือนละ 2000 บาท 3 เดือน 6,000.00
9 ค่าเดินทางของเยาวชน คนละ 200 บาท 60 คน 12,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
94,500.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
9,450.00

ยอดระดมทุน
103,950.00