project อื่นๆ

ต้องแฉ-พื้นที่สื่อกลางแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน

ร่วมสนับสนุนเฟซบุ๊กเพจ “ต้องแฉ หรือ Must share” เพื่อทำหน้าที่เป็นหู เป็นตา รักษาผลประโยชน์ของสังคมด้วยการสนับสนุนให้มีพื้นที่ให้ทุกคนสามารถมีส่วนร่วมในการต่อต้านการคอร์รัปชัน www.facebook.com/mustshareofficial

ระยะเวลาโครงการ 1ปี พื้นที่ดำเนินโครงการ Thailand

ยอดบริจาคขณะนี้

129,647 บาท

เป้าหมาย

435,600 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 30%
จำนวนผู้บริจาค 36

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

การดำเนินงานต้องแฉเดือนมิถุนายน - พฤศจิกายน 2566

19 ธันวาคม 2023

ผลการดำเนินงานเดือนมิถุนายน - พฤศจิกายน 2566

การสร้างการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการเฝ้าระวังเหตุสงสัยทุจริตคอร์รัปชัน

  • เพจต้องแฉนำเสนอประเด็นส่อทุจริตคอร์รัปชัน จำนวน 78 โพสต์ ตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายน - พฤศจิกายน 2566
  • เพจต้องแฉได้รับการสนับสนุนในการนำประเด็นไปขับเคลื่อนและตรวจสอบ จาก Corruption Deterrence Center : CDC ศูนย์ป้องปรามทุจริตมิติใหม่ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในการขับเคลื่อนการตรวจสอบและแก้ปัญหา จำนวน 33 เรื่อง ตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายน - พฤศจิกายน 2566
  • ตัวอย่างประเด็นที่ได้รับการขับเคลื่อน
    เหตุสงสัยศูนย์เด็กเล็ก จ.สมุทรปราการ ก่อสร้างทิ้งร้าง ไม่ได้ใช้งาน
     การรับข้อมูล : ประชาชนแจ้งเบาะแสผ่านเครื่องมือไลน์ฟ้องโกงด้วยแชตบอต เมื่อช่วงเดือนมิถุนายน 2566 เกี่ยวกับเหตุสงสัยโครงการก่อสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ถูกสร้างทิ้งร้าง ไม่เปิดให้ใช้บริการนาน 3 ปี ในพื้นที่ หมู่ที่ 4 ต.เปร็ง อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ
    การส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : เพจต้องแฉนำเสนอประเด็นโดยต่อยอดเบาะแสด้วยการสืบค้นข้อมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้างเพิ่มเติมด้วย ACT Ai และส่งต่อข้อมูลให้ศูนย์ CDC
    ผลการดำเนินงาน : เจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสมุทรปราการ ลงพื้นที่ตรวจสอบ ประกอบกับคำชี้แจงพบว่า การก่อสร้างมีการแบ่งงานเป็นหลายส่วนทั้งการ ก่อสร้างอาคาร ภายใน ภายนอก รั้ว เสาธง และอื่นๆ ตามที่ระบุในสัญญา ซึ่งตัวอาคารสร้างเสร็จตั้งแต่ปลายปี 2563 และภาพรวมสร้างเสร็จกว่าร้อยละ 90 แต่จากการแพร่ระบาดของโควิด การก่อสร้างส่วนอื่นต้องระงับไว้ และต่อมาได้มีการเปิดประมูล เพื่อสร้างส่วนที่เหลือ แต่กลับไม่มีผู้เข้าร่วมประมูล เนื่องจากราคาของวัสดุที่เพิ่มสูงขึ้น การก่อสร้างไม่คุ้มทุนและไม่สมดุลกับงบประมาณ การก่อสร้างจึงหยุดชะงักในที่สุด ซึ่งทางหน่วยงานผู้รับผิดชอบคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปีนี้

    เหตุสงสัย โครงการปรับปรุงพื้นที่ด้านหลังเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำเจ้าพระยา จ.ปทุมธานี มูลค่ากว่า 13 ล้านบาท ส่อไม่ได้มาตรฐาน
     การรับข้อมูล : ประชาชนแจ้งเหตุสงสงสัยผ่าน inbox เพจต้องแฉ เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 เกี่ยวกับโครงการปรับปรุงพื้นที่ด้านหลังเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณหน้าวิทยาลัยเทคนิคปทุมธานีและโรงเรียนคณะราษฎร์บำรุง (ครั้งที่ 3) ด้วยงบประมาณกว่า 13 ล้านบาท หลังจากส่งงานเพียง 10 วัน ดินที่ถมกลับทรุดตัวเป็นโพรงตลอดแนวสันเขื่อนยาว 200 เมตร จึงเกิดการตั้งคำถามถึงมาตรฐานของการปรับปรุงจากประชาชนในพื้นที่
    การส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : เพจต้องแฉรวบรวมข้อมูลเบาะแส พร้อมนำเสนอประเด็นผ่านเพจและส่งข้อมูลต่อให้ศูนย์ CDC
    ผลการดำเนินงาน : เจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. ประจำจังหวัดยโสธร ลงพื้นที่ตรวจสอบ ประกอบกับคำชี้แจงพบว่า สาเหตุของการทรุดตัวอาจเกิดจากน้ำหนักรถที่แล่นผ่าน ปริมาณระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไม่คงที่ และแรงกระแทกของน้ำเมื่อเรือแล่นผ่าน โครงการดังกล่าวดำเนินการเสร็จสิ้นและตรวจรับงานจ้างเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2566 และเมื่อทราบเรื่องมีการชำรุดเสียหาย ประกอบกับยังอยู่ในช่วงประกันทางหน่วยงานผู้รับผิดชอบแจ้งให้ผู้รับจ้างเข้ามาดำเนินการแก้ไขแล้ว

    เหตุสงสัย โครงการปรับปรุงคลองส่งน้ำ บ้านกุดพันเขียว จ.ยโสธร มูลค่ากว่า 10 ล้านบาท ก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน ใช้วัสดุไม่ตรงสเปก
     การรับข้อมูล : ประชาชนแจ้งเหตุสงสัยผ่าน inbox เพจต้องแฉ เมื่อช่วงเดือนสิงหาคม 2566 เกี่ยวกับโครงการปรับปรุงคลองส่งน้ำ Mc-2L เขื่อนยโสธร P5 บ้านกุดพันเขียว จ.ยโสธร วงเงินงบประมาณ 9,975,800 บาท อยู่ในช่วงระหว่างการดำเนินงานแต่กลับพบว่าก่อสร้างไม่ได้มาตรฐานหลายจุด และถูกตั้งข้อสังเกตการใช้วัสดุไม่ตรงสเปกตามรายละเอียด TOR
    การส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : เพจต้องแฉนำเสนอประเด็นโดยต่อยอดเบาะแสด้วยการสืบค้นข้อมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้างเพิ่มเติมด้วย ACT Ai และส่งต่อข้อมูลให้ศูนย์ CDC
    ผลการดำเนินงาน : เจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. ประจำจังหวัดยโสธร ลงพื้นที่ตรวจสอบ ประกอบกับคำชี้แจงพบว่า โครงการดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยมีกำหนดเสร็จวันที่ 30 กันยายน 2566 ในส่วนของการก่อสร้างที่ส่อไม่ได้มาตรฐานนั้น เบื้องต้นทางหน่วยงานผู้รับผิดชอบได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขการก่อสร้างให้มีความเรียบร้อยตามแบบที่กำหนดและจะเสร็จให้ทันตามกำหนดระยะเวลาดำเนินการ 

การสร้างความร่วมมือด้านสื่อสารเพื่อสร้างการตระหนักรู้สู่สังคมวงกว้าง

  • เพจต้องแฉต่อยอดประเด็นจากเบาะแสที่ได้รับ ด้วยการจัดทำอินโฟกราฟิก (Infographic) นำเสนอความรู้ที่เกี่ยวกับลักษณะของการทุจริตคอร์รัปชันในรูปแบบต่างๆ ดังนี้
    - เพจ “วันนั้นเมื่อฉันสอน” นำเสนอปัญหาและวิธีการป้องกันการโกงและเรียกรับผลประโยชน์ในการย้ายครู ด้วยการปรับใช้กับเทคโนโลยีแบบไทยแลนด์ 4.0 เพจต้องแฉต่อยอดประเด็นนำข้อมูลมาสรุปในรูปแบบอินโฟกราฟิก เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นและสร้างการรับรู้สู่วงกว้าง

    - ไลน์ "ฟ้องโกงด้วยแชตบอต" (@corruptionwatch) ได้รับแจ้งเหตุสงสัยพฤติกรรมไม่ชอบมาพากลของเจ้าหน้ารัฐของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดศรีสะเกษ ใช้สิทธิ์รักษาของตัวเองเบิกยาและนำมาแจกจ่ายด้วยการซื้อขายให้บุคคลที่ 3 เพจต้องแฉต่อยอดประเด็นด้วยการนำเสนอความรู้เกี่ยวกับการทุจริตในวงการแพทย์ เช่น การยิงยาคืออะไร พฤติกรรมการโกงเป็นอย่างไร และมีใครเกี่ยวข้องในขบวนการโกงเช่นนี้บ้าง อันได้รับความร่วมมือจากประชาชนร่วมติดตามประเด็นหลังจากเพจต้องแฉเผยแพร่ จนกระทั่งได้รับการตรวจสอบจาก ป.ป.ช.

    - จากประเด็นแม่บ้านอุทยานฯ จ.เชียงใหม่ ออกมาแฉอดีตหัวหน้าใช้บัญชีตัวเองรับเงินเดือนโดยมิชอบ หรืออาจเรียกสั้น ๆ ว่าใช้ "บัญชีม้า" กว่าจะรู้ตัวก็ถูกสวมรอยมานานแล้วกว่า 7 ปี เพจต้องแฉต่อยอดประเด็นด้วยการนำเสนอความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการทุจริตที่เรียกว่า "บัญชีม้า" คืออะไร พฤติกรรมการโกงเป็นอย่างไร และช่องทางในการแจ้งเบาะแสเมื่อพบเห็น


  • เพจต้องแฉได้จัดทำคลิปวิดีโอประเด็นทุจริตคอร์รัปชัน เพื่อกระตุ้นและชวนประชาชนจับตามองความคืบหน้าในประเด็นส่อทุจริตต่างๆ ผ่านแพลตฟอร์ม TikTok และ Facebook Reels โดยใช้ชื่อรายการ “แฉมาเล่า” ปัจจุบันได้ถูกนำเสนอแล้วทั้งหมด 5 ประเด็น ดังนี้
    1) ประเด็นโครงการก่อสร้างคลองส่งน้ำฯ บ้านกุดพันเขียว ต.หัวเมือง อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร มูลค่ากว่า 10 ล้านบาท อยู่ในช่วงระหว่างการก่อสร้าง แต่ประชาชนกลับเห็นมีการก่อสร้างที่ส่อไม่ได้มาตรฐานหลายจุด

    2) ประเด็นโครงการก่อสร้างสระว่ายน้ำ จ.ปัตตานี มูลค่ากว่า 75 ล้านบาท ก่อสร้างเสร็จมา 3 ปี กลับถูกทิ้งร้าง ไม่สามารถใช้งานได้

    3) ประเด็นโครงการติดตั้งเสาไฟถนนระบบพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 10 ต้น มูลค่ากว่า 344,000 บาท ในพื้นที่ ต.คลองยาง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย แต่กลับพบว่าชาวบ้านใช้งานได้ไม่ถึง 2 ปี ไฟดับสนิท

    4) ประเด็นโครงการก่อสร้างศูนย์ศึกษาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทะเลสาบสงขลา (อควาเรียมหอยสังข์) สร้างนานกว่า 15 ปี ใช้งบประมาณกว่า 1,500 ล้านบาท แต่กลับถูกทิ้งร้าง ไม่สามารถเปิดใช้งานได้

    5) ประเด็นก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลห้วยแถลงแห่งใหม่ จ.นครราชสีมา มูลค่ากว่า 89 ล้านบาท ถูกปล่อยร้างนานกว่า 20 เดือน

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด
ต้องแฉ : เปิดพื้นที่ออนไลน์ให้ประชาชนร่วมแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ด้วยกระบวนการ Crowdsourcing หรือการร่วมกันให้ข้อมูลเบาะแสการทุจริต ค้นหาข้อเท็จจริง แบ่งปันความรู้ในการแก้ไขปัญหาผ่านแฟนเพจ www.facebook.com/mustshareofficial

“ต้องแฉ (Must Share)” เกิดจากการรวมตัวกันของกลุ่มภาคีหลากหลายองค์กร เช่น HAND Social Enterprise, มูลนิธิเพื่อคนไทย, สำนักข่าวอิศรา, องค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน (ประเทศไทย) ที่เล็งเห็นถึงความสำคัญของการแก้ไขปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน จึงได้สร้างเครื่องมือสนับสนุนให้ประชาชนทั่วไปได้มีพื้นที่ในการแฉข้อมูลความไม่ชอบมาพากลในสังคม และการแชร์ความรู้ความสามารถของทุกคนร่วมกันเป็นกำลังในการสอดส่องสังคมให้เกิดความโปร่งใสโดยใช้กระบวนการ Crowdsourcing ซึ่งเป็นการสนับสนุนข้อมูลให้สื่อมวชนได้สร้างข่าวเชิงสืบสวนสอบสวน (Investigative Journalism) มาร่วมต่อต้านคอร์รัปชันไปกับต้องแฉได้ที่  Facebook pagewww.facebook.com/mustshareofficial 

ความสำเร็จของต้องแฉ ที่ผ่านมาต้องแฉได้ร่วมมือกับประชาชน และเครือข่ายต่าง ๆ เพื่อช่วยกันขับเคลื่อนปัญหาทุจริตคอร์รัปชันในหลากหลายประเด็นให้นำไปสู่การเปลี่ยนแปลงแก้ไข และในปัจจุบันเรากำลังพัฒนาการทำงานโดยสร้างระบบ Crowdsourcing Platform เพื่อให้ประชาชน สื่อมวลชน องค์กรที่ทำงานด้านการติดตามตรวจสอบเรื่องทุจริตคอร์รัปชัน ได้ร่วมมือกันทำงานแก้ปัญหาอย่างเป็นระบบและมีประสิทธิภาพมากขึ้น ตัวอย่างกระบวนการในการดำเนินงานของประเด็นปัญหาที่เพจต้องแฉได้รับข้อมูลจากประชาชน จนเกิดการร่วมมือกับเครือข่าย และสามารถสร้างความเปลี่ยนแปลงแก้ไขปัญหาในปี 2562 ที่ผ่านมา จนถึงปัจจุบัน ผ่านการทำงานในรูปแบบ Crowdsourcing ได้แก่

ตัวอย่างประเด็นปัญหาจากแฟนเพจต้องแฉที่ได้รับการขับเคลื่อนร่วมกับเครือข่าย

1) ถนนบุญวาทย์จังหวัดลำปางชำรุดทรุดโทรมจากการก่อสร้างโครงการเสาไฟลงดิน โดยเป็นเหตุสงสัยเรื่องการก่อสร้างด้วยงบประมาณ 400 ล้านบาทแต่มีสภาพทรุดโทรม ไม่ได้มาตรฐาน


- การรับข้อมูล ผ่าน Inbox เพจต้องแฉ ช่วงเดือนกันยายน 2562 ถึงปัญหาถนนบุญวาทย์บริเวณที่ทำการก่อสร้างโครงการเสาไฟลงดิน เกิดความเสียหาย ชำรุดเป็นหลุมและไร้การซ่อมแซม ทำให้ผู้สัญจรถนนดังกล่าวเสี่ยงอันตราย

- การส่งต่อข้อมูลไปถึงผู้เกี่ยวข้อง ต้องแฉรวบรวมข้อมูลและเบาะแสส่งต่อให้กับเพจช่องข่าวลำปางซึ่งเป็นช่องข่าวท้องถิ่น เพื่อประสานความร่วมมือหาข้อมูลเพิ่มเติมและขับเคลื่อนปัญหาร่วมกันกับคนในพื้นที่

- ผลการดำเนินงาน เทศบาลลำปางซ่อมแซมถนนบุญวาทย์ที่เกิดความเสียหายดังกล่าว เมื่อช่วงเดือนมกราคม 2563 (ดูข้อมูลได้ที่: https://is.gd/N2zUTk)

2) อาคารเรียนเลี้ยงสุกร วิทยาลัยเกษตรควนพลอง จังหวัดนครศรีธรรมราช ถูกทิ้งร้างไม่ได้ใช้งานร่วม 10 ปี เป็นเหตุสงสัยด้านการใช้งบประมาณก่อสร้างเกือบ 10 ล้านบาท แต่ไม่สามารถใช้งานได้


- การรับข้อมูล ได้รับการร้องเรียนผ่าน Inbox เพจต้องแฉ เมื่อช่วงเดือนตุลาคม 2562 ถึงปัญหาอาคารเรียนเลี้ยงสุกรของวิทยาลัยควนพลอง สร้างแล้วไม่ได้ใช้งาน ทำให้นักศึกษาไม่ได้ฝึกใช้ความรู้และทักษะตามหลักสูตรมาเป็นระยะเวลา 10 ปี

- การส่งต่อข้อมูลไปถึงผู้เกี่ยวข้อง ต้องแฉรวบรวมข้อมูลและเบาะแสส่งต่อให้กับเพจชมรมStrongต้านทุจริต จังหวัดนครศรีธรรมราช เพื่อประสานความร่วมมือหาข้อมูลเพิ่มเติมและขับเคลื่อนปัญหาร่วมกัน

- ผลการดำเนินงาน ป.ป.ช.จังหวัดนครศรีธรรมราชและกรมอาชีวศึกษาลงพื้นที่ตรวจสอบปัญหา สำนักข่าวอิศรานำไปเผยแพร่ข่าวและสัมภาษณ์ข้อมูลจากรองผอ.วิทยาลัยควนพลองเพื่อชี้แจงปัญหาและแนวทางการแก้ไขปัญหาต่อไป เมื่อช่วงเดือนมกราคม 2563 (ดูข้อมูลได้ที่: https://is.gd/Go7VVw)

หมายเหตุ ดูผลงานเติมได้ที่  www.facebook.com/mustshareofficial 

จัดทำการสำรวจประเด็นปัญหาต่าง ๆ ผ่านการ Crowdsource ด้วยรูปแบบการโหวต

ประเด็นปัญหาความเพียงพอของหน้ากากอนามัยที่ขายให้แก่ประชาชน เนื่องจากกรมการค้าภายในได้ประกาศว่าได้กระจายหน้ากากอนามัยไปจุดต่าง ๆและมีเพียงพอขายประชาชน แต่ต้องแฉได้รับเบาะแสและกระแสปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัยจากประชาชน จึงเปิดการ Crowdsource ประเด็นดังกล่าวด้วยวิธีการโหวต เพื่อสำรวจว่าแฟนเพจต้องแฉในพื้นที่ต่าง ๆ สามารถหาซื้อหน้ากากอนมัยได้หรือไม่ และสามารถเห็นได้จากผลสำรวจว่ารัฐกระจายหน้ากากอนามัยให้มีความเพียงพอในการขายให้กับประชาชนหรือไม่

ต้องแฉเปิดประเด็นทำการสำรวจความเพียงพอของหน้ากากอนามัยในท้องตลาดเนื่องจากมีกระแสเรื่องปัญหาการขาดแคลนหน้ากากอนามัย โดยให้ประชาชนกดโหวตผ่านแฟนเพจ เพื่อเก็บข้อมูลดังกล่าว

- ผลการสำรวจพบว่า 253 คน หาซื้อได้ และ 8,392 คน หาซื้อไม่ได้ ทำให้เห็นว่า ประชาชนส่วนใหญ่หาซื้อหน้ากากอนามัยไม่ได้ ซึ่งไม่สอดคล้องกับการให้ข้อมูลของหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง - ได้รับความสนใจจากเครือข่ายเพจออนไลน์ เช่น เพจวิวาทะ V.2 ร่วมเผยแพร่ผลสำรวจเพื่อขับเคลื่อนให้หน่วยงานเล็งเห็นปัญหาหน้ากากอนามันไม่เพียงพอต่อการขายให้กับประชาชน (ดูข้อมูลได้ที่: https://is.gd/6tbzp5)

 จัดทำการสำรวจประเด็นปัญหาต่าง ๆ ผ่านการ Crowdsource ด้วยรูปแบบการระดมความคิดเห็น และนำเสนอแนวทางการแก้ไขปัญหาดังกล่าว

ประเด็นปัญหาอาหารกลางวันเด็กนักเรียนไม่เหมาะสมต่อโภชนาการ เนื่องจากได้รับเบาะแสการทุจริตอาหารกลางวันเด็กนักเรียน โดยใช้งบประมาณซึ่งอาจไม่คุ้มค่าในการจัดสรรอาหารกลางวันเด็กนักเรียนให้เหมาะสมต่อโภชนาการจากหลายโรงเรียน จึงได้รวบรวมความคิดเห็นสาเหตุการเกิดปัญหาอาหารกลางวันเด็กนักเรียนจากประเด็นดังกล่าวในโพสต์ต่าง ๆ ของต้องแฉ เช่น

A. ร้องเรียนทุจริตโครงการอาหารกลางวันของโรงเรียนเทศบาลวัดหัวข่วง จ.แพร่ (ดูข้อมูลได้ที่: https://is.gd/xwAIYi)

B. ส่อเค้าการทุจริตอาหารกลางวันโรงเรียนบ้านชากพุดซา จ.ชลบุรี (ดูข้อมูลได้ที่: https://is.gd/euQjxs)

C. ส่อเค้าการทุจริตอาหารกลางวันจากโรงเรียน เสนานุเคราะห์ อ.เมือง จ.นครราชสีมา (ดูข้อมูลได้ที่: https://is.gd/nX7OXA)

พบว่านอกจากการทุจริตแล้วยังมีสาเหตุจากหลายปัจจัย จึงได้นำเสนอข้อมูลโภชนาการอาหารกลางวันสำหรับเด็กนักเรียน เพื่อเป็นแนวทางให้กับโรงเรียน คุณครู ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องในการนำไปจัดทำอาหารกลางวันนักเรียนให้มีความเหมาะสมต่อโภชนาการมากขึ้น และสามารถสร้างการรับรู้ร่วมกันจับต่อมองต่อไปได้ว่าแต่ละโรงเรียนจัดสรรงบประมาณอาหารกลางวันของเด็กนักเรียนได้อย่างคุ้มค่าหรือมีความเหมาะสมหรือไม่


รวบรวมสาเหตุการเกิดปัญหาอาหารกลางวันเด็กนักเรียนไม่เหมาะสมต่อโภชนาการจากการ Crowdsource ประเด็นปัญหาอาหารกลางวันเด็กนักเรียนในเพจต้องแฉ (ดูข้อมูลได้ที่: https://is.gd/Dpos2O)


นำเสนอโภชนาการอาหารกลางวันสำหรับเด็กนักเรียน เพื่อเป็นแนวทางให้กับโรงเรียน คุณครู ผู้ปกครอง และผู้เกี่ยวข้องในการนำไปจัดทำอาหารกลางวันนักเรียนให้มีความเหมาะสมต่อโภชนาการมากขึ้น (ดูข้อมูลได้ที่: https://is.gd/Ehukzm)

การนำเสนอแนวข้อมูล และแนวทางจากผู้เชี่ยวชาญในประเด็นปัญหาจากเพจต้องแฉ

ประเด็นปัญหาระบบการคัดกรองอาชีพผู้มีสิทธิ์รับเงินเยียวยา 5,000 บาท จากโครงการเราไม่ทิ้งการ ในสถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 

- ต้องแฉได้รับการแจ้งและการแสดงความคิดเห็นในเพจต้องแฉ ถึงประเด็นปัญหาระบบการคัดกรองข้อมูลอาชีพที่ไม่ตรงกับข้อมูลจริง ในเว็บไซต์เราไม่ทิ้งกัน

- นำเสนอข้อมูลจากผู้เชี่ยวชาญที่มีความรู้หรือความสนใจในประเด็นปัญหาดังกล่าวจากการสัมภาษณ์ร่วมกับเพจต้องแฉ เพื่ออธิบายและแสดงความคิดเห็นถึงระบบการคัดกรอง และแนวทางการทำงานของระบบที่จะสามารถทำให้โปร่งใส ตรวจสอบได้ยิ่งขึ้น (ดูข้อมูลได้ที่: https://is.gd/lKlXjT)

แผนพัฒนาการสร้างระบบ Crowdsourcing For Anti-Corruption Platform ในปี 2563

ทีมงานต้องแฉได้วางแผนพัฒนาการทำงานร่วมกับประชาชน และเครือข่ายต่าง ๆ ที่เกี่ยวข้องในการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน ให้มีพื้นที่ในการทำงานร่วมกัน และนำเสนอข้อมูลอย่างเป็นระบบ โดยมีวัตถุประสงค์หลักดังนี้

  1. เปิดพื้นที่ให้ ประชาชนมีส่วนร่วมในการตรวจสอบ และรักษาผลประโยชน์สาธารณะ ที่อาจมีจุดเริ่มจากการทุจริตคอร์รัปชันได้อย่างปลอดภัย ผ่านแพลตฟอร์มที่มีประสิทธิภาพในการทำงานด้านบริหารจัดการข้อมูล
  2. สร้างระบบการทำงานร่วมกัน ระหว่างประชาชน สื่อมวลชน องค์กรทางวิชาการ องค์กรภาคประชาสังคม องค์กรภาคเอกชน องค์กรที่ทำงานด้านต่อต้านทุจริตคอร์รัปชัน และองค์กรรัฐบาล ในการแก้ปัญหาทุจริตคอร์รัปชันได้อย่างเป็นระบบและเกิดผลลัพธ์ได้จริง
  3. เป็นพื้นที่ ให้ข้อมูลอธิบายความซับซ้อนในระดับโครงสร้างของปัญหาทุจริตคอร์รัปชัน และอธิบายข้อสงสัยหรือความไม่ถูกต้องที่เกิดขึ้นในสังคม ให้ความรู้ ที่เกี่ยวข้องกับเครื่องมือต่อต้านคอร์รัปชัน และธรรมาภิบาล

สมาชิกภายในทีม 






เทใจดอทคอม ขออนุญาตหักค่าธรรมเนียมการให้บริการ 10%
(ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway ค่าคัดกรองโครงการ ตรวจสอบ ติดตาม วัดผล และรายงานความคืบหน้า)

การดำเนินงานต้องแฉเดือนมิถุนายน - พฤศจิกายน 2566

19 ธันวาคม 2023

ผลการดำเนินงานเดือนมิถุนายน - พฤศจิกายน 2566

การสร้างการมีส่วนร่วมภาคประชาชนในการเฝ้าระวังเหตุสงสัยทุจริตคอร์รัปชัน

  • เพจต้องแฉนำเสนอประเด็นส่อทุจริตคอร์รัปชัน จำนวน 78 โพสต์ ตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายน - พฤศจิกายน 2566
  • เพจต้องแฉได้รับการสนับสนุนในการนำประเด็นไปขับเคลื่อนและตรวจสอบ จาก Corruption Deterrence Center : CDC ศูนย์ป้องปรามทุจริตมิติใหม่ สำนักงานคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ ในการขับเคลื่อนการตรวจสอบและแก้ปัญหา จำนวน 33 เรื่อง ตั้งแต่ช่วงเดือนมิถุนายน - พฤศจิกายน 2566
  • ตัวอย่างประเด็นที่ได้รับการขับเคลื่อน
    เหตุสงสัยศูนย์เด็กเล็ก จ.สมุทรปราการ ก่อสร้างทิ้งร้าง ไม่ได้ใช้งาน
     การรับข้อมูล : ประชาชนแจ้งเบาะแสผ่านเครื่องมือไลน์ฟ้องโกงด้วยแชตบอต เมื่อช่วงเดือนมิถุนายน 2566 เกี่ยวกับเหตุสงสัยโครงการก่อสร้างศูนย์พัฒนาเด็กเล็ก ถูกสร้างทิ้งร้าง ไม่เปิดให้ใช้บริการนาน 3 ปี ในพื้นที่ หมู่ที่ 4 ต.เปร็ง อ.บางบ่อ จ.สมุทรปราการ
    การส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : เพจต้องแฉนำเสนอประเด็นโดยต่อยอดเบาะแสด้วยการสืบค้นข้อมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้างเพิ่มเติมด้วย ACT Ai และส่งต่อข้อมูลให้ศูนย์ CDC
    ผลการดำเนินงาน : เจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. ประจำจังหวัดสมุทรปราการ ลงพื้นที่ตรวจสอบ ประกอบกับคำชี้แจงพบว่า การก่อสร้างมีการแบ่งงานเป็นหลายส่วนทั้งการ ก่อสร้างอาคาร ภายใน ภายนอก รั้ว เสาธง และอื่นๆ ตามที่ระบุในสัญญา ซึ่งตัวอาคารสร้างเสร็จตั้งแต่ปลายปี 2563 และภาพรวมสร้างเสร็จกว่าร้อยละ 90 แต่จากการแพร่ระบาดของโควิด การก่อสร้างส่วนอื่นต้องระงับไว้ และต่อมาได้มีการเปิดประมูล เพื่อสร้างส่วนที่เหลือ แต่กลับไม่มีผู้เข้าร่วมประมูล เนื่องจากราคาของวัสดุที่เพิ่มสูงขึ้น การก่อสร้างไม่คุ้มทุนและไม่สมดุลกับงบประมาณ การก่อสร้างจึงหยุดชะงักในที่สุด ซึ่งทางหน่วยงานผู้รับผิดชอบคาดว่าจะดำเนินการแล้วเสร็จภายในปีนี้

    เหตุสงสัย โครงการปรับปรุงพื้นที่ด้านหลังเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำเจ้าพระยา จ.ปทุมธานี มูลค่ากว่า 13 ล้านบาท ส่อไม่ได้มาตรฐาน
     การรับข้อมูล : ประชาชนแจ้งเหตุสงสงสัยผ่าน inbox เพจต้องแฉ เมื่อช่วงเดือนกรกฎาคม 2566 เกี่ยวกับโครงการปรับปรุงพื้นที่ด้านหลังเขื่อนป้องกันตลิ่งริมแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณหน้าวิทยาลัยเทคนิคปทุมธานีและโรงเรียนคณะราษฎร์บำรุง (ครั้งที่ 3) ด้วยงบประมาณกว่า 13 ล้านบาท หลังจากส่งงานเพียง 10 วัน ดินที่ถมกลับทรุดตัวเป็นโพรงตลอดแนวสันเขื่อนยาว 200 เมตร จึงเกิดการตั้งคำถามถึงมาตรฐานของการปรับปรุงจากประชาชนในพื้นที่
    การส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : เพจต้องแฉรวบรวมข้อมูลเบาะแส พร้อมนำเสนอประเด็นผ่านเพจและส่งข้อมูลต่อให้ศูนย์ CDC
    ผลการดำเนินงาน : เจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. ประจำจังหวัดยโสธร ลงพื้นที่ตรวจสอบ ประกอบกับคำชี้แจงพบว่า สาเหตุของการทรุดตัวอาจเกิดจากน้ำหนักรถที่แล่นผ่าน ปริมาณระดับน้ำในแม่น้ำเจ้าพระยาไม่คงที่ และแรงกระแทกของน้ำเมื่อเรือแล่นผ่าน โครงการดังกล่าวดำเนินการเสร็จสิ้นและตรวจรับงานจ้างเมื่อวันที่ 12 มิถุนายน 2566 และเมื่อทราบเรื่องมีการชำรุดเสียหาย ประกอบกับยังอยู่ในช่วงประกันทางหน่วยงานผู้รับผิดชอบแจ้งให้ผู้รับจ้างเข้ามาดำเนินการแก้ไขแล้ว

    เหตุสงสัย โครงการปรับปรุงคลองส่งน้ำ บ้านกุดพันเขียว จ.ยโสธร มูลค่ากว่า 10 ล้านบาท ก่อสร้างไม่ได้มาตรฐาน ใช้วัสดุไม่ตรงสเปก
     การรับข้อมูล : ประชาชนแจ้งเหตุสงสัยผ่าน inbox เพจต้องแฉ เมื่อช่วงเดือนสิงหาคม 2566 เกี่ยวกับโครงการปรับปรุงคลองส่งน้ำ Mc-2L เขื่อนยโสธร P5 บ้านกุดพันเขียว จ.ยโสธร วงเงินงบประมาณ 9,975,800 บาท อยู่ในช่วงระหว่างการดำเนินงานแต่กลับพบว่าก่อสร้างไม่ได้มาตรฐานหลายจุด และถูกตั้งข้อสังเกตการใช้วัสดุไม่ตรงสเปกตามรายละเอียด TOR
    การส่งต่อข้อมูลไปยังหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง : เพจต้องแฉนำเสนอประเด็นโดยต่อยอดเบาะแสด้วยการสืบค้นข้อมูลโครงการจัดซื้อจัดจ้างเพิ่มเติมด้วย ACT Ai และส่งต่อข้อมูลให้ศูนย์ CDC
    ผลการดำเนินงาน : เจ้าหน้าที่ ป.ป.ช. ประจำจังหวัดยโสธร ลงพื้นที่ตรวจสอบ ประกอบกับคำชี้แจงพบว่า โครงการดังกล่าวยังอยู่ระหว่างการก่อสร้าง โดยมีกำหนดเสร็จวันที่ 30 กันยายน 2566 ในส่วนของการก่อสร้างที่ส่อไม่ได้มาตรฐานนั้น เบื้องต้นทางหน่วยงานผู้รับผิดชอบได้ดำเนินการปรับปรุงแก้ไขการก่อสร้างให้มีความเรียบร้อยตามแบบที่กำหนดและจะเสร็จให้ทันตามกำหนดระยะเวลาดำเนินการ 

การสร้างความร่วมมือด้านสื่อสารเพื่อสร้างการตระหนักรู้สู่สังคมวงกว้าง

  • เพจต้องแฉต่อยอดประเด็นจากเบาะแสที่ได้รับ ด้วยการจัดทำอินโฟกราฟิก (Infographic) นำเสนอความรู้ที่เกี่ยวกับลักษณะของการทุจริตคอร์รัปชันในรูปแบบต่างๆ ดังนี้
    - เพจ “วันนั้นเมื่อฉันสอน” นำเสนอปัญหาและวิธีการป้องกันการโกงและเรียกรับผลประโยชน์ในการย้ายครู ด้วยการปรับใช้กับเทคโนโลยีแบบไทยแลนด์ 4.0 เพจต้องแฉต่อยอดประเด็นนำข้อมูลมาสรุปในรูปแบบอินโฟกราฟิก เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้นและสร้างการรับรู้สู่วงกว้าง

    - ไลน์ "ฟ้องโกงด้วยแชตบอต" (@corruptionwatch) ได้รับแจ้งเหตุสงสัยพฤติกรรมไม่ชอบมาพากลของเจ้าหน้ารัฐของโรงพยาบาลแห่งหนึ่งในจังหวัดศรีสะเกษ ใช้สิทธิ์รักษาของตัวเองเบิกยาและนำมาแจกจ่ายด้วยการซื้อขายให้บุคคลที่ 3 เพจต้องแฉต่อยอดประเด็นด้วยการนำเสนอความรู้เกี่ยวกับการทุจริตในวงการแพทย์ เช่น การยิงยาคืออะไร พฤติกรรมการโกงเป็นอย่างไร และมีใครเกี่ยวข้องในขบวนการโกงเช่นนี้บ้าง อันได้รับความร่วมมือจากประชาชนร่วมติดตามประเด็นหลังจากเพจต้องแฉเผยแพร่ จนกระทั่งได้รับการตรวจสอบจาก ป.ป.ช.

    - จากประเด็นแม่บ้านอุทยานฯ จ.เชียงใหม่ ออกมาแฉอดีตหัวหน้าใช้บัญชีตัวเองรับเงินเดือนโดยมิชอบ หรืออาจเรียกสั้น ๆ ว่าใช้ "บัญชีม้า" กว่าจะรู้ตัวก็ถูกสวมรอยมานานแล้วกว่า 7 ปี เพจต้องแฉต่อยอดประเด็นด้วยการนำเสนอความรู้เกี่ยวกับรูปแบบการทุจริตที่เรียกว่า "บัญชีม้า" คืออะไร พฤติกรรมการโกงเป็นอย่างไร และช่องทางในการแจ้งเบาะแสเมื่อพบเห็น


  • เพจต้องแฉได้จัดทำคลิปวิดีโอประเด็นทุจริตคอร์รัปชัน เพื่อกระตุ้นและชวนประชาชนจับตามองความคืบหน้าในประเด็นส่อทุจริตต่างๆ ผ่านแพลตฟอร์ม TikTok และ Facebook Reels โดยใช้ชื่อรายการ “แฉมาเล่า” ปัจจุบันได้ถูกนำเสนอแล้วทั้งหมด 5 ประเด็น ดังนี้
    1) ประเด็นโครงการก่อสร้างคลองส่งน้ำฯ บ้านกุดพันเขียว ต.หัวเมือง อ.มหาชนะชัย จ.ยโสธร มูลค่ากว่า 10 ล้านบาท อยู่ในช่วงระหว่างการก่อสร้าง แต่ประชาชนกลับเห็นมีการก่อสร้างที่ส่อไม่ได้มาตรฐานหลายจุด

    2) ประเด็นโครงการก่อสร้างสระว่ายน้ำ จ.ปัตตานี มูลค่ากว่า 75 ล้านบาท ก่อสร้างเสร็จมา 3 ปี กลับถูกทิ้งร้าง ไม่สามารถใช้งานได้

    3) ประเด็นโครงการติดตั้งเสาไฟถนนระบบพลังงานแสงอาทิตย์ จำนวน 10 ต้น มูลค่ากว่า 344,000 บาท ในพื้นที่ ต.คลองยาง อ.สวรรคโลก จ.สุโขทัย แต่กลับพบว่าชาวบ้านใช้งานได้ไม่ถึง 2 ปี ไฟดับสนิท

    4) ประเด็นโครงการก่อสร้างศูนย์ศึกษาการเพาะเลี้ยงสัตว์น้ำทะเลสาบสงขลา (อควาเรียมหอยสังข์) สร้างนานกว่า 15 ปี ใช้งบประมาณกว่า 1,500 ล้านบาท แต่กลับถูกทิ้งร้าง ไม่สามารถเปิดใช้งานได้

    5) ประเด็นก่อสร้างอาคารผู้ป่วยนอกของโรงพยาบาลห้วยแถลงแห่งใหม่ จ.นครราชสีมา มูลค่ากว่า 89 ล้านบาท ถูกปล่อยร้างนานกว่า 20 เดือน

แผนการใช้เงิน


รายการจำนวน

จำนวนเงิน (บาท)

1. ทีมงาน Admin 2 คน (เต็มเวลา) คนละ 15,000 บาทต่อเดือน12360,000
2. ผลิตสื่อในการสื่อสาร
36,000
3. ค่าดำเนินงานเทใจดอทคอม 10%
(ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway ค่าคัดกรองโครงการ ตรวจสอบ ติดตาม วัดผล และรายงานความคืบหน้า)

39,600
รวม
435,600