project กลุ่มคนเปราะบาง

ซ่อมแซมศูนย์ประสานงานเพื่อฟื้นฟูชีวิตและชุมชนลุ่มน้ำมูล

ระดมทุนซ่อมแซมศูนย์ประสานงานคณะกรรมการและชาวบ้านเพื่อฟื้นฟูชีวิตและชุมชนลุ่มน้ำมูล โดยให้ศูนย์เอื้อต่อกิจกรรมการดำเนินงานติดตามแนวทางการแก้ไขปัญหาของชาวบ้านในการฟื้นฟูวิถีชีวิตและชุมชนลุ่มน้ำมูล

ระยะเวลาโครงการ 4 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ แม่น้ำมูล ต.โขงเจียม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี

ยอดบริจาคขณะนี้

185,900 บาท

เป้าหมาย

185,900 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 100%
จำนวนผู้บริจาค 15

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

ติดตั้งโถสุขภัณฑ์ในศูนย์ประสานงานชาวบ้านลุ่มแม่น้ำมูล

14 กุมภาพันธ์ 2022

หลังจากที่ปรับปรุงซ่อมแซมอาคารศูนย์ประสานงานชาวบ้านเพื่อฟื้นฟูชีวิตและชุมชนลุ่มน้ำมูลแล้ว ชาวบ้านลุ่มแมาน้ำมูลได้เข้าทำกิจกรรมในศูนย์ฯ เป็นะระยะ ๆ

ภาพกิจกรรมประชุมติดตามแนวทางการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากเขื่อนปากมูล


ติดตั้งโถสุขภัณฑ์เพิ่ม


นอกจากนี้ ทางศูนย์ฯ ยังต้องการความช่วยเหลือการติดตั้งไฟฟ้าภายในศูนย์ และจะเปิดระดมทุนผ่านเทใจดอทคอมเร็ว ๆ นี้

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

30 ปีผ่านมาแล้ว ปัญหาเรื่องเขื่อนปากมูลต.โขงเจียม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ยังไม่ได้รับการแก้ไขปัญหาให้ได้ข้อยุติ

ทุกวันนี้ชาวบ้านที่อาศัยและใช้แหล่งน้ำทำมาหากินเพื่อดำรงชีพยังคงได้รับความเดือดร้อนอยู่

ตลอดการทำงาน ทางคณะกรรมการแก้ไขปัญหาสมัชชาคนจนยังคงดำเนินการเจรจาเพื่อหาแนวทางการแก้ไขปัญหาร่วมกันกับทางรัฐบาลอยู่ตลอดเวลา โดยมีเจตนามุ่งที่จะแก้ไขปัญหาและส่งเสริมสิทธิประชาธิปไตยให้กับชาวบ้านราษฎรผู้ได้รับผลกระทบ แสวงหาความร่วมมือกับหน่วยงานภาคส่วนเพื่อหาทางออกร่วมกันในการแก้ไขปัญหาให้กับชาวบ้าน 


ทว่า การต่อสู้ที่ยาวนาน ตั้งแต่ปี 2536 ชาวบ้านและคณะกรรมการได้ใช้ศูนย์ประสานงานที่ชาวบ้านและคณะกรรมการได้เรี่ยไรบริจาคทุนทรัพย์ จัดหาที่และสร้างศูนย์ประสานงานคณะกรรมการชาวบ้านเพื่อฟื้นฟูชีวิตและชุมชนลุ่มน้ำมูล (ชชช.) ขึ้นมา ณ บ้านผาประตูทอง ม.12 ต.โขงเจียม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี เพื่อเป็นที่ทำงานและประชุมหารือร่วมกัน

จวบจนวันนี้ศูนย์แห่งนี้  ผุกร่อนและเสียหาย เนื่องจากหลังคาจากโครงสร้างไม้ถูกปลวกกิน ทำให้หลังคาชำรุด บานประตูหน้าต่าง ระบบไฟฟ้า และประปา พังเสียหาย รวมถึงห้องน้ำก็ชำรุด อย่างไรก็ตามชาวบ้านได้ระดมเงินและระดมแรงกันเองเพื่อซ่อมแซม แต่ก็ทำได้เพียงหลังคา เนื่องจากงบประมาณหมด 


ดังนั้นเพื่อให้กลุ่มชาวบ้านและคณะกรรมการมีพื้นที่ในการรวมตัวกันติดตามทวงสิทธิ์เพื่อเรียกร้องความเป็นธรรม ให้แก้ไขปัญหาผลกระทบจากการพัฒนาของรัฐที่เกิดขึ้น จึงจัดระดมทุนเพื่อซ่อมแชมศูนย์แห่งประกอบด้วย

  • กรอบวงกบพร้อมทั้งบานประตู, หน้าต่างทั้งอาคาร  
  • โครงสร้างและพื้นชั้นลอย  
  • บูรณะปรับปรุงห้องน้ำเดิมจำนวน 2 ห้อง 
  • อุปกรณ์เดินระบบและไฟส่องสว่างทั่วทั้งอาคาร 
  • สีทาตกแต่งอาคาร


ประโยชน์ของโครงการ

1.เพื่อให้กลุ่มชาวบ้านและคณะกรรมการมีพื้นที่ในการประชุมนเพื่อแก้ไขปัญหาผลกระทบจากการพัฒนาของรัฐที่เกิดขึ้น 

2.เพื่อให้มีสถานที่ทำงานประจำของอาสาสมัครและชาวบ้านในพื้นที่

เจ้าของโครงการ

คณะกรรมการชาวบ้านเพื่อฟื้นฟูชีวิตและชุมชนลุ่มน้ำมูล (ชชช.) 

นางสมปอง เวียงจันทร์

นางรำไพ คำล้าน

นายอ่อนสา หงลอย

นางบุญแต่ง วรพิมพ์รัตน์

นางมาลี ตามสีวัน

และท่านอื่นๆ








ซ่อมแซมอาคารศูนย์ประสานงานชาวบ้านเพื่อฟื้นฟูชีวิตและชุมชนลุ่มน้ำมูล (ชชช.) เสร็จแล้ว

14 มกราคม 2022

ด้วยทางองค์กรชาวบ้านเพื่อฟื้นฟูชีวิตและชุมชนลุ่มน้ำมูล ได้รับการสนับสนุนด้านงบประมาณในการบูรณะซ่อมแซมอาคารศูนย์ประสานงานชาวบ้านเพื่อฟื้นฟูชีวิตและชุมชนลุ่มน้ำมูล (ชชช.) ที่เก่าขำรุดทรุดโทรม ขาดการดูแลบำรุงรักษา ด้วยปัญหาและข้อจำกัดด้านงบประมาณภายในตัวองค์กรชาวบ้านเอง จนได้รับการสนับสนุนด้วยการระดมทุนจากผู้บริจาค โดย มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (โครงการเทใจ)

องค์กรชาวบ้านเพื่อฟื้นฟูชีวิตและชุมชนลุ่มน้ำมูล จึงขอแจ้งรายงานความคืบหน้าในการบูรณะซ่อมแซมศูนย์ประสานงานชาวบ้านเพื่อฟื้นฟูชีวิตและชุมชนลุ่มน้ำมูล (ชชช.) ให้ทราบ ดังนี้

การซ่อมแซมโครงสร้างอาคารหลักๆ เสร็จเรียบร้อยแล้ว ทั้งการเปลี่ยนโครงสร้างและหลังคา, การกั้นพื้นที่และปูพื้นห้องชั้นลอย, การเปลี่ยนบานหน้าต่าง / ประตู, ถมดินปรับพื้นที่รอบอาคาร, ปรับปรุงห้องสุขา และ เดินระบบไฟฟ้าส่องสว่างภายใน ทั้งอาคาร ฯ

จากการได้ปรับปรุงบูรณะซ่อมแซมศูนย์ประสานงานชาวบ้านเพื่อฟื้นฟูชีวิตและชุมชนลุ่มน้ำมูล (ชชช.) บ้านผาประตูทอง หมู่ ๑๒ ต.โขงเจียม อ.โขงเจียม จ.อุบลราชธานี ก็ก่อให้เกิดประโยชน์แก่กลุ่มชาวบ้าน โดยได้ใช้เป็นสถานที่ในการพบปะ, พูดคุย,ประชุม,ปรึกษาหารือกันของชาวบ้าน เป็นจุดสถานที่กลางในการจัดกิจกรรมและประสานงาน เพื่อติดตามแนวทางในการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากเขื่อนปากมูล ในการพิทักษ์สิทธิการดำรงชีวิตและการปกป้องทรัพยากรแม่น้ำมูล ในฐานะทรัพย์สินสาธารณะที่ชุมชนท้องถิ่นใช้ประโยชน์ร่วมกัน

แต่ก็ยังขาดแคลนทุนปัจจัยในการพัฒนาบูรณะศูนย์ประสานงานฯ อยู่อีกหลายประการ เช่น โรงครัวขนาดเล็กที่เอาไว้จัดประกอบอาหาร เวลาที่ชาวบ้านมีกิจกรรมร่วมกัน เป็นต้น ซึ่งกลุ่มองค์กรชาวบ้านเพื่อฟื้นฟูชีวิตและชุมชนลุ่มน้ำมูล จะพยายามพัฒนาปรับปรุงบูรณะซ่อมแซมศูนย์ประสานงานชาวบ้านเพื่อฟื้นฟูชีวิตและชุมชนลุ่มน้ำมูล (ชชช.) ต่อไป

พวกเราในนามองค์กรชาวบ้านเพื่อฟื้นฟูชีวิตและชุมชนลุ่มน้ำมูล (ชชช.) ขอขอบคุณในน้ำใจของผู้ร่วมบริจาคสมทบทุนทุกท่านที่ช่วยเหลือในการบูรณะซ่อมแซมศูนย์ประสานงานชาวบ้านเพื่อฟื้นฟูชีวิตและชุมชนลุ่มน้ำมูล (ชชช.) ครั้งนี้ โดย มูลนิธิบูรณะชนบทแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์ (โครงการเทใจ) มา ณ โอกาสนี้ด้วย

คณะกรรมการชาวบ้านเพื่อฟื้นฟูชีวิตและชุมชนลุ่มน้ำมูล (ชชช.)

ติดตั้งโถสุขภัณฑ์ในศูนย์ประสานงานชาวบ้านลุ่มแม่น้ำมูล

14 กุมภาพันธ์ 2022

หลังจากที่ปรับปรุงซ่อมแซมอาคารศูนย์ประสานงานชาวบ้านเพื่อฟื้นฟูชีวิตและชุมชนลุ่มน้ำมูลแล้ว ชาวบ้านลุ่มแมาน้ำมูลได้เข้าทำกิจกรรมในศูนย์ฯ เป็นะระยะ ๆ

ภาพกิจกรรมประชุมติดตามแนวทางการแก้ไขปัญหาผลกระทบจากเขื่อนปากมูล


ติดตั้งโถสุขภัณฑ์เพิ่ม


นอกจากนี้ ทางศูนย์ฯ ยังต้องการความช่วยเหลือการติดตั้งไฟฟ้าภายในศูนย์ และจะเปิดระดมทุนผ่านเทใจดอทคอมเร็ว ๆ นี้

แผนการใช้เงิน


รายการบาท
1.กรอบวงกบพร้อมทั้งบานประตู, หน้าต่างทั้งอาคาร 30,000  
2.โครงสร้างและพื้นชั้นลอย   44,000
3.บูรณะปรับปรุงห้องน้ำเดิมจำนวน 2 ห้อง 20,000 
4.ก่อสร้างทำห้องน้ำใหม่ (ชั่วคราว) จำนวน 2 ห้อง 10,000
5.อุปกรณ์เดินระบบและไฟส่องสว่างทั่วทั้งอาคาร 20,000
6.สีทาตกแต่งอาคาร10,000 
7.หลังคาที่เหลือครึ่งนึง35,000  
8.ค่าดำเนินงานเทใจดอทคอม 10%
(ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway ค่าคัดกรองโครงการ ตรวจสอบ ติดตาม วัดผล และรายงานความคืบหน้า)
16,900 
รวม185,900