project โควิด-19 ผู้สูงอายุ กลุ่มคนเปราะบาง

ผ้าทอฝ้ายคลายหนาว : อุดหนุนผ้าทอมือจากแม่บ้านจากที่ราบสูง เพื่อมอบความอบอุ่นให้แม่อุ๊ยบนยอดดอย

ส่งมอบผ้าห่มผ้าฝ้าย จากกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรผู้ผลิตงานทอผ้า ภาคอีสาน สู่ผู้ประสบภัยหนาวในชุมชนห่างไกลภาคเหนือ ซึ่งสามารถช่วยสนับสนุนให้กลุ่มแม่บ้านมีรายได้ในช่วงโควิด-19ระบาดและเหล่าแม่อุ๊ยได้คลายหนาวที่กำลังจะมาถึง จำนวน 1,000 ผืน

ระยะเวลาโครงการ 12 ส.ค.- 15 ธ.ค. 2564 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ (หมู่บ้านบ้านแปะ บ้านขุนแปะ), ตำบลเกษตรวิสัย อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด (กลุ่มสตรีทอผ้า "กลุ่มพรรณไม้")

ยอดบริจาคขณะนี้

580,311 บาท

เป้าหมาย

572,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 101%
จำนวนผู้บริจาค 830

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

มอบผ้าทอฝ้ายคลายหนาวให้คุณยาย 1,000 คน

4 กุมภาพันธ์ 2022

กิจกรรมลงพื้นที่เพื่อนำผ้าทอฝ้ายไปส่งมอบ ใน วันที่ 15 มกราคม 2565 ณ ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ แบ่งออกเป็น 7 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านแม่จร,บ้านกองแพะ,บ้านใหม่,บ้านอมติง,บ้านขุนแปะ,บ้านบนนา และบ้านกองยอ

ผู้เข้าร่วม เจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อพัฒนาแรงงานและอาชีพ จำนวน 8 คน และ เจ้าหน้าที่มูลนิธิพัฒนาแรงงานผู้สูงอายุ จำนวน 3 คน

ผู้ได้รับผลประโยชน์ จำนวน 1,000 คน

สิ่งที่ได้รับผล กลุ่มสตรีทอผ้า(กลุ่มพรรณไม้) ได้ระบายผ้าในสต็อคมากถึง 2,000 เมตร และยังทำให้เกิดการจ้างงานคนในพื้นที่ถักยอยผ้าและซักผ้า นอกจากนั้นยังได้ส่งต่อผ้าทอมือให้กับเหล่าแม่อุ๊ย ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อบรรเทาความหนาว

สัมภาษณ์คุณยายที่ได้รับผ้าทอฝ้าย

ภาพประกอบ

น้องๆอาสากำลังเตรียมตัวเพื่อกระจายผ้าทอฝ้าย ยาสามัญประจำบ้าน และ ของใช้ในครัวเรือน

น้องอาสานำผ้าทอฝ้ายมาให้ผู้สูงอายุในหมู่บ้าน

น้องอาสานำผ้าทอฝ้ายมาให้ผู้สูงอายุในหมู่บ้าน

น้องอาสานำผ้าทอฝ้ายมาให้ผู้สูงอายุในหมู่บ้าน

น้องอาสานำผ้าทอฝ้ายมาให้ผู้สูงอายุในหมู่บ้าน

น้องอาสานำผ้าทอฝ้ายมาให้ผู้สูงอายุในหมู่บ้าน

เส้นทางที่พวกเรานำผ้าทอฝ้ายไปให้ผู้สูงอายุในพื้นที่ ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

อาจารย์ประสิทธิ์ สาคร กล่าวแนะนำพื้นที่และแนะนำน้องอาสาในพื้นที่ กล่าวถึงการลงพื้นที่แบ่งเป็น

ช่วง ช่วงเช้า 2 หมู่บ้าน และช่วงบ่าย 3 หมู่บ้าน พวกเราได้รับอนุญาตให้เข้าเยี่ยมผู้สูงอายุหมู่บ้านละ 1 ครอบครัวเท่านั้น เนื่องด้วยสถานการณ์โควิค 19

ยายสุก แสนทวีโภคทรัพย์ อายุ 104 ปี เป็นผู้สูงอายุคนแรกที่พวกเราได้เข้าเยี่ยม คุณยายสุกมองไม่เห็น แต่ก็ยังต้อนรับพวกเราด้วยรอยยิ้ม ทำให้เรารู้สึกเหมือนได้พบญาติผู้ใหญ่ รู้สึกมีความสุขจนมีน้ำตาแห่งความสุขไหลออกมา ก่อนเรากลับ คุณยายก็ให้พรพวกเรา ถ้ามีโอกาสจะกลับไปเยี่ยมคุณยายอีกครั้ง

รอยยิ้มของผู้ให้และผู้รับ

รอยยิ้มแห่งความสุข

กำลังเดินเข้าไปบ้านของผู้สูงอายุ เพื่อนำผ้าทอฝ้าย ยาสามัญประจำบ้าน และของใช้ในครัวเรือน ไปมอบให้


ขนย้ายผ้าทอฝ้ายเพื่อเข้าไปพักไว้ในโรงเรียนบ้านขุนแปะและรอน้องๆอาสานำไปกระจายให้ผู้สูงอายุต่อไป

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ส่งมอบผ้าห่มผ้าฝ้าย จากกลุ่มแม่บ้านเกษตรกรผู้ผลิตงานทอผ้า ภาคอีสาน สู่ผู้ประสบภัยหนาวในชุมชนห่างไกลภาคเหนือ ซึ่งสามารถช่วยสนับสนุนให้กลุ่มแม่บ้านมีรายได้ในช่วงโควิด-19ระบาดและเหล่าแม่อุ๊ยได้คลายหนาวที่กำลังจะมาถึง จำนวน 1,000 ผืน

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

สถานการณ์การแพร่ระบาดของไวรัสโควิด-19  ที่กำลังประสบอยู่ตอนนี้ สร้างผลกระทบต่อคุณภาพชีวิตผู้คนบ้านเราในทุกด้าน ตั้งแต่สุขภาพ ความมั่นคงปลอดภัยในการใช้ชีวิต เศรษฐกิจ และโอกาสในการประกอบอาชีพ

โดยเฉพาะอย่างยิ่ง กลุ่มแม่บ้านเกษตรกรผู้ผลิตงานทอผ้าที่บ้านกว่า 200 คน ใน 7 อำเภอของ 3 จังหวัดภาคอีสาน ที่ไม่มีรายได้ มีเพียงสต็อคผ้าที่ทางกลุ่มผลิตรวมกันไว้ แต่ขาดช่องทางจำหน่าย รายได้จึงยังคงไม่สามารถกลับคืนสู่กลุ่มแม่บ้านเหล่านี้ และซ้ำเติมให้ความยากไร้ในช่วงวิกฤตนั้นหนักหนาสาหัสขึ้น



มูลนิธิเพื่อพัฒนาแรงงานและอาชีพ (HomeNet Thailand) จึงริเริ่มโครงการ “ผ้าทอฝ้ายคลายหนาว" ขึ้นเพื่ออุดหนุนผ้าทอมือจากคุณแม่บนพื้นราบ เพื่อมอบความอบอุ่นให้คุณแม่บนยอดดอย

ขอเชิญชวนทุกท่านร่วมส่งต่อความสุข ต่อที่หนึ่ง สนับสนุนการสร้างงานสร้างรายได้ ด้วยผ้าผวยเพื่อห่มคลายหนาว ทำจากผ้าฝ้ายทอมือ โดยฝีมือกลุ่มแม่บ้านเกษตรกร "พรรณไม้" อ.เกษตรวิสัย จ.ร้อยเอ็ด ต่อที่สอง ส่งต่อความอบอุ่นและความห่วงใยให้กับผู้ประสบภัยหนาวในชุมชนบ้านขุนแปะ อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ ซึ่งเป็นพื้นที่ประสบภัยหนาวในทุกปี และยังมีผู้ขาดแคลนผ้าห่มคลายหนาวอีกเป็นจำนวนมาก


โครงการฯ จะจัดทำ “ผ้าผวยคลายหนาว” จำนวน 1,000 ผืน จาก “กลุ่มพรรณไม้” เพื่อส่งมอบไปยังผู้สูงอายุในชุมชนบ้านขุนแปะ จำนวน 1,000 คน


ให้ผ้าห่มผืนอุ่นที่ริเริ่มทักทอด้วยความรักในการทอผ้า ส่งแทนความห่วงใยจากพวกเราถึงผู้ประสบภัยหนาว ให้ผ่านพ้นวิกฤติไปด้วยกัน


กลุ่มแม่บ้านทอผ้า : ผู้ผลิตงานฝีมือที่ยังคงรอการสนับสนุน

สมาชิกกลุ่มพรรณไม้ คือ บรรดาแม่ๆ ที่เป็นแม่บ้านเกษตรกรผู้ผลิตงานทอผ้าที่บ้านกว่า 200 ชีวิต 6 อำเภอของ 3 จังหวัดภาคอีสาน คือ สุรินทร์ ร้อยเอ็ด ศรีษะเกษ ที่รวมกลุ่มกันผลิตงานผ้าฝ้าย – ผ้าไหมที่ผลิตเองในทุกกระบวนการ ตั้งแต่การเลี้ยงไหม กรอ-สาว เข็นฝ้าย รวมถึงย้อมสีธรรมชาติจากพืชพันธุ์ในท้องถิ่น

ย้อนไปก่อนปี 2532 แม่ๆ เหล่านี้มีรายได้หลักจากการทำเกษตรตามฤดูกาล และเลี้ยงปศุสัตว์ก่อนรวมตัวกันต้อนฝูงมาขายในที่ราบตอนล่างช่วงฤดูแล้ง เช่นเดียวกับผู้คนที่อาศัยอยู่ในแถบทุ่งกุลาร้องไห้ที่ขึ้นชื่อเรื่องความร้อนแดด และแล้งฝน

แต่สิ่งที่แม่ๆ ได้รับส่งต่อกันมาจากบรรพบุรุษ คือภูมิรู้ด้านการย้อมและทอผ้าลายพื้นเมือง จากเดิมที่เคยใช้ทอเป็นเครื่องแต่งกายในชีวิตประจำวัน และเครื่องนุ่งห่มหน้าหนาว เมื่อมีองค์กรพัฒนาเอกชนจากต่างชาติเข้ามาส่งเสริมอาชีพ และอบรมการย้อมผ้าสีธรรมชาติ ส่งเสริมความรู้เบื้องต้นทางธุรกิจ ทำให้แม่ๆ เริ่มเปลี่ยนงานฝีมือในบ้านให้กลายเป็นสินค้าที่สร้างรายได้เสริมให้ครอบครัว อีกทั้งยกระดับฐานะจากที่เคยเป็นเพียงแม่ - เมีย หรือแรงงานทำนา ให้กลายมาเป็น “แรงงานฝีมือ” และ “ช่างทอผู้มากด้วยภูมิปัญญา” ซึ่งเป็นการยกระดับสตรีชนบทให้มีคุณค่า คู่ควรกับความสามารถและความมุ่งมั่นในชีวิตของพวกเธออย่างที่สุด

ตลอด 32 ปีที่ผ่านมา แม่ๆ เหล่านี้ผ่านมาแล้วทั้งวิกฤตต้มยำกุ้ง วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์ที่ทำให้ยอดการสั่งซื้อผ้าลดลงอย่างเห็นได้ชัด แต่ถึงอย่างนั้นทั้งกลุ่มยังคงช่วยประคองกันเพื่อกระจายงาน กระจายรายได้ในทุกกระบวนการผลิต จนทุกคนผ่านพ้นวิกฤตร่วมกันมาได้หมด

ในช่วงปี 40 ที่เกิดปรากฎการณ์เอลนินโย่ ต่อด้วยลานินญ่า แถบทุ่งกุลานี่แล้งติดต่อกันนานถึง 12 ปี ทำนาไม่ได้เลย จากอาชีพทอผ้าที่เคยเป็นเพียงรายได้เสริมของครอบครัว ก็กลับกลายมาเป็นรายได้หลักที่เลี้ยงคนทั้งบ้าน ทั้หมดก็เกิดจากหยาดเหงื่อของแม่บ้านเกษตรกลุ่มนี้ทั้งสิ้น

จนมาวันนี้ วิกฤตจากสถานการณ์ COVID-19 ปิดกั้นการส่งออกสินค้าทุกช่องทาง และส่วนใหญ่เป็นคู่ค้าผลิตต่อเนื่องที่ไม่มีการวางมัดจำ สถานการณ์วันนี้ แม่ๆ ผู้ทำการทอผ้าจึงยังคงไม่มีรายได้ มีเพียงสต็อคผ้าที่ทางกลุ่มผลิตรวมกันไว้ แต่ขาดช่องทางจำหน่าย รายได้จึงยังคงไม่สามารถกลับคืนสู่กลุ่มแม่บ้านเหล่านี้ และซ้ำเติมให้ความยากไร้ในช่วงวิกฤตนั้นหนักหนาสาหัสขึ้น


กลุ่มแม่อุ๊ยที่บ้านแปะ

ชุมชนบ้านแปะ ตั้งอยู่ที่บ้านขุนแปะ หมู่ที่ 12 ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เป็นชุมชนห่างไกลที่แยกจากตัวเมืองจอมทองกว่า 100 กิโลเมตร แต่ด้วยเส้นทางลาดชันบนหุบเขา ทำให้ใช้เวลาเดินทาง 3 - 4 ชั่วโมงในแต่ละครั้ง

พี่น้องที่นี่เป็นชาวไทยภูเขาเผ่ากะเหรี่ยง และพี่น้องชาวม้ง รวมแล้ว 3,711 คน ในกลุ่มนี้เป็นผู้สูงอายุ 486 คน และเป็นเด็กอีกเกือบ 1,000 คน ที่เหลือเป็นวัยรุ่นและวัยทำงาน

โดยสมาชิกชุมชนกระจายตัวอยู่กันเป็นหย่อมบ้านใน 4 หมู่ คือ บ้านขุนเปะ บ้านบนนา บ้านต้นผึ้ง และบ้านแม่จร ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวน ทำไร่ตามฤดูกาล จึงขาดความมั่นคงทางรายได้ ส่งผลต่อปากท้อง อีกทั้งยังเข้าไม่ถึงโอกาสด้านการดูแลสุขภาพกาย สุขภาพช่องปาก และยังขาดความรู้เกี่ยวกับสุขภาวะที่เหมาะสม ยิ่งไปกว่านั้น พวกเขายังขาดทุนทรัพย์ที่จะเดินทางมาพบแพทย์เมื่อเจ็บป่วย ทำให้ไม่ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง


ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1. ประชาสัมพันธ์ชวนผู้ที่สนใจ ร่วมโครงการสนับสนุนการผลิต “ผ้าผวยคลายหนาว” จำนวน 1,000 ผืน จาก “กลุ่มพรรณไม้” เพื่อส่งต่อไปยังผู้ประสบภัยหนาว

2. วางแผนการผลิต และเริ่มคัดเลือกผ้าคุณภาพดี เหมาะสมสำหรับทำผ้าผวยในสต็อกเพื่อเตรียมการผลิต

3. มอบผ้าให้พื้นที่ บ้านแปะ บ้านขุนแปะ หมู่ที่ 12,สอ. ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

4. ติดตามการผลิตผ้าให้เสร็จภายในเดือนตุลาคม 2564

5. ทำการส่งต่อให้ผู้ประสบภัยหนาวทางภาคเหนือในเดือนพฤศจิกายน 2564

ข้อมูลภาคี, พาร์ทเนอร์

มูลนิธิเพื่อการพัฒนาแรงงานและอาชีพ (Foundation for Labour and Employment Promotion) 

ปัจจุบันมูลนิธิได้ขยายกลุ่มเป้าหมายจาก ผู้รับงานไปทำที่บ้าน ไปสู่กลุ่มแรงงานนอกระบบอื่น ๆ เช่น ผู้ผลิตเพื่อขาย ลูกจ้างทำงานบ้าน หาบเร่แผงลอย ช่างเสริมสวย หมอนวด และมอเตอร์ไซด์รับจ้าง ดำเนินงาน เพื่อพัฒนาคุณภาพชีวิตของแรงงานนอกระบบทั้งในเขตเมืองและชนบทโดยเน้นการส่งเสริมและพัฒนางานที่มีคุณค่า (Decent work) และการคุ้มครองทางสังคม(Social protection) แก่กลุ่มแรงงานนอกระบบ ในรูปแบบของการพัฒนาความมั่นคงทางเศรษฐกิจ (Economic security) ควบคู่กับการพัฒนาความมั่นคงทางสังคม (social security)


ณ มกราคม 2563 มูลนิธิฯ มีพื้นที่ทำงานใน 15 จังหวัด คือกรุงเทพมหานคร นครปฐม ราชบุรี สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี กาญจนบุรี ร้อยเอ็ด สุรินทร์ มหาสารคาม ขอนแก่น สกลนคร นครราชสีมา เชียงราย พะเยา สงขลา ปัตตานี และนราธิวาส ครอบคลุมแรงงานนอกระบบจำนวน 23,588 คนแบ่งเป็นแรงงานหญิง11,676 คนหรือร้อยละ 49.5 และแรงงานชายจำนวน11,912คน คิดเป็นร้อยละ 50.5




โครงการนี้ได้ร่วมดำเนินการกับมูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ

มอบผ้าทอฝ้ายคลายหนาวให้คุณยาย 1,000 คน

4 กุมภาพันธ์ 2022

กิจกรรมลงพื้นที่เพื่อนำผ้าทอฝ้ายไปส่งมอบ ใน วันที่ 15 มกราคม 2565 ณ ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ แบ่งออกเป็น 7 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านแม่จร,บ้านกองแพะ,บ้านใหม่,บ้านอมติง,บ้านขุนแปะ,บ้านบนนา และบ้านกองยอ

ผู้เข้าร่วม เจ้าหน้าที่มูลนิธิเพื่อพัฒนาแรงงานและอาชีพ จำนวน 8 คน และ เจ้าหน้าที่มูลนิธิพัฒนาแรงงานผู้สูงอายุ จำนวน 3 คน

ผู้ได้รับผลประโยชน์ จำนวน 1,000 คน

สิ่งที่ได้รับผล กลุ่มสตรีทอผ้า(กลุ่มพรรณไม้) ได้ระบายผ้าในสต็อคมากถึง 2,000 เมตร และยังทำให้เกิดการจ้างงานคนในพื้นที่ถักยอยผ้าและซักผ้า นอกจากนั้นยังได้ส่งต่อผ้าทอมือให้กับเหล่าแม่อุ๊ย ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เพื่อบรรเทาความหนาว

สัมภาษณ์คุณยายที่ได้รับผ้าทอฝ้าย

ภาพประกอบ

น้องๆอาสากำลังเตรียมตัวเพื่อกระจายผ้าทอฝ้าย ยาสามัญประจำบ้าน และ ของใช้ในครัวเรือน

น้องอาสานำผ้าทอฝ้ายมาให้ผู้สูงอายุในหมู่บ้าน

น้องอาสานำผ้าทอฝ้ายมาให้ผู้สูงอายุในหมู่บ้าน

น้องอาสานำผ้าทอฝ้ายมาให้ผู้สูงอายุในหมู่บ้าน

น้องอาสานำผ้าทอฝ้ายมาให้ผู้สูงอายุในหมู่บ้าน

น้องอาสานำผ้าทอฝ้ายมาให้ผู้สูงอายุในหมู่บ้าน

เส้นทางที่พวกเรานำผ้าทอฝ้ายไปให้ผู้สูงอายุในพื้นที่ ตำบลบ้านแปะ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

อาจารย์ประสิทธิ์ สาคร กล่าวแนะนำพื้นที่และแนะนำน้องอาสาในพื้นที่ กล่าวถึงการลงพื้นที่แบ่งเป็น

ช่วง ช่วงเช้า 2 หมู่บ้าน และช่วงบ่าย 3 หมู่บ้าน พวกเราได้รับอนุญาตให้เข้าเยี่ยมผู้สูงอายุหมู่บ้านละ 1 ครอบครัวเท่านั้น เนื่องด้วยสถานการณ์โควิค 19

ยายสุก แสนทวีโภคทรัพย์ อายุ 104 ปี เป็นผู้สูงอายุคนแรกที่พวกเราได้เข้าเยี่ยม คุณยายสุกมองไม่เห็น แต่ก็ยังต้อนรับพวกเราด้วยรอยยิ้ม ทำให้เรารู้สึกเหมือนได้พบญาติผู้ใหญ่ รู้สึกมีความสุขจนมีน้ำตาแห่งความสุขไหลออกมา ก่อนเรากลับ คุณยายก็ให้พรพวกเรา ถ้ามีโอกาสจะกลับไปเยี่ยมคุณยายอีกครั้ง

รอยยิ้มของผู้ให้และผู้รับ

รอยยิ้มแห่งความสุข

กำลังเดินเข้าไปบ้านของผู้สูงอายุ เพื่อนำผ้าทอฝ้าย ยาสามัญประจำบ้าน และของใช้ในครัวเรือน ไปมอบให้


ขนย้ายผ้าทอฝ้ายเพื่อเข้าไปพักไว้ในโรงเรียนบ้านขุนแปะและรอน้องๆอาสานำไปกระจายให้ผู้สูงอายุต่อไป

แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าผ้าเมตร เมตรละ 180 บาท ใช้ 2 เมตร = 360 บาท 1,000 360,000.00
2 ค่าตัดเย็บ/ค่าทำความสะอาด ผืนละ 100 บาท 1,000 100,000.00
3 ค่าบริหารจัดการ /ค่าขนส่ง ผืนละ 60 บาท 1,000 60,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
520,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
52,000.00

ยอดระดมทุน
572,000.00