project ผู้พิการและผู้ป่วย

อุปกรณ์สื่อสารผ่านดวงตาเพื่อผู้ป่วยอัมพาต

*ระดมทุนเครื่องแรกให้สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติสำเร็จแล้วเราเปิดระดมทุนจัดซื้อเครื่องที่สองต่อให้กับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์* เพราะการสื่อสารกับแพทย์สำคัญ เราจึงต้องมีนวัตกรรมที่ใช้ดวงตาในการควบคุมการสื่อสารเพื่อช่วยผู้ป่วยอัมพาตและกล้ามเนื้ออ่อนแรง

ระยะเวลาโครงการ 4 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์และสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ

ยอดบริจาคขณะนี้

396,000 บาท

เป้าหมาย

396,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 100%
จำนวนผู้บริจาค 272

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

ผลการตอบรับจากการใช้เครื่องช่วยสื่อสารให้กับผู้ป่วยอัมพาต

28 พฤศจิกายน 2018

จากที่ได้มอบอุปกรณ์สื่อสารผ่านดวงตาให้กับสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และศูนย์สวางคนิวาส สภากาชาดไทย ทั้ง 2 แห่งได้ดำเนินการทดลองใช้กับผู้ป่วยจำนวน 20 คน ทางบริษัท เมดิเทค โซลูชั่น จำกัด ได้ติดต่อสอบถามถึงผลการตอบรับการใช้งานเครื่อง SenzE กับเคสผู้ป่วย และประโยชน์ของการใช้งานเครื่องจริง

1. ศูนย์สวางคนิวาส สภากาชาดไทย

หลังจากที่ศูนย์ฯ ได้รับการบริจาคเครื่องไปเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2561เราได้เข้าไปสอบถามนพ.ปวนนท์ ศฤงคไพบูลย์ (หมอโอเค) แพทย์ผู้ปฎิบัติงาน ณ ศูนย์สวางคนิวาส สภากาชาดไทย

นพ.ปวนนท์ กล่าวว่า เครื่อง SenzE มีประโยชน์กับผู้ป่วยที่รับรู้ดี ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ พูดไม่ได้ ขยับตัวไม่ได้ ทำให้สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างได้ ทางสวางคนิวาสเองมีกลุ่มผู้ป่วยประเภทนี้อยู่บ้าง แต่ยังถือได้ว่า ไม่มากนัก หากพบเคสที่เหมาะสมก็จะนำเอาเครื่อง SenzE มาให้ใช้ทันที เพราะผู้ป่วยเองจะได้สื่อสารกับญาติ และ เจ้าหน้าที่ของสวางคนิวาสได้ทันท่วงที ทั้งนี้ วันนี้มีเคสตัวอย่างที่คิดว่าเหมาะสมกับการฝึกใช้เครื่อง SenzE ซึ่งเป็นกรณีผู้ป่วยที่มีเนื้องอกในสมอง และได้รับการผ่าตัด ทำให้ไม่สามารถสื่อสารได้ และอยู่ในช่วงของการทำกายภาพบำบัด และกิจกรรมบำบัด ทางศูนย์ฯ จึงได้นำผู้ป่วยมาฝึกใช้เครื่อง SenzE เพื่อช่วยในการสื่อสาร

หมอโอเค ยังกล่าวอีกว่า กรณีของการใช้งานเครื่อง SenzE นี้ หากพบเคสที่เหมาะสมจะเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยค่อนข้างมาก และจะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  




ภาพนพ.ปวนนท์ ศฤงคไพบูลย์ กับการฝึกใช้งานเครื่อง SenzE กับเคสผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง

2. หน่วยงานกิจกรรมบำบัด สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

หลังจากที่ทางสถาบันฯ ได้รับการบริจาคเครื่องไปเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา เราได้เข้าไปสอบถามคุณพรสวรรค์ โพธิ์สว่าง (พี่ปิ๋ม) หัวหน้างานกิจกรรมบำบัด สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ

คุณพรสวรรค์ กล่าวว่า ผู้รับบริการงานของกิจกรรมบำบัดของสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯ ส่วนใหญ่เป็นคนพิการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว ซึ่งมีเพียงจำนวนน้อยที่สามารถใช้เครื่อง SenzE ได้ เนื่องจากเครื่อง SenzE เหมาะสมต่อการใช้งานในกลุ่มผู้ป่วยที่มีการรับรู้ดี แต่บกพร่องในการช่วยเหลือตนเองทั้งด้านการเคลื่อนไหวและการสื่อสารด้วยการพูด เช่น โรค ALS (กล้ามเนื้ออ่อนแรง) หรือผู้มีภาวะ Locked-in Syndrome แต่ทั้งนี้ การใช้เครื่อง SenzE จะช่วยให้ผู้ป่วยจะสามารถกลับมาสื่อสารกับบุคคลรอบข้างได้อีกครั้งหนึ่ง ทำให้ผู้ป่วยครอบครัว และผู้ดูแลมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และยังส่งผลดีต่อต่อการรักษา ฟื้นฟู เนื่องจากผู้ป่วยจะสามารถสื่อสารกับบุคลากรทางการแพทย์ได้ดีขึ้นอย่างมาก


คุณพรสวรรค์ โพธิ์สว่าง 
(หัวหน้างานกิจกรรมบำบัด สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ) 

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

 6.5 ล้านคนต่อปี คือตัวเลขผู้เสียชีวิตด้วยโรคอัมพาตทั่วโลก 
ปี 2559 คนไทยเสียชีวิตด้วยโรคอัมพาต 25,000 คน, มีผู้ป่วยสะสมประมาณ 500,000 คน
รอบ 10 ปีที่ผ่านมา พบผู้ป่วยอัมพาตเพิ่มขึ้น 2.45 เท่า และมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง
(ข้อมูลจากขององค์การอัมพาตโลก: WSO)

ผู้ป่วยที่เป็นโรคอัมพาต และ โรคกล้ามเนื้ออ่อนแรง ส่วนใหญ่จะไม่สามารถสื่อสารได้ทั้งการพูด และเขียน ทั้งที่สมองยังรับรู้เหมือนคนปกติ ซึ่งเป็นอุปสรรคอย่างยิ่งในการดำเนินชีวิตประจำวันของผู้ป่วย ทำให้ผู้ดูแล ญาติ หรือแพทย์ ไม่สามารถเข้าใจถึงสิ่งที่ผู้ป่วยต้องการได้ ซึ่งนอกจากจะต้องทนทุกข์ ทรมานจากโรคที่เกิดขึ้นแล้ว ยังส่งผลเสียทำให้สุขภาพจิตของผู้ป่วยย่ำแย่ลงอย่างมาก

ด้วยเทคโนโลยีระบบติดตามดวงตา (Eye Controlled System) ที่ใช้งานร่วมกับซอฟท์แวร์ภาษาไทยเครื่องแรกของโลก พัฒนาด้วยเทคนิคการประมวลผลภาพ (Image Processing) โดยใช้กล้องความละเอียดสูง (HD Camera) และ Infrared Sensor ตรวจจับการเคลื่อนไหวของดวงตา ผู้ป่วยจะใช้การมองค้างในตำแหน่งที่ต้องการ 2 วินาที แทนการออกคำสั่งเสมือนการกด enter หรือคลิ๊กเมาส์ เพื่อเลือกเมนูที่ต้องการ โดยผู้ป่วยสามารถเลือกเมนูที่ต้องการจะสื่อสาร บนหน้าเมนูหลัก ได้แก่ ความรู้สึก อาการ ความต้องการ อาหาร/เครื่องดื่ม กิจกรรม และความบันเทิง นอกจากนี้ ผู้ป่วยยังสามารถพิมพ์ข้อความ บนเมนู คีย์บอร์ดสนทนา ที่รองรับถึง 17 ภาษา พร้อมระบบการแปลภาษาอัตโนมัติ อีกทั้งมีระบบช่วยเดาคำศัพท์ และระบบสนทนากับผู้ดูแล (Live Chat) แบบโต้ตอบกันได้อีกด้วย ทำให้ผู้ป่วยสามารถสื่อสารกับแพทย์ ญาติ และผู้ดูแลได้อย่างถูกต้อง ทันท่วงที และมีประสิทธิภาพ 
โครงการ “นวัตกรรมเพื่อสังคม : อุปกรณ์สื่อสารผ่านดวงตา เพื่อผู้ป่วยอัมพาต และกล้ามเนื้ออ่อนแรง” เป็นโครงการประเภท CSR ที่ต้องการผู้สนับสนุนในการบริจาคอุปกรณ์สื่อสารผ่านดวงตาสำหรับผู้ป่วยที่สื่อสารลำบากให้แก่โรงพยาบาลต่างๆ ซึ่งอุปกรณ์ SenzE จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ป่วย และบุคลากรทางการแพทย์ในรพ.เป็นอย่างยิ่ง ที่สามารถช่วยให้ผู้ป่วยอัมพาต กล้ามเนื้อ อ่อนแรง และผู้ป่วยในภาวะวิกฤติ (ICU) ที่สื่อสารลำบาก สามารถสื่อสารกับคนอื่นได้อย่างปกติ มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และมีกำลังใจที่จะมีชีวิตอยู่ต่อไปอย่างมีความหวังอีกครั้ง

ขั้นตอนการดำเนินการ

1.บริษัท เมดิเทค โซลูชั่น จำกัด จะเป็นผู้ผลิต และดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์ SenzE Version 4 ให้แก่ 2 โรงพยาบาลประกอบด้วย โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ และ สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ

2.บริษัทประสานงานกับโรงพยาบาลเข้าไปสาธิตติดตั้งและ อบรมการใช้งานอุปกรณ์แก่บุคลากรของโรงพยาบาล และผู้ป่วยอย่างใกล้ชิด และการบำรุง ดูแลรักษาแบบ Onsite Service ซึ่งรวมถึงการ Upgrade Software และ Application ใหม่ ให้แก่ทางโรงพยาบาลโดยไม่มีค่าใช้จ่าย ตลอดระยะเวลา 2 ปีของการรับประกัน

โดยจะเปิดรับบริจาค ผ่านเว็บไซต์ www.taejai.com ในรูปแบบของ Donation based Crowd funding เพื่อซื้ออุปกรณ์ SenzE จำนวน 2 ชุด มูลค่าชุดละ 180,000 บาท (ราคาปกติชุดละ 480,000 บาท)  รวมค่าธรรมเนียมเทใจ 10% (ทาง Meditech ร่วมสนับสนุน) รวมเป็นเงินทั้งสิ้น 396,000 บาท 

*เทใจเริ่มระดมทุนจัดซื้อเครื่องแรกให้กับสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติสำเร็จแล้ว ต่อไปจะจัดซื้อให้โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์*

เป้าหมายของโครงการ

สามารถส่งมอบอุปกรณ์ SenzE ให้แก่โรงพยาบาลของรัฐ จำนวน 1 แห่ง  ซึ่งควรเป็นโรงพยาบาลที่มีขนาดใหญ่ มีแพทย์เฉพาะทางด้านระบบประสาทและสมอง และมีเคสผู้ป่วยที่สื่อสารลำบาก ต้องการใช้งานจำนวนมาก ซึ่งได้แก่ โรงเรียน แพทย์ และโรงพยาบาลศูนย์ที่มีเคสผู้ป่วยเฉพาะทางด้านนี้จำนวนมาก ซึ่งในครั้งนี้จะมอบให้กับสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ จังหวัดนนทบุรี

ประโยชน์ของโครงการ

  1. เพื่อบริจาคอุปกรณ์ SenzE เวอร์ชั่น 5 : อุปกรณ์สื่อสารผ่านดวงตา สำหรับผู้ป่วยที่สื่อสารลำบาก ให้แก่โรงพยาบาลของรัฐบาล 2 แห่ง แห่งละ 1 ชุด เพื่อไปใช้ประโยชน์กับผู้ป่วยที่สื่อสารลำบาก อาทิ อัมพาต กล้ามเนื้ออ่อนแรง บาดเจ็บกระดูกสันหลัง และผู้ป่วยในภาวะวิกฤติ ให้สามารถสื่อสารกับผู้อื่นได้
  2. เพื่อช่วยให้แพทย์ พยาบาล ผู้ดูแล และนักกายภาพบำบัด สามารถสื่อสาร และวินิจฉัยอาการผู้ป่วย ได้อย่างถูกต้อง ทันท่วงที และมีประสิทธิภาพ
  3. เพื่อส่งเสริมให้คนไทย ได้สามารถใช้ประโยชน์ และเข้าถึงเทคโนโลยี และอุปกรณ์ด้านซอฟท์แวร์ทางการแพทย์ที่ทันสมัย มีประสิทธิภาพ โดยไม่ต้องพึ่งพิงการนำเข้าเทคโนโลยีราคาแพงจากต่างประเทศ

สมาชิกในทีม

นายเคนตะ มูรามัทสุ เจ้าหน้าที่ฝ่ายการตลาด บริษัท เมดิเทค โซลูชั่น จำกัด
ที่อยู่ 182 หมู่บ้านตะวันรุ่ง 7 ถ.ลาดพร้าว 64 แยก 4 แขวงวังทองหลาง เขตวังทองหลาง กรุงเทพ 10310 
โทรศัพท์ 02-933-5560 , 06-4181-4017 โทรสาร 02-933-6490
Email : kenta@meditechsolution.com URL : www.meditechsolution.com
Facebook : https://www.facebook.com/mysenze/

ภาคี

สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ



มอบ “Senze Version 5” อุปกรณ์สื่อสารผ่านดวงตาสำหรับผู้ป่วย แก่สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ

20 มีนาคม 2018

เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561 บริษัท เมดิเทค โซลูชั่น จำกัด ร่วมกับ เทใจ - TaejaiDotcom มอบ “Senze Version 5” อุปกรณ์สื่อสารผ่านดวงตาสำหรับผู้ป่วยที่สื่อสารลำบาก 1 เครื่อง มูลค่า 240,000 บาท แก่สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ โดยทางผู้อำนวยการสถาบัน เป็นผู้รับมอบ


โดยโครงการนี้ เป็นการระดมทุนบริจาค จากประชาชนทั่วประเทศ ผ่านทางเว็บไซต์ taejai.com ซึ่งถือเป็นความสำเร็จเครื่องแรก และตอนนี้ได้เปิดระดมทุนบริจาคเครื่องที่ 2 เพื่อมอบให้แก่ รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

ทางทีมงานอุปกรณ์สื่อสารผ่านดวงตาเพื่อผู้ป่วยอัมพาต ขอขอบพระคุณคนไทยที่ร่วมบริจาคทุกท่าน ทำให้แคมเปญนี้ประสบความสำเร็จด้วยดี และขอบคุณแทนผู้ป่วยทุกราย ที่จะได้ใช้เครื่องมือ SenzE ในการสื่อสาร ช่วยให้คนเหล่านั้นมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น และอยู่อย่างมีความหวังอีกครั้งหนึ่ง

และในวันที่ 9 มีนาคม 2561 ทางบริษัทได้เข้ามาฝึกสอนการใช้เครื่อง Senze ณ แผนกกิจกรรมบำบัด ประจำสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ ซึ่งได้ความสนใจจาก เจ้าหน้าที่ ประจำศูนย์เป็นจำนวนมาก


ทุกท่านยังสามารถร่วมบริจาคเงินเพื่อส่งมอบ Senze อีก 1 เครื่อง ให้กับโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย ได้ที่ https://taejai.com/th/d/meditech/


มอบอุปกรณ์สื่อสารผ่านดวงตาให้ รพ.จุฬาลงกรณ์

3 กรกฎาคม 2018

เมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2561 ภายหลังจากการระดมทุนสำเร็จผ่านทางเว็บไซต์เทใจ ทางบริษัท เมดิเทค โซลูชั่น จำกัด ดำเนินการส่งมอบ “SenzE Version 5” อุปกรณ์สื่อสารผ่านดวงตา เพื่อผู้ป่วยอัมพาต และกล้ามเนื้ออ่อนแรง เครื่องที่ 2 มูลค่า 240,000 บาท แก่โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย

โดยดำเนินการส่งมอบ ณ ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทย บริเวณศูนย์สวางคนิวาส จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งได้รับเกียรติจาก อ.พญ.ขวัญยุพา สุคนธมาน หัวหน้าฝ่ายบริการ ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทย เป็นผู้แทนรับมอบ และ นพ.ปวนนท์ ศฤงคไพบูลย์ ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทย เป็นผู้ประสานต่อนำเครื่องไปใช้ และติดตั้งให้กับนักอรรถบำบัด เพื่อใช้ประกอบการบำบัดด้านการสื่อสารแก่ผู้ป่วย ณ ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟูต่อไป 

เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2561 บริษัท เมดิเทค โซลูชั่น จำกัด ได้เข้าไปฝึกสอนการใช้เครื่อง SenzE ณ แผนกอรรถบำบัด ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทย บริเวณศูนย์สวางคนิวาส จังหวัดสมุทรปราการ ซึ่งได้ความสนใจจากแพทย์ และเจ้าหน้าที่เป็นจำนวนมาก


ภาพการสาธิต และฝึกอบรมการใช้งานเครื่อง SenzE แก่แพทย์ และทีมงานนักอรรถบำบัด ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทย

โดยได้รับเกียรติจาก อ.พญ.ขวัญยุพา สุคนธมาน หัวหน้าฝ่ายบริการ ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทย เข้าร่วมชมการสาธิต และทีมงานนักอรรถบำบัดของ นพ.ปวนนท์ ศฤงคไพบูลย์ ศูนย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู สภากาชาดไทย ซึ่งเป็นทีมงานหลักที่นำเครื่อง SenzE ไปประกอบการบำบัดด้านการสื่อสารของผู้ป่วยที่สื่อสารลำบาก


ผลการตอบรับจากการใช้เครื่องช่วยสื่อสารให้กับผู้ป่วยอัมพาต

28 พฤศจิกายน 2018

จากที่ได้มอบอุปกรณ์สื่อสารผ่านดวงตาให้กับสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข และศูนย์สวางคนิวาส สภากาชาดไทย ทั้ง 2 แห่งได้ดำเนินการทดลองใช้กับผู้ป่วยจำนวน 20 คน ทางบริษัท เมดิเทค โซลูชั่น จำกัด ได้ติดต่อสอบถามถึงผลการตอบรับการใช้งานเครื่อง SenzE กับเคสผู้ป่วย และประโยชน์ของการใช้งานเครื่องจริง

1. ศูนย์สวางคนิวาส สภากาชาดไทย

หลังจากที่ศูนย์ฯ ได้รับการบริจาคเครื่องไปเมื่อวันที่ 23 พฤษภาคม 2561เราได้เข้าไปสอบถามนพ.ปวนนท์ ศฤงคไพบูลย์ (หมอโอเค) แพทย์ผู้ปฎิบัติงาน ณ ศูนย์สวางคนิวาส สภากาชาดไทย

นพ.ปวนนท์ กล่าวว่า เครื่อง SenzE มีประโยชน์กับผู้ป่วยที่รับรู้ดี ที่ไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ พูดไม่ได้ ขยับตัวไม่ได้ ทำให้สามารถที่จะสื่อสารกับคนรอบข้างได้ ทางสวางคนิวาสเองมีกลุ่มผู้ป่วยประเภทนี้อยู่บ้าง แต่ยังถือได้ว่า ไม่มากนัก หากพบเคสที่เหมาะสมก็จะนำเอาเครื่อง SenzE มาให้ใช้ทันที เพราะผู้ป่วยเองจะได้สื่อสารกับญาติ และ เจ้าหน้าที่ของสวางคนิวาสได้ทันท่วงที ทั้งนี้ วันนี้มีเคสตัวอย่างที่คิดว่าเหมาะสมกับการฝึกใช้เครื่อง SenzE ซึ่งเป็นกรณีผู้ป่วยที่มีเนื้องอกในสมอง และได้รับการผ่าตัด ทำให้ไม่สามารถสื่อสารได้ และอยู่ในช่วงของการทำกายภาพบำบัด และกิจกรรมบำบัด ทางศูนย์ฯ จึงได้นำผู้ป่วยมาฝึกใช้เครื่อง SenzE เพื่อช่วยในการสื่อสาร

หมอโอเค ยังกล่าวอีกว่า กรณีของการใช้งานเครื่อง SenzE นี้ หากพบเคสที่เหมาะสมจะเป็นประโยชน์กับผู้ป่วยค่อนข้างมาก และจะทำให้ผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น  




ภาพนพ.ปวนนท์ ศฤงคไพบูลย์ กับการฝึกใช้งานเครื่อง SenzE กับเคสผู้ป่วยเนื้องอกในสมอง

2. หน่วยงานกิจกรรมบำบัด สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข

หลังจากที่ทางสถาบันฯ ได้รับการบริจาคเครื่องไปเมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2561 เมื่อวันที่ 20 พฤศจิกายน ที่ผ่านมา เราได้เข้าไปสอบถามคุณพรสวรรค์ โพธิ์สว่าง (พี่ปิ๋ม) หัวหน้างานกิจกรรมบำบัด สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ

คุณพรสวรรค์ กล่าวว่า ผู้รับบริการงานของกิจกรรมบำบัดของสถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูฯ ส่วนใหญ่เป็นคนพิการทางร่างกายและการเคลื่อนไหว ซึ่งมีเพียงจำนวนน้อยที่สามารถใช้เครื่อง SenzE ได้ เนื่องจากเครื่อง SenzE เหมาะสมต่อการใช้งานในกลุ่มผู้ป่วยที่มีการรับรู้ดี แต่บกพร่องในการช่วยเหลือตนเองทั้งด้านการเคลื่อนไหวและการสื่อสารด้วยการพูด เช่น โรค ALS (กล้ามเนื้ออ่อนแรง) หรือผู้มีภาวะ Locked-in Syndrome แต่ทั้งนี้ การใช้เครื่อง SenzE จะช่วยให้ผู้ป่วยจะสามารถกลับมาสื่อสารกับบุคคลรอบข้างได้อีกครั้งหนึ่ง ทำให้ผู้ป่วยครอบครัว และผู้ดูแลมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างเห็นได้ชัด และยังส่งผลดีต่อต่อการรักษา ฟื้นฟู เนื่องจากผู้ป่วยจะสามารถสื่อสารกับบุคลากรทางการแพทย์ได้ดีขึ้นอย่างมาก


คุณพรสวรรค์ โพธิ์สว่าง 
(หัวหน้างานกิจกรรมบำบัด สถาบันสิรินธรเพื่อการฟื้นฟูสมรรถภาพทางการแพทย์แห่งชาติ) 

แผนการใช้เงิน


รายการ

ราคาจำนวนรวมเป็นเงิน (บาท)
1.อุปกรณ์สื่อสารผ่านดวงตา180,0002360,000
2.ค่าธรรมเนียมเทใจ 10%

36,000

รวมเป็นเงิน

*เทใจเริ่มระดมทุน 1 โรงพยาบาลก่อน หากสำเร็จจะระดมทุนให้อีกโรงพยาบาลต่อไป*



396,000