project ผู้พิการและผู้ป่วย

เย็บ ลด กดทับ-ที่นอนป้องกันแผลกดทับเพื่อผู้ป่วยติดเตียงบนดอย

มูลนิธิกระจกเงาเชียงราย มีแนวคิดที่จะพัฒนาและประยุกต์ที่นอนป้องกันแผลกดทับให้กับผู้ป่วยติดเตียงให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพพื้นที่และตอบโจทย์การใช้งานจริงที่สุด จึงได้จัดทำโครงการ “เย็บ ลด กดทับ” เพื่อประดิษฐ์ที่นอนป้องกันแผลกดทับส่งต่อให้กับผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่ตำบลแม่ยาวจำนวน 400 ผืน

ระยะเวลาโครงการ 01 ม.ค. 2566 ถึง 01 มิ.ย. 2566 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: จังหวัดเชียงราย

ยอดบริจาคขณะนี้

28,311 บาท

เป้าหมาย

396,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 7%
64 วัน จำนวนผู้บริจาค 59

มูลนิธิกระจกเงาเชียงราย มีแนวคิดที่จะพัฒนาและประยุกต์ที่นอนป้องกันแผลกดทับให้กับผู้ป่วยติดเตียงให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพพื้นที่และตอบโจทย์การใช้งานจริงที่สุด จึงได้จัดทำโครงการ “เย็บ ลด กดทับ” เพื่อประดิษฐ์ที่นอนป้องกันแผลกดทับส่งต่อให้กับผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่ตำบลแม่ยาวจำนวน 400 ผืน

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

มูลนิธิกระจกเงาเชียงราย มีแนวคิดที่จะพัฒนาและประยุกต์ที่นอนป้องกันแผลกดทับให้กับผู้ป่วยติดเตียงให้เหมาะสมสอดคล้องกับสภาพพื้นที่และตอบโจทย์การใช้งานจริงที่สุด จึงได้จัดทำโครงการ “เย็บ ลด กดทับ” เพื่อประดิษฐ์ที่นอนป้องกันแผลกดทับส่งต่อให้กับผู้ป่วยติดเตียงในพื้นที่ตำบลแม่ยาวจำนวน 400ผืน

พื้นที่ตำบลแม่ยาว อำเภอเมืองจังหวัดเชียงราย มีจำนวนหมู่บ้าน 18 หมู่บ้าน 38 บ้านบริวาร ประชากรราว 9,353 ครัวเรือน ซึ่งส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ และในทุกครัวเรือนมีผู้สูงอายุอาศัยร่วมอยู่ด้วย จากการสำรวจของมูลนิธิกระจกเงาเชียงรายพบว่าผู้สูงอายุในหลายครัวเรือนป่วยติดเตียง ซ้ำผู้ดูแลผู้ป่วยติดเตียงก็เป็นผู้สูงอายุที่ขาดความเข้าใจในการบริบาลผู้ป่วย 

นอกจากนี้การพาผู้ป่วยเข้ารับการรักษาและการใช้บริการสาธารณสุขเป็นสิ่งที่ยาก เพราะพื้นที่ตำบลแม่ยาวเป็นพื้นที่ภูเขาสูงสลับพื้นที่ราบและตั้งอยู่สองฝั่งแม่น้ำกก ทำให้การคมนาคมยากลำบาก บางครอบครัวลูกหลานต้องออกจากงานเพื่อดูแลผู้ป่วยติดเตียง ทำให้ขาดรายได้ ไม่มีทุนทรัพย์ในการจัดซื้ออุปกรณ์สำหรับผู้ป่วยติดเตียง เพราะอุปกรณ์การแพทย์ราคาสูงและบางอย่างไม่ตอบโจทย์การใช้งานจริง

ด้วยสถานการณ์ดังกล่าวจึงเป็นที่มาของโครงการ “เย็บ ลด กดทับ” เพื่อประดิษฐ์ที่นอนป้องกันแผลกดทับส่งต่อให้กับผู้ป่วยติดเตียง โดยให้ชาวบ้านมาช่วยกันพัฒนาและประยุกต์ที่นอนป้องกันแผลกดทับทำให้ผู้จำนวน 400 ผืน เฉลี่ยต้นทุนผืนละ 900 บาท 

ข้อดีของที่นอนแผลกดทับนี้

1.ทำจากผ้า ทำให้ระบายลมได้ดี 

2.ที่นอนป้องกันแผลกดทับ ด้านในทำจากถุงยางอนามัยใส่น้ำ แทนการเป่าลมที่ต้องใช้ไฟฟ้าตลอด ทำให้ลดค่าใช้จ่ายของครัวเรือนที่กำลังทรัพย์น้อย

3.การซ่อมบำรุงสามารถทำได้เอง

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1. จัดอบรบและสาธิตวิธีการเย็บที่นอนป้องกันแผลกดทับให้กับจิตอาสาจำนวน 20คน ที่มีทักษะด้านการเย็บ เพื่อนำผ้าไปเย็บขึ้นรูปที่นอน

2. จัดกิจกรรมอบรมให้องค์ความรู้ในการบริบาลลดูแลผู้ป่วยติดเตียงให้กับอาสาสมัครชุมชนและญาติผู้ดูแลผู้ป่วย และร่วมกันทำที่นอนฯ ด้วยถุงยางอนามัย

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

1.ผู้ป่วยติดเตียงมีที่นอนป้องกันแผลกดทับที่สามารถใช้งานได้จริงเหมาะสมกับสภาพพื้นที่ ลดภาวะการเกิดแผลกดทับ

2. องค์กรท้องถิ่น อาสาสมัครชุมชนและญาติผู้ป่วย มีการรวมกลุ่ม/หนุนเสริมอย่างมีส่วนร่วมในการช่วยเหลือบริบาลผู้ป่วยติดเตียงในชุมชนของตน

3.อาสาสมัครชุมชน/ญาติผู้ดูแลผู้ป่วยมีองค์ความรู้ในการดูแลบริบาลผู้ป่วยอย่างถูกวิธิและเข้าใจ

ผู้รับผิดชอบโครงการ

นางสาววิมรรุ่ง บุพศิริ (หัวหน้าฝ่ายงาน ป่วยให้ยืม@ติดดอย)


ไม่มีข้อมูล

แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ผลิตที่นอนป้องกันแผลกดทับ ต้นทุนการผลิตผืนละ 900 บาท 400ผืน 360,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
360,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
36,000.00

ยอดระดมทุน
396,000.00

บริจาคให้
เย็บ ลด กดทับ-ที่นอนป้องกันแผลกดทับเพื่อผู้ป่วยติดเตียงบนดอย

จำนวนเงิน
ช่องทางการชำระเงิน

ชำระผ่านการ สแกน/อัพโหลด QR code ด้วย mobile banking application ของ ธนาคารไทยพานิชย์ ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรี ธนาคารกสิกร ธนาคารออมสิน

คุณจะได้ QR code หลังจากยืนยันการบริจาค

ใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษี

การบริจาคด้วย QR Code ชื่อ- นามสกลุ บนใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษีจะเป็นชื่อเจ้าของบัญชี Mobile banking
ระบุเพื่อใช้สำหรับส่งอีเมลยืนยันการบริจาค
ระบุเพื่อใช้สำหรับส่งอีเมลยืนยันการบริจาค

สำเนาใบเสร็จจะส่งไปทางอีเมลของคุณ หลังจากการบริจาคสำเร็จแล้ว


ข้อมูลบัตรจะถูกดำเนินการอย่างปลอดภัยด้วยผู้ให้บริการที่ผ่านมาตรฐาน PCI-DSS Compliant Omise logo

ชวนเพื่อนมาบริจาคผ่าน