เงินบริจาคของคุณจะจัดซื้ออุปกรณ์ป้องกันไฟป่าให้กับอุทยานแห่งชาติแม่ปิง1พื้นที่
ชมรมผู้รับพระราชทานทุน มูลนิธิอานันทมหิดลได้ดำเนินงานศึกษาและวิจัยตาม “โครงการศึกษาและวิจัยฝุ่น PM 2.5” ภายใต้กรอบแนวคิด “บ้านก้อแซนด์บ๊อกซ์” เพื่อแก้ปัญหาไฟป่าด้วยการยกระดับคุณภาพชีวิตและปากท้องของชาวบ้าน ร่วมกับทางสำนักงานจังหวัดลำพูน กรมอุทยานฯ กรมพัฒนาที่ดิน กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ฯลฯ นับแต่ปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา โดยมีการพัฒนาด้านระบบสาธารนูปโภคและการบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้ดีขึ้นเป็นลำดับ อย่างไรก็ตามหน้าที่ในการควบคุมและป้องกันไฟป่านั้นจะถูกถ่ายโอนไปยังเทศบาลตำบลและหน่วยงานการปกครองส่วนท้องถิ่น แต่ก็ยังขาดความรู้และอุปกรณ์ที่จำเป็น ชมรมฯ ประสงค์ที่จะระดมเงินทุนเพื่อจัดหาอุปกรณ์ที่มีความจำเป็น ให้เพียงพอในฤดูกาลไฟป่าที่จะมาถึงนี้ สำหรับป้องกันและควบคุมไฟป่าให้กับอุทยานแห่งชาติแม่ปิงและเทศบาลตำบลก้อ
อุทยานแห่งชาติแม่ปิงมีพื้นที่ 627,346 ไร่ ส่วนใหญ่เป็นป่าเต็งรังบนพื้นที่สูงชันชายฝั่งแม่น้ำปิง ซึ่งจัดเป็นส่วนหนึ่งของอ่างเก็บน้ำเขื่อนภูมิพล การสำรวจเก็บข้อมูลด้วยดาวเทียมพบว่าพื้นที่ของอุทยานฯ ประสบกับปัญหาไฟป่า 15-20 ครั้งตลอดระยะเวลา 23 ปีที่ผ่านมา ถือได้ว่าเป็นอุทยานที่ประสบกับปัญหาไฟป่ารุนแรงที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย ในปี 2564 นี้อุทยานแห่งชาติแม่ปิงเกิดไฟป่าเผาผลาญคิดเป็นพื้นที่กว่า 131,250 ไร่ (ระหว่างวันที่ 9 กุมภาพันธ์ – 10 มีนาคม พ.ศ. 2564)
ภาพแสดงบาดแผลที่เกิดจากการเผาไหม้ของไฟป่าในอุทยานแห่งชาติแม่ปิง หากรวมเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าอมก๋อยและเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าแม่ตื้น พบว่ามีรอยแผลเผาไหม้เฉลี่ยตลอด 10 ปี ถึง 580,872 ไร่
พื้นที่บริเวณใจกลางอุทยานแม่ปิงนั้น เป็นที่อยู่อาศัยของชุมชนบ้านก้อ อ.ลี้ จ.ลำพูน ซึ่งเป็นหมู่บ้านที่มีจำนวนประชากร 2,300 คน ชุมชนบ้านก้อประสบปัญหาภัยแล้งจนไม่สามารถเพาะปลูกพืชได้ยกเว้นเพียงข้าวโพดเพื่อการเลี้ยงสัตว์ เมื่อไม่สามารถทำการเกษตรได้ ชาวบ้านส่วนหนึ่งจำเป็นต้องเข้าป่าเพื่อหาของป่ามาสร้างรายได้ และเป็นสาเหตุหนึ่งของไฟป่าในพื้นที่
ชมรมผู้รับพระราชทานทุน มูลนิธิอานันทมหิดลได้เข้าพื้นที่เพื่อสำรวจและศึกษา ภายใต้กรอบแนวคิด “บ้านก้อแซนด์บ๊อกซ์” ร่วมกับทางสำนักงานจังหวัดลำพูน หน่วยราชการที่เกี่ยวข้อง กรมอุทยานฯ กรมพัฒนาที่ดิน กรมทรัพยากรน้ำบาดาล ฯลฯ เพื่อแก้ปัญหาไฟป่าด้วยการยกระดับคุณภาพชีวิตและปากท้องของชุมชน นับแต่ปี พ.ศ. 2562 เป็นต้นมา โดยมีการพัฒนาด้านระบบสาธารนูปโภคและบริหารจัดการทรัพยากรน้ำให้ดีขึ้นตามลำดับ อย่างไรก็ดีหน้าที่ในการควบคุมและป้องกันไฟป่านั้น จะถูกโอนถ่ายไปยังเทศบาลตำบลและหน่วยงานการปกครองส่วนท้องถิ่น ซึ่งยังคงขาดความรู้ในทางวิชาการ และอุปกรณ์ที่มีความจำเป็นอีกเป็นจำนวนมาก
ชมรมฯ ประสงค์ที่จะระดมเงินทุนเพื่อจัดหาอุปกรณ์ที่มีความจำเป็น ให้เพียงพอในฤดูกาลไฟป่าที่จะมาถึงนี้ สำหรับป้องกันและควบคุมไฟป่าให้กับอุทยานแห่งชาติแม่ปิงและเทศบาลตำบลก้อดังต่อไปนี้ 1.เครืองเป่าลม (Hand Held Leaf Blower) 20 เครื่อง ๆ ละ 5,000 บาท เป็นเงินจำนวน 100,000 บาท 2.หน้ากากป้องกันฝุ่น PM2.5 100 ชุด ชุดละ 150 บาท เป็นเงิน 15,000 บาท 3.หน้ากากป้องกันฝุ่น PM2.5 ชนิดอัดอากาศ (Compressed Air Breathing Apparatus (CABA) 10 ชุด ชุดละ 3,500 บาท เป็นเงิน 35,000 บาท 4.ป้ายประชาสัมพันธ์ “เลิกเผาป่า” เป็นคัดเอาท์ถาวรขนาดใหญ่บนทางหลวงหมายเลข 1087 เข้าหมู่บ้านก้อ และป้ายขนาดเล็กข้างทางหลวงและตามทางเดินในป่า รณรงค์ให้เกิดความตระหนักให้เลิกเผาป่า จำนวน 100 ป้าย เป็นเงิน 100,000 บาท เงินบริจาคทั้งหมดจากท่านผู้เล็งเห็นประโยชน์และมีจิตเป็นกุศลในการทำโครงการนี้ จะถูกโอนไปยังบัญชีธนาคารที่เปิดร่วมกันระหว่างอุทยานแห่งชาติแม่ปิงและเทศบาลตำบลก้อ
จัดซื้ออุปกรณ์ป้องกันไฟป่า ภายใต้กิจกรรม “บ้านก้อแซนด์บ๊อกซ์” สนับสนุนอุทยานแห่งชาติแม่ปิงและเทศบาลตำบลก้อ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน
รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|
เครื่องเป่าลม (Hand Held Leaf Blower) ยี่ห้อ KASEI ขนาด 2 แรงม้า รุ่น EB-500E เครื่องละ 5,000 บาท รวมค่าจัดส่งสินค้าเข้าอุทยานแห่งชาติ อำเภอลี้ จังหวัดลำพูน | 20เครื่อง | 100,000.00 |
หน้ากากป้องกันฝุ่น PM2.5 และละอองสารพิษแบบไส้กรองคู่ YAMADA รุ่น 522 ซึ่งราคาที่ประเมินรวมแผ่นกรอง (Melt blown cotton filter) ที่ต้องเปลี่ยนหลังทำงานควบคุมไฟป่าเนื่องจากอุดตัน ประเมินรวมชุดละ 150 บาท | 100ชุด | 15,000.00 |
หน้ากากป้องกันฝุ่น PM2.5 ชนิดอัดอากาศ (Portable Electric Air Exchange Respirator) https://th.aliexpress.com/item/1005002638107649.html?spm=a2g0o.detail.1000023.5.43f7266a5vp7dW ชุดละ 3,500บาท | 10ชุด | 35,000.00 |
ป้ายประชาสัมพันธ์ “เลิกเผาป่า” เป็นป้ายอลูมิเนียมติดสติ๊กเกอร์ขาวสะท้อนแสง ขนาด 30x45 เซนติเมตร บนทางหลวงและตามทางเดินในป่า (ทุกๆ 1 กิโลเมตร) เพื่อรณรงค์ให้เกิดความตระหนักรู้ เนื่องจากขาดการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึงภายในชุมชนและหมู่บ้าน ทำให้สมาชิกในหมู่บ้านขาดความเข้าใจและยังเผาป่าเพื่ออำนวยความสะดวกในการเข้าไปเก็บเห็ดและหาของป่า รวมค่าติดตั้ง | 100ป้าย | 35,000.00 |
ป้ายประชาสัมพันธ์แบบคัทเอาท์ขนาด 300x450 เซนติเมตร เพื่อใช้ประชาสัมพันธ์และชี้แจงให้ชุมชนรับทราบถึงการทำงานของเจ้าหน้าที่อุทยานและเทศบาลตำบลในการแก้ปัญหาไฟป่า รวมค่าติดตั้ง | 3ป้าย | 65,000.00 |
รวมเป็นเงินทั้งหมด | 250,000.00 | |
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%) | 25,000.00 |
ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้
สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้