สร้างโค้ชสอนเด็กให้เอาชีวิตรอดจากน้ำ

ชวนสร้างโค้ชสอนเด็กให้เอาชีวิตรอดจากน้ำในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยสอนเทคนิคการช่วยชีวิตเด็กที่จมน้ำและการทำ CPR ที่ถูกต้อง แก่โค้ช 70 คน
ระยะเวลาโครงการ 1 ปี พื้นที่ดำเนินโครงการ ยะลา ปัตตานี นราธิวาส
ยอดบริจาคขณะนี้
151,100 บาทเป้าหมาย
150,000 บาทสำเร็จแล้ว
ความคืบหน้าโครงการ
ไลฟ์โค้ช : ต้องรอด
สร้างโค้ชสอนว่ายน้ำให้เอาชีวิตรอด ช่วยชีวิตคนจมน้ำ และการกู้ชีพฉุกเฉิน
สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้จึงได้ร่วมกับ กลุ่มเทใจ จัดโครงการ พัฒนาครูผู้สอน เรื่องการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด และการกู้ชีพกู้ภัยเบื้องต้น โดยโครงการในระยะแรกมีเป้าหมาย สร้างวิทยากรแกนนำจำนวน 20 คน เพื่อให้วิทยากรแกนนำเหล่านี้ จะนำความรู้ที่ได้ไปขยายผลต่อให้กับคุณครู จาก 36 โรงเรียน ซึ่งเป็นครูแกนนำ จากโครงการลดความเสี่ยงภัยพิบัติรุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ซึ่งกระจายพื้นที่ครอบคลุมทุกจังหวัด เพื่อให้คุณครูแกนนำ นำความรู้ที่ได้ไปขยายผลต่อกับเด็กนักเรียนในแต่ละโรงเรียนเป็นลำดับต่อไป นอกจากนี้ในระยะยาว สมาคมมีความคาดหวัง ที่จะขยายผล โครงการลดความเสี่ยงภัยพิบัติ รวมทั้งโครงการเรื่องการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการกู้ชีพกู้ภัยฉุกเฉิน ให้ครอบคลุมทุกโรงเรียน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป
กำหนดการวันที่ 25-27 พ.ค. 2561
วันที่ 25 พ.ค61
8.00-8.30 น. เปิดตัวโครงการไลฟ์โค้ชต้องรอด
8.30-12.00 น. เรียนว่ายน้ำเอาชีวิตรอด โดย สมาคมเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำ
12.00 – 13.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.30 – 16.30 น. การช่วยชีวิตคนจมน้ำ : การกู้ชีพฉุกเฉิน และ การทำ CPR
วันที่ 26 พ.ค. 61
8.00-12.00 น. เรียนว่ายน้ำเอาชีวิตรอด โดย สมาคมเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำ
12.00 – 13.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.30 – 16.30 น. การช่วยชีวิตคนจมน้ำ : ทักษะการเป็นครูวิทยากร
วันที่ 27 พ.ค. 61
8.00-12.00 น. เรียนว่ายน้ำเอาชีวิตรอด โดย สมาคมเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำ
12.00 – 13.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.30 – 15.00 น. มอบใบประกาศนียบัตรจากโครงการ และปิดโครงการ
กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมดังนี้
1. ครูและเยาวชนแกนนำจำนวน 20 คน
2. เด็กและเยาวชนในพื้นที่จำนวน 10 คน
3. วิทยากรการฝึกอบรมจากสมาคมเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำ จำนวน 4 คน
4. วิทยากรการฝึกอบรมเรื่องการกู้ชีพฉุกเฉิน จำนวน 4 คน
ผลที่เกิดขึ้น
1. เด็กและเยาวชนซึ่งว่ายน้ำไม่เป็นสามารถว่ายน้ำได้และมีทักษะในการเอาชีวิตรอดจากภัยน้ำจำนวน 18 คน คิดเป็น 100%
2. ครูและวิทยากรแกนนำผ่านการทดสอบระดับ 1 จำนวนทั้งสิ้น 10 คน คิดเป็น 56 %
3. ครูและวิทยากรแกนนำผ่านการทดสอบระดับ 2 จำนวนทั้งสิ้น 8 คน คิดเป็น 44 %
4. ครูแกนนำมีความรู้เรื่องการว่ายน้ำเอาชีวิตรอด การช่วยชีวิตทางน้ำ การกู้ชีพฉุกเฉิน และมีทักษะที่จะสามารถนำไปถ่ายทอดต่อได้
อ่านต่อ »ทำไมเด็กต้องมีทักษะเอาชีวิตรอดจากการจมน้ำ?
เด็กๆใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ มีจำนวนของเด็กอายุ 0 – 18 ปี มากกว่า 660,000 คน คิดเป็นสัดส่วนประชากร 33% ซึ่งถือได้ว่ามีสัดส่วนประชากรซึ่งเป็นเด็กมากกว่าพื้นที่อื่น ๆ ของประเทศเด็กเหล่านี้จะต้องเข้าใกล้พื้นที่ที่มีน้ำท่วม หรือเล่นในบริเวณที่มีน้ำท่วมแต่ละปีมีเด็กๆ ต้องเสียชีวิตจากเหตุการณ์น้ำท่วม ไม่มากก็น้อย ในปีล่าสุด จังหวัดปัตตานีและจังหวัดยะลามีเด็กเสียชีวิตจากน้ำท่วมในพื้นที่จำนวนจังหวัดละ 1 คน ทั้งนี้ยังไม่นับรวมเด็ก ๆ ที่เผชิญกับเหตุการณ์จมน้ำทั้งจมน้ำเอง และอยู่ในเหตุการณ์ที่เพื่อนจมน้ำ นอกจากนี้ เมื่อต้นเดือนเมษายนที่ผ่านมา
จากสถิติดังกล่าวรวมทั้งสถานการณ์น้ำท่วมซึ่งเผชิญอยู่ทุกๆปี จึงเป็นเหตุสำคัญที่สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้หรือกลุ่มลูกเลี้ยงร่วมกับ Save The Children ได้จัดโครงการลดความเสี่ยงภัยพิบัติโดยมีเป้าหมายสำคัญที่จะสร้างความอยู่รอดปลอดภัยให้กับเด็กๆใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ จากเหตุการณ์ภัยพิบัติต่างๆโดยโครงการ ดำเนินการตามเสาหลัก 3 ด้านของกรอบโรงเรียนปลอดภัยกล่าวคือ 1 ด้านกายภาพ 2 ด้านการเตรียมความพร้อมอาทิเช่นการจัดทำแผนเผชิญเหตุและการซ้อมแผนเผชิญเหตุและ 3 ด้านการให้ความรู้กับเด็กและเยาวชนในพื้นที่ เพื่อให้เด็กๆ มีความพร้อมในการเผชิญกับสถานการณ์ฉุกเฉินต่างๆ ซึ่งโครงการ ดำเนินการมาแล้วเป็นเวลา 2 ปี ในพื้นที่ 36 โรงเรียน ครอบคลุมทั้งจังหวัดยะลาปัตตานีและนราธิวาส และจะการถอดบทเรียนการทำงาน รวมทั้งจากข้อมูลทางสถิติ โครงการจึงเห็นความสำคัญของการสอนให้เด็กและเยาวชน มีทักษะเชิงลึก ในการว่ายน้ำเอาชีวิตรอด การช่วยเหลือเพื่อนเมื่อจมน้ำ และการกู้ชีพฉุกเฉิน
สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้จึงได้ร่วมกับ สมาคมเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำ ครูพายุ ครูสอนว่ายน้ำ ปลุกพลังเปลี่ยนไทย เทใจดอทคอม จัดโครงการ พัฒนาครูผู้สอน เรื่องการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด และการกู้ชีพกู้ภัยเบื้องต้นโดยโครงการในระยะแรกมีเป้าหมาย สร้างวิทยากรแกนนำจำนวน 70 คนในประเด็นดังกล่าว
และเพื่อให้โครงการขยายไปครอบคลุม เราจึงต้องการสระว่ายน้ำเคลื่อนที่เพื่อให้วิทยากรแกนนำเหล่านี้ จะนำความรู้ที่ได้ไปขยายผลต่อให้กับคุณครู จาก 36 โรงเรียน ซึ่งเป็นครูแกนนำ จากโครงการลดความเสี่ยงภัยพิบัติรุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 และเด็กว่า 2400 คน ซึ่งกระจายพื้นที่ครอบคลุมทุกจังหวัด เพื่อให้คุณครูแกนนำ นำความรู้ที่ได้ไปขยายผลต่อกับเด็กนักเรียนในแต่ละโรงเรียนเป็นลำดับต่อไป นอกจากนี้ในระยะยาว สมาคมมีความคาดหวัง ที่จะขยายผล โครงการลดความเสี่ยงภัยพิบัติ รวมทั้งโครงการเรื่องการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการกู้ชีพกู้ภัยฉุกเฉิน ให้ครอบคลุมทุกโรงเรียน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป
วัตถุประสงค์ของโครงการ
- เพื่อพัฒนาให้เกิดครูแกนนำในเรื่องการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด, ทักษะการว่ายน้ำช่วยชีวิต การช่วยเหลือคนจมน้ำ และการกู้ชีพฉุกเฉินในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้เอง ซึ่งครูเหล่านี้จะเป็นนักสื่อสารสาธารณะที่ทำให้ทุกคนมีความเข้าใจและเห็นความสำคัญต่อการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด
- กระตุ้นให้เกิดการสื่อสารเรื่องทักษะการเอาชีวิตรอดนั่นเป็นสิ่งสำคัญของ เด็กใน 3 จังหวัดชายแดนที่ควรมีทุกคน
- พัฒนาสื่อเพื่อให้ครูแกนนำนำวีดีโอดังกล่าวไปใช้สอนหรือเผยแผร่ให้กับผู้ปกครอง โรงเรียนและหัวหน้าชุมชมเห็นความสำคัญของทักษะดังกล่าว ผ่านทาง social media ของโครงการ
กลุ่มเป้าหมาย
- ครูและเยาวชนแกนนำจำนวน 70 คน
- ครูและนักเรียนในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ 36 โรงเรียนและเด็ก 2,000 คน
ผลที่คาดว่าจะได้รับระยะสั้น
- เกิดครูแกนนำจำนวน 70 คน
- เด็กและเยาวชนมีทักษะในการเอาชีวิตรอดจากภัยน้ำจำนวน 2400 คน
- ครูแกนนำมีความรู้เรื่องการว่ายน้ำเอาชีวิตรอด การช่วยชีวิตทางน้ำ การกู้ชีพฉุกเฉิน และมีทักษะที่จะสามารถนำไปถ่ายทอดต่อได้
- ปัญหาเด็กจมน้ำได้รับการสื่อสารทำให้สังคมตระหนักถึงความสำคัญของสุขภาวะทางกายดังกล่าว
องค์กรภาคี
- สมาคมเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำ (TLSS)
- ชมรมไลฟ์การ์ด ภูเก็ต (PSLST)
- ครูพายุ สวิม
- ห้องหุ้นสุข
- เทใจดอทคอม
- Save The Children
- สำนักงานกองทุนสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.)
- โครงการปลุกพลังเปลี่ยนไทย
- สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้ (กลุ่มลูกเหรียง)
ไลฟ์โค้ช : ต้องรอด
สร้างโค้ชสอนว่ายน้ำให้เอาชีวิตรอด ช่วยชีวิตคนจมน้ำ และการกู้ชีพฉุกเฉิน
สมาคมเด็กและเยาวชนเพื่อสันติภาพชายแดนใต้จึงได้ร่วมกับ กลุ่มเทใจ จัดโครงการ พัฒนาครูผู้สอน เรื่องการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด และการกู้ชีพกู้ภัยเบื้องต้น โดยโครงการในระยะแรกมีเป้าหมาย สร้างวิทยากรแกนนำจำนวน 20 คน เพื่อให้วิทยากรแกนนำเหล่านี้ จะนำความรู้ที่ได้ไปขยายผลต่อให้กับคุณครู จาก 36 โรงเรียน ซึ่งเป็นครูแกนนำ จากโครงการลดความเสี่ยงภัยพิบัติรุ่นที่ 1 และรุ่นที่ 2 ซึ่งกระจายพื้นที่ครอบคลุมทุกจังหวัด เพื่อให้คุณครูแกนนำ นำความรู้ที่ได้ไปขยายผลต่อกับเด็กนักเรียนในแต่ละโรงเรียนเป็นลำดับต่อไป นอกจากนี้ในระยะยาว สมาคมมีความคาดหวัง ที่จะขยายผล โครงการลดความเสี่ยงภัยพิบัติ รวมทั้งโครงการเรื่องการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดและการกู้ชีพกู้ภัยฉุกเฉิน ให้ครอบคลุมทุกโรงเรียน ในจังหวัดชายแดนภาคใต้ต่อไป
กำหนดการวันที่ 25-27 พ.ค. 2561
วันที่ 25 พ.ค61
8.00-8.30 น. เปิดตัวโครงการไลฟ์โค้ชต้องรอด
8.30-12.00 น. เรียนว่ายน้ำเอาชีวิตรอด โดย สมาคมเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำ
12.00 – 13.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.30 – 16.30 น. การช่วยชีวิตคนจมน้ำ : การกู้ชีพฉุกเฉิน และ การทำ CPR
วันที่ 26 พ.ค. 61
8.00-12.00 น. เรียนว่ายน้ำเอาชีวิตรอด โดย สมาคมเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำ
12.00 – 13.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.30 – 16.30 น. การช่วยชีวิตคนจมน้ำ : ทักษะการเป็นครูวิทยากร
วันที่ 27 พ.ค. 61
8.00-12.00 น. เรียนว่ายน้ำเอาชีวิตรอด โดย สมาคมเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำ
12.00 – 13.30 น. พักรับประทานอาหารกลางวัน
13.30 – 15.00 น. มอบใบประกาศนียบัตรจากโครงการ และปิดโครงการ
กลุ่มเป้าหมายเข้าร่วมดังนี้
1. ครูและเยาวชนแกนนำจำนวน 20 คน
2. เด็กและเยาวชนในพื้นที่จำนวน 10 คน
3. วิทยากรการฝึกอบรมจากสมาคมเพื่อช่วยชีวิตทางน้ำ จำนวน 4 คน
4. วิทยากรการฝึกอบรมเรื่องการกู้ชีพฉุกเฉิน จำนวน 4 คน
ผลที่เกิดขึ้น
1. เด็กและเยาวชนซึ่งว่ายน้ำไม่เป็นสามารถว่ายน้ำได้และมีทักษะในการเอาชีวิตรอดจากภัยน้ำจำนวน 18 คน คิดเป็น 100%
2. ครูและวิทยากรแกนนำผ่านการทดสอบระดับ 1 จำนวนทั้งสิ้น 10 คน คิดเป็น 56 %
3. ครูและวิทยากรแกนนำผ่านการทดสอบระดับ 2 จำนวนทั้งสิ้น 8 คน คิดเป็น 44 %
4. ครูแกนนำมีความรู้เรื่องการว่ายน้ำเอาชีวิตรอด การช่วยชีวิตทางน้ำ การกู้ชีพฉุกเฉิน และมีทักษะที่จะสามารถนำไปถ่ายทอดต่อได้
แผนการใช้เงิน
รายการ | บาท |
1.ค่าเดินทางวิทยากร (กทม.) 4 คน x 5,000 บาท | 20,000 |
2.ค่าเดินทางวิทยากร (ภูเก็ต) 4 คน x 3,000 บาท | 12,000 |
3.ค่าที่พักวิทยากร 4 ห้อง 4 คืน x 650 บาท | 10,400 |
4.ช่วยเหลือค่าเดินทางผู้เข้าร่วม 70 คน x 300 บาท | 21,000 |
5.ค่าอาหารและอาหารว่างผู้เข้าร่วม วิทยากรและทีมงาน 80 คน x 4 วัน x 175 บาท | 64,000 |
6.ค่าผลิตไวนิลโครงการ | 1,500 |
7.ค่าใช้บริการสระว่ายน้ำ | 6,000 |
8.ค่าบริหารจัดการ | 15,100 |
หมายเหตุ ผู้เข้าร่วมประกอบด้วย ลูกเหรียง 24, ทหาร 10, ครู รร DRR 36 = รวม 70 คน | 150,000 |