project ผู้พิการและผู้ป่วย

โครงการเด็กพิการเรียนไหนดี

ระดมทุนจัดงานมหกรรมการศึกษาสำหรับเด็กพิการเพื่อที่จะแนะแนวการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา เพราะการศึกษาไม่ควารถูกปิดกั้นด้วยความพิการ

ระยะเวลาโครงการ 31 ต.ค. 2565 ถึง 07 พ.ย. 2565 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: แขวงทุ่งพญาไท เขตราชเทวี จังหวัดกรุงเทพมหานคร (สยามพารากอน)

ยอดบริจาคขณะนี้

66,178 บาท

เป้าหมาย

932,800 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 7%
จำนวนผู้บริจาค 89

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

งานมหกรรมแนะแนวการศึกษาคนพิการ เด็กพิการเรียนไหนดี 66

2 มีนาคม 2023

งานมหกรรมแนะแนวการศึกษาคนพิการ เด็กพิการเรียนไหนดี 66 กรุงเทพฯ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2565 ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน

โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ กระทรวงการอุดมศึกษา, สสส., รุ่นพี่พิการ, นักเรียนระดับชั้นม.ปลาย, ปวช. ครู รร.พิการ และนักเรียนผู้ปกครองนักเรียนพิการที่สนใจ ล่ามภาษามือ และอาสาสมัครที่ทางโครงการรับสมัคร เพื่อมาร่วมพัฒนางานด้านการศึกษาคนพิการร่วมกัน รวมประมาณ 550 คน

หน่วยงานที่มาร่วมออกบูธ จำนวน 22 บูธ ได้แก่ มหาวิทยาลัย หน่วยงานภาคีเครือข่าย ร้านกาแฟที่มาโชว์เคสการชงกาแฟของคนพิการ ได้แก่ อาสาสมัครกิจกรรมเวิร์คช้อป, อาสาสมัครด้านอำนวยความสะดวกคนพิการ และสตาฟฟ์ทีมงาน

ผลที่ได้รับจากการดำเนินกิจกรรม

  • มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษามีนักเรียนพิการติดต่อเพื่อสมัครเรียนในรอบต่างๆ ติดต่อสอบถามเพิ่มมากขึ้น
  • นักเรียนพิการสนใจการทำพอร์ตฟอลิโอและตัดสินใจยื่นสมัครรอบพอร์ตฟอลิโอเข้ามหาวิทยาลัยมากขึ้น
  • บูธมหาวิทยาลัยได้รู้จัก รร.พิการ นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนพิการมากขึ้น และได้รับการแลกเปลี่ยนช่องทางการติดต่อกันมากขึ้น
  • อาสาสมัคร ได้เรียนรู้เข้าใจการทำงานร่วมกับคนพิการและต่อยอดในการขยายบอกต่อกิจกรรมอาสา และการทำกิจกรรมอาสาอื่นๆต่อ เช่น พี่อาสาบางท่านได้ติดต่อช่วยนักเรียนพิการในการทำพอร์ตฟอลิโอหรือให้คำปรึกษาเรื่องเรียนต่อ

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์ 

 นายศักดินันท์ โพธิ์ทอง ผู้พิการทางการเห็นและกำลังเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย

 นายเจษฎาพร สิงห์ชา นักศึกษาพิการทางการเห็น ป.ตรี ชั้นปีที่ 1 ม.ธรรมศาสตร์

กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ผู้พิการและผู้ป่วยนักเรียนพิการทุกประเภท ระดับชั้นม.3-ม.6 หรือเทียบเท่า ประมาณ 200 คน นักเรียนพิการได้พบสถาบันการศึกษาที่มาออกบูธ ได้สอบถามสิ่งที่อยากรู้ ได้แก่ รับคนพิการไหม มีสิ่งอำนวยความสะดวกอะไร มีทุนคนพิการอย่างไร และแนวทางการเรียน และการประกอบอาชีพหลังเรียนจบ เพิ่มความมั่นใจในการตัดสินใจเรียนต่อ รุ่นพี่พิการ เวิร์คช้อป
โรงเรียนโรงเรียนเฉพาะความพิการ และโรงเรียนเรียนร่วมที่มีการรับนักเรียนพิการ26 โรงเรียนโรงเรียนได้พบสถาบันการศึกษา ทราบช่องทางการติดต่อ การสมัครเรียนต่อ และต่อยอดกิจกรรมร่วมกัน ในส่วนของกิจกรรมเวิร์คช้อป โรงเรียนสามารถเอาแนวทางการสอน เนื้อหาวิชา ไปปรับใช้กับนักเรียนที่รร.รุ่นต่อมาหรือนักเรียนที่ไม่ได้มาร่วม และช่วยเตรียมตัวการสอบเข้าให้ นักเรียนในครั้งต่อไป

รูปภาพกิจกรรม

 รายการสามัญชนคนไทย สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ได้มีโอกาสเข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ในงานเด็กพิการเรียนไหนดี 66 กรุงเทพฯ และพบเห็นประเด็นการศึกษาต่อของคนพิการ และได้พบน้องพิการที่น่าสนใจ จึงอยากที่ต่อยอดเพื่อให้ต้นแบบคนพิการที่สนใจให้ความสำคัญการศึกษาต่อ และสร้างความตระหนักในภาคสังคม

รายการจึงได้ติดต่อ 3 ภาคส่วน คือ มูลนิธิด้วยกันเพื่อคนพิการเพื่อสังคม, น้องม่อน นักศึกษาพิการทางการเห็น นศ.ปีที่1 มศว. ผู้ที่ก้าวผ่านการสอบเข้ามหาวิทยาลัยมาได้ และได้บอกเล่าถึงการเดินทางเข้าสู่มหาวิทยาลัย และน้องโฟลค์ ตัวแทนนักเรียนพิการวีลแชร์ ที่มาไกลจากขอนแก่น และตั้งใจเดินทางมาร่วมงานเด็กพิการเรียนไหนดีครั้งนี้ เพราะอยากที่พบบูธมหาวิทยาลัยจาก ม.ธรรมศาสตร์

น้องโฟล์คได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการนักศึกษาคนพิการ DSS ของม.ธรรมศาสตร์ เพื่อหาข้อมูลแนวทางการสอบเข้า โควตานักศึกษาพิการ ทุน หอพัก การเตรียมตัวสอบเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่น้องโฟลค และได้พบกับรุ่นพี่ม.ธรรมศาสตร์ จากชมรมเพื่อนโดม ที่เปิดรับสมัครชวนน้องๆ เข้ากิจกรรมค่าย เพื่อเจอรุ่นพี่จากคณะต่างๆ ที่ธรรมศาสตร์ ได้พูดคุย พบปะและรู้จักคณะที่สนใจ อีกทั้งรู้ว่าเรียนคณะนี้เรียนจบแล้วไปทำอะไรอีกด้วย

นอกจากนี้นอกโฟลคยังได้เข้าร่วมกิจกรรมในงานครบทั้งหมด ทั้งฟังรุ่นพี่แชร์ประสบการณ์ และเข้าร่วมกิจกรรมเวิร์คช้อปวิชาปั้นฝัน ปั้นคำสัมภาษณ์ และปั้นพอร์ต ทำพอร์ตฟอลิโอ สิ่งที่น้องได้รับจากการเข้าร่วมงานเด็กพิการเรียนไหนดี66 ที่ผ่านมา น้องโฟลคได้แชร์เรื่องราวผ่านบทสัมภาษณ์ครั้งนี้ และเส้นทางที่ผ่านมา และความฝันของน้องโฟลคในอนาคต

 ภาพที่นั่งของนักเรียนผู้เข้าร่วมงานเด็กพิการเรียนไหนดี บริเวณหน้าเวที จัดเก้าอี้ประมาณ 160 ที่นั่ง และมีการจัดให้ที่นั่งให้เหมาะสมกับน้องๆทุกประเภทความพิการ ได้แก่ โซนด้านหน้าขวามือของเวที ยกเก้าอี้ออก เพื่อให้น้องพิการวีลแชร์ได้นั่งโซนนี้ จอทีวีที่มีจัดตามระยะสายตาที่เหมาะทั้งฝั่งซ้ายและขวา ที่นอกจากเห็นภาพจากบนเวทีแล้ว ยังเพิ่มภาพจอล่ามภาษามือขนาดใหญ่ เพื่อให้น้องหูสามารถเข้าถึงเนื้อหา ตลอดกิจกรรมบนเวที เป็นต้น

 ภาพบรรยากาศภายในห้องเวิร์คช้อปวิชาปั้นพอร์ต ทำพอร์ตฟอลิโอ ขณะพี่ฟาซีอาสาสมัคร พูดคุยกับน้องสาตา ทั้งตาบอดและสายตาเลือนราง ในการแชร์คำถามปัญหา อุปสรรคและวิธีการทำพอร์ตฟอลิโอเบื้องต้นของน้อง 

 ภาพบรรยากาศภายในห้องเวิร์คช้อปวิชาปั้นคำ สัมภาษณ์เพื่อเพิ่มความมั่นใจ ในภาพมีนักเรียนกลุ่มพิการทางการได้ยิน กำลังดูล่ามภาษามือช่วยแปลเนื้อหาคำถามที่คุณครูวิทยากรอาสาสัมภาษณ์ เพื่อฝึกทักษะการสัมภาษณ์ไปใช้ในการเรียนต่อได้

 ภาพบูธร้านกาแฟ Dot Coffee ร้านกาแฟที่มีน้องพิการทางการเห็นเป็นคนชง กำลังชงกาแฟตามออร์เดอร์ที่ทีมประธานเปิดงานเด็กพิการเรียนไหนดีได้ดูวิธีการชงกาแฟ

 ภาพบรรยากาศบูธแนะแนวการศึกษา ที่มหาวิทยาลัย สถาบันอาชีวะศึกษา มาออกบูธให้ความรู้ด้านการศึกษาต่อของนักเรียนพิการ ซึ่งนอกจากนักเรียน คุณครูที่มาจากโรงเรียนมาร่วมงานแล้ว ยังมีผู้ปกครองที่สนใจ มาร่วมกิจกรรมครั้งนี้ เพื่อหาข้อมูลการศึกษาต่อ เพื่อวางแผนการเรียนต่อให้บุตรหลานอีกด้วย

วิดีโอกิจกรรม


อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ระดมทุนจัดงานมหกรรมการศึกษาสำหรับเด็กพิการเพื่อที่จะแนะแนวการศึกษาต่อระดับอุดมศึกษา เพราะการศึกษาไม่ควารถูกปิดกั้นด้วยความพิการ

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

คุณภาพชีวิตของคนพิการส่วนใหญ่อยู่ในเกณฑ์ที่ไม่ค่อยดีนักเพราะเป็นคนกลุ่มน้อยที่ถูกละเลยจากสังคม สังเกตได้จากอัตราการจ้างงานผู้พิการที่ยังอยู่ในระดับที่ต่ำมากและส่วนใหญ่ที่ถูกจ้างก็ได้รับค่าตอบแทนน้อยกว่าค่าแรงขั้นต่ำ ซึ่งในหลายๆ ครั้งก็เกิดจากความไม่พร้อมของตัวคนพิการเองด้วย เราเชื่อว่าการศึกษาเป็นหนึ่งตัวแปรสำคัญที่จะช่วยพัฒนาคุณภาพชีวิตของคนพิการให้ดีขึ้นได้ ถ้าเราสามารถผลักดันให้เขาเหล่านั้นอยู่ในระบบการศึกษากระแสหลักให้เรียนในระดับสูงที่สุดเท่าที่เขาจะทำได้ จะช่วยสร้างโอกาสให้ชีวิต ซึ่งไม่ใช่แค่เรื่องความรู้หรือใบปริญญา แต่ยังหมายถึงการเข้าสังคม การสร้างความภูมิใจในตัวเอง มีความสามารถในการประกอบอาชีพ ไม่เป็นภาระของคนในครอบครัวอีกต่อไป 

แต่ที่ผ่านมาเราพบว่าคนพิการถูกละเลยด้านการศึกษาอย่างมากจนน่าตกใจ โดยเหตุผลส่วนหนึ่งมาจากการเข้าไม่ถึงข้อมูลการศึกษาต่อและขาดแรงจูงใจ "งานเด็กพิการเรียนไหนดี" งานแนะแนวการศึกษาสำหรับเด็กพิการแห่งแรกและแห่งเดียวในประเทศจึงเกิดขึ้นมา โดยภายในงานจะแบ่งเป็น 3 ส่วนหลักๆ ดังนี้

1) สร้างแรงบันดาลใจ

เป็นส่วนแรกที่จะสร้างให้เด็กพิการเห็นความเป็นไปได้ใหม่ในขีวิต ที่เขาจะตอบคำถามตัวเองได้ว่า "พิการแล้วจะเรียนไปทำไม" 

- Talk Show 
 เชิญรุ่นพี่นักศึกษาพิการที่กำลังศึกษาอยู่ในระดับอุดมศึกษาหรือเทียบเท่าและคนพิการที่ประกอบอาชีพที่น่าสนใจมาบอกเล่าประสบการณ์ ตอบคำถามพร้อมให้คำแนะนำส่งต่อแรงบันดาลใจให้น้องๆที่มาเข้าร่วมงาน
- Workshop "ปั้นฝัน" 
 จะเป็นกระบวนการตั้งคำถามค้นหาความชอบและความถนัดของตัวเองเพื่อสร้างแรงจูงใจ ให้เห็นความเป็นไปได้ใหม่ๆ ในการเรียนต่อหรือประกอบอาชีพ

2) ให้ความรู้

ให้ความรู้และข้อมูลที่จำเป็นต่อการสอบเข้ามหาวิทยาลัย เพื่อให้น้องๆ สามารถตัดสินใจและเลือกได้ตรงตามความต้องการ



- Exhibition booth
เราเชิญมหาวิทยาลัยที่เปิดรับเด็กพิการมาร่วมออกบูธ พร้อมเจ้าหน้าที่ให้ข้อมูลการสอบเข้า กำหนดการยืนคะแนน และตอบคำถามต่างๆ กับน้องๆ ที่สนใจ
- Workshop "ปั้นคำ"
workshop แนำนำเทคนิคการตอบคำถามสอบสัมภาษณ์ซึ่งเป็นการเสริมความมั่นใจให้กับเด็กพิการในการตอบคำถาม 

- Workshop  "ปั้น Port"
อบรมการทำ Portfolio เพื่อที่จะรวบรวมประสปการณ์ที่ผ่านมาแล้วยื่นเข้าคณะที่ต้องการ

3) สร้างความเท่าเทียมกันทางด้านการศึกษา
งานเด็กพิการเรียนไหนดีเป็นงานแสดงเชิงสัญลักษณ์ของเด็กพิการเพื่อสร้างความตระหนักรู้ให้คนในสังคมเห็นถึงปัญหาด้านการศึกษาของเด็กพิการที่ถูกละเลยมาอย่างยาวนาน และให้สังคมรับรู้ว่าเด็กพิการก็มีความสามารถที่จะเรียนได้ถ้ารับโอกาส

"งานเด็กพิการเรียนไหนดี" เคยจัดต่อเนื่องตั้งแต่ปี 2562-2563 โดยในปีล่าสุดมีเด็กนักเรียนพิการในระดับมัธยมศึกษาและอาชีวศึกษาเข้าร่วมงานมากกว่า 300 คน จาก 20 โรงเรียน และมี 22 มหาวิทยาวิทยาลัยจากทั่วประเทศมาออกบูธ และในปี 2564 ได้ขยายงานไปจัดที่จังหวัดเชียงใหม่ โดยมีมหาวิทยาลัยในภาคเหนือเข้าร่วมออกบูธ 7 มหาลัยและมีเด็กพิการเข้าร่วม 120 คน จาก 8 โรงเรียน  แต่เนื่องจากปัญหาการแพร่ระบาดของโควิด-19 ในช่วงที่ผ่านมาทำให้งานในปี 2564 ต้องหยุดชะงักไป ซึ่งในปี 2565 นี้เป็นความพยายามครั้งสำคัญที่เราจะกลับมาจัดงานนี้อีกครั้ง 

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. ประชาสัมพันธ์โครงการผ่านของทาง Social Network 
  2. รวมรวมข้อมูลการสอบเข้าในปี 66
  3. เชิญมหาลัยที่เปิดรับนักศึกษาพิการมาออกบูธ
  4. ติดต่อเครื่อข่ายโรงเรียนมัธยมทั้งโรงเรียนร่วมและโรงเรียนเฉพาะทาง
  5. ติดต่อสถาณที่จัดงาน
  6. วางแผนประชาสัมพันธ์ Pre-event
  7. ติดต่อ วิทยากรและทีมอาสา Workshop เพื่อวางแผนทิศทางเนื้อหาภายในงาน
  8. จัดเตรียมสถาณที่ก่อนเริ่มงาน 
  9. จัดงาน
  10. ประชาสัมพันธ์งาน Post Event
  11. ทีมอาสาติดตามผลความคืบหน้าและให้คำปรึกษานักเรียนพิการหลังจากงาน

ผู้รับผิดชอบโครงการ

สมบูรณ์ ชุติวิโรจน์สกุล
ผู้จัดการทั่วไปและผู้จัดการโครงการเรียนด้วยกัน

งานมหกรรมแนะแนวการศึกษาคนพิการ เด็กพิการเรียนไหนดี 66

2 มีนาคม 2023

งานมหกรรมแนะแนวการศึกษาคนพิการ เด็กพิการเรียนไหนดี 66 กรุงเทพฯ จัดขึ้นเมื่อวันที่ 1 พ.ย. 2565 ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน

โดยผู้เข้าร่วมกิจกรรมครั้งนี้ กระทรวงการอุดมศึกษา, สสส., รุ่นพี่พิการ, นักเรียนระดับชั้นม.ปลาย, ปวช. ครู รร.พิการ และนักเรียนผู้ปกครองนักเรียนพิการที่สนใจ ล่ามภาษามือ และอาสาสมัครที่ทางโครงการรับสมัคร เพื่อมาร่วมพัฒนางานด้านการศึกษาคนพิการร่วมกัน รวมประมาณ 550 คน

หน่วยงานที่มาร่วมออกบูธ จำนวน 22 บูธ ได้แก่ มหาวิทยาลัย หน่วยงานภาคีเครือข่าย ร้านกาแฟที่มาโชว์เคสการชงกาแฟของคนพิการ ได้แก่ อาสาสมัครกิจกรรมเวิร์คช้อป, อาสาสมัครด้านอำนวยความสะดวกคนพิการ และสตาฟฟ์ทีมงาน

ผลที่ได้รับจากการดำเนินกิจกรรม

  • มหาวิทยาลัยและสถาบันการศึกษามีนักเรียนพิการติดต่อเพื่อสมัครเรียนในรอบต่างๆ ติดต่อสอบถามเพิ่มมากขึ้น
  • นักเรียนพิการสนใจการทำพอร์ตฟอลิโอและตัดสินใจยื่นสมัครรอบพอร์ตฟอลิโอเข้ามหาวิทยาลัยมากขึ้น
  • บูธมหาวิทยาลัยได้รู้จัก รร.พิการ นักเรียน ผู้ปกครองนักเรียนพิการมากขึ้น และได้รับการแลกเปลี่ยนช่องทางการติดต่อกันมากขึ้น
  • อาสาสมัคร ได้เรียนรู้เข้าใจการทำงานร่วมกับคนพิการและต่อยอดในการขยายบอกต่อกิจกรรมอาสา และการทำกิจกรรมอาสาอื่นๆต่อ เช่น พี่อาสาบางท่านได้ติดต่อช่วยนักเรียนพิการในการทำพอร์ตฟอลิโอหรือให้คำปรึกษาเรื่องเรียนต่อ

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์ 

 นายศักดินันท์ โพธิ์ทอง ผู้พิการทางการเห็นและกำลังเตรียมตัวสอบเข้ามหาวิทยาลัย

 นายเจษฎาพร สิงห์ชา นักศึกษาพิการทางการเห็น ป.ตรี ชั้นปีที่ 1 ม.ธรรมศาสตร์

กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ผู้พิการและผู้ป่วยนักเรียนพิการทุกประเภท ระดับชั้นม.3-ม.6 หรือเทียบเท่า ประมาณ 200 คน นักเรียนพิการได้พบสถาบันการศึกษาที่มาออกบูธ ได้สอบถามสิ่งที่อยากรู้ ได้แก่ รับคนพิการไหม มีสิ่งอำนวยความสะดวกอะไร มีทุนคนพิการอย่างไร และแนวทางการเรียน และการประกอบอาชีพหลังเรียนจบ เพิ่มความมั่นใจในการตัดสินใจเรียนต่อ รุ่นพี่พิการ เวิร์คช้อป
โรงเรียนโรงเรียนเฉพาะความพิการ และโรงเรียนเรียนร่วมที่มีการรับนักเรียนพิการ26 โรงเรียนโรงเรียนได้พบสถาบันการศึกษา ทราบช่องทางการติดต่อ การสมัครเรียนต่อ และต่อยอดกิจกรรมร่วมกัน ในส่วนของกิจกรรมเวิร์คช้อป โรงเรียนสามารถเอาแนวทางการสอน เนื้อหาวิชา ไปปรับใช้กับนักเรียนที่รร.รุ่นต่อมาหรือนักเรียนที่ไม่ได้มาร่วม และช่วยเตรียมตัวการสอบเข้าให้ นักเรียนในครั้งต่อไป

รูปภาพกิจกรรม

 รายการสามัญชนคนไทย สถานีโทรทัศน์ไทยพีบีเอส ได้มีโอกาสเข้าร่วมเป็นผู้สังเกตการณ์ในงานเด็กพิการเรียนไหนดี 66 กรุงเทพฯ และพบเห็นประเด็นการศึกษาต่อของคนพิการ และได้พบน้องพิการที่น่าสนใจ จึงอยากที่ต่อยอดเพื่อให้ต้นแบบคนพิการที่สนใจให้ความสำคัญการศึกษาต่อ และสร้างความตระหนักในภาคสังคม

รายการจึงได้ติดต่อ 3 ภาคส่วน คือ มูลนิธิด้วยกันเพื่อคนพิการเพื่อสังคม, น้องม่อน นักศึกษาพิการทางการเห็น นศ.ปีที่1 มศว. ผู้ที่ก้าวผ่านการสอบเข้ามหาวิทยาลัยมาได้ และได้บอกเล่าถึงการเดินทางเข้าสู่มหาวิทยาลัย และน้องโฟลค์ ตัวแทนนักเรียนพิการวีลแชร์ ที่มาไกลจากขอนแก่น และตั้งใจเดินทางมาร่วมงานเด็กพิการเรียนไหนดีครั้งนี้ เพราะอยากที่พบบูธมหาวิทยาลัยจาก ม.ธรรมศาสตร์

น้องโฟล์คได้พูดคุยกับเจ้าหน้าที่ศูนย์บริการนักศึกษาคนพิการ DSS ของม.ธรรมศาสตร์ เพื่อหาข้อมูลแนวทางการสอบเข้า โควตานักศึกษาพิการ ทุน หอพัก การเตรียมตัวสอบเข้าคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่น้องโฟลค และได้พบกับรุ่นพี่ม.ธรรมศาสตร์ จากชมรมเพื่อนโดม ที่เปิดรับสมัครชวนน้องๆ เข้ากิจกรรมค่าย เพื่อเจอรุ่นพี่จากคณะต่างๆ ที่ธรรมศาสตร์ ได้พูดคุย พบปะและรู้จักคณะที่สนใจ อีกทั้งรู้ว่าเรียนคณะนี้เรียนจบแล้วไปทำอะไรอีกด้วย

นอกจากนี้นอกโฟลคยังได้เข้าร่วมกิจกรรมในงานครบทั้งหมด ทั้งฟังรุ่นพี่แชร์ประสบการณ์ และเข้าร่วมกิจกรรมเวิร์คช้อปวิชาปั้นฝัน ปั้นคำสัมภาษณ์ และปั้นพอร์ต ทำพอร์ตฟอลิโอ สิ่งที่น้องได้รับจากการเข้าร่วมงานเด็กพิการเรียนไหนดี66 ที่ผ่านมา น้องโฟลคได้แชร์เรื่องราวผ่านบทสัมภาษณ์ครั้งนี้ และเส้นทางที่ผ่านมา และความฝันของน้องโฟลคในอนาคต

 ภาพที่นั่งของนักเรียนผู้เข้าร่วมงานเด็กพิการเรียนไหนดี บริเวณหน้าเวที จัดเก้าอี้ประมาณ 160 ที่นั่ง และมีการจัดให้ที่นั่งให้เหมาะสมกับน้องๆทุกประเภทความพิการ ได้แก่ โซนด้านหน้าขวามือของเวที ยกเก้าอี้ออก เพื่อให้น้องพิการวีลแชร์ได้นั่งโซนนี้ จอทีวีที่มีจัดตามระยะสายตาที่เหมาะทั้งฝั่งซ้ายและขวา ที่นอกจากเห็นภาพจากบนเวทีแล้ว ยังเพิ่มภาพจอล่ามภาษามือขนาดใหญ่ เพื่อให้น้องหูสามารถเข้าถึงเนื้อหา ตลอดกิจกรรมบนเวที เป็นต้น

 ภาพบรรยากาศภายในห้องเวิร์คช้อปวิชาปั้นพอร์ต ทำพอร์ตฟอลิโอ ขณะพี่ฟาซีอาสาสมัคร พูดคุยกับน้องสาตา ทั้งตาบอดและสายตาเลือนราง ในการแชร์คำถามปัญหา อุปสรรคและวิธีการทำพอร์ตฟอลิโอเบื้องต้นของน้อง 

 ภาพบรรยากาศภายในห้องเวิร์คช้อปวิชาปั้นคำ สัมภาษณ์เพื่อเพิ่มความมั่นใจ ในภาพมีนักเรียนกลุ่มพิการทางการได้ยิน กำลังดูล่ามภาษามือช่วยแปลเนื้อหาคำถามที่คุณครูวิทยากรอาสาสัมภาษณ์ เพื่อฝึกทักษะการสัมภาษณ์ไปใช้ในการเรียนต่อได้

 ภาพบูธร้านกาแฟ Dot Coffee ร้านกาแฟที่มีน้องพิการทางการเห็นเป็นคนชง กำลังชงกาแฟตามออร์เดอร์ที่ทีมประธานเปิดงานเด็กพิการเรียนไหนดีได้ดูวิธีการชงกาแฟ

 ภาพบรรยากาศบูธแนะแนวการศึกษา ที่มหาวิทยาลัย สถาบันอาชีวะศึกษา มาออกบูธให้ความรู้ด้านการศึกษาต่อของนักเรียนพิการ ซึ่งนอกจากนักเรียน คุณครูที่มาจากโรงเรียนมาร่วมงานแล้ว ยังมีผู้ปกครองที่สนใจ มาร่วมกิจกรรมครั้งนี้ เพื่อหาข้อมูลการศึกษาต่อ เพื่อวางแผนการเรียนต่อให้บุตรหลานอีกด้วย

วิดีโอกิจกรรม


แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าสถานที่ Paragon Hall Siam Paragon จังหวัดกรุงเทพ 1 120,000.00
2 ค่าจัดกิจกรรมบูธ Workshop 3 ปั้น 1 100,000.00
3 พิธีกร วิทยากร รุ่นพี่พิการที่มาแบ่งปันประสบการณ์บนเวที 1 20,000.00
4 ค่าล่ามภาษามือ 10 ท่าน 6 ชั่วโมตลอดงาน 1 50,000.00
5 ทีมผู้จัดงาน พร้อมสตาฟฟ์ช่วยอำนวยความสะดวกคนพิการภายในงาน 1 60,000.00
6 ค่าอุปกรณ์จัดบูธ อุปกรณ์เสียงและไฟ จอทีวีสำหรับคนพิการ 1 185,000.00
7 ค่าผลิตสื่อประชาสัมพันธ์ ทั้งภายในงาน บริเวณห้าง และ Online 1 60,000.00
8 ค่าถ่ายทำคลิปVDOเก็บภาพบรรยากาศ Hightlight งาน เพื่อถอดบทเรียนและเพื่อประชาสัมพันธ์ 1 36,000.00
9 บริการอาหารกลางวันและของว่าง น้ำดื่มให้กับคนพิการและผู้ร่วมงานฯ 1 117,000.00
10 ค่าดำเนินงาน 1 50,000.00
11 ค่าเดินทางและค่าที่พัก 1 50,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
848,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
84,800.00

ยอดระดมทุน
932,800.00