โครงการลมหายใจใต้น้ำ เพื่อ 1,000 ชีวิต พ้นวิกฤตจมน้ำ

ว่ายน้ำ เป็นกีฬาเพียงไม่กี่ชนิดบนโลกที่ขาดทักษแล้วทำให้เด็กเสียชีวิต และในปีหนึ่งๆ มีเด็กไทยจมน้ำเสียชีวิตหลายร้อยคนเพราะขาดทักษะนี้ โครงการลมหายใจใต้น้ำ เพื่อ 1,000 คนพ้นวิกฤตจาการจมน้ำ จะทำให้เด็ก ๆ ได้เรียนว่ายน้ำในหลักสูตร การว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด ซึ่งจะเป็นการติดชูชีพให้เด็กนักเรียน
ระยะเวลาโครงการ 22 พ.ค. 2566 ถึง 20 ต.ค. 2566 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ (อำเภอเมืองเชียงใหม่), อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย (อำเภอเมืองเชียงราย)
ยอดบริจาคขณะนี้
188,094 บาทเป้าหมาย
550,000 บาทปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา
จากสถิติพบว่า ในหนึ่งปีมีเด็กไทยจมน้ำเสียชีวิตกว่า 1,500 คน (ตัวเลขจากกรมควบคุมโรคไม่ติดต่อ กระทรวงสาธารณสุข ปี 2564) ซึ่งมากกว่าจำนวนตัวเลขของเด็กที่เสียชีวิตจากทางจราจรทางบกถึง 2 เท่า
กีฬาว่ายน้ำ เป็นกีฬาที่ผู้เล่น หากไม่มีทักษะแล้วอาจจะก่อให้เกิดอันตรายถึงชีวิต ในปัจจุบันโอกาสที่เด็กจะได้ฝึกทักษะกีฬาว่ายน้ำนั้น มีน้อย เนื่องจากแหล่งน้ำไม่เอื้ออำนวย ซึ่งหากต้องการเรียนว่ายน้ำ อาจจะต้องมีค่าใช้จ่ายในการเรียน รวมถึงค่าธรรมเนียมในการลงสระว่ายน้ำจึงไม่ใช่เรื่องหน้าแปลก ที่เด็กไทยยังขาดทักษะในการว่ายน้ำอยู่เป็นจำนวนมาก
ตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และ พ.ศ. 2550 มาตราที่ 49 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกัน ในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐบาล จะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงอย่างมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐ เพื่อให้ได้รับการศึกษาเท่าเทียมกันจากบุคคลอื่น
ดังนั้นแล้ว โครงการลมหายใจใต้น้ำ เพื่อ 1,000 ชีวิต พ้นกวิกฤตจมน้ำ จึงเป็นการเปิดโอกาสให้เด็กนักเรียนที่มีฐานะยากจน หรือเด็กที่ขาดโอกาส รวมถึงบุคคลทั่วไป ที่จะเข้าถึงสิ่งอำนวยความสะดวกดังกล่าว มีสิทธิในการที่จะเรียนว่ายน้ำเพื่อเพิ่มทักษะการเอาชีวิตรอดในน้ำได้อย่างเสมอภาคกันทุกคน
ทีมงานและครูพายุมีประสบการณ์การทำโครงการสอนว่ายน้ำ ในหลักสูตรการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอดมาตั้งแต่ปี 2552 - ปัจจุบัน โดยมีประสบการณ์ทั้งในประเทศไทยและต่างประเทศ โดยหลังจากที่มีการจัดทำโครงการให้เด็กนักเรียนแล้ว มีผลสัมฤทธิ์พบว่าเด็กๆ 80 - 90 % สามารถเอาตัวรอดได้เมื่อเกิดอุบัติเหตุทางน้ำ
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
1.เปิดระดมทุน โดยใช้ระยะเวลาในการระดมทุน 5 เดือน
2.ติดต่อประสานงานสระว่ายน้ำ และครูสอนว่ายน้ำ เพื่อเตรียมการเรียนการสอน
3.จัดซื้ออุปกรณ์ว่ายน้ำ (kick board , noodle , ท่อ pvc , เชือก) เพื่อเป็นอุปกรณ์ในการเรียนในหลักสูตรการว่ายน้ำเพื่อเอาชีวิตรอด
4.ดำเนินการสอน ตามระยะเวลา ที่กำหนดไว้ โดยการเรียน 1 คอร์สจะใช้เวลาเรียนประมาณ 5 วัน เฉลี่ยค่าใช้จ่ายคนละ 500 บาท
5.สรุปผลโครงการส่งให้แก่ผู้ให้ทุน
ผู้รับผิดชอบโครงการ
นายณัฐศักดิ์ ท้าวอุดม
ผุ้ก่อตั้งโครงการสอนว่ายน้ำเพื่อเด็กด้อยโอกาส .
Charter Member of Global and Water Safety Drowning Prevention by Rotary Club
CEO & Founder Krupayuswim Chiangmai และ Chair Holder of Blue Dolphin Swimming Club (Cabmbodia)

Facebook: www.facebook.com/krupayufc
Website: www.krupayuswim.com
แผนการใช้เงิน
ลำดับ | รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|---|
1 | ค่าลงสระว่ายน้ำ 60 บาท/คน x 5 ครั้ง/ คน (นักเรียน 1 คนได้เรียน 5 วัน)= 300 บาท/ คน x 1,000 คน | 1,000 คน | 300,000.00 |
2 | ค่าครูสอนว่ายน้ำ 250 บาท / คน/ชั่วโมง โดยใน 1 กลุ่มใช้ครู 4 คน = 1,000 บาท x 5 วัน = 5,000 บาท/กลุ่ม x 40 กลุ่ม (รวม 1,000 คน) | 40 กลุ่ม | 200,000.00 |