project เด็กและเยาวชน ผู้พิการและผู้ป่วย กลุ่มคนเปราะบาง

กองบุญกู้วิกฤติ เพื่อ ‘น้องเก้า’ ก้าวข้ามผ่าน ‘โรคโปรตีนรั่ว’

“น้องเก้า” อายุ 9 ปี ป่วยออด ๆ แอด ๆ มาตั้งแต่เกิดการรักษาเป็นไปตามอาการที่เกิดขึ้น จนกระทั่งเมื่อปีที่แล้วแพทย์พบว่า น้องเก้าป่วยเป็นโรคโปรตีนรั่ว จึงไม่สามารถกินอาหารได้เหมือนเด็กทั่วไป น้องต้องไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลที่ไกลจากที่บ้านกว่า 80 กิโลเมตร ทุกเดือน เดือนละ 3-4 วัน จึงชวนสมทบทุนโครงการกองบุญกู้วิกฤติฯ เพื่อช่วยค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าที่พัก ค่าเดินทาง ตลอดระยะเวลาการรักษา 1 ปี

ระยะเวลาโครงการ 15 มิ.ย. 2565 ถึง 31 ก.ค. 2565 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: บุรีรัมย์

ยอดบริจาคขณะนี้

33,100 บาท

เป้าหมาย

33,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 100%
จำนวนผู้บริจาค 2

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

"น้องเก้า" อาการโดยรวมดีขึ้น แต่ยังคงต้องควบคุมอาหารการกิน

14 ตุลาคม 2022

หลังจากได้รับความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ใจดี ผ่านการประสานงานจากมูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ. เพื่อเด็กและเยาวชนฯ "น้องเก้า" ที่ป่วยเป็นโรคโปรตีนรั่ว ไม่สามารถกินอาหารได้เหมือนคนปกติ ต้องเดินทางไปพบหมอที่โรงยาบาลมหาราชจังหวัดนคราชสีมาทุกเดือน ระยะหลังอาการเริ่มดีขึ้นหมอเริ่มนัดตรวจอาการทุก ๆ 3 เดือน ก่อนพบหมอแต่ละครั้งน้องเก้าต้องตรวจค่าเลือด และต้องนำปัสสาวะตรวจด้วยทุกครั้ง อาการล่าสุดหลังจากพบหมอเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2565 อาการโดยรวมดีขึ้นการพบหมอในครั้งนี้ต้องเจาะเลือดและนำปัสสาวะมาตรวจพบรอยรั่วเพิ่ม มีเลือดออกในน้ำปัสสาวะเล็กน้อย หมอจึงเปลี่ยนตัวยาเป็นยาสำหรับโปรตีนรั่วต้องกินครึ่งเม็ดหลังอาหารเช้าและงดการออกกำลังกายเพราะมีไตอักเสบ และต้องควบคุมอาการเหมือนทุก ๆ ครั้ง ต้องกินไข่ขาวให้ได้วันละ 3 ฟองเหมือนเดิม

ภาพ: "น้องแก้า" กำลังรอพบหมอตามนัด

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

“น้องเก้า” อายุ 9 ปี ป่วยออด ๆ แอด ๆ มาตั้งแต่เกิดการรักษาเป็นไปตามอาการที่เกิดขึ้น จนกระทั่งเมื่อปีที่แล้วแพทย์พบว่า น้องเก้าป่วยเป็นโรคโปรตีนรั่ว จึงไม่สามารถกินอาหารได้เหมือนเด็กทั่วไป น้องต้องไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลที่ไกลจากที่บ้านกว่า 80 กิโลเมตร ทุกเดือน เดือนละ 3-4 วัน จึงชวนสมทบทุนโครงการกองบุญกู้วิกฤติฯ เพื่อช่วยค่าใช้จ่ายต่างๆ เช่น ค่ารักษาพยาบาล ค่าที่พัก ค่าเดินทาง ตลอดระยะเวลาการรักษา 1 ปี

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

“น้องเก้า” อายุ 9 ปี จากจังหวัดบุรีรัมย์ ที่ป่วยออด ๆ แอด ๆ มาตั้งแต่เกิดการรักษาเป็นไปตามอาการที่เกิดขึ้น 

จนกระทั่งเมื่อปีที่แล้วแพทย์โรงพยาบาลจังหวัดบุรีรัมย์ ส่งน้องไปตรวจที่โรงพยาบาลจังหวัดนครราชสีมาพบว่า น้องเก้าป่วยเป็นโรคโปรตีนรั่ว จึงไม่สามารถกินอาหารได้เหมือนเด็กทั่วไปข้อห้ามของน้องเก้า คือ อาหารโปรตีนสูงเนื้อสัตว์ติดมัน อาหารที่มีรสชาติหวาน มัน เค็ม ในแต่ละวันต้องกินไข่ขาว 3 ฟอง เพื่อเพิ่มโปรตีน อาหารประเภททอดต้องใช้น้ำมันรำข้าวเท่านั้น

สำหรับครอบครัวที่ไม่มีอาหารกินครบ 3 มื้อต่อวัน การที่ต้องควบคุมคุณภาพอาหาร จึงนับเป็นเรื่องยากลำบาก ความหนักใจที่ตามมาของครอบครัว คือ ต้องพาน้องเก้าไปพบแพทย์ที่โรงพยาบาลที่ไกลจากที่บ้านกว่า 80 กิโลเมตร ทุกเดือน เดือนละ 3-4 วัน

กองบุญกู้วิกฤตเป็นกองบุญที่จัดตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2555 เพื่อความช่วยเหลือแก่เด็กที่มีความเป็นอยู่ขัดสนยากลำบากเป็นพิเศษและชีวิตที่อยู้ในภาวะวิกฤติต้องการความช่วยเหลือการเร่งด่วน ให้เด็กสามารถกลับคืนสู่ภาวะปกติหรือใกล้เคียงกับปกติมากที่สุด ปัจจุบันได้ให้ความช่วยเหลือเด็กที่มีความต้องการจำเป็นพิเศษแล้วกว่า 2,378 คน

ด้วยวิกฤตโรคระบาดโควิด-19 ที่ผลกระทบหนักทอดผ่านยาวนานมากว่า 2 ปี ทำให้ปีนี้ยังคงเป็นอีกปีที่เด็กด้อยโอกาสในภาวะวิกฤตมีจำนวนมากขึ้น จากการสำรวจสถานภาพและความต้องการจำเป็นของเด็กด้อยโอกาสในพื้นที่การดูแลของมูลนิธิฯ มากกว่า 200 คน อยู่ในภาวะวิกฤติ เจ็บป่วยเรื้อรัง ที่อยู่อาศัยไม่มั่นคงปลอดภัย กำพร้าพ่อ-แม่และอาศัยอยู่กับผู้ปกครองที่ชรา และต้องการโอกาสในการรักษาและเข้าถึงบริการด้านสาธารณสุขอย่างมีประสิทธิภาพ

ปัญหาสังคม

1) ผลกระทบด้านสุขอนามัย

2) ผลกระทบด้านสาธารณสุข

3) ผลกระทบด้านคุณภาพชีวิต อาชีพ รายได้

แนวทางในการให้ความช่วยเหลือเด็กที่อยู่ในภาวะวิกฤติ

1) ระยะเร่งด่วน

• สนับสนุนการช่วยเหลือเฉพาะทาง

• สนับสนุนอาหารและน้ำเพื่อการยังชีพ

• ปรับปรุง ซ่อม สร้าง ที่พักอาศัยให้ปลอดภัยถูกสุขลักษณะ

2) ระยะฟื้นฟู

• สร้างแหล่งอาหารในครัว เช่น การปลูกผัก เลี้ยงสัตว์

• สนับสนุนทุนการศึกษาหรือทุนพัฒนาทักษะอาชีพ

3) ระยะยาว

• ประสานหน่วยงานภาครัฐ หรือหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง เพื่อขอรับสนับสนุน

• มอบทุนพัฒนาทักษะอาชีพ

• ระดมจิตอาสาจากชุมชนและชาวบ้าน เพื่อร่วมให้การช่วยเหลือ


ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

ขั้นที่ 1 การสำรวจ เก็บรวบรวมข้อมูล

ขั้นที่ 2 วางแผนให้ความช่วยเหลือ

ขั้นที่ 3 ดำเนินการให้ความช่วยเหลือ


ผู้รับผิดชอบโครงการ

มูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ.เพื่อเด็กและเยาวชนฯ

"น้องเก้า" อาการโดยรวมดีขึ้น แต่ยังคงต้องควบคุมอาหารการกิน

14 ตุลาคม 2022

หลังจากได้รับความช่วยเหลือจากผู้ใหญ่ใจดี ผ่านการประสานงานจากมูลนิธิ ซี.ซี.เอฟ. เพื่อเด็กและเยาวชนฯ "น้องเก้า" ที่ป่วยเป็นโรคโปรตีนรั่ว ไม่สามารถกินอาหารได้เหมือนคนปกติ ต้องเดินทางไปพบหมอที่โรงยาบาลมหาราชจังหวัดนคราชสีมาทุกเดือน ระยะหลังอาการเริ่มดีขึ้นหมอเริ่มนัดตรวจอาการทุก ๆ 3 เดือน ก่อนพบหมอแต่ละครั้งน้องเก้าต้องตรวจค่าเลือด และต้องนำปัสสาวะตรวจด้วยทุกครั้ง อาการล่าสุดหลังจากพบหมอเมื่อวันที่ 7 ตุลาคม 2565 อาการโดยรวมดีขึ้นการพบหมอในครั้งนี้ต้องเจาะเลือดและนำปัสสาวะมาตรวจพบรอยรั่วเพิ่ม มีเลือดออกในน้ำปัสสาวะเล็กน้อย หมอจึงเปลี่ยนตัวยาเป็นยาสำหรับโปรตีนรั่วต้องกินครึ่งเม็ดหลังอาหารเช้าและงดการออกกำลังกายเพราะมีไตอักเสบ และต้องควบคุมอาการเหมือนทุก ๆ ครั้ง ต้องกินไข่ขาวให้ได้วันละ 3 ฟองเหมือนเดิม

ภาพ: "น้องแก้า" กำลังรอพบหมอตามนัด

แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าใช้จ่ายในการรับการรักษา ค่าที่พัก ค่าอาหาร ค่าเดินทางไปสถานพยาบาล เบื้องต้นประมาณ 30,000 บาทต่อปี 1 คน 30,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
30,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
3,000.00

ยอดระดมทุน
33,000.00