project โควิด-19 กลุ่มคนเปราะบาง

ศูนย์ที่พักอาศัยเพื่อการกักแยก

5,000 บาท ของท่าน สามารถช่วยผู้เข้าข่ายเกณฑ์เฝ้าระวังได้กักแยกตัวเองได้ถูกต้อง ครบ 14 วัน ช่วยลดความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อต่อให้กับสมาชิกในครอบครัวและชุมชน ซึ่งจะเป็นการช่วยลดหรือชะลอช่วงวิกฤติของการแพร่ระบาดของโรคนี้

ระยะเวลาโครงการ 1 ปี 6 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ ไทย

ยอดบริจาคขณะนี้

1,358,435 บาท

เป้าหมาย

2,625,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 52%
จำนวนผู้บริจาค 192

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

ทีมงาน RoLD Program ส่งมอบความช่วยเหลือศูนย์ฯ และผู้ได้รับผลกระทบจากโควิดรวม 13 แห่ง

5 ตุลาคม 2022

ทีมงาน “หลักสูตรด้านหลักนิติธรรมและการพัฒนา” (RoLD Program) ภายใต้สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ได้เริ่มให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 จนถึง เดือนสิงหาคม 2565 อาทิ หน่วยงานศูนย์ที่พักอาศัยฯ ศูนยพักคอย ชุมชน โรงพยาบาล และกรมราชทัณฑ์ จนทำให้เกิดผลกระทบมากกว่า 6,840 คน ใน 13 องค์กร มีรายละเอียดการช่วยเหลือเพิ่มเติม ต่อไปนี้

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ






ภาพการส่งยาฟ้าทะลายโจรให้กับ รพ. สต. ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

ภาพการส่งยาฟ้าทะลายโจรและชุด PPE ให้กับโรงเรียนกู่กาสิงห์ประชาสรรค์ ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

“การให้การสนับสนุนทุนและทรัพยากรสู่ศูนย์ที่พักอาศัยเพื่อการกักแยก โรงพยาบาล และโรงพยาบาลสนาม”

จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ที่เกิดขึ้นทั่วโลกตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 “ศูนย์ที่พักอาศัยเพื่อการกักแยก” ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นกระบวนการ “ต้นน้ำ” ที่ช่วยตัดวงจรการแพร่ระบาด

ของCOVID-19 ตั้งแต่ระดับครอบครัวและชุมชน เน้นการรองรับกลุ่มผู้เฝ้าสังเกตอาการ อาทิ กลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูง กลุ่มผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ ในช่วงการระบาดในระลอกแรก

โดยโครงการต้นแบบศูนย์ที่พักอาศัยเพื่อการกักแยกเกิดขึ้นได้สำเร็จเป็นแห่งแรกในจังหวัดปทุมธานี และได้ขยายผลไปยังพื้นที่เสี่ยงใน จังหวัดอื่นด้วย อาทิ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ซึ่งทำหน้าที่เป็น supporting unit สำคัญของระบบสาธารณสุข ในขั้นตอนการคัดกรองและกักแยก เป็นการผ่อนภาระให้กับโรงพยาบาลตั้งแต่ต้นทาง และช่วยตัดตอนการแพร่ ระบาดสู่ชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดั่งกรณีศึกษาการทำศูนย์กักแยกประสบความสำเร็จมาแล้วในหลายประเทศ “ศูนย์ที่พักอาศัยเพื่อการกักแยก” เป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่เติมเต็มภาพนโยบายใหญ่ โดยหันมามองถึงการลดความ เหลื่อมล้ำในการเข้าถึงระบบบริการสุขอนามัยที่ดี ให้กับกลุ่มเปราะบางเพื่อให้ได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียมตามหลักการทำงาน “กักแยกเร็ว หายได้ไว ชุมชนปลอดภัย ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”


ปัจจุบัน (เดือนเมษายน 2564) มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่กระจายในวงกว้าง โดยมีจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อเป็นจำนวนมากกระจายอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศ รวมถึงมีผู้สัมผัสผู้ป่วยติดเชื้อและมีความเสี่ยงสูงที่มีความจำเป็นต้องได้รับการตรวจทดสอบการติดเชื้อ ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรทั้งในส่วนเวชภัณฑ์ ยา เครื่องมือเครื่องใช้ สถานที่ และบุคลากรทางการแพทย์อย่างเต็มขีดความสามารถ โดยในหลายพื้นที่มีผู้ป่วยติดเชื้อเกินกำลังที่โรงพยาบาลสามารถรองรับได้

จึงมีความจำเป็นต้องจัดตั้งกระบวนการ “ปลายน้ำ” สร้าง “โรงพยาบาลสนาม” เพื่อส่งผู้ป่วยติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ หรือมีอาการเบาตามการวินิจฉัยของแพทย์ให้ได้เข้ารับการรักษาตามมาตรฐานด้านสาธารณสุข ทั้งในระดับชุมชน ระดับจังหวัด และในระดับเครือข่ายของโรงพยาบาลภายใต้คณะแพทยศาสตร์สังกัดมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วประเทศ 


โครงการเราจะดำเนินการ ระหว่างเดือนเมษายน 2563 ถึงเดือน ตุลาคม 2564 ระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน เพื่อระดมทุนผ่าน แพลทฟอร์มเทใจในการจัดเตรียมสถานที่ อาหาร เวชภัณฑ์ เครื่องมือเครื่องใช้ และการดูแลให้คำแนะนำที่เหมาะสมสำหรับผู้ถูกกักแยกและผู้ป่วยติดเชื้อทั้งที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและโรงพยาบาลสนาม เพื่อสนับสนุนและเสริมพลังความเข้มแข็งของกระบวนการบริหารจัดสถานการณ์ COVID-19 อย่างครบวงจรตั้งแต่ “ต้นน้ำ” ถึง “ปลายน้ำ” โดยตั้งเป้าสนับสนุนการดำเนินงานสองส่วนหลัก ประกอบด้วย กลุ่มผู้รับบริการ และ กลุ่มผู้ให้บริการ ดังนี้

1. การดูแลผู้รับบริการ (ผู้มีความเสี่ยงสูงที่ต้องกักแยก และผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19)

  • อาหารและเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ ตามหลักโภชนาการ
  • เครื่องนุ่งห่ม เครื่องนอน และเครื่องใช้ที่จำเป็นระหว่างการกักแยกหรือการรับการรักษา
  • อุปกรณ์ทำความสะอาด
  • ยาสามัญประจำบ้าน ตามความจำเป็น
  • อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ/แพร่เชื้อ เช่น หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์เจล ฯลฯ

2. การดูแลผู้ให้บริการ (ที่พักอาศัยเพื่อการกักแยก โรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม และบุคลากรทางการแพทย์)

  • การปรับปรุงสถานที่รองรับผู้รับบริการ และบุคลากรทางการแพทย์
  • เวชภัณฑ์ เครื่องมือ และเครื่องใช้ต่างๆ ที่จำเป็นในการดำเนินงาน
  • อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ/แพร่เชื้อ เช่น ชุด PPE หน้ากากอนามัย รองเท้ายาง น้ำยาฆ่าเชื้อ ฯลฯ 

ประโยชน์ของโครงการ

  • ช่วยลดภาระโรงพยาบาลในการรับผู้ป่วยกลุ่ม PUI หรือผู้เข้าข่ายเกณฑ์เฝ้าระวัง
  • โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประชากรฐานรากที่ไม่สามารถกักแยกตนเองหรือมีพื้นที่ในการเฝ้าระวังสังเกตอาการได้อย่างถูกต้อง
  • ป้องกันไม่ให้ครอบครัวผู้ถูกกักแยกเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19
  • ตัดตอนการแพร่ระบาดในชุมชนได้อย่างแท้จริง
  • ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ช่วงแรกของอาการทำให้โอกาสหายสูงและผ่อนจำนวนเคสหนักให้โรงพยาบาล
  • ผู้ป่วยติดเชื้อได้รับการดูแลรักษาตามมาตรฐานทางการแพทย์อย่างทั่วถึง
  • โรงพยาบาลและโรงพยาบาลสนามมีทรัพยากรในการดำเนินงานอย่างเพียงพอ
  • บุคลากรทางการแพทย์ได้รับการดูแลและได้ใช้งานอุปกรณ์ป้องการการติดเชื้อที่มีประสิทธิภาพ
  • ลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงระบบการรักษาให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

ผู้รับผิดชอบโครงการ

คณะกรรมการและคณะทำงาน ของศูนย์ที่พักอาศัยเพื่อการควบคุมไว้สังเกตอาการ

สนับสนุนที่พักอาศัยเพื่อการกักแยก และของอุปโภคบริโภคแก่ผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด 7 แห่ง

6 กรกฎาคม 2021

จากคณะทำงานกลุ่มเล็กๆ ทีมงาน “หลักสูตรด้านหลักนิติธรรมและการพัฒนา” (RoLD Program) ภายใต้สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) และขยายขอความรับการสนับสนุนจากเครือข่าย RoLD โดยร่วมมือกับเครือข่ายภาครัฐในแต่ละพื้นที่ โดยได้ดำเนินงานร่วมสนับสนุนจำแนกตามพื้นที่ของศูนย์ฯ ได้ดังนี้

ความพึงพอใจของผู้ที่ได้รับบริการ

ภาพประกอบ

ส่งผู้เข้าพักกักแยกสังเกตอาการกลุ่มสุดท้ายกลับบ้าน
ก่อนที่จะส่งมอบศูนย์การเรียนรู้กูแบสะนิงคืนให้กับองค์การบริหารส่วนตำบลเมาะมาวี อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี

ภาพของใช้ผู้เข้าพักในศูนย์กักแยก ปทุมธานี
ของใช้จำเป็นในการเข้าพักอาศัย ประกอบด้วยเสื้อผ้า 2 ชุด และของใช้ส่วนตัว ได้แก่ แปรงสีฟัน ยาสีฟัน สบู่ ยาสระผม ไม้แขวนเสื้อ ไม้หนีบ กระดาษทิชชู่ ผ้าเช็ดตัว ผ้าขนหนูผืนเล็ก แป้งทาตัว หวี น้ำยาทำความสะอาดห้องน้ำ

ภาพทีมโรงพยาบาลองครักษ์ จ.นครนายก มาศึกษาดูงานศูนย์ฯ ปทุมธานี

ภาพการศึกษาดูงานของทีมผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก ที่ศูนย์ฯ ปทุม
ทีมงานผู้ว่าราชการจังหวัดนครนายก สาธารณสุขจังหวัด และเจ้าหน้าที่ทางการแพทย์ เข้าศึกษาดูงานและการเตรียมความพร้อมของศูนย์ฯ ปทุม

ภาพการส่งมอบอาหารให้ผู้กักแยก
เจ้าหน้าที่พยาบาลจัดส่งอาหารให้ผู้กักแยก โดยวางไว้หน้าห้องพักเพื่อลดลดการสัมผัส และพบปะกับผู้ที่กักแยก

ภาพการติดตั้งกล้องวงจรปิด
เพื่อควบคุมผู้เข้ากักแยก เพื่อให้ทีมพยาบาลจากโรงพยาบาลธัญบุรี ตรวจสอบถามเรียบร้อย

ภาพคณะทำงานความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ของสถานที่ที่ใช้ในการเป็นศูนย์กักแยก
เพื่อทำความเข้าใจกับเจ้าหน้าที่ ไม่ให้มีความกังวลเรื่องการแพร่ระบาด และการดูแลป้องกันรักษาความสะอาด

ภาพทำความเข้าใจกับชุมชน
คณะทำงานได้ทำความเข้าใจกับชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณใกล้เคียงกับศูนย์กักแยก

ภาพทีมทำงานสภาสถาปนิกดูสถานที่
ทีมงานสภาสถาปนิกร่วมกับสถาปนิกอาสา ร่วมสำรวจและแนะนำการจัดสรรพื้นที่ของอาคารศูนย์ฯ ปทุม ให้ถูกต้องเหมาะสมตามหลักการจัดสถานที่

ภาพการตรวจความเรียบร้อยของสถานที่
ผู้อำนวยการโรงพยาบาลธัญบุรี นำทีมคณะทำงานนำ คณะรองผู้ว่าราชการจังหวัดปทุมธานี เจ้าหน้าที่สาธารณสุขจังหวัด ในการตรวจสอบความเรียบร้อยของการดำเนินงานศูนย์ฯ ปทุม

ภาพขนส่งของใช้ที่จำเป็นจากกรุงเทพ ไปยัง จ.ปัตตานี
ทางศูนย์ฯ ร่วมกับเครือข่าย SOS ในการจัดส่งของใช้ที่จำเป็นไปยังจังหวัดปัตตานี ในการดำเนินงานของศูนย์ฯ ปัตตานี

ภาพการส่งของใช้ไปปัตตานี
จัดส่งของใช้ไปยังศูนย์ที่พักอาศัย อ.ยะรัง จ.ปัตตานี

ภาพการประชุมคณะทำงาน ศูนย์ฯ ปัตตานี
คณะทำงาน เจ้าหน้าที่สาธารณสุข อบต. ร่วมประชุมเตรียมความพร้อมในการรับผู้เข้าพัก และการปรับปรุงสถานที่

ภาพสถานที่รองรับผู้กักแยก
การเตรียมสถานที่ ในการรับผู้เข้าการกักแยก ศูนย์ฯ ปัตตานี

ภาพคณะทำงานลงพื้นที่ปัตตานี
คณะทำงานส่วนกลาง ลงพื้นที่ปัตตานีเพื่อตรวจติดตามความก้าวหน้าในการดำเนินงานและการดูแลผู้เข้าพัก

ภาพการปรับปรุงระบบน้ำประปา
ดำเนินการปรับปรุงระบบน้ำประปา สำหรับใช้ภายพื้นที่ให้มีคุณภาพที่ดีขึ้น โดยมีการติดตั้งถังกรองน้ำ ถังเก็บน้ำและติดตั้งปั๊มน้ำเพิ่มเติม

การปรับปรุงถังเก็บน้ำ
ติดตั้งถังเก็บน้ำเพิ่มเติม สำหรับสำรองน้ำใช้

ภาพปรับปรุงห้องน้ำที่ศูนย์ฯ ปัตตานี

ภาพการติดตั้งซิงค์ล้างจาน อ่างล้างหน้า

ภาพการส่งชุด PPE ช่วยเหลือเจ้าหน้าที่เขตดุสิต กรุงเทพ

ภาพการสนับสนุนอาหาร น้ำดื่ม สำหรับ Home Quarantine เขตดุสิต

ภาพการส่งพัดลม ให้กับ Covid-19 Ward โรงพยาบาลธัญบุรี ปทุมธานี

ภาพการส่งของใช้จำเป็น ให้กับโรงพยาบาลธัญบุรี ปทุมธานี

ภาพทีมงาน

ภาพโลโก้เครือข่ายที่เกี่ยวข้องในการดำเนินโครงการ

ทีมงาน RoLD Program ส่งมอบความช่วยเหลือศูนย์ฯ และผู้ได้รับผลกระทบจากโควิดรวม 13 แห่ง

5 ตุลาคม 2022

ทีมงาน “หลักสูตรด้านหลักนิติธรรมและการพัฒนา” (RoLD Program) ภายใต้สถาบันเพื่อการยุติธรรมแห่งประเทศไทย (TIJ) ได้เริ่มให้ความช่วยเหลือผู้ที่ได้รับผลกระทบจากโควิด ตั้งแต่เดือนมีนาคม 2563 จนถึง เดือนสิงหาคม 2565 อาทิ หน่วยงานศูนย์ที่พักอาศัยฯ ศูนยพักคอย ชุมชน โรงพยาบาล และกรมราชทัณฑ์ จนทำให้เกิดผลกระทบมากกว่า 6,840 คน ใน 13 องค์กร มีรายละเอียดการช่วยเหลือเพิ่มเติม ต่อไปนี้

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ






ภาพการส่งยาฟ้าทะลายโจรให้กับ รพ. สต. ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

ภาพการส่งยาฟ้าทะลายโจรและชุด PPE ให้กับโรงเรียนกู่กาสิงห์ประชาสรรค์ ตำบลกู่กาสิงห์ อำเภอเกษตรวิสัย จังหวัดร้อยเอ็ด

แผนการใช้เงิน


รายการจำนวนจำนวน (บาท)
1.ช่วยเหลือผู้เข้าข่ายเกณฑ์เฝ้าระวัง 1คน เพื่อกักกัน 14 วันคนละ 5,000 บาท200 คน1,000,000

2.ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงสถานท่ี ศูนย์กักแยก

- ปทุมธานี จำนวน 200,000 บาท

- ปัตตานี จำนวน 1,200,000 บาท


1,400,000
3.ค่าใช้จ่ายดําเนินงานส่วนอํานวยการกลาง ได้แก่ ค่าจัดส่ง เอกสารและพัสดุ ค่าหีบห่อ ค่าจัดทําเอกสารและสิ่งพิมพ์ ค่าวัสดุสิ้นเปลืองสํานักงาน ค่าใช้จ่าย100,000
4.ค่าดำเนินงานเทใจดอทคอม 5 %

(ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gatewayค่าคัดกรองโครงการ รายละเอียดค่าใช้จ่ายต่อบุคคล)

125,000
รวม

2,625,000


ที่มาของค่าใช้จ่ายของผู้เข้าข่ายเกณฑ์เฝ้าระวัง 1 คน 5,000 บาท/คน/14 วัน

รายการบาท
1.ค่าอาหารและน้ำดื่ม 3 มื้อต่อวัน : 14 วัน3,000
2.ค่าของใช้ส่วนตัว และอุปกรณ์ในการเข้าพัก 14 วัน1,000
3.ค่าบุคลากรในการบริหารจัดการศูนย์ รวมบุคลากรทางการแพทย์ ผู้จัดการศูนย์ และเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ 25 คน1,000
รวม5,000