cover_1

ศูนย์ที่พักอาศัยเพื่อการกักแยก

ศูนย์ที่พักอาศัยเพื่อการกักแยกศูนย์ที่พักอาศัยเพื่อการกักแยก
ผู้ป่วย ผู้พิการ
อื่นๆ

เงินบริจาคของคุณจะนำไปจัดเตรียมสถานที่ อาหาร เวชภัณฑ์ เครื่องมือเครื่องใช้ให้กับกลุ่มผู้เข้าข่ายเกณฑ์เฝ้าระวัง200คน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

9 เม.ย. 2563 - 30 มิ.ย. 2565

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ทั่วประเทศ

เป้าหมาย SDGs

GOOD HEALTH AND WELL-BEINGREDUCED INEQUALITIESPARTNERSHIPS FOR THE GOALS

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

ผู้เข้าข่ายเกณฑ์เฝ้าระวัง
200คน

5,000 บาทของท่าน สามารถช่วยผู้เข้าข่ายเกณฑ์เฝ้าระวังได้กักแยกตัวเองได้ถูกต้อง ครบ 14 วัน ช่วยลดความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อต่อให้กับสมาชิกในครอบครัวและชุมชน ซึ่งจะเป็นการช่วยลดหรือชะลอช่วงวิกฤติของการแพร่ระบาดของโรคนี้

ปัญหาสังคม

“การให้การสนับสนุนทุนและทรัพยากรสู่ศูนย์ที่พักอาศัยเพื่อการกักแยก โรงพยาบาล และโรงพยาบาลสนาม”

จากการแพร่ระบาดของโรคติดเชื้อโคโรนาสายพันธุ์ใหม่ 2019 (COVID-19) ที่เกิดขึ้นทั่วโลกตั้งแต่ช่วงต้นปี 2563 “ศูนย์ที่พักอาศัยเพื่อการกักแยก” ถูกจัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นกระบวนการ “ต้นน้ำ” ที่ช่วยตัดวงจรการแพร่ระบาดของ COVID-19 ตั้งแต่ระดับครอบครัวและชุมชน เน้นการรองรับกลุ่มผู้เฝ้าสังเกตอาการ อาทิ กลุ่มผู้มีความเสี่ยงสูง กลุ่มผู้เดินทางมาจากต่างประเทศ ในช่วงการระบาดในระลอกแรก

โดยโครงการต้นแบบศูนย์ที่พักอาศัยเพื่อการกักแยกเกิดขึ้นได้สำเร็จเป็นแห่งแรกในจังหวัดปทุมธานี และได้ขยายผลไปยังพื้นที่เสี่ยงในจังหวัดอื่นด้วย อาทิ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี ซึ่งทำหน้าที่เป็น supporting unit สำคัญของระบบสาธารณสุข ในขั้นตอนการคัดกรองและกักแยก เป็นการผ่อนภาระให้กับโรงพยาบาลตั้งแต่ต้นทาง และช่วยตัดตอนการแพร่ ระบาดสู่ชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ ดั่งกรณีศึกษาการทำศูนย์กักแยกประสบความสำเร็จมาแล้วในหลายประเทศ “ศูนย์ที่พักอาศัยเพื่อการกักแยก” เป็นจิ๊กซอว์ชิ้นสำคัญที่เติมเต็มภาพนโยบายใหญ่ โดยหันมามองถึงการลดความเหลื่อมล้ำในการเข้าถึงระบบบริการสุขอนามัยที่ดีให้กับกลุ่มเปราะบางเพื่อให้ได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียมตามหลักการทำงาน “กักแยกเร็ว หายได้ไว ชุมชนปลอดภัย ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”

ปัจจุบัน (เดือนเมษายน 2564) มีการแพร่ระบาดของ COVID-19 ระลอกใหม่กระจายในวงกว้าง โดยมีจำนวนผู้ป่วยติดเชื้อเป็นจำนวนมากกระจายอยู่ในทุกภูมิภาคของประเทศ รวมถึงมีผู้สัมผัสผู้ป่วยติดเชื้อและมีความเสี่ยงสูงที่มีความจำเป็นต้องได้รับการตรวจทดสอบการติดเชื้อ ทำให้เกิดการใช้ทรัพยากรทั้งในส่วนเวชภัณฑ์ ยา เครื่องมือเครื่องใช้ สถานที่ และบุคลากรทางการแพทย์อย่างเต็มขีดความสามารถ โดยในหลายพื้นที่มีผู้ป่วยติดเชื้อเกินกำลังที่โรงพยาบาลสามารถรองรับได้

จึงมีความจำเป็นต้องจัดตั้งกระบวนการ “ปลายน้ำ” สร้าง “โรงพยาบาลสนาม” เพื่อส่งผู้ป่วยติดเชื้อที่ไม่แสดงอาการ หรือมีอาการเบาตามการวินิจฉัยของแพทย์ให้ได้เข้ารับการรักษาตามมาตรฐานด้านสาธารณสุข ทั้งในระดับชุมชน ระดับจังหวัด และในระดับเครือข่ายของโรงพยาบาลภายใต้คณะแพทยศาสตร์สังกัดมหาวิทยาลัยต่างๆทั่วประเทศ 

โครงการเราจะดำเนินการระหว่างเดือนเมษายน 2563 ถึงเดือน ตุลาคม 2564 ระยะเวลา 1 ปี 6 เดือน เพื่อระดมทุนผ่านแพลทฟอร์มเทใจในการจัดเตรียมสถานที่ อาหาร เวชภัณฑ์ เครื่องมือเครื่องใช้ และการดูแลให้คำแนะนำที่เหมาะสมสำหรับผู้ถูกกักแยกและผู้ป่วยติดเชื้อทั้งที่เข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลและโรงพยาบาลสนาม เพื่อสนับสนุนและเสริมพลังความเข้มแข็งของกระบวนการบริหารจัดสถานการณ์ COVID-19 อย่างครบวงจรตั้งแต่ “ต้นน้ำ” ถึง “ปลายน้ำ” โดยตั้งเป้าสนับสนุนการดำเนินงานสองส่วนหลัก ประกอบด้วย กลุ่มผู้รับบริการ และ กลุ่มผู้ให้บริการ ดังนี้

1. การดูแลผู้รับบริการ (ผู้มีความเสี่ยงสูงที่ต้องกักแยก และผู้ป่วยติดเชื้อ COVID-19)

  • อาหารและเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ ตามหลักโภชนาการ
  • เครื่องนุ่งห่ม เครื่องนอน และเครื่องใช้ที่จำเป็นระหว่างการกักแยกหรือการรับการรักษา
  • อุปกรณ์ทำความสะอาด
  • ยาสามัญประจำบ้าน ตามความจำเป็น
  • อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ/แพร่เชื้อ เช่น หน้ากากอนามัย แอลกอฮอล์เจล ฯลฯ

2. การดูแลผู้ให้บริการ (ที่พักอาศัยเพื่อการกักแยก โรงพยาบาล โรงพยาบาลสนาม และบุคลากรทางการแพทย์)

  • การปรับปรุงสถานที่รองรับผู้รับบริการ และบุคลากรทางการแพทย์
  • เวชภัณฑ์ เครื่องมือ และเครื่องใช้ต่างๆ ที่จำเป็นในการดำเนินงาน
  • อุปกรณ์ป้องกันการติดเชื้อ/แพร่เชื้อ เช่น ชุด PPE หน้ากากอนามัย รองเท้ายาง น้ำยาฆ่าเชื้อ ฯลฯ 

ประโยชน์ของโครงการ

  • ช่วยลดภาระโรงพยาบาลในการรับผู้ป่วยกลุ่ม PUI หรือผู้เข้าข่ายเกณฑ์เฝ้าระวัง
  • โดยส่วนใหญ่เป็นกลุ่มประชากรฐานรากที่ไม่สามารถกักแยกตนเองหรือมีพื้นที่ในการเฝ้าระวังสังเกตอาการได้อย่างถูกต้อง
  • ป้องกันไม่ให้ครอบครัวผู้ถูกกักแยกเสี่ยงติดเชื้อโควิด 19
  • ตัดตอนการแพร่ระบาดในชุมชนได้อย่างแท้จริง
  • ผู้ป่วยได้รับการวินิจฉัยตั้งแต่ช่วงแรกของอาการทำให้โอกาสหายสูงและผ่อนจำนวนเคสหนักให้โรงพยาบาล
  • ผู้ป่วยติดเชื้อได้รับการดูแลรักษาตามมาตรฐานทางการแพทย์อย่างทั่วถึง
  • โรงพยาบาลและโรงพยาบาลสนามมีทรัพยากรในการดำเนินงานอย่างเพียงพอ
  • บุคลากรทางการแพทย์ได้รับการดูแลและได้ใช้งานอุปกรณ์ป้องการการติดเชื้อที่มีประสิทธิภาพ
  • ลดความเหลื่อมล้ำและเพิ่มโอกาสในการเข้าถึงระบบการรักษาให้แก่ประชาชนอย่างทั่วถึง

ผู้รับผิดชอบโครงการ

คณะกรรมการและคณะทำงาน ของศูนย์ที่พักอาศัยเพื่อการควบคุมไว้สังเกตอาการ

วิธีการแก้ปัญหา

  1. ระดมทุนในการจัดเตรียมสถานที่ อาหาร เวชภัณฑ์ เครื่องมือเครื่องใช้ และการดูแลให้คำแนะนำที่เหมาะสมสำหรับผู้ถูกกักแยกและผู้ป่วยติดเชื้อ เพื่อให้ได้รับการดูแลอย่างเท่าเทียมตามหลักการทำงาน “กักแยกเร็ว หายได้ไว ชุมชนปลอดภัย ไม่ทิ้งใครไว้ข้างหลัง”

แผนการดำเนินงาน

  1. จัดเตรียมสถานที่ อาหาร เวชภัณฑ์ เครื่องมือเครื่องใช้ และการดูแลให้คำแนะนำที่เหมาะสม โดยตั้งเป้าสนับสนุนการดำเนินงานสองส่วนหลัก ประกอบด้วยกลุ่มผู้รับบริการและกลุ่มผู้ให้บริการ

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
ช่วยเหลือผู้เข้าข่ายเกณฑ์เฝ้าระวัง 14 วัน คนละ 5,000 บาท

- ค่าอาหารและน้ำดื่ม 3 มื้อต่อวัน 14 วัน 3,000 บาท - ค่าของใช้ส่วนตัว และอุปกรณ์ในการเข้าพัก 14 วัน 1,000 บาท - ค่าบุคลากรในการบริหารจัดการศูนย์ รวมบุคลากรทางการแพทย์ ผู้จัดการศูนย์ และเจ้าหน้าที่ประจำศูนย์ 25 คน 1,000 บาท

200คน1,000,000.00
ค่าใช้จ่ายในการปรับปรุงสถานที่ ศูนย์กักแยก

- ปทุมธานี 200,000 บาท - ปัตตานี 1,200,000 บาท

2ที่1,400,000.00
ค่าใช้จ่ายดําเนินงานส่วนอํานวยการกลาง

ได้แก่ ค่าจัดส่ง เอกสารและพัสดุ ค่าหีบห่อ ค่าจัดทําเอกสารและสิ่งพิมพ์ ค่าวัสดุสิ้นเปลืองสํานักงาน ค่าใช้จ่าย

1ชุด100,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด2,500,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (5%)125,000.00
ยอดระดมทุน
2,625,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

ศูนย์ที่พักอาศัยเพื่อการกักแยก

ศูนย์ที่พักอาศัยเพื่อการกักแยก

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon