สังคมใส่ใจ สงฆ์ไทยสุขภาพดี

พระสงฆ์ไทยกำลังเผชิญความเสี่ยงด้านสุขภาพ น้ำหนักเกิน เสี่ยงโรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง เพราะพระสงฆ์ต้องรับอาหารถวายจากญาติโยม ทว่าญาติโยมเองก็ยังไม่ได้มีความตระหนักในการเลือกอาหารที่ดีต่อสุขภาพให้กับพระสงฆ์ด้วย พวกเราจึงอยากริเริ่มสร้างความตระหนักนี้ด้วยการจัดโครงการถวายอาหารเพลสุขภาพ โดยหวังผลระยะสั้นให้พระสงฆ์ที่วัดโมลีโลกยารามมีอาหารสุขภาพเป็นทางเลือกหนึ่งเพิ่ม และหวังสร้างพฤติกรรมที่ดีในการทำบุญตักบาตรระยะยาว
ระยะเวลาโครงการ 01 พ.ค. 2566 ถึง 03 มิ.ย. 2566 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ จังหวัดกรุงเทพมหานคร (วัดโมลีโลกยาราม)
ยอดบริจาคขณะนี้
9,000 บาทเป้าหมาย
8,800 บาทสำเร็จแล้ว
ความคืบหน้าโครงการ
ถวายอาหารเพลสุขภาพแด่สามเณรและพระสงฆ์ 60 รูป
เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ที่ผ่านมา ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชาประจำปีพ.ศ. 2566 ทางทีมโครงการ “สังคมใส่ใจ สงฆ์ไทยสุขภาพดี” ได้เดินทางไปที่วัดโมลีโลกยาราม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เพื่อไปถวายอาหารเพลสุขภาพแด่สามเณรและพระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้ ภัตตาหารที่นำไปถวาย ได้แก่
- ข้าว(ไม่)มันไก่ไรซ์เบอร์รี่ พร้อมน้ำจิ้มสูตรลดโซเดียม 20 กล่อง
- เซ็ตปลาซาบะย่างซอสพร้อมสลัดผัก 20 กล่อง
- ข้าวยำไก่อบสูตรมันน้อย พร้อมสลัดผัก 20 กล่อง
- น้ำปานะผักผลไม้รวม 60 ขวด รวมเป็นจำนวน 60 ชุด
พร้อมทั้งมีป้ายกระดาษติดเพื่อถวายข้อมูลเกี่ยวกับอาหารที่ถวายให้พระสงฆ์และสามเณรที่รับอาหารได้ทราบว่าอาหารเหล่านี้ดีต่อสุขภาพอย่างไร ตลอดจนมี QR CODE ที่สามารถเข้าสู่หน้าเว็บไซต์เพื่อคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI) พร้อมทั้งคำแนะนำในการควบคุมอาหารเบื้องต้นให้ เพื่อให้สามารถตรวจเช็คสุขภาพของตนเองได้ด้วย ซึ่งมีพระสงฆ์และสามเณรมารับชุดอาหารสุขภาพตามที่มีการประชาสัมพันธ์ให้ภายในวัดก่อนแล้ว
นอกจากนี้ในการประชาสัมพันธ์และการสร้างความตระหนักของโครงการในเรื่องความใส่ใจเลือกสรรอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ก็ถือว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง เนื่องจากมีบุคคลอื่นนำข้อมูลของโครงการไปช่วยประชาสัมพันธ์ในให้เว็บบอร์ดสาธารณะอื่นให้ด้วย
ซึ่งกระทู้ดังกล่าวก็ถือว่าได้รับความสนใจจากผู้ใช้เว็บบอร์ดท่านอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน และมีผู้มาร่วมแสดงความคิดเห็นในเรื่องการเลือกตักบาตรให้กับพระสงฆ์ด้วย เช่น “ปัญหาหนึ่งคือคนไทยมองว่าจะถวายของให้พระต้องถวายแต่ของดีที่สุดเท่านั้น มันเลยเป็นจุดอ่อนที่เวลาทำอาหารใส่บาตรมักจะเลือกทำแต่ของที่คิดว่าดีและอร่อยให้พระ” ถือเป็นจุดเล็ก ๆ จุดหนึ่งที่ผู้คนได้มาแสดงความคิดเห็นในประเด็นนี้กัน
และเนื่องจากผู้ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีความสนใจและศรัทธาในพุทธศาสนาจึงมีผู้ที่แสดงความคิดเห็นในเชิงอนุโมทนาบุญไปกับโครงการนี้จำนวนไม่น้อย จึงเป็นที่น่ายินดีกับทั้งผู้ดำเนินโครงการและผู้ร่วมบริจาคที่มีคนช่วยแชร์ข้อมูลและสร้างความตระหนักรู้ให้ด้วยคนในสังคมเอง
ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์
พระสิทธิพงศ์ ประยงค์ทรัพย์ หรือพระนุ๊ก พระสงฆ์ที่มาศึกษาพระบาลีอยู่ที่วัดโมลีโลกยารามและได้มารับมื้ออาหารสุขภาพในวันนั้น
ก็แสดงความรู้สึกยินดีที่มีโครงการนี้เกิดขึ้น เพราะนอกจากรสชาติอาหารที่อร่อยแล้ว ยังเป็นอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ เนื่องจากวัดโมลีโลกยารามเป็นวัดขนาดใหญ่ ที่มีพระสงฆ์และสามเณรจำพรรษาและมาบวชเรียนอยู่เป็นจำนวนมา ไม่ต่ำกว่า 600 รูป บางครั้งแม่ครัวของวัดไม่สามารถจัดหาอาหารที่ถูกหลักโภชนาการได้ตลอด การมีโครงการนี้จึงช่วยให้พระสงฆ์เข้าถึงอาหารสุขภาพได้มากขึ้นและอยากให้มีขึ้นอีกในอนาคต
พระศรีวชิรบัณฑิต หรือพระอาจารย์โอ๋ พระอาจารย์ใหญ่สำนักเรียนประจำวัด ซึ่งเป็นพระผู้ใหญ่ที่คอยช่วยประสานงานและประชาสัมพันธ์โครงการนี้ในวัดให้
ก็แสดงความประทับใจต่อโครงการนี้ว่าจากการสอบถามภิกษุสามเณรในวันนั้นก็มีความประทับใจในภัตตาหารที่ได้รับ เพราะนอกจากมีรสชาติอร่อยแล้ว ยังมีคุณค่าทางอาหารถูกหลักโภชนาการและดีต่อสุขภาพ รวมถึงพระสงฆสามเณรเองก็มีแนวโน้มที่จะเลือกฉันอาหารที่ดีต่อสุขภาพร่างกายจากภัตตาหารที่ได้รับจากญาติโยมมาฉันมากขึ้นด้วย เพราะมีโอกาสได้ลองฉันอาหารที่ดีต่อสุขภาพจากโครงการนี้แล้ว ซึ่งก็ถือว่าตอบจุดประสงค์ของโครงการด้วยเช่นกัน เพราะนอกจากที่พวกเราจะต้องการสร้างความตระหนักเรื่องอาหารสุขภาพให้กับทั้งพระสงฆ์และคนทำบุญในระยะยาว
ความประทับใจของผู้บริจาคและญาติโยม
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์ | อธิบาย | จำนวนที่ได้ประโยชน์ | ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น |
ประชาชนทั่วไป | ประชาชนที่เข้ามาร่วมบริจาครวมถึงผู้ที่เห็นสื่อประชาสัมพันธ์และกระทู้ในบอร์ดสาธารณะ | ประมาณ 200 คน | มีความตระหนักเรื่องการส่งต่ออาหารที่ดีต่อสุขภาพให้กับพระสงฆ์มากขึ้น |
พระสงฆ์สามเณร | เป็นพระสงฆ์สามเณรในวัดโมลีโลกยาราม | 60 รูป | เข้าถึงอาหารสุขภาพมากขึ้น |
รูปภาพกิจกรรม
ภาพ : อาหารสุขภาพและน้ำผักผลไม้สำหรับถวาย
ภาพ : ตัวอย่างอาหารสุขภาพพร้อมป้ายให้ความรู้ ได้แก่ ข้าวยำไก่อบสูตรมันน้อย พร้อมสลัดผัก เซ็ตปลาซาบะย่างซอสพร้อมสลัดผัก และข้าว(ไม่)มันไก่ไรซ์เบอร์รี่ พร้อมน้ำจิ้มสูตรลดโซเดียม อย่างละ 20 กล่อง
ภาพ : พระสงฆ์และสามเณรที่มารับภัตตาหารถวาย
ภาพ : ทีมงานร่วมกันถวายอาหารสุขภาพแด่พระสงฆ์และสามเณร
วิดีโอกิจกรรม
ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา
จากผลการสำรวจสุขภาพพระสงฆ์โดยโรงพยาบาลศิริราช ภายใต้โครงการพัฒนาระบบการสร้างเสริมสุขภาพพระสงฆ์โดยทีมสหวิทยาการในปีพ.ศ. 2565 บางกอกน้อยโมเดล พบว่าจากการตรวจสุขภาพพระสงฆ์ในจังหวัดกรุงเทพมหานคร จำนวน 464 รูป พระสงฆ์มีดัชนีมวลกายอยู่ในเกณฑ์น้ำหนักเกิน ร้อยละ 19.4 และจัดอยู่ในเกณฑ์อ้วนระดับ 1 และ ระดับ 2 ร้อยละ 32.3 และ 13.1 ตามลำดับ ซึ่งภาวะน้ำหนักเกินนั้นส่งผลต่อความเสี่ยงในการเป็นโรคไม่ติดต่อเรื้อรัง เช่น โรคเบาหวาน โรคความดันโลหิตสูง และโรคไขมันในเลือดสูง โดยสาเหตุสำคัญส่วนหนึ่งมาจากการบริโภคภัตตาหาร เนื่องจากพระสงฆ์ไม่สามารถจัดทำหรือจัดหาอาหารเองได้ ดังนั้นอาหารที่ญาติโยมนำมาถวายจึงเป็นปัจจัยสำคัญที่ส่งผลต่อสุขภาพพระสงฆ์
ทางผู้ดำเนินโครงการเห็นความสำคัญในจุดนี้จึงตั้งเป้าหมายว่าต้องการจะเปลี่ยนแปลงพฤติกรรมของคนทำบุญตักบาตรในปัจจุบันให้เห็นถึงผลกระทบจากอาหารที่ตนเองถวายไปสู่พระสงฆ์และมีความตระหนักในการเลือกสรรอาหารที่ดีต่อสุขภาพพระสงฆ์มากยิ่งขึ้น โดยเริ่มจากการถวายเพลด้วยอาหารสูตรสุขภาพที่ผ่านการคิดและปรับปรุงสูตรอาหารโดยบริษัท จานคุณหมอ จำกัด (Dr.Dish) ที่มีนักโภชนาการมืออาชีพและแพทย์เข้าไปสร้างอาหารสูตรสุขภาพในร้านอาหารที่มีชื่อเสียง ออกมาเป็นจานอาหารสูตรสุขภาพที่เหมาะกับผู้ที่ต้องการมีสุขภาพดี ผู้ดำเนินโครงการจะนำอาหารเหล่านี้ไปถวายเพลที่วัดโมลีโลกยารามจำนวน 60 ชุด เนื่องในวันวิสาชบูชา ซึ่งถือเป็นวันพระใหญ่ของปี อย่างน้อยเพื่อเป็นการสร้างจุดเริ่มต้นที่ดีในการเปลี่ยนแปลงทัศนคติของคนตักบาตร และหวังว่ากิจกรรมในลักษณะนี้จะเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่องในโอกาสสำคัญ หรือเป็นกิจกรรมรายเดือนที่เป็นช่องทางให้ชาวพุทธที่มีกำลังศรัทธาได้ถวายอาหารที่ดีต่อสุขภาพให้กับพระสงฆ์ได้อย่างต่อเนื่องผ่านช่องทางออนไลน์ ซึ่งเป็นวิธีที่สะดวกและเหมาะสมกับวิถีชีวิตของผู้คนในปัจจุบันด้วย
นอกจากนี้ทีมผู้ดำเนินโครงการยังได้สอบถามแนวคิดเรื่อง ‘การตักบาตรสุขภาพออนไลน์’ กับคนที่ทำบุญตักบาตรในปัจจุบันด้วยว่ามีความคิดเห็นอย่างไรบ้าง ซึ่งคนส่วนใหญ่ก็เห็นว่ามีประโยชน์ เพราะว่าสะดวก สามารถทำผ่านช่องทางออนไลน์ได้ และต่างจากบริการตักบาตรของเจ้าอื่น ๆ ที่แม้ทุกวันนี้จะมีบริการตักบาตรทางออนไลน์มากมายเพื่ออำนวยความสะดวกให้กับคนยุคปัจจุบัน แต่ก็ยังไม่มีที่ไหนที่มีอาหารสุขภาพให้บริการ จึงเห็นว่าการตักบาตรอาหารสุขภาพออนไลน์เป็นอีกหนึ่งตัวเลือกที่ดีทั้งในการทำบุญและเพิ่มการเข้าถึงอาหารที่ดีต่อสุขภาพให้กับพระสงฆ์ด้วย ผู้ดำเนินโครงการจึงยิ่งเห็นความเป็นไปได้และมองว่าควรริเริ่มโครงการนี้เป็นอย่างยิ่งเพื่อสร้างความเปลี่ยนแปลงในสังคมไปด้วยกัน
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
1. หลังจากระดมทุนได้ตามเป้าหมายแล้ว คณะผู้ดำเนินการจะติดต่อกับทาง Dr.Dish เพื่อให้จัดหาอาหารสุขภาพมาให้จำนวน 60 ชุด อันประกอบไปด้วย
- ข้าว(ไม่)มันไก่ไรซ์เบอร์รี่ พร้อมน้ำจิ้มสูตรลดโซเดียม จำนวน 20 ชุด
- ข้าวยำไก่อบสูตรมันน้อย พร้อมสลัดผัก จำนวน 20 ชุด
- เซ็ตปลาซาบะย่างซอสพร้อมสลัดผัก จำนวน 20 ชุด
- น้ำปานะผักผลไม้รวมสูตรสุขภาพน้ำตาลน้อย ถวายพร้อมอาหารจำนวน 60 ชุด
โดยอาหารสุขภาพที่จะถวายทั้งหมดได้รับการคัดสรรจากผู้เชี่ยวชาญด้านโภชนาการและแพทย์จากทีม Dr.Dish
2. คณะผู้ดำเนินการจะนำอาหารสุขภาพทั้ง 60 ชุดไปถวายที่วัดโมลีโลกยารามในมื้อเพลของวันวิสาขบูชา วันเสาร์ที่ 3 มิถุนายน พ.ศ. 2566
3. หลังจากการดำเนินงานครั้งนี้จะมีการต่อยอดกิจกรรมที่ต่อเนื่องขึ้น อาจมีการติดต่อกับวัดอื่น ๆ เพื่อเป็นการกระจายอาหารสุขภาพ หรือจัดกิจกรรมนี้ในโอกาสอื่น ๆ ต่อไป
ผู้รับผิดชอบโครงการ
บริษัท ลูกคิด จำกัด

Facebook: https://web.facebook.com/lukkidgroup
Website: https://www.lukkidgroup.com/
ถวายอาหารเพลสุขภาพแด่สามเณรและพระสงฆ์ 60 รูป
เมื่อวันที่ 3 มิถุนายน ที่ผ่านมา ซึ่งตรงกับวันวิสาขบูชาประจำปีพ.ศ. 2566 ทางทีมโครงการ “สังคมใส่ใจ สงฆ์ไทยสุขภาพดี” ได้เดินทางไปที่วัดโมลีโลกยาราม แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพมหานคร เพื่อไปถวายอาหารเพลสุขภาพแด่สามเณรและพระสงฆ์ที่จำพรรษาอยู่ที่วัดแห่งนี้ ภัตตาหารที่นำไปถวาย ได้แก่
- ข้าว(ไม่)มันไก่ไรซ์เบอร์รี่ พร้อมน้ำจิ้มสูตรลดโซเดียม 20 กล่อง
- เซ็ตปลาซาบะย่างซอสพร้อมสลัดผัก 20 กล่อง
- ข้าวยำไก่อบสูตรมันน้อย พร้อมสลัดผัก 20 กล่อง
- น้ำปานะผักผลไม้รวม 60 ขวด รวมเป็นจำนวน 60 ชุด
พร้อมทั้งมีป้ายกระดาษติดเพื่อถวายข้อมูลเกี่ยวกับอาหารที่ถวายให้พระสงฆ์และสามเณรที่รับอาหารได้ทราบว่าอาหารเหล่านี้ดีต่อสุขภาพอย่างไร ตลอดจนมี QR CODE ที่สามารถเข้าสู่หน้าเว็บไซต์เพื่อคำนวณค่าดัชนีมวลกาย (BMI) พร้อมทั้งคำแนะนำในการควบคุมอาหารเบื้องต้นให้ เพื่อให้สามารถตรวจเช็คสุขภาพของตนเองได้ด้วย ซึ่งมีพระสงฆ์และสามเณรมารับชุดอาหารสุขภาพตามที่มีการประชาสัมพันธ์ให้ภายในวัดก่อนแล้ว
นอกจากนี้ในการประชาสัมพันธ์และการสร้างความตระหนักของโครงการในเรื่องความใส่ใจเลือกสรรอาหารที่ดีต่อสุขภาพ ก็ถือว่าประสบความสำเร็จในระดับหนึ่ง เนื่องจากมีบุคคลอื่นนำข้อมูลของโครงการไปช่วยประชาสัมพันธ์ในให้เว็บบอร์ดสาธารณะอื่นให้ด้วย
ซึ่งกระทู้ดังกล่าวก็ถือว่าได้รับความสนใจจากผู้ใช้เว็บบอร์ดท่านอื่น ๆ ด้วยเช่นกัน และมีผู้มาร่วมแสดงความคิดเห็นในเรื่องการเลือกตักบาตรให้กับพระสงฆ์ด้วย เช่น “ปัญหาหนึ่งคือคนไทยมองว่าจะถวายของให้พระต้องถวายแต่ของดีที่สุดเท่านั้น มันเลยเป็นจุดอ่อนที่เวลาทำอาหารใส่บาตรมักจะเลือกทำแต่ของที่คิดว่าดีและอร่อยให้พระ” ถือเป็นจุดเล็ก ๆ จุดหนึ่งที่ผู้คนได้มาแสดงความคิดเห็นในประเด็นนี้กัน
และเนื่องจากผู้ที่เข้ามาแสดงความคิดเห็นส่วนใหญ่เป็นผู้ที่มีความสนใจและศรัทธาในพุทธศาสนาจึงมีผู้ที่แสดงความคิดเห็นในเชิงอนุโมทนาบุญไปกับโครงการนี้จำนวนไม่น้อย จึงเป็นที่น่ายินดีกับทั้งผู้ดำเนินโครงการและผู้ร่วมบริจาคที่มีคนช่วยแชร์ข้อมูลและสร้างความตระหนักรู้ให้ด้วยคนในสังคมเอง
ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์
พระสิทธิพงศ์ ประยงค์ทรัพย์ หรือพระนุ๊ก พระสงฆ์ที่มาศึกษาพระบาลีอยู่ที่วัดโมลีโลกยารามและได้มารับมื้ออาหารสุขภาพในวันนั้น
ก็แสดงความรู้สึกยินดีที่มีโครงการนี้เกิดขึ้น เพราะนอกจากรสชาติอาหารที่อร่อยแล้ว ยังเป็นอาหารที่ถูกหลักโภชนาการ เนื่องจากวัดโมลีโลกยารามเป็นวัดขนาดใหญ่ ที่มีพระสงฆ์และสามเณรจำพรรษาและมาบวชเรียนอยู่เป็นจำนวนมา ไม่ต่ำกว่า 600 รูป บางครั้งแม่ครัวของวัดไม่สามารถจัดหาอาหารที่ถูกหลักโภชนาการได้ตลอด การมีโครงการนี้จึงช่วยให้พระสงฆ์เข้าถึงอาหารสุขภาพได้มากขึ้นและอยากให้มีขึ้นอีกในอนาคต
พระศรีวชิรบัณฑิต หรือพระอาจารย์โอ๋ พระอาจารย์ใหญ่สำนักเรียนประจำวัด ซึ่งเป็นพระผู้ใหญ่ที่คอยช่วยประสานงานและประชาสัมพันธ์โครงการนี้ในวัดให้
ก็แสดงความประทับใจต่อโครงการนี้ว่าจากการสอบถามภิกษุสามเณรในวันนั้นก็มีความประทับใจในภัตตาหารที่ได้รับ เพราะนอกจากมีรสชาติอร่อยแล้ว ยังมีคุณค่าทางอาหารถูกหลักโภชนาการและดีต่อสุขภาพ รวมถึงพระสงฆสามเณรเองก็มีแนวโน้มที่จะเลือกฉันอาหารที่ดีต่อสุขภาพร่างกายจากภัตตาหารที่ได้รับจากญาติโยมมาฉันมากขึ้นด้วย เพราะมีโอกาสได้ลองฉันอาหารที่ดีต่อสุขภาพจากโครงการนี้แล้ว ซึ่งก็ถือว่าตอบจุดประสงค์ของโครงการด้วยเช่นกัน เพราะนอกจากที่พวกเราจะต้องการสร้างความตระหนักเรื่องอาหารสุขภาพให้กับทั้งพระสงฆ์และคนทำบุญในระยะยาว
ความประทับใจของผู้บริจาคและญาติโยม
ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์ | อธิบาย | จำนวนที่ได้ประโยชน์ | ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น |
ประชาชนทั่วไป | ประชาชนที่เข้ามาร่วมบริจาครวมถึงผู้ที่เห็นสื่อประชาสัมพันธ์และกระทู้ในบอร์ดสาธารณะ | ประมาณ 200 คน | มีความตระหนักเรื่องการส่งต่ออาหารที่ดีต่อสุขภาพให้กับพระสงฆ์มากขึ้น |
พระสงฆ์สามเณร | เป็นพระสงฆ์สามเณรในวัดโมลีโลกยาราม | 60 รูป | เข้าถึงอาหารสุขภาพมากขึ้น |
รูปภาพกิจกรรม
ภาพ : อาหารสุขภาพและน้ำผักผลไม้สำหรับถวาย
ภาพ : ตัวอย่างอาหารสุขภาพพร้อมป้ายให้ความรู้ ได้แก่ ข้าวยำไก่อบสูตรมันน้อย พร้อมสลัดผัก เซ็ตปลาซาบะย่างซอสพร้อมสลัดผัก และข้าว(ไม่)มันไก่ไรซ์เบอร์รี่ พร้อมน้ำจิ้มสูตรลดโซเดียม อย่างละ 20 กล่อง
ภาพ : พระสงฆ์และสามเณรที่มารับภัตตาหารถวาย
ภาพ : ทีมงานร่วมกันถวายอาหารสุขภาพแด่พระสงฆ์และสามเณร
วิดีโอกิจกรรม
แผนการใช้เงิน
ลำดับ | รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|---|
1 | ค่าอาหารสุขภาพพร้อมน้ำปานะผักผลไม้รวม ชุดละ 120 บาท | 60 ชุด | 7,200.00 |
2 | ค่าจัดส่งอาหารและดำเนินการ | 1 | 800.00 |