cover_1

บำบัดฟื้นฟูเด็กและเยาวชน ผู้ถูกคุกคามทางเพศ

มูลนิธิครอบครัวพร้อมรักษ์มูลนิธิครอบครัวพร้อมรักษ์
เด็กและเยาวชน

เงินบริจาคของคุณจะจัดทำกระบวนการรับคำปรึกษาและบำบัดรักษาบาดแผลทางจิตใจให้กับเด็กและเยาวชนผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศ10คน

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

23 พ.ค. 2567 - 31 ส.ค. 2567

พื้นที่ดำเนินโครงการ

จ.เชียงราย

เป้าหมาย SDGs

NO POVERTYGOOD HEALTH AND WELL-BEINGREDUCED INEQUALITIES

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

เด็กและเยาวชน
10คน

เด็กและเยาวชนจำนวนมากมายเป็นเหยื่อของการถูกล่วงละเมิดทางเพศและการค้ามนุษย์ สร้างความเสียหายต่อชีวิต มีแต่ความหดหู่และสิ้นหวัง ให้พวกเขาได้พบกับความหวังใหม่ โดยนำพวกเขาเข้าสู่กระบวนการรับคำปรึกษาและบำบัดรักษาบาดแผลทางจิตใจ จำนวน 10 เคส ในจังหวัดเชียงราย

ปัญหาสังคม

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

ความรุนแรงทางเพศเป็นปัญหาใหญ่ในประเทศไทย เป็นอันดับต้นๆของโลก 

จากรายงาน หยุดยั้งอันตรายในประเทศไทย (Disrupting Harm in Thailand Report) ซึ่งจัดทำโดยยูนิเซฟ ร่วมกับเอ็คแพท และอินเตอร์โพล พบว่าในปี 2564 มีเด็กไทยอายุ 12-17 ปี กว่า 400,000 คน หรือเกือบ 1 ใน 10 คน เคยตกเป็นผู้เสียหายจากการล่วงละเมิดและแสวงประโยชน์ทางเพศผ่านช่องทางออนไลน์ 

สสส. พบหญิงไทยถูกละเมิดทางเพศ-กระทำความรุนแรง มากกว่า 7 คน/วัน เข้ารับการบำบัดรักษา-แจ้งความร้องทุกข์ 30,000 คน/ปี สูงติดอันดับโลก ผู้หญิงทุกสังคมต้องเผชิญปัญหาความรุนแรงในครอบครัว และความรุนแรงทางเพศต่อเนื่อง ประเทศไทยมีสถิติความรุนแรงต่อผู้หญิงสูงขณะที่รายงานของสำนักงานว่าด้วยยาเสพติดและอาชญากรรมแห่งสหประชาชาติ (UNODC) พบว่า กว่าร้อยละ 87 ของคดีการถูกล่วงละเมิดทางเพศไม่เคยถูกรายงาน และจากการสำรวจสถานการณ์ความรุนแรงต่อผู้หญิง และบุคคลในครอบครัวของไทยระดับประเทศ พบความชุกของความรุนแรงต่อผู้หญิงและบุคคลในครอบครัว เพิ่มขึ้นจากร้อยละ 34.6 ในปี 2560 เป็นร้อยละ 42.2 ในปี 2563 โดยประเภทความรุนแรงสูงสุดคือ ความรุนแรงทางด้านจิตใจ คิดเป็นร้อยละ 32.3 รองลงมาคือ ความรุนแรงทางร่างกายร้อยละ 9.9 และความรุนแรงทางเพศร้อยละ 4.5 

มูลนิธิครอบครัวพร้อมรักษ์ได้ให้คำปรึกษาผู้มีบาดแผลทางใจจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศและจากการค้ามนุษย์ เรามีความมุ่งมั่นและเดินเคียงข้างกับผู้ที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ โดยช่วยให้พวกเขาได้รับคำปรึกษาอย่างต่อเนื่อง และบำบัดรักษาภายในที่บอบช้ำที่ลงลึกถึงรากปัญหา และหลุดพ้นจากความเจ็บปวด รวมทั้งสนับสนุนให้ความรู้ความเข้าใจครอบครัวผู้เสียหายในวิธีการสนับสนุนผู้มีบาดแผลทางใจจากประสบการณ์ที่เลวร้ายที่เกิดขึ้นในชีวิตของพวกเขา

นับตั้งแต่ปี 2555-ปัจจุบัน มูลนิธิฯได้เข้าร่วมภารกิจการช่วยกู้พร้อมภาคีเครือข่าย และนำผู้เสียหายได้เข้าสู่กระบวนการเยียวยารักษาและบำบัดบาดแผลทางใจ เราได้มีการช่วยเด็กชายเร่ร่อนที่ขายบริการทางเพศ เด็กที่ถูกล่วงละเมิดในบ้านพักเด็ก นักศึกษามหาวิทยาลัยผู้ถูกแสวงหาประโยชน์ทางเพศออนไลน์ เยาวชนผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศจากคนในครอบครัว เด็กกำพร้าที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศ ผู้พิการที่ถูกล่วงละเมิดทางเพศจากคนในชุมชน  

เราได้เห็นว่าเด็กและเยาวชนผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศมีความละอาย มีความกลัวสูงมาก หลายๆครั้งพวกเขาต่อสู้กับพฤติกรรมเสพติดเพศ สื่อลามก การทำร้ายตัวเอง หวาดระแวง คิดมาก มีซึมเศร้า ไม่ไว้วางใจผู้อื่น ส่งผลกระทบต่อความสัมพันธ์ และไม่มีความหวังในอนาคตของพวกเขา สิ้นหวังได้ง่าย ฉะนั้นเรามองเห็นความสำคัญว่ากระบวนการให้คำปรึกษาอย่างต่อเนื่องจะช่วยให้พวกเขาได้รับการเยียวยาบาดแผลในใจและมีความหวังสำหรับอนาคต ให้เขาเข้าใจตัวเอง เข้าใจสิ่งที่เกิดขึ้นกับเขา เข้าใจวิธีการตอบสนองกับสิ่งที่เขากำลังต่อสู้ เข้าใจคุณค่าของตัวเอง และใช้ชีวิตอย่างมีเสรีภาพ รวมทั้งให้พวกเขาได้รับรู้ว่าครอบครัวของพวกเขาจะเป็นผู้สนับสนุนชีวิตของพวกเขา ไม่ให้ผู้เสียหายต้องต่อสู้เพียงลำพัง และครอบครัวผู้เสียหายจะได้เรียนรู้วิธีการตอบสนองอย่างเหมาะสมต่อผู้มีบาดแผลทางใจ

มูลนิธิครอบครัวพร้อมรักษ์มีหลักสูตรและเครื่องมือที่พร้อมสนับสนุนกระบวนการให้คำปรึกษาและเยียวยารักษาบาดแผลทางใจ มูลนิธิฯได้รับการไว้วางใจในการทำงานร่วมกับภาคีเครือข่ายภาครัฐและภาคเอกชนที่จะเป็นหน่วยงานตั้งรับในเรื่องการช่วยผู้เสียหาย โดยเฉพาะเรื่องภาวะจิตใจที่ตึงเครียดหลังประสบปัญหา และภาวะจิตใจที่บอบช้ำรุนแรงจากการถูกกระทำทางเพศ มูลนิธิฯมีความเชี่ยวชาญและทีมงานได้รับการฝึกฝนอย่างเข้มข้นเพื่อช่วยเหลือผู้เสียหาย รวมทั้งให้ความรู้ความเข้าใจให้กับครอบครัวผู้เสียหายในเรื่องการตอบสนองอย่างระมัดระวังในความเจ็บปวดของผู้เสียหาย และอบรมเรื่องบาดแผลทางใจให้กับครอบครัวในชุมชนในพื้นที่จังหวัดเชียงรายอย่างต่อเนื่อง

คำพูดจากผู้เสียหายจากการถูกล่วงละเมิดทางเพศที่มารับคำปรึกษาและได้รับการบำบัด 

คนที่ 1 หนูได้เป็นอิสระจากชีวิตที่ถูกล่วงละเมิดมาตลอดหลายปี ตอนนี้ได้รู้ว่าชีวิตหนูมีคุณค่ามาก 

คนที่ 2 หนูได้เรียนรู้ว่า ประสบการณ์ที่เลวร้ายที่เกิดขึ้นในอดีต ไม่สามารถมากำหนดอนาคตของหนูได้  

คนที่ 3 หนูอยากช่วยคนอื่นที่มีประสบการณ์ถูกล่วงละเมิดทางเพศ หนูอยากเห็นอิสรภาพของพวกเขา และได้รับความหวังใหม่ เหมือนที่หนูได้รับการรักษาจากบาดแผลในใจ

ผู้รับผิดชอบโครงการ

นางพรสุดา ไทยนุรัฐ  ตำแหน่งนักสังคมสงเคราะห์ มูลนิธิครอบครัวพร้อมรักษ​์

วิธีการแก้ปัญหา

  1. ระดมทุนพาเด็กและเยาวชนผู้ถูกล่วงละเมิดทางเพศ เข้าสู่กระบวนการรับคำปรึกษาและบำบัดรักษาบาดแผลทางจิตใจ ได้เข้าใจความเจ็บปวดของตัวเอง และรับการรักษาเยียวยาจิตใจ และหลุดพ้นจากความเจ็บปวด สามารถใช้ชีวิตประจำวันได้อย่างเข้มแข็งและไม่ให้อดีตที่เจ็บปวดมาทำลายปัจจุบัน

แผนการดำเนินงาน

  1. เตรียมความพร้อมเจ้าหน้าที่ผู้มีประสบการณ์ด้านการบำบัดรักษาบาดแผลทางจิตใจ ทางมูลนิธิฯมีเจ้าหน้าที่นักสังคมสงเคราะห์ที่มีใบอนุญาต จำนวน 2 คน และผู้ให้คำปรึกษา 1 คน เป็นผู้มีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์เข้าใจกระบวนการให้คำปรึกษาและบำบัดรักษาบาดแผลทางจิตใจ โดยใช้แนวคิดจาก TF-CBT (กระบวนการบำบัดความคิดและพฤติกรรมกรณีบอบช้ำทางจิตใจ) มาปรับใช้

  2. ประสานขอความร่วมมือกับภาคีเครือข่ายในจังหวัดเชียงราย เพื่อทำงานร่วมกันเรื่องการส่งเด็กและเยาวชนเข้าสู่กระบวนการบำบัดรักษาบาดแผลทางจิตใจ

  3. ใช้ช่องทางการจัดอบรมในชุมชนเพื่อเข้าถึงผู้เสียหายจากการล่วงละเมิดทางเพศได้มากขึ้น และขอความร่วมมือจากผู้นำชุมชน ทำงานร่วมกับครอบครัว และอธิบายถึงความสำคัญของการที่จะเข้าสู่กระบวนการเยียวยารักษา

  4. เมื่อผู้เสียหายได้เริ่มต้นเข้าสู่กระบวนการ จะมีขั้นตอนแรกรับ ทำแบบประเมินองค์รวม เพื่อเข้าใจภาพรวมของปัญหา และกำหนดวันเวลาที่ชัดเจน เพื่อนัดหมายมารับการบำบัดรักษาบาดแผลทางจิตใจ โดยนัดเจอสัปดาห์ละ 1 ครั้ง ใช้เวลา 1 ชั่วโมงครึ่ง ระยะเวลา 1 ปี

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
เจ้าหน้าที่ให้คำปรึกษา

- การให้คำปรึกษามีทั้งรายบุคคล/กลุ่ม สัปดาห์ละ 1 ครั้ง - 500 บาทต่อครั้ง

48ครั้ง24,000.00
เครื่องมืออุปกรณ์สำหรับการบำบัด

- อุปกรณ์นันทนาการ เครื่องเขียน ขนม รางวัล ไปทำกิจกรรมข้างนอก - กิจกรรมละ 800 บาท

10กิจกรรม8,000.00
อบรมให้คำปรึกษาเรื่องบาดแผลทางจิตใจสำหรับครอบครัวผู้เสียหาย

1,500 บาทต่อครั้ง

12ครั้ง18,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด50,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)5,000.00
ยอดระดมทุน
55,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

มูลนิธิครอบครัวพร้อมรักษ์

มูลนิธิครอบครัวพร้อมรักษ์

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon