project เด็กและเยาวชน

สร้างอาคารอนุบาลบ้านดอยแอก

ค่ายครูอาสาเพื่อนดอยพัฒนา ม.ธรรมศาสตร์ ชวนคนใจดี ร่วมสร้างอาคารอนุบาลโรงเรียนบ้านดอยแอก อ.ฮอด ต.นาคอเรือ จ.เชียงใหม่ ให้แล้วเสร็จ

ระยะเวลาโครงการ 5 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ ห้องเรียนเคลื่อนที่บ้านดอยแอก อ.ฮอด ต.นาคอเรือ จ.เชียงใหม่

ยอดบริจาคขณะนี้

74,085 บาท

เป้าหมาย

71,704 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 103%
จำนวนผู้บริจาค 36

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

สรุปผลการสร้างอาคารอนุบาลบ้านดอยแอก

23 มิถุนายน 2020

เมื่อวันที่ 23-31 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา ชุมนุมเพื่อมโดมสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดทำค่ายครูอาสาเพื่อนดอยพัฒนา EP.4 ที่ห้องเรียนเคลื่อนที่บ้านดอยแอก อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ ซึ่งสำเร็จลุล่วงตามจุดประสงค์

โดยหลังจากที่ได้เงินสนับสนุนจากเว็บไซต์เทใจรวมทั้งสิ้น 67,328 บาท ในปลายเดือนพฤษจิกายนนั้น คุณครูสุนทร บุญทา ครูผู้รับผิดชอบโครงการการสร้างห้องเรียนอนุบาลได้ทยอยนำเงินบริจาคจำนวนดังกล่าวไปใช้สมทบทุนในการสร้างอาคารอนุบาลให้สำเร็จตามแบบแผน ซึ่งปัจจุบันห้องเรียนอนุบาลสร้างสำเร็จเป็นที่เรียบร้อย มีการนำเงินไปใช้ดังรายการโดยสรุปดังนี้

บรรยายภาพ :  ภาพอาคารอนุบาลภายนอก

บรรยายภาพ : ภาพปัจจุบันของอาคารอนุบาลภายใน

บรรยายภาพ : อาสาสมัครจากเพื่อดอยยังร่วมทาสีตกแต่งอาคารเรียนอนุบาล

บรรยายภาพ : วาดตัวอักษรภาษาอักฤษเพื่อการเรียนรู้แก่เด็กๆ บนผนังห้องเรียนอนุบาล

ทางคุณครู เด็กๆ และชาวบ้านชุมชนบ้านดอยแอก ฝากบอกความรู้สึกแก่คณะทำงานมาว่า รู้สึกขอบคุณผู้บริจาคทุกท่านด้วยใจจริงที่ทำให้การสร้างห้องเรียนอนุบาลสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และยังทิ้งท้ายไว้ว่าหากใครอยากมาเยี่ยม มาทักทายก็สามารถเข้ามาที่ชุมชมเล็กๆแต่อบอุ่นแห่งนี้ได้เสมอ ขอบคุณผู้ให้ทุกคนนะคะ!

ทั้งนี้ค่ายอาสาชุมนุมเพื่อมโดมสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดทำค่ายครูอาสาเพื่อนดอยพัฒนา EP.4จุดประสงค์หลักทั้ง 3 ด้าน การลงพื้นที่นอกจากจะปรับปรุงอาคารแล้วสิ่งที่ได้ทำเพิ่มเติมคือ 

1.ด้านการพัฒนาโรงเรียน และ ชุมชน

การร่วมสร้างห้องน้ำให้โรงเรียน

การปรับปรุงถนนเป็นลูกรังที่เป็นหลุม และชัน ทำให้เดินทางลำบาก  ซึ่งทั้งนักศึกษาและชาวบ้าน รวมไปถึงเด็กต่างร่วมกันมาปรับถนนกันในวันนั้น ถึงแม้อากาศจะร้อน ฝุ่นจะเยอะ เหน็ดเหนื่อยขนาดไหน แต่สิ่งที่ได้คือถนนที่ดีขึ้น และมิตรภาพระหว่างเพื่อน รวมไปถึงมิตรภาพของชาวบ้านกับนักศึกษา

2.สอนมอบความรู้ และประสบการณ์แก่เยาวชนที่อยู่ห่างไกล

เนื่องด้วยเป็นค่ายครูอาสาที่ต้องการเข้าไปเชื่อมต่อความรู้และประสบการณ์แก่น้องๆที่อยู่ห่างไกล ทำให้กิจกรรมการสอนถือว่าเป็นกิจกรรมที่ทางค่ายให้ความสำคัญ โดยการสอนไม่ได้มุ่งเน้นเพียงวิชาการ แต่เป็ฯการสอนที่ทำให้เด็กๆมองโลกได้กว้างมากยิ่งขึ้น ในการสอนนั้นได้แบ่งเป็นหมวดการสอนไว้คือ หมวดวิชาการสร้างสรรค์ หมวดศิลปะ หมวดความรู้ทั่วไป และหมวดการงาน ซึ่งในการสอนแต่ละหวดได้สอดแทรกการทำกิจกรรมที่สนุกสนานเพื่อให้เด็กๆมีความสนใจในการเรียนมากขึ้น

บรรยายภาพร : สอนเรื่องโลกของเรา ว่าเราอยู่ที่ไหนบนโลกนี้ น้องๆตื่นเต้นกันใหญ่

3.สานสัมพันธ์สร้างความเข้าใจเรื่องความแตกต่างหลากหลาย

ในการจัดทำค่ายนอกจากการเข้าไปพัฒนาโรงเรียน ชุมชน และการเข้าไปเป็นครูอาสาแล้ว ทางค่ายเพื่อนดอยพัฒนายังมีวัตถุประสงค์หลักคือการเชื่อมความเข้าใจกันและกันบนความแตกต่างหลากหลาย ทั้งกับนักศึกษาพิการและไม่พิการที่ร่วมค่าย รวมไปถึงเชื่อมสัมพันธ์เรียนรู้วิถีชุมชนชาวกะเหรี่ยงที่บ้านดอยแอกอีกด้วย โดยการทำค่ายในครั้งนี้ทำให้ทุกคนได้เพื่อน มิตรภาพ และสร้างมุมมองของการมองคนอย่างเท่าเทียมไปในตัว

ขอบคุณทุกท่านที่สนับสนุนพวกเรา



อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ห้องเรียนเคลื่อนที่บ้านดอยแอก ตั้งอยู่ที่ตำบลนาคอเรือ อำเภอฮอด จังหวัดเชียงใหม่ เปิดสอนนักเรียนตั้งแต่ระดับชั้นอนุบาลถึงประถมศึกษาปีที่ 6

ในโรงเรียนมีครูประจำการ จำนวน 1 คน และเด็กนักเรียนทั้งหมด 21 คน 

การเดินทางไปยังโรงเรียน เส้นทางเป็นถนนลูกรัง ทำให้ใช้เวลาเดินทางจาก ต.นาคอเรือ ประมาณ 1 ชั่วโมง เด็กนักเรียนบางคนที่บ้านไกลทำให้เดินทางลำบาก และชาวบ้านในพื้นที่ยังมีรายได้น้อย

ครูสุนทร บุญทา ครูประจำการห้องสมุดเคลื่อนที่บ้านดอยแอก ต้องการพัฒนาห้องเรียนเคลื่อนที่แห่งนี้ให้เป็นโรงเรียนที่มีคุณภาพมากยิ่งขึ้น ทั้งในด้านอาคาร และวิชาการ ปัจจุบันพยายามสร้างอาคารอนุบาลใหม่ แต่ก็ยังคงหยุดการสร้างไว้เนื่องจากขาดแคลนทุนทรัพย์ในการซื้อวัสดุ อุปกรณ์ รวมไปถึงค่าจ้างขนส่งและแรงงาน

ปัจจุบันอาคารเรียนยังไม่แล้วเสร็จ มีเพียงหลังคาและอิฐบล็อกที่ขึ้นกำแพงไว้ และยังไม่ได้ทำการฉาบปูนเพื่อความแข็ง รวมถึงขาดแคลนประตู หน้าต่าง และระบบไฟฟ้าที่จะส่องสว่างให้เด็กๆ ไว้เรียนหนังสือ


ค่ายเพื่อนดอยพัฒนา ในชุมนุมเพื่อนโดมสัมพันธ์ของมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ เห็นความสำคัญของการพัฒนาคุณภาพการเรียนการสอน กระบวนการเรียนรู้ และทักษะชีวิตแก่นักเรียน เป็นการพัฒนาสู่การเป็นพลเมืองที่ดี มีคุณภาพ และเป็นกำลังสำคัญในการพัฒนาประเทศชาติ นอกจากนี้ยังเป็นการส่งเสริมให้เด็กนักศึกษาได้มีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมกับชุมชน

กิจกรรมที่จะเข้าไปพัฒนาโรงเรียน ประกอบด้วย

  • ให้ความรู้และมอบประสบการณ์ใหม่ให้กับเด็กๆ ที่ห้องเรียนเคลื่อนที่ดอยแอก
  • ปรับปรุงพื้นที่โรงเรียนและต่อเติมอาคารเรียนให้น้องๆ มีพื้นที่ที่เหมาะสมแก่การศึกษา โดยจะเป็นการแก้ปัญหาเรื่องของคุณภาพของการศึกษา ซึ่งเกิดประโยชน์ต่อภาคสังคมต่อไปในอนาคตอย่างยั่งยืน
  • กิจกรรมเรียนรู้วิถีชีวิตชุมชนกะเหรี่ยงโป
  • กิจกรรมสานสัมพันธ์กันระหว่างเพื่อนนักศึกษาทั้งนักศึกษาพิการและไม่พิการ


ขั้นตอนดำเนินการ

  1. ผู้รับผิดชอบโครงการคิดและวางรูปแบบโครงการ
  2. ผู้รับผิดชอบโครงการเสนอโครงการเข้าที่ประชุม
  3. ส่งโครงการเพื่อรออนุมัติโครงการ
  4. ผู้รับผิดชอบโครงการและสมาชิกในชุมนุมร่วมกันวางแผนการดำเนินโครงการ
  5. สมาชิกที่รับผิดชอบแต่ละฝ่ายเริ่มดำเนินการโดยใช้หลักการการประสานงานกันอย่างเป็นระบบ
  6. ระดมทุนการจัดทำค่าย และการก่อสร้างเพื่อช่วยเหลือโรงเรียน
  7. ร่วมกันแก้ไขปัญหาที่เกิดขึ้นระหว่างดำเนินการ
  8. ผู้เข้าร่วมค่ายประเมินผลการดำเนินโครงการ
  9. ผู้รับผิดชอบโครงการสรุปโครงการจากการสังเกตและแบบสอบถาม

ติดตามการดำเนินงานได้ที่ : https://www.facebook.com/Doifriends

ประโยชน์ของโครงการ

  1. นักศึกษา นักเรียน และคนในชุมชุนมีเจตคติอันดีต่อผู้พิการ
  2. นักเรียนสามารถประยุกต์ความรู้จากกิจกรรมมาใช้ในชีวิตประจำวันและพัฒนาให้ดีขึ้น
  3. นักศึกษาเรียนรู้วิถีชีวิตความเป็นอยู่ และเกิดปฏิสัมพันธ์อันดีระหว่างนักศึกษากับคนในชุมชน
  4. นักศึกษาเรียนรู้การทำงานร่วมกันอย่างเป็นระบบ เกิดความรักความสามัคคีภายในชุมนุม และมีความเข้าใจกันมากขึ้น
  5. พื้นที่โรงเรียนได้รับการปรับปรุงให้เกิดความสะดวกและเหมาะสมต่อการศึกษา และการใช้สอยที่สะดวกมากยิ่งขึ้น

คณะทำงาน (บางส่วน)

น.ส.เมษาวดี วุฒิประพันธ์พงศ์ คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ชั้นปีที่ 4 (ประธานค่าย)
น.ส.ภรภัทร์ อำมาตย์มณี คณะวารสารศาสตร์และสื่อสารมวลชน ชั้นปีที่ 4 (เลขานุการ)
น.ส.ชาสิณี นวลฉวี คณะสังคมสงเคราะห์ศาสตร์ ชั้นปีที่ 3 (เหรัญญิก)
น.ส.ปริณดา ลาวัลย์ คณะพาชยศาสตร์และการบัญชี ชั้นปีที่ 3 (จัดหาทุน)

ภาคี


ชุมนุมเพื่อนโดมสัมพันธ์ : https://www.facebook.com/frienddometu/


เพื่อนดอยพัฒนา : https://www.facebook.com/Doifriends

ชุมนุมเพื่อนโดมสัมพันธ์เป็นชุมนุมเดียวในมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ที่จัดทำค่ายอาสาที่เน้นให้เพื่อนนักศึกษาพิการและไม่พิการมาทำกิจกรรมบำเพ็ญประโยชน์ร่วมกันอย่างเข้าใจกันและกัน บนความแตกต่างหลากหลาย ดังนั้นการทำค่ายอาสาเพื่อเด็กๆ ที่อยู่ห่างไกล หรือชาวบ้านชุมชนที่อยู่ชายขอบ จึงเป็นการเสริมย้ำกับสังคมให้เห็นถึงความสำคัญของกลุ่มคนเหล่านี้มากขึ้น และให้เห็นว่าพวกเขาทุกคนมีสิทธิที่จะได้รับการพัฒนาในทุกด้านอย่างเท่าเทียม ซึ่งโครงการค่ายเพื่อนดอยพัฒนา ทำมาปีนี้เป็นปีที่ 4 โดยปีที่ 3 จัดขึ้นที่ ต.แม่สอง อ. ท่าสองยาง จ.ตาก ที่โรงเรียนแม่ระเมิงโกร โดยได้มีการเป็นครูอาสา สร้างแทงค์น้ำให้ชุมชน และเรียนรู้วิถีชีวิตของชาวกะเหรี่ยงสกอ จากการได้รับบริจาคทางเว็บไซต์เทใจและประสบผลสำเร็จ

สรุปผลการสร้างอาคารอนุบาลบ้านดอยแอก

23 มิถุนายน 2020

เมื่อวันที่ 23-31 ธันวาคม 2562 ที่ผ่านมา ชุมนุมเพื่อมโดมสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดทำค่ายครูอาสาเพื่อนดอยพัฒนา EP.4 ที่ห้องเรียนเคลื่อนที่บ้านดอยแอก อ.ฮอด จ.เชียงใหม่ ซึ่งสำเร็จลุล่วงตามจุดประสงค์

โดยหลังจากที่ได้เงินสนับสนุนจากเว็บไซต์เทใจรวมทั้งสิ้น 67,328 บาท ในปลายเดือนพฤษจิกายนนั้น คุณครูสุนทร บุญทา ครูผู้รับผิดชอบโครงการการสร้างห้องเรียนอนุบาลได้ทยอยนำเงินบริจาคจำนวนดังกล่าวไปใช้สมทบทุนในการสร้างอาคารอนุบาลให้สำเร็จตามแบบแผน ซึ่งปัจจุบันห้องเรียนอนุบาลสร้างสำเร็จเป็นที่เรียบร้อย มีการนำเงินไปใช้ดังรายการโดยสรุปดังนี้

บรรยายภาพ :  ภาพอาคารอนุบาลภายนอก

บรรยายภาพ : ภาพปัจจุบันของอาคารอนุบาลภายใน

บรรยายภาพ : อาสาสมัครจากเพื่อดอยยังร่วมทาสีตกแต่งอาคารเรียนอนุบาล

บรรยายภาพ : วาดตัวอักษรภาษาอักฤษเพื่อการเรียนรู้แก่เด็กๆ บนผนังห้องเรียนอนุบาล

ทางคุณครู เด็กๆ และชาวบ้านชุมชนบ้านดอยแอก ฝากบอกความรู้สึกแก่คณะทำงานมาว่า รู้สึกขอบคุณผู้บริจาคทุกท่านด้วยใจจริงที่ทำให้การสร้างห้องเรียนอนุบาลสำเร็จลุล่วงไปด้วยดี และยังทิ้งท้ายไว้ว่าหากใครอยากมาเยี่ยม มาทักทายก็สามารถเข้ามาที่ชุมชมเล็กๆแต่อบอุ่นแห่งนี้ได้เสมอ ขอบคุณผู้ให้ทุกคนนะคะ!

ทั้งนี้ค่ายอาสาชุมนุมเพื่อมโดมสัมพันธ์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ได้จัดทำค่ายครูอาสาเพื่อนดอยพัฒนา EP.4จุดประสงค์หลักทั้ง 3 ด้าน การลงพื้นที่นอกจากจะปรับปรุงอาคารแล้วสิ่งที่ได้ทำเพิ่มเติมคือ 

1.ด้านการพัฒนาโรงเรียน และ ชุมชน

การร่วมสร้างห้องน้ำให้โรงเรียน

การปรับปรุงถนนเป็นลูกรังที่เป็นหลุม และชัน ทำให้เดินทางลำบาก  ซึ่งทั้งนักศึกษาและชาวบ้าน รวมไปถึงเด็กต่างร่วมกันมาปรับถนนกันในวันนั้น ถึงแม้อากาศจะร้อน ฝุ่นจะเยอะ เหน็ดเหนื่อยขนาดไหน แต่สิ่งที่ได้คือถนนที่ดีขึ้น และมิตรภาพระหว่างเพื่อน รวมไปถึงมิตรภาพของชาวบ้านกับนักศึกษา

2.สอนมอบความรู้ และประสบการณ์แก่เยาวชนที่อยู่ห่างไกล

เนื่องด้วยเป็นค่ายครูอาสาที่ต้องการเข้าไปเชื่อมต่อความรู้และประสบการณ์แก่น้องๆที่อยู่ห่างไกล ทำให้กิจกรรมการสอนถือว่าเป็นกิจกรรมที่ทางค่ายให้ความสำคัญ โดยการสอนไม่ได้มุ่งเน้นเพียงวิชาการ แต่เป็ฯการสอนที่ทำให้เด็กๆมองโลกได้กว้างมากยิ่งขึ้น ในการสอนนั้นได้แบ่งเป็นหมวดการสอนไว้คือ หมวดวิชาการสร้างสรรค์ หมวดศิลปะ หมวดความรู้ทั่วไป และหมวดการงาน ซึ่งในการสอนแต่ละหวดได้สอดแทรกการทำกิจกรรมที่สนุกสนานเพื่อให้เด็กๆมีความสนใจในการเรียนมากขึ้น

บรรยายภาพร : สอนเรื่องโลกของเรา ว่าเราอยู่ที่ไหนบนโลกนี้ น้องๆตื่นเต้นกันใหญ่

3.สานสัมพันธ์สร้างความเข้าใจเรื่องความแตกต่างหลากหลาย

ในการจัดทำค่ายนอกจากการเข้าไปพัฒนาโรงเรียน ชุมชน และการเข้าไปเป็นครูอาสาแล้ว ทางค่ายเพื่อนดอยพัฒนายังมีวัตถุประสงค์หลักคือการเชื่อมความเข้าใจกันและกันบนความแตกต่างหลากหลาย ทั้งกับนักศึกษาพิการและไม่พิการที่ร่วมค่าย รวมไปถึงเชื่อมสัมพันธ์เรียนรู้วิถีชุมชนชาวกะเหรี่ยงที่บ้านดอยแอกอีกด้วย โดยการทำค่ายในครั้งนี้ทำให้ทุกคนได้เพื่อน มิตรภาพ และสร้างมุมมองของการมองคนอย่างเท่าเทียมไปในตัว

ขอบคุณทุกท่านที่สนับสนุนพวกเรา



แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนราคา (บาท)
1. ห้องครัว 

   -ไม้หน้าสาม6ศอก10012,400
   -ประตูบาน 12,500
   -หน้าต่าง51,200
   -ค่าขนส่งจากร้านด้านล่าง15,000
รวม20,000
2. ห้องอนุบาล

   -ปูน80 ลูก8,400
   -ปูนฉาบ25 ลูก3,125
   -ทรายหยาบ3 ลำ9,000
   -ทรายละเอียด1 ลำ3,000
   -หินลำ2 ลำ7,000
   -บานหน้าต่าง5 บาน13,750
   -ประตู1 บาน4,500
   -อุปกรณ์อื่นๆ (สี,น็อต)56,500
   -ค่าขนส่ง120,000
   -เครื่อง imverter15,600
รวม80,875
รวมทั้งหมด100,875
โครงการจะดำเนินการสร้างห้องน้ำอนุบาลและทาสีปรับปรุงทัศนียภาพของ ส่วนห้องอนุบาลและโรงครัวจะเป็นการสมทบทุนช่วยเหลือกับทางโรงเรียนเท่านั้น