project เด็กและเยาวชน ผู้พิการและผู้ป่วย กลุ่มคนเปราะบาง

Fight to Alive กองระดมทุนช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยาที่ขาดทุนทรัพย์ในการรักษา

กองทุนช่วยผู้เหลือผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยา เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง ซึ่งสิทธิการรักษาบางกรณีจะไม่ครอบคลุมทั้งหมดกระบวนการรักษา รวมถึงผลิตสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์และรณรงค์การบริจาคโลหิต เกล็ดเลือด และสเต็มเซลล์ จัดกิจกรรมส่งเสริมกำลังใจ ให้กับผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยา

ระยะเวลาโครงการ ตลอดปี พื้นที่ดำเนินโครงการ ทั่วประเทศ

ยอดบริจาคขณะนี้

1,583,640 บาท

เป้าหมาย

2,640,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 60%
256 วัน จำนวนผู้บริจาค 1,290

ความคืบหน้าโครงการ

ผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยาที่ได้รับความช่วยเหลือปี 2565 จำนวน 20 เคส

24 มีนาคม 2023

นับตั้งแต่เริ่มระดมทุน เดือนมกราคม 2565 มาจนถึงปัจจุบัน ทางกองทุนได้ทำการช่วยเหลือ ผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยาที่อยู่ในโครงการจำนวน 20 เคส ดังนี้

  1. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน กรณีปลูกถ่ายไขกระดูก อายุ 5 ปี โรงพยาบาลศิริราช
  2. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน กรณีปลูกถ่ายไขกระดูก อายุ 36 ปี โรงพยาบาลรามาธิบดี
  3. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน กรณีปลูกถ่ายไขกระดูก อายุ 2 ปี โรงพยาบาลรามาธิบดี
  4. ผู้ป่วยโรคโกรเชร์ กรณีปลูกถ่ายไขกระดูก อายุ 4 ปี โรงพยาบาลรามาธิบดี
  5. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน กรณีปลูกถ่ายไขกระดูก อายุ 6 ปี โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
  6. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน อายุ 3 ปี โรงพยาบาลราชบุรี
  7. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน อายุ 6 ปี โรงพยาบาลราชบุรี
  8. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน อายุ 3 ปี โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
  9. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน อายุ10 ปี โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
  10. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน อายุ 4 ปี สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
  11. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน อายุ 4 ปี สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
  12. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน อายุ 1 ปี โรงพยาบาลบุรีรัมย์
  13. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน อายุ 8 ปี โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  14. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน อายุ 2 ปี โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  15. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน อายุ 2 ปี โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  16. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน อายุ 12 ปี โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
  17. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน อายุ 5 ปี โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
  18. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน อายุ 1 ปี โรงพยาบาลรามาธิบดี
  19. ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง อายุ 8 ปี โรงพยาบาลชลบุรี
  20. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันระยะประคับประคอง อายุ 43 ปี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ผู้ป่วยที่ขอรับการช่วยเหลือจำแนกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

  1. ผู้ป่วยที่ต้องรับการปลูกถ่ายไขกระดูก จำนวน 5 เคส
  2. ผู้ป่วยระยะประคับประคอง จำนวน 1 เคส
  3. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน จำนวน 13 เคส
  4. ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง 1 เคส

โรงพยาบาลที่ผู้ป่วยในโครงการเข้ารับการรักษา

  • โรงพยาบาลศิริราช
  • โรงพยาบาลราชบุรี
  • โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
  • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • โรงพยาบาลบุรีรัมย์
  • โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  • โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
  • โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
  • โรงพยาบาลชลบุรี

ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือด้าน ค่ารักษาพยาบาลนอกเหนือจากสิทธิ์ ค่ายา ค่าใช้จ่ายระหว่างรักษาพยาบาล ค่าเดินทาง ค่าตรวจ HLA เพื่อการปลูกถ่ายไขกระดูก

กองทุนสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายผู้ป่วย ผู้ดูแลผู้ป่วย ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูก

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

 เด็กชายณรงค์ชัย น้องพีท อายุ 8 ปี ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน
“ขอขอบพระคุณผู้ใจบุญทุกท่านมากๆเลยนะคะที่เอ็นดูน้องพีท ขอให้บุญกุศลที่ทุกท่านได้ช่วยเหลือน้องพีทส่งกับคืนทุกท่านให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงนะคะ อัพเดทอาการน้องพีทตอนนี้ดีขึ้นระดับนึงตอบสนองในการรักษาของหมอดีค่ะ เซลล์มะเร็งลดลงหลังได้รับคีโมมาได้ 7 เดือน แล้วค่ะ”

 เด็กชายบวรวิทย์ น้องต่อยอด อายุ 3 ปี ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน 
“ขอขอบพระคุณผู้บริจาคทุกท่านที่ช่วยบริจาคค่านม ค่าใช้จ่ายระหว่างรักษา ค่าเดินทางไปโรงพยาบาลและค่ายาที่นอกเหนือจากสิทธิ์ให้กับน้องต่อยอดนะครับ”

 เด็กชายกฤชภัทร อายุ 5 ปี ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน 
"ทางเราต้องขอขอบคุณผู้บริจาคทุกท่านด้วยนะคะ ที่ได้ช่วยเรื่องค่าตรวจHLA ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ตอนนี้น้องกำลังรักษาอยุ่ในขั้นตอนการปลูกถ่ายไขกระดูกอยู่คะ ”

 เด็กหญิงมินตรา อายุ 2 ปี ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน 
“ ทางครอบครัวของเราขอขอบคุณผู้บริจาคและมูลนิธิมะเร็งโลหิตวิทยา ที่ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายการตรวจเนื่อเยื่อ HLA ในการปลูกถ่ายของน้องขอให้การทำบุญครั้งนี้ของทุกคน ส่งผลให้ทุกคนมีร่างกายสุขภาพแข็งแรงทุกๆท่านนะค่ะ ตอนนี้น้องยังคงให้คีโมอยู่ค่ะ คอร์สการรักษาของน้องคือให้คีโมทุกสัปดาห์ระหว่างรอปลูกถ่าย น้องยังรอผู้บริจาคสเต็มเซลล์จากสภากาชาดอยู่ค่ะ ทางสภากาชาดกำลังติดต่อมาให้อยู่ค่ะ แต่ถ้าไม่ได้คุณหมอก็จะเปลี่ยนแผนมาใช้สเต็มเซลล์ของคุณพ่อคุณแม่แทนค่ะ แต่ในใจก็ยังหวังขอให้น้องได้เจอคู่แท้สเต็มเซลล์ด้วยเถิดค่ะ ” 

 เด็กหญิงนวรรณธฎา อายุ 5 ปี
“ ขอขอบคุณผู้บริจาคที่ช่วยเหลือให้แปมแปมและแม่ได้มีกำลังใจในการต่อสู้กับโรคมะเร็ง ปัจจุบันแปมแปมรักษาที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ให้ยาเดือนละ1ครั้ง เจาะไขกระดูกทุก 3 เดือนและมียากินทุกวันค่ะ อาการดีขึ้นมาก ไม่แพ้ยา เลือดปกติดีค่ะ ” 

 เด็กชายพุฒิเมธ อายุ 6 ปี ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน 
“ คุณแม่ขอขอบพระคุณเป็นอย่างมากนะคะ ที่ช่วยร่วมบริจาคเงินให้กับน้องเมฆ แม่จะเอาไว้ซื้อยาให้น้อง ซื้อนมให้น้องนะคะ”

กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ผู้ป่วยผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยาหรือโรคทางโลหิตวิทยา20 ท่าน
  • ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
  • แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายสำหรับครอบครัวที่มีฐานะยากจน
  • ผู้ป่วยมีความหวังและกำลังใจ
  • ผู้ป่วยได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูก
รูปภาพกิจกรรม

นอกจากบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ป่วยที่ขาดทุนทรัพย์ในการรักษาแล้ว Thailand Blood Cancer Foundation ได้จัดกิจกรรมต่างๆ ได้แก่

1.ประกวดวาดภาพชิงทุนการศึกษา สำหรับผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยา จัดกิจกรรมวาดภาพระบายสี 

 เพื่อให้ผู้ป่วยได้มีกิจกรรมสร้างสรรค์ระหว่างทำการรักษา และมอบรางวัลให้ผู้ป่วยเป็นทุนการศึกษาและใบประกาศณียบัตร

2.กิจกรรมงานคริสต์มาสส่งความสุขแด่ครอบครัวมะเร็งโลหิตวิทยา

 

3.กิจกรรมพาครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งเที่ยวซาฟารีเวิล์ด

 

4.กิจกรรมBe Friends Workshop for Mind Healing กิจกรรมบำบัดจิตใจสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง

 

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

จากการทำแบบสำรวจพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยาในปัจจุบัน คือ ค่าใช้จ่ายในการรักษามะเร็งโลหิตวิทยาแต่ละครั้งมีราคาค่อนข้างสูง เนื่องจากต้องใช้ยาเคมีบำบัดที่ต้องผ่านกระแสโลหิต อยู่ในห้องปลอดเชื้อ และต้องมีบุคลากรทางการแพทย์ที่เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องรักษาด้วยวิธีการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด มีค่าใช้จ่ายประมาณ 750,000 - 1,300,000 บาท ซึ่งสิทธิการรักษาบางกรณีจะไม่ครอบคลุมทั้งหมดกระบวนการรักษา มูลนิธิมะเร็งโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย จึงได้จัดตั้ง กองระดมทุน Fight to Alive ขึ้นมาเพื่อระดมทุนช่วยเหลือผู้เหลือผู้ป่วย เพื่อให้ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง รวมถึงผลิตสื่อเพื่อประชาสัมพันธ์และรณรงค์การบริจาคโลหิต เกล็ดเลือด และสเต็มเซลล์ จัดกิจกรรมส่งเสริมกำลังใจ ให้กับผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยา

ปัญหาการรักษาโรคมะเร็งโลหิตวิทยาในปัจจุบัน

จากการทำแบบสำรวจพบว่าปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยาในปัจจุบันคือ ค่าใช้จ่ายในการรักษามะเร็งโลหิตวิทยาแต่ละครั้งมีราคาค่อนข้างสูง เนื่องจากยาเคมีบำบัดที่ต้องผ่านกระแสโลหิต ห้องปลอดเชื้อ และบุคลากรทางการแพทย์ที่เชี่ยวชาญ โดยเฉพาะผู้ป่วยที่ต้องได้รับการปลูกถ่ายเซลล์ต้นกำเนิดเม็ดเลือด สิทธิการรักษาบางกรณีไม่ครอบคลุมทั้งหมดกระบวนการรักษา

วิธีการแก้ไข

จัดตั้ง Fight to Alive กองทุนที่ช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยา เพื่อช่วยสมทบค่าใช้จ่ายในการรักษาสำหรับผู้ป่วยที่ขาดแคลนทุนทรัพย์ ในด้านค่ารักษา ค่าเดินทาง ค่าใช้จ่ายระหว่างรักษา อาทิค่านม แพมเพิส รวมถึงสนับสนุนส่งเสริมกิจการของผู้ป่วยเพื่อให้มีรายได้จุนเจือระหว่างการรักษาโรคมะเร็ง

ประโยชน์ต่อสังคม

ผู้ป่วยสามารถทำการรักษาต่อเนื่อง ได้รับกำลังใจ และข้อมูลการรักษาโรค เพื่อเป้าหมายรักษาให้หายขาด

เงื่อนไขการเข้าร่วม กระบวนการคัดเลือกผู้ป่วยเข้าร่วมโครงการ

  1. ผู้ป่วยที่อยู่ระหว่างการรักษาโรคมะเร็งโลหิตวิทยา
  2. ผู้ป่วยฐานะยากจน 

ขอบเขตการช่วยเหลือจากกองทุนช่วยเหลือ Fight to Alive

  • ผู้ป่วยรับการช่วยเหลืออยู่ในวงเงินไม่เกิน 5,000 บาทต่อเดือน
  • ขอบเขตการเบิกขอความช่วยเหลือโครงการ ได้แก่  ค่าตรวจดำเนินทางการแพทย์ ค่าใช้จ่ายระหว่างรักษา(ค่าอาหาร ค่าแพมเพิส ค่านม) ค่าเดินทาง (ค่าพาหนะ เดินทางจากที่พัก ไปโรงพยาบาล)
  • ระยะเวลาการช่วยเหลือผู้ป่วยต่อหนึ่งท่าน : 24 เดือน นับจากวันที่รับการช่วยเหลือจากโครงการ

ขั้นตอนการดำเนินงาน

  1. ทำแบบสำรวจเพื่อให้เข้าใจและรับรู้ถึงปัญหาที่เกิดขึ้นกับผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยา
  2. ได้ผลสำรวจ ปัญหาหนึ่งที่เกิดขึ้นและควรแก้ไขอย่างเร่งด่วนคือผู้ป่วยขาดทุนทรัพย์ในการรักษา
  3. จัดตั้งโครงการ Fight to Alive ระดมทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยาที่ขาดทุนทรัพย์ในการรักษา
  4. รับสมัครผู้ป่วยที่ต้องการเข้าร่วมโครงการ Fight to Alive ระดมทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยาที่ขาดทุนทรัพย์ในการรักษา โดยผ่านการคัดกรองอย่างละเอียด
  5. รวบรวมเอกสาร ข้อมูลของผู้ป่วยเพื่อประเมินค่าใช้จ่ายที่แต่ละท่านต้องการความช่วยเหลือ
  6. ระดมทุนเพื่อช่วยเหลือผู้ป่วย
  7. เงินบริจาคส่งต่อให้ผู้ป่วยแต่ละรายที่เข้าร่วมขอความช่วยเหลือจากโครงการ
  8. ติดตามความคืบหน้าของการรักษาผู้ป่วยแต่ละราย และรายงานผลการรักษา

ผู้รับผิดชอบโครงการ

มูลนิธิมะเร็งโลหิตวิทยาแห่งประเทศไทย Thailand Blood Cancer Foundation

ผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยาที่ได้รับความช่วยเหลือปี 2565 จำนวน 20 เคส

24 มีนาคม 2023

นับตั้งแต่เริ่มระดมทุน เดือนมกราคม 2565 มาจนถึงปัจจุบัน ทางกองทุนได้ทำการช่วยเหลือ ผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยาที่อยู่ในโครงการจำนวน 20 เคส ดังนี้

  1. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน กรณีปลูกถ่ายไขกระดูก อายุ 5 ปี โรงพยาบาลศิริราช
  2. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน กรณีปลูกถ่ายไขกระดูก อายุ 36 ปี โรงพยาบาลรามาธิบดี
  3. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน กรณีปลูกถ่ายไขกระดูก อายุ 2 ปี โรงพยาบาลรามาธิบดี
  4. ผู้ป่วยโรคโกรเชร์ กรณีปลูกถ่ายไขกระดูก อายุ 4 ปี โรงพยาบาลรามาธิบดี
  5. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน กรณีปลูกถ่ายไขกระดูก อายุ 6 ปี โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
  6. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน อายุ 3 ปี โรงพยาบาลราชบุรี
  7. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน อายุ 6 ปี โรงพยาบาลราชบุรี
  8. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน อายุ 3 ปี โรงพยาบาลภูมิพลอดุลยเดช
  9. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน อายุ10 ปี โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
  10. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน อายุ 4 ปี สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
  11. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน อายุ 4 ปี สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
  12. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน อายุ 1 ปี โรงพยาบาลบุรีรัมย์
  13. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน อายุ 8 ปี โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  14. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน อายุ 2 ปี โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  15. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน อายุ 2 ปี โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  16. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน อายุ 12 ปี โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
  17. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน อายุ 5 ปี โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
  18. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน อายุ 1 ปี โรงพยาบาลรามาธิบดี
  19. ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง อายุ 8 ปี โรงพยาบาลชลบุรี
  20. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลันระยะประคับประคอง อายุ 43 ปี โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์

ผู้ป่วยที่ขอรับการช่วยเหลือจำแนกเป็น 4 กลุ่ม ดังนี้

  1. ผู้ป่วยที่ต้องรับการปลูกถ่ายไขกระดูก จำนวน 5 เคส
  2. ผู้ป่วยระยะประคับประคอง จำนวน 1 เคส
  3. ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน จำนวน 13 เคส
  4. ผู้ป่วยมะเร็งต่อมน้ำเหลือง 1 เคส

โรงพยาบาลที่ผู้ป่วยในโครงการเข้ารับการรักษา

  • โรงพยาบาลศิริราช
  • โรงพยาบาลราชบุรี
  • โรงพยาบาลสงขลานครินทร์
  • โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์
  • โรงพยาบาลบุรีรัมย์
  • โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา
  • โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์
  • โรงพยาบาลรามาธิบดี
  • สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี
  • โรงพยาบาลชลบุรี

ผู้ป่วยได้รับการช่วยเหลือด้าน ค่ารักษาพยาบาลนอกเหนือจากสิทธิ์ ค่ายา ค่าใช้จ่ายระหว่างรักษาพยาบาล ค่าเดินทาง ค่าตรวจ HLA เพื่อการปลูกถ่ายไขกระดูก

กองทุนสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยให้ได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายผู้ป่วย ผู้ดูแลผู้ป่วย ผู้ป่วยสามารถเข้าถึงการรักษาด้วยการปลูกถ่ายไขกระดูก

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์

 เด็กชายณรงค์ชัย น้องพีท อายุ 8 ปี ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน
“ขอขอบพระคุณผู้ใจบุญทุกท่านมากๆเลยนะคะที่เอ็นดูน้องพีท ขอให้บุญกุศลที่ทุกท่านได้ช่วยเหลือน้องพีทส่งกับคืนทุกท่านให้มีสุขภาพร่างกายแข็งแรงนะคะ อัพเดทอาการน้องพีทตอนนี้ดีขึ้นระดับนึงตอบสนองในการรักษาของหมอดีค่ะ เซลล์มะเร็งลดลงหลังได้รับคีโมมาได้ 7 เดือน แล้วค่ะ”

 เด็กชายบวรวิทย์ น้องต่อยอด อายุ 3 ปี ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน 
“ขอขอบพระคุณผู้บริจาคทุกท่านที่ช่วยบริจาคค่านม ค่าใช้จ่ายระหว่างรักษา ค่าเดินทางไปโรงพยาบาลและค่ายาที่นอกเหนือจากสิทธิ์ให้กับน้องต่อยอดนะครับ”

 เด็กชายกฤชภัทร อายุ 5 ปี ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน 
"ทางเราต้องขอขอบคุณผู้บริจาคทุกท่านด้วยนะคะ ที่ได้ช่วยเรื่องค่าตรวจHLA ค่าอาหาร ค่าเดินทาง ตอนนี้น้องกำลังรักษาอยุ่ในขั้นตอนการปลูกถ่ายไขกระดูกอยู่คะ ”

 เด็กหญิงมินตรา อายุ 2 ปี ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน 
“ ทางครอบครัวของเราขอขอบคุณผู้บริจาคและมูลนิธิมะเร็งโลหิตวิทยา ที่ช่วยเหลือค่าใช้จ่ายการตรวจเนื่อเยื่อ HLA ในการปลูกถ่ายของน้องขอให้การทำบุญครั้งนี้ของทุกคน ส่งผลให้ทุกคนมีร่างกายสุขภาพแข็งแรงทุกๆท่านนะค่ะ ตอนนี้น้องยังคงให้คีโมอยู่ค่ะ คอร์สการรักษาของน้องคือให้คีโมทุกสัปดาห์ระหว่างรอปลูกถ่าย น้องยังรอผู้บริจาคสเต็มเซลล์จากสภากาชาดอยู่ค่ะ ทางสภากาชาดกำลังติดต่อมาให้อยู่ค่ะ แต่ถ้าไม่ได้คุณหมอก็จะเปลี่ยนแผนมาใช้สเต็มเซลล์ของคุณพ่อคุณแม่แทนค่ะ แต่ในใจก็ยังหวังขอให้น้องได้เจอคู่แท้สเต็มเซลล์ด้วยเถิดค่ะ ” 

 เด็กหญิงนวรรณธฎา อายุ 5 ปี
“ ขอขอบคุณผู้บริจาคที่ช่วยเหลือให้แปมแปมและแม่ได้มีกำลังใจในการต่อสู้กับโรคมะเร็ง ปัจจุบันแปมแปมรักษาที่โรงพยาบาลสวรรค์ประชารักษ์ ให้ยาเดือนละ1ครั้ง เจาะไขกระดูกทุก 3 เดือนและมียากินทุกวันค่ะ อาการดีขึ้นมาก ไม่แพ้ยา เลือดปกติดีค่ะ ” 

 เด็กชายพุฒิเมธ อายุ 6 ปี ผู้ป่วยมะเร็งเม็ดเลือดขาวชนิดเฉียบพลัน 
“ คุณแม่ขอขอบพระคุณเป็นอย่างมากนะคะ ที่ช่วยร่วมบริจาคเงินให้กับน้องเมฆ แม่จะเอาไว้ซื้อยาให้น้อง ซื้อนมให้น้องนะคะ”

กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
ผู้ป่วยผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยาหรือโรคทางโลหิตวิทยา20 ท่าน
  • ผู้ป่วยได้รับการรักษาอย่างต่อเนื่อง
  • แบ่งเบาภาระค่าใช้จ่ายสำหรับครอบครัวที่มีฐานะยากจน
  • ผู้ป่วยมีความหวังและกำลังใจ
  • ผู้ป่วยได้รับการปลูกถ่ายไขกระดูก
รูปภาพกิจกรรม

นอกจากบริจาคเงินช่วยเหลือผู้ป่วยที่ขาดทุนทรัพย์ในการรักษาแล้ว Thailand Blood Cancer Foundation ได้จัดกิจกรรมต่างๆ ได้แก่

1.ประกวดวาดภาพชิงทุนการศึกษา สำหรับผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยา จัดกิจกรรมวาดภาพระบายสี 

 เพื่อให้ผู้ป่วยได้มีกิจกรรมสร้างสรรค์ระหว่างทำการรักษา และมอบรางวัลให้ผู้ป่วยเป็นทุนการศึกษาและใบประกาศณียบัตร

2.กิจกรรมงานคริสต์มาสส่งความสุขแด่ครอบครัวมะเร็งโลหิตวิทยา

 

3.กิจกรรมพาครอบครัวผู้ป่วยมะเร็งเที่ยวซาฟารีเวิล์ด

 

4.กิจกรรมBe Friends Workshop for Mind Healing กิจกรรมบำบัดจิตใจสำหรับผู้ป่วยมะเร็ง

 

แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่ารักษาช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยาที่ขาดทุนทรัพย์ 5,000 บาทต่อเดือน เป็นเวลา 24 เดือน 20 2,400,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
2,400,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
240,000.00

ยอดระดมทุน
2,640,000.00

บริจาคให้
Fight to Alive กองระดมทุนช่วยเหลือผู้ป่วยมะเร็งโลหิตวิทยาที่ขาดทุนทรัพย์ในการรักษา

เลือกการบริจาค

จำนวนเงิน
ช่องทางการชำระเงิน

ชำระผ่านการ สแกน/อัพโหลด QR code ด้วย mobile banking application ของ ธนาคารไทยพานิชย์ ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรี ธนาคารกสิกร ธนาคารออมสิน

คุณจะได้ QR code หลังจากยืนยันการบริจาค

ใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษี

การบริจาคด้วย QR Code ชื่อ- นามสกุลบนใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษีจะเป็นชื่อเจ้าของบัญชี Mobile banking
ระบุเพื่อใช้สำหรับส่งอีเมลยืนยันการบริจาค
ระบุเพื่อใช้สำหรับส่งอีเมลยืนยันการบริจาค

สำเนาใบเสร็จจะส่งไปทางอีเมลของคุณ หลังจากการบริจาคสำเร็จแล้ว


ข้อมูลบัตรจะถูกดำเนินการอย่างปลอดภัยด้วยผู้ให้บริการที่ผ่านมาตรฐาน PCI-DSS Compliant Omise logo

ชวนเพื่อนมาบริจาคผ่าน