project สัตว์ สิ่งแวดล้อม

ช้างอิ่มท้อง พี่น้องเกษตรกรอิ่มใจ

ช้างขาดแคลนอาหาร เพราะปางช้างหลายแห่งกำลังเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจที่แม้ดิ้นรนเพียงใด ก็ไม่เพียงพอ มูลนิธิอนุรักษ์ช้างเอเชียชวนทุกคนมาช่วยบริจาคซื้อกล้วยอ้อย ข้าวโพด เพื่อเลี้ยงช้างอิ่มท้อง ใน 30 ปางช้าง พร้อมพี่น้องเกษตรกรอิ่มใจกัน

ระยะเวลาโครงการ 25 ธ.ค. 2564 ถึง 30 มี.ค. 2565 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: ตำบลแม่แตง อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่

ยอดบริจาคขณะนี้

177,388 บาท

เป้าหมาย

429,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 41%
จำนวนผู้บริจาค 219

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

ส่งมอบอาหารช้างให้กับปางช้าง ในอำเภอแม่ริมและอำเภอแม่แตง

10 กรกฎาคม 2023

หลังจากเสร็จสิ้นการระดมทุน แม้จะได้รับยอดระดมทุนไม่ถึงเป้า ทางมูลนิธิฯ ยังคงดำเนินการจัดซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในเขตพื้นที่อำเภอแม่แตง และอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

ในส่วนนี้จะเพิ่มอาหารช้างเข้าไปคือข้าวโพดและต้นข้าวโพด ซึ่งมีเกษตรกรในพื้นที่อำเภอแม่แตงทำเกษตรด้านข้าวโพดจำนวนมาก

หลังจากนั้นจึงส่งมอบอาหารช้างให้กับปางช้างในเขตอำเภอแม่ริม อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยแบ่งส่งมอบเป็นสี่ระยะ ระยะละหนึ่งเดือน

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์ 

“ รู้สึกดีใจที่ทางมูลนิธิเข้ามาซื้อผลผลิต ทำให้ขายได้ทั้งข้าวโพดและต้นข้าวโพด จึงไม่จำเป็นต้องเผาต้นทิ้งหลังเก็บเกี่ยว ” นางสายฝน คำทอน เกษตรกรพื้นที่อำเภอแม่แตง

“ ขอขอบพระคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนที่จัดทำโครงการมอบอาหารให้ช้าง ในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว ทำให้ช้างได้มีกินในช่วงยากลำบากนี้ ” นางรัชนี คำบุญเรือง เจ้าของปางช้าง เอลลิเฟ้นท์รีไทร์เม้นปาร์ค

“ มูลนิธิอนุรักษ์ช้างเอเชีย มีความยินดีที่ได้ร่วมทำโครงการกับเทใจ เพื่อช่วยเหลือช้างในเขตภาคเหนือ และจะยังมีโครงการช่วยเหลือช้างต่อไปที่จะทำให้เกิดขึ้นในทุกๆภูมิภาคที่เลี้ยงช้าง อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ช้างไทยให้อยู่คู่เมืองไทยต่อไป ” นายณัฐกานต์ แก้วกันภัย ผู้จัดการมูลนิธิอนุรักษ์ช้างเอเชียและผู้ก่อตั้งโครงการ

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
สัตว์
ช้างเลี้ยงในเขตอำเภอแม่ริมและอำเภอแม่แตง 50 เชือกช้างมีอาหารที่หลากหลายมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นอ้อย ข้าวโพด และกล้วย
ประชาชนทั่วไปเกษตรกรในเขตอำเภอแม่แตง 10 คนกระจายรายได้สู่เกษตรกร และแบ่งเบาภาระในการจัดการผลผลิต
รูปภาพกิจกรรม

 
ภาพ: กล้วย ผลผลิตที่ได้จากเกษตรในพื้นที่ 

  
ภาพ: ต้นข้าวโพด ผลผลิตที่ได้จากเกษตรในพื้นที่ 

  
ภาพ: ข้าวโพด ผลผลิตที่ได้จากเกษตรในพื้นที่ 


ภาพ: ส่งมอบผลผลิตให้ปางช้าง

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ช้างขาดแคลนอาหาร เพราะปางช้างหลายแห่งกำลังเผชิญกับปัญหาเศรษฐกิจที่แม้ดิ้นรนเพียงใด ก็ไม่เพียงพอ มูลนิธิอนุรักษ์ช้างเอเชียชวนทุกคนมาช่วยบริจาคซื้อกล้วยอ้อย ข้าวโพด เพื่อเลี้ยงช้างอิ่มท้อง ใน 30 ปางช้าง พร้อมพี่น้องเกษตรกรอิ่มใจกัน

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

ขณะนี้ช้างเลี้ยงในประเทศไทยจำนวนมาก ยังคงตกงานเพราะผลกระทบจากวิกฤตการณ์ Covid-19 ทำให้ปางช้างจำนวนมากทางภาคเหนือ ประสบปัญหาขาดอาหารสำหรับช้าง ส่งผลโดยตรงต่อสุขภาพของช้าง เกิดปัญหาร่างกายขาดแคลนสารอาหาร โรคแทรกซ้อนต่างๆในช้าง ช้างหลายตัวต้องจากไปในช่วงวิกฤตการณ์นี้ ถึงแม้ว่าปางช้างต่างๆจะพยายามจัดหาอาหารให้ช้าง แต่ก็ยังคงไม่เพียงพอต่อความต้องการของช้าง เนื่องจากช้างกินอาหารเป็นจำนวนมาก ตกวันละ 200-300 กิโลกรัมต่อตัว ประกอบผลผลิตของเกษตรกรทางภาคเหนือที่สามารถนำมาเป็นอาหารช้างได้คือ อ้อย กล้วย ข้าวโพด ซึ่งตกค้างในไร่ ขายไม่ออก เน่าเสียโดยเปล่าประโยชน์

จึงเป็นที่มาของการจัดตั้งโครงการ "ช้างอิ่มท้อง พี่น้องเกษตรกรอิ่มใจ" โดยมูลนิธิอนุรักษ์ช้างเอเชียร่วมกับ สกน. สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ จัดหาผลผลิตจากเกษตรกร ที่ปลูกกล้วยอ้อย ข้าวโพด ที่ขายไม่ได้ ราคาตกต่ำ จากนั้นมูลนิธิจะดำเนินการคัดสรรและจัดซื้อผลผลิตจากเกษตรกร เพื่อสร้างรายได้ให้กับชาวบ้านและชุมชน และนำผลผลิตส่งมอบให้กับปางช้างต่างๆในเขตภาคเหนือเป็นระยะเวลา 6 เดือนจนถึงหน้าแล้ง


ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. หารือกับ สกน. สหพันธ์เกษตรกรภาคเหนือ เพื่อคัดสรรเกษตรกรที่ขายผลผลิตไม่ออก ราคาตกต่ำ
  2. จัดซื้อผลผลิตจากเกษตรกรทางภาคเหนือ
  3. จัดสรรปันส่วนอาหารช้างสำหรับช้างในเขตภาคเหนือ
  4. ดำเนินการขนส่งอาหารไปยังปางช้างต่างๆที่ขาดแคลนอาหารช้างในเขตภาคเหนือ

ผู้รับผิดชอบโครงการ

นาย ณัฐกานต์ แก้วกันภัย 

(ผู้จัดการมูลนิธิอนุรักษ์ช้างเอเชีย)

ส่งมอบอาหารช้างให้กับปางช้าง ในอำเภอแม่ริมและอำเภอแม่แตง

10 กรกฎาคม 2023

หลังจากเสร็จสิ้นการระดมทุน แม้จะได้รับยอดระดมทุนไม่ถึงเป้า ทางมูลนิธิฯ ยังคงดำเนินการจัดซื้อผลผลิตจากเกษตรกรในเขตพื้นที่อำเภอแม่แตง และอำเภอแม่ริม จังหวัดเชียงใหม่

ในส่วนนี้จะเพิ่มอาหารช้างเข้าไปคือข้าวโพดและต้นข้าวโพด ซึ่งมีเกษตรกรในพื้นที่อำเภอแม่แตงทำเกษตรด้านข้าวโพดจำนวนมาก

หลังจากนั้นจึงส่งมอบอาหารช้างให้กับปางช้างในเขตอำเภอแม่ริม อำเภอแม่แตง จังหวัดเชียงใหม่ โดยแบ่งส่งมอบเป็นสี่ระยะ ระยะละหนึ่งเดือน

ความประทับใจของผู้ที่ได้รับประโยชน์ 

“ รู้สึกดีใจที่ทางมูลนิธิเข้ามาซื้อผลผลิต ทำให้ขายได้ทั้งข้าวโพดและต้นข้าวโพด จึงไม่จำเป็นต้องเผาต้นทิ้งหลังเก็บเกี่ยว ” นางสายฝน คำทอน เกษตรกรพื้นที่อำเภอแม่แตง

“ ขอขอบพระคุณผู้มีส่วนเกี่ยวข้องทุกภาคส่วนที่จัดทำโครงการมอบอาหารให้ช้าง ในช่วงที่เศรษฐกิจกำลังฟื้นตัว ทำให้ช้างได้มีกินในช่วงยากลำบากนี้ ” นางรัชนี คำบุญเรือง เจ้าของปางช้าง เอลลิเฟ้นท์รีไทร์เม้นปาร์ค

“ มูลนิธิอนุรักษ์ช้างเอเชีย มีความยินดีที่ได้ร่วมทำโครงการกับเทใจ เพื่อช่วยเหลือช้างในเขตภาคเหนือ และจะยังมีโครงการช่วยเหลือช้างต่อไปที่จะทำให้เกิดขึ้นในทุกๆภูมิภาคที่เลี้ยงช้าง อีกทั้งยังเป็นการอนุรักษ์ช้างไทยให้อยู่คู่เมืองไทยต่อไป ” นายณัฐกานต์ แก้วกันภัย ผู้จัดการมูลนิธิอนุรักษ์ช้างเอเชียและผู้ก่อตั้งโครงการ

ผลกระทบที่เกิดขึ้นจากการทำโครงการ 
กลุ่มที่ได้รับประโยชน์อธิบายจำนวนที่ได้ประโยชน์ความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้น
สัตว์
ช้างเลี้ยงในเขตอำเภอแม่ริมและอำเภอแม่แตง 50 เชือกช้างมีอาหารที่หลากหลายมากขึ้นไม่ว่าจะเป็นอ้อย ข้าวโพด และกล้วย
ประชาชนทั่วไปเกษตรกรในเขตอำเภอแม่แตง 10 คนกระจายรายได้สู่เกษตรกร และแบ่งเบาภาระในการจัดการผลผลิต
รูปภาพกิจกรรม

 
ภาพ: กล้วย ผลผลิตที่ได้จากเกษตรในพื้นที่ 

  
ภาพ: ต้นข้าวโพด ผลผลิตที่ได้จากเกษตรในพื้นที่ 

  
ภาพ: ข้าวโพด ผลผลิตที่ได้จากเกษตรในพื้นที่ 


ภาพ: ส่งมอบผลผลิตให้ปางช้าง

แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่ากล้วยซื้อจากเกษตรกร หวีละ 7 บาท 30,000 หวี ปางละ 1,000 หวี สำหรับ 30 ปาง 30 ปาง 210,000.00
2 ค่าอ้อยซื้อจากเกษตรกร เล่มละ 6 บาท 20,000 เล่ม ปางละ 1,000 เล่ม สำหรับ 30 ปาง 30 ปาง 120,000.00
3 ค่าขนส่งอาหารไปยังปางช้างต่างๆในภาคเหนือ รอบละ 2,000 บาทสำหรับ 30 ปาง 30 รอบ 60,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
390,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
39,000.00

ยอดระดมทุน
429,000.00