ส่งนิตยสารหมอชาวบ้านให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล

ส่งนิตยสารหมอชาวบ้านไป 50 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เพราะรพ.สต.มีภารกิจในการทำให้ประชาชนมีสุขภาพดี แต่บุคคลากรมีปัญหาขาดแคลนองค์ความรู้ เพื่อให้บุคลากรฯ สามารถพัฒนาศักยภาพการทำงานได้อย่างต่อเนื่อง ทันสถานการณ์ จำเป็นจะต้องสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนาอย่างต่อเนื่อง จึงขอเชิญชวนท่านร่วมสนับสนุนโครงการฯ เพื่อหนุนสร้างการเรียนรู้ให้กับบุคลากรฯ ที่เสียสละปฏิบัติหน้าที่ทั่วประเทศ
ระยะเวลาโครงการ 01 ก.ย. 2566 ถึง 31 ธ.ค. 2566 พื้นที่ดำเนินโครงการ ทั่วประเทศ
ยอดบริจาคขณะนี้
1,175 บาทเป้าหมาย
38,500 บาทปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา
โครงการ "ส่งนิตยสารหมอชาวบ้านให้โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล” เพราะโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล (รพ.สต.) เป็นหน่วยงานที่มีความสำคัญต่อระบบสุขภาพไทย เพราะมีความใกล้ชิดกับประชาชนและประชาชนนิยมเข้ารับการบริการเป็นจำนวนมาก มีภารกิจในการให้บริการทางด้านสุขภาพระดับปฐมภูมิ ฟื้นฟูสมรรถภาพและบริการอื่นๆ ให้กับชุมชน โดยมุ่งเข้าหาประชาชนและชุมชนนำไปสู่เป้าหมายเดียวกัน คือ ประชาชนมีสุขภาพดี
แต่ปัญหาที่กำลังประสบคือ การขาดแคลนองค์ความรู้ด้านสุขภาพของบุคลากรในหน่วยงาน ทำให้บุคลากรไม่สามารถปฏิบัติงานได้อย่างเต็มศักยภาพ
ดังนั้น เพื่อให้บุคลากรฯ สามารถพัฒนาศักยภาพการทำงาน จึงจำเป็นจะต้องสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนา มีความเชื่อมโยงกับสื่อการเรียนรู้ต่างๆ สามารถขับเคลื่อน รพ.สต. ทั่วประเทศ ให้เกิดคุณภาพตามแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพ ให้ประชาชนได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องในเชิงรุก และพร้อมที่จะดูแลประชาชนอย่างมีคุณภาพ
ตลอดระยะเวลากว่าสี่ทศวรรษที่ผ่านมา "หมอชาวบ้าน" ได้ดำเนินโครงการและกิจกรรมรณรงค์เผยแพร่ให้ความรู้ด้านการดูแลสุขภาพด้วยตนเองแก่ประชาชนและเจ้าหน้าที่สาธารณสุขมาอย่างต่อเนื่อง เช่น โครงการรณรงค์หยุดการใช้ยาชุด, โครงการรณรงค์หยุดการผลิตยาแก้ปวดสูตรเอพีซี (มีส่วนผสมกาเฟอีน), โครงการรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่, โครงการฟื้นฟูการนวดไทย, โครงการรณรงค์วิ่งเพื่อสุขภาพ, โครงการอบรมให้ความรู้แด่พระภิกษุและประชาชนทั่วไป ซึ่งได้ร่วมกับองค์กรภาครัฐและเอกชนในการรณรงค์ ป้องกัน และแก้ไขปัญหาสาธารณสุขต่างๆ เพื่อยกระดับคุณภาพชีวิตของประชาชนให้ดียิ่งขึ้น โดยอาศัย “นิตยสารหมอชาวบ้าน” เป็นสื่อกลางในการขับเคลื่อนสู่พี่น้องประชาชนและชุมชนอย่างต่อเนื่องจนถึงปัจจุบัน
“นิตยสารหมอชาวบ้าน” (หนึ่งในโครงการเผยแพร่ความรู้ทางสื่อสิ่งพิมพ์ของมูลนิธิหมอชาวบ้าน โดยสำนักพิมพ์หมอชาวบ้าน) เป็นสื่อที่ถ่ายทอดวิทยาการและองค์ความรู้ ส่งเสริมทักษะในการดูแลตนเอง เผยแพร่แนวคิดด้านสุขภาพองค์รวมให้กับประชาชนและบุคลากรสาธารณสุขในการแก้ไขปัญหาต่างๆ และสร้างองค์ความรู้ใหม่ในการดูแลสุขภาพเพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุด และได้ดำเนินการมากว่า 44 ปี มีความสอดคล้อง/เหมาะกับการนำเป็นสื่อในการช่วยส่งเสริมและพัฒนาศักยภาพของผู้ปฏิบัติงาน
เพื่อเป็นการส่งเสริมศักยภาพของผู้ปฏิบัติงานในระบบที่มีการพัฒนาต่อยอดอย่างต่อเนื่อง จำเป็นจะต้องสนับสนุนให้เกิดการเรียนรู้และพัฒนา มีความเชื่อมโยงกับสื่อการเรียนรู้ต่างๆ อีกทั้งเป็นการขับเคลื่อน รพ.สต. ให้เกิดคุณภาพ ตามแนวคิดการส่งเสริมสุขภาพ เพื่อให้ประชาชนในพื้นที่ได้รับการดูแลอย่างต่อเนื่องในเชิงรุก พร้อมที่จะดูแลประชาชนอย่างมีคุณภาพเมื่อเจ็บป่วย จึงขอเชิญชวนท่านร่วมสนับสนุนกิจกรรมโครงการฯ เพื่อหนุนสร้างการเรียนรู้ให้กับพี่น้องชาวโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลที่เสียสละปฏิบัติหน้าที่ในชุมชน
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
- ส่งนิตยสารหมอชาวบ้านไปยัง 50 โรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบลเพื่อให้บุคคลากรและคนในพื้นที่ได้เท่าทันสถานการณ์
กลุ่มเป้าหมาย
- เจ้าหน้าที่ บุคลากรประจำโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล และประชาชนที่เข้ามาใช้บริการ ทั่วประเทศ
ผลที่คาดว่าจะได้รับ
- เจ้าหน้าที่และบุคลากรในโรงพยาบาลส่งเสริมสุขภาพตำบล ได้รับข้อมูล องค์ความรู้ใหม่ๆ ทันสถานการณ์ สามารถนำความรู้ที่ได้ไปใช้ในการส่งเสริมสุขภาพ ปรับพฤติกรรมอนามัยของประชาชน และการบริการประชาชนอย่างมีคุณภาพ ได้มาตรฐานอย่างมั่นใจ
ผู้รับผิดชอบโครงการ
ภาคีเครือข่ายที่สนับสนุนข้อมูลลงในนิตยสารหมอชาวบ้าน
• นพ.ประเวศ วะสี (บรรณาธิการผู้พิมพ์ ผู้โฆษณา) คอลัมน์ “คุยกับผู้อ่าน” และคอลัมน์ “บนเส้นทางชีวิต”
• นพ.สุรเกียรติ อาชานานุภาพ (บรรณาธิการบริหาร) คอลัมน์ “บอกเล่าเก้าสิบ” และคอลัมน์ “สิ่งละอันพันละน้อย”
• นพ.สันต์ หัตถีรัตน์ (บรรณาธิการอำนวยการ) คอลัมน์ “ถนนสุขภาพ”
• ศ.คลินิกแพทย์จีน นพ.ภาสกิจ วัณนาวิบูล อุปนายกสมาคมแพทย์แผนจีนในประเทศไทย คอลัมน์ “แพทย์แผนจีน”
• นพ.ยงยศ จริยวิทยาวัฒน์ คอลัมน์ “สุขภาพต้องรู้”
• โรงพยาบาลเจ้าพระยาอภัยภูเบศร คอลัมน์ “ภูมิปัญญาสุขภาพ”
• อาจารย์คมสัน ทินกร ณ อยุธยา แพทย์แผนไทยราชสกุลทินกร คอลัมน์ “สุขภาพดี วิถีหมอไทย”
• นพ.สุรชัย ปัญญาพฤทธิ์พงศ์ แพทย์เวชศาสตร์ฟื้นฟู คอลัมน์ “คนไข้หัวเราะ คุณหมอที่รัก”
• นพ.สมเกียรติ แสงวัฒนาโรจน์ ชมรมป้องกันและฟื้นฟูหัวใจ สมาคมแพทย์โรคหัวใจแห่งประเทศไทยฯ สมาคมความดันโลหิตสูงแห่งประเทศไทย คอลัมน์ “ก้าวทันสุขภาพ”
• ราชวิทยาลัยอายุรแพทย์ คอลัมน์ “เข้าใจ ไกลโรค”
• ดร.กภ.ธวัชชัย ลักเซ้ง อาจารย์สาขากายภาพบำบัด สำนักวิชาสหเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยวลัยลักษณ์ คอลัมน์ “โรคน่ารู้”
• สมาคมแพทย์ผิวหนังแห่งประเทศไทย คอลัมน์ “เรื่องของผิว”
• สถาบันโภชนาการ มหาวิทยาลัยมหิดล คอลัมน์ “เข้าครัว”
• ดร.ปิยรัษฎ์ ปริญญาพงษ์ เจริญทรัพย์ โครงการอนุรักษ์พันธุกรรมพืชอันเนื่องมาจากพระราชดำริสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี (อพ.สธ.) คอลัมน์ “ต้นไม้ใบหญ้า”
• อาจารย์กวี คงภักดีพงษ์ “สารัตถะ และคณะ” โครงการเผยแพร่โยคะเพื่อสุขภาพ คอลัมน์ “โยคะศาสตร์”
• ทนายคณพัส เพชรภัทระ สำนักงานทนายความเพชรภัทระ คอลัมน์ “กฎหมายใกล้ตัว”
• พญ.วราภรณ์ (ยงวณิชย์) ตั้งตรงไพโรจน์ คอลัมน์ “คลินิกจิตแพทย์”
• โค้ชชาร์ป-นิจจนันท์ แสนทวีสุข คอลัมน์ “พลังชีวิต”
• รศ.ดร.ภญ.พาณี ศิริสะอาด คอลัมน์ “พืชเป็นยา”
• พญ.ณฐมน ศรีสำราญ จักษุแพทย์เฉพาะทางต้อหิน คอลัมน์ “มุมมองของดวงตา”
• ปารณพัฒน์ แอนุ้ย คอลัมน์ “ชีวิต-งาน-ทรรศนะ” และคอลัมน์ “เกร็ดเล็กเกร็ดน้อย”
• นพ.สมศักดิ์ ชุณหรัศมิ์ คอลัมน์ “ดูหนังหาความหมาย”
• ศ.นพ.ประกิต วาทีสาธกกิจ ประธานมูลนิธิรณรงค์เพื่อการไม่สูบบุหรี่ คอลัมน์ “บทความพิเศษ”
• ทพ.ดร.ธงชัย วชิรโรจน์ไพศาล อุปนายกทันตแพทย์สภา คนที่ 1 คอลัมน์ “สุขภาพช่องปาก”
การประเมินผล ให้ รพ.สต. ที่ได้รับนิตยสารหมอชาวบ้าน ส่งหนังสือตอบรับถึงผู้สนับสนุนโครงการฯ
ผู้บริหารโครงการ รองศาสตราจารย์ นายแพทย์สุรเกียรติ อาชานานุภาพ บรรณาธิการบริหาร นิตยสารหมอชาวบ้าน
ผู้จัดการโครงการ ผู้ช่วยศาสตราจารย์เนตรนภา ขุมทอง กรรมการและเลขาธิการ มูลนิธิหมอชาวบ้าน
เหรัญญิกโครงการ นางสาวชลลดา สิทธิฑูรย์ กรรมการและเหรัญญิก มูลนิธิหมอชาวบ้าน
ผู้ประสานงานโครงการ นายเอกชัย ศิลาอาสน์

Facebook: https://www.facebook.com/thaihealthbook/
แผนการใช้เงิน
ลำดับ | รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|---|
1 | ค่าจัดพิมพ์และจัดส่ง แห่งละ 700 บาท เป็นเวลา 1 ปี | 50 | 35,000.00 |