project ผู้สูงอายุ ภัยพิบัติ

กองทุนฮอมใจ๋ จ้วยสูงวัยประสบภัยพิบัติ (Disaster Response for the Elderly Fund)

กองทุนช่วยเหลือฉุกเฉินตามฤดูกาลของภัย เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ยากจน ไม่มีสถานะ ไม่สามารถเข้าถึงในการช่วยเหลือ พร้อมกับการดูแลสภาพจิตใจของผู้สูงอายุ เกิดจากผลกระทบจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นถี่ และมีความรุนแรง ทำให้ผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงต้องเผชิญความเสี่ยงตามฤดูกาล เช่น น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วม ดินโคลนถล่ม ในฤดูฝน อากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลันในฤดูหนาว ขณะที่ฤดูร้อนเราต้องเจอปัญหาไฟป่า ฝุ่นควัน พายุฤดูร้อน มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดตั้งกองทุนนี้เพื่อให้เกิดการช่วยเหลือผู้สูงอายุได้อย่างทันท่วงที

ระยะเวลาโครงการ ตลอดปี พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: จังหวัดเชียงใหม่ , จังหวัดเชียงราย , จังหวัดแม่ฮ่องสอน , จังหวัดลำปาง , จังหวัดลำพูน , จังหวัดกระบี่ , จังหวัดข่อนแก่น

ยอดบริจาคขณะนี้

162,371 บาท

เป้าหมาย

1,768,800 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 9%
249 วัน จำนวนผู้บริจาค 162

ความคืบหน้าโครงการ

ลงพื้นที่เยี่ยมและมอบของใช้จำเป็นให้กับผู้สูงอายุ 2566

11 มีนาคม 2024

กองทุนช่วยเหลือฉุกเฉินตามฤดูกาลของภัย เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ยากจน ไม่มีสถานะ ไม่สามารถเข้าถึงในการช่วยเหลือ พร้อมกับการดูแลสภาพจิตใจของผู้สูงอายุ เกิดจากผลกระทบจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นถี่ และมีความรุนแรง ทำให้ผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงต้องเผชิญความเสี่ยงตามฤดูกาล เช่น น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วม ดินโคลนถล่ม ในฤดูฝน อากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลันในฤดูหนาว ขณะที่ฤดูร้อนเราต้องเจอปัญหาไฟป่า ฝุ่นควัน พายุฤดูร้อน

มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดตั้งกองทุนนี้ เพื่อให้เกิดการช่วยเหลือผู้สูงอายุได้อย่างทันท่วงที ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน กระบี่ ขอนแก่น

ความประทับใจของผู้ได้รับผลประโยชน์



ลงพื้นที่เยี่ยม ผ้าห่มเพื่อป้องกันภัยกันหนาว

ช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ได้ลงพื้นที่ช่วยเหลือฉุกเฉินจากภัยหนาว ในพื้นที่ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ และพื้นที่ตำบลแกน้อย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ละ 20 ราย โดยดำเนินการร่วมกับอาสาสมัครในชุมชน กลุ่มผู้นำชุมชนลงมอบผ้าห่มเพื่อบรรเทาความหนาวให้กับผู้สูงอายุในพื้นที่

  • เนื่องจากพื้นที่ตำบลแกน้อย อำเภอเชียงดาว ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่มีสถานะทางทะเบียน ไม่มีบัตรประชาชน และไม่มีสัญชาติ จึงมักจะไม่ได้รับความช่วยเหลือในสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ
  • พื้นที่ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง มีพื้นที่เป็นทิวเขา จะมีอากาศเย็นตลอดเกือบทั้งปี โดยเฉพาะฤดูหนาว ทำให้ผู้สูงอายุต้องการผ้าห่มเพื่อบรรเทาจากอากาศหนาว และส่วนใหญ่มีฐานะยากจน 

ลงพื้นที่เยี่ยม มอบหน้ากากป้องกันฝุ่นควัน PM 2.5 พื้นที่เขตเมืองเชียงใหม่

ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2566 มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ ร่วมกับกลไกอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน พื้นที่เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ได้ลงมอบหน้ากากฝุ่นควัน PM 2.5 ให้กับผู้สูงอายุ จำนวน 200 คน พร้อมกับให้ความรู้ และการป้องกันฝุ่นควัน PM 2.5 ให้กับผู้สูงอายุ ญาติผู้ดูแล รวมถึงสอนการใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง 
จัดอบรมการทำแผ่นกรองฝุ่นแบบ DIY

ในช่วงเดือนมกราคม 2566 จัดสอนเครื่องกรองฝุ่น PM 2.5 แบบ DIY จาก แผ่น HEPA และสอนแนะนำการใช้แอพลิเคชั่น Ntaqhi และ โดยมีอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน พื้นที่ชุมชนเขตเมืองเชียงใหม่ และ อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานหมูบ้าน พื้นที่ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ละ 30 คน ทั้งนี้อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน และอสม. และมูลนิธิได้นำงบประมาณจัดซื้อแผ่น HEPA ให้อาสาสมัครได้ลงพื้นที่ไปประกอบจัดตั้งให้กับ ผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อเป็นการป้องกันจากฝุ่น PM 2.5 
ลงพื้นที่เยี่ยม มอบหน้ากากป้องกันฝุ่นควัน PM 2.5 พื้นที่นอกเมือง 

ช่วงเดือนธันวาคม 2566 - มกราคม 2567 มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุสนับสนุนหน้ากากป้องกันฝุ่นควัน PM 2.5 ให้กับผู้สูงอายุในพื้นที่เขตอำเภอเชียงดาว อำเภอสะเมิง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ และพื้นที่จังหวัดลำปาง พื้นที่ละ 100 ชิ้น โดยมีแกนนำชมรมผู้สูงอายุ อสม. นำไปแจกจ่ายให้กับผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อเป็นการป้องกันจากฝุ่นควัน 
ช่วยเหลือของใช้จำเป็นให้กับผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ โครงการกองทุนฮอมใจ๋ จ้วยสูงวัยประสบภัยพิบัติ นำถุงยังชีพช่วยเหลือผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ชุมชนหนองหอย และชุมชนใจแก้ว เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ จำนวน 100 ชุด และพื้นที่ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 50 ชุด ซึ่งเป็นพื้นที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เนื่องจากอยู่ใกล้บริเวณน้ำท่วม โดยถุงยังชีพ ประกอบด้วยอาหารแห้ง ไข่ไก่ ข้าวสาร ยารักษาโรค น้ำดื่มเพื่อบรรเทาในช่วงสถานการณ์ 
ช่วยเหลือ สนับสนุนถุงยังชีพให้ผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบจากน้ำป่าไหลหลาก

สนับสนุนถุงยังชีพช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ได้รับประสบภัยจากน้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 100 ชุด ในถุงยังชีพประกอบด้วย ข้าวสาร ไข่ไก่ ยารักษาโรค เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น 

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

กองทุนช่วยเหลือฉุกเฉินตามฤดูกาลของภัย เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ยากจน ไม่มีสถานะ ไม่สามารถเข้าถึงในการช่วยเหลือ พร้อมกับการดูแลสภาพจิตใจของผู้สูงอายุ เกิดจากผลกระทบจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นถี่ และมีความรุนแรง ทำให้ผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงต้องเผชิญความเสี่ยงตามฤดูกาล เช่น น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วม ดินโคลนถล่ม ในฤดูฝน อากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลันในฤดูหนาว ขณะที่ฤดูร้อนเราต้องเจอปัญหาไฟป่า ฝุ่นควัน พายุฤดูร้อน มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดตั้งกองทุนนี้เพื่อให้เกิดการช่วยเหลือผู้สูงอายุได้อย่างทันท่วงที

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

ปัญหาผลกระทบจากภัยพิบัติและการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศในปัจจุบันมีความรุนแรง และส่งผลกระทบในวงกว้าง และกลุ่มที่ต้องช่วยเหลือเป็นลำดับแรกคือที่ ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง ผู้พิการ เด็ก ที่ต้องการช่วยเหลือเฉพาะด้าน ในระยะ 5 ปีมานี้ มีเหตุการณ์ภัยพิบัติที่เกิดขึ้นบ่อยและเกิดขึ้นเป็นวงกว้างสามารถแบ่งภัย ที่ต้องเผชิญ มีความเสี่ยงตามฤดูกาล ได้แก่ 

  • ภาคเหนือ มักจะเกิดไฟป่า ฝุ่นควัน พายุฤดูร้อน ในช่วงเดือน มกราคม-พฤษภาคม น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วม ดินโคลนถล่ม ในช่วงเดือน มิถุนายน-กันยายน ภัยหนาว ในช่วงเดือน พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์
  • ภาคกลาง มักจะเกิดฝุ่นควันจากบริบทสังคมเมือง ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์-พฤษภาคม น้ำท่วม ในช่วงเดือน มิถุนายน-กันยายน
  • ภาคอีสาน มักจะเกิดภัยแล้ง ฝุ่นควัน พายุฤดูร้อน ในช่วงเดือน กุมภาพันธ์-พฤษภาคม น้ำท่วม ในช่วงเดือน มิถุนายน-กันยายน ภัยหนาว ในช่วงเดือน พฤศจิกายน-กุมภาพันธ์
  • ภาคใต้ มักจะเกิด มรสุม สึนามิ น้ำท่วม ในช่วงเดือน มิถุนายน-กันยายน

ภัยพิบัติต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นกับมักจะสร้างความเสียหายให้กับผู้สูงอายุเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการสูญเสียทรัพย์สิน เศรษฐกิจ ที่อยู่อาศัย หรือบางรายจะต้องสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รักไปจากภัยที่เกิดขึ้น ส่งผลทำให้ผู้สูงอายุ และครอบครัวมีภาระหนี้สิ้นเพิ่มขึ้น และทำให้มีปัญหาสุขภาพตามมา มีภาวะเครียด ซึมเศร้า ส่งผลทำให้ผู้สูงอายุที่ได้รับประสบภัยมีสุขภาพจิตที่แย่ลง กลายเป็นวงจรแห่งความเลวร้ายของผู้สูงอายุ ต้องการความช่วยเหลือ และเยี่ยวยาด้านจิตใจเป็นอย่างมาก

จากประสบการณ์ทำงานของมูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุที่ทำงานพัฒนาศักยภาพ การทำงานด้านสิทธิผู้สูงอายุ การสร้างอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุ ช่วยเหลือผู้สูงอายุด้อยโอกาส และดำเนินโครงการลดความเสี่ยงภัยพิบัติจากการให้ผู้สูงอายุมีส่วนร่วม และที่ผ่านมามูลนิธิฯได้ตั้งรับช่วยเหลือฉุกเฉินแก่ผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบจากภัยฉุกเฉินในฤดูกาลของภัยในพื้นที่ จำนวน 5,000 คน เช่นกรณีน้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วม ไฟป่า ฝุ่นควัน COVOD-19 จึงทำให้มีแนวคิดในการเตรียมความพร้อมเผชิญเหตุ และการช่วยเหลือฉุกเฉินให้ทันทุกฤดูกาลให้แก่ผู้สูงอายุในพื้นที่เสี่ยง ผู้สูงอายุที่ยากจน ไม่มีสถานะ ไม่ได้รับการช่วยเหลือ จำนวน 27 พื้นที่เสี่ยงภัยและเป็นพื้นที่ดำเนินงานของมูลนิธิฯทั่วประเทศ ให้สามารถได้รับการช่วยเหลือในระยะฉุกเฉินได้ทันที โดยกระบวนการทำงานร่วมกับอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน ชมรมผู้สูงอายุ ผู้นำชุมชน หน่วยงานในพื้นที่ เพื่อช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมาย

โดยแบ่งระยะการช่วยเหลือเป็น 2 ระยะ ได้แก่

ระยะที่ 1 คือระยะฉุกเฉินหรือเร่งด่วน โดยการการมอบถุงยังชีพสำหรับตามฤดูกาล เช่น อาหาร ยารักษาโรค ผ้าห่ม เสื้อกันหนาว หน้ากากกรองฝุ่น PM 2.5 ผ้าอ้อมผู้ใหญ่ และระยะที่ 2 คือระยะฟื้นฟู โดยการซ่อมแซมอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า การรวมของอาสาสมัครในทำความสะอาดบ้านผู้สูงอายุหลังจากเกิดภัยพิบัติ และรวมถึงการเยี่ยวยาสภาพจิตใจของผู้สูงอายุ โดยการให้กำลังใจ และการประเมินสภาพจิตใจโดยสหวิชาชีพ


ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1.ระยะฉุกเฉิน/เร่งด่วน

1.1 มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ ร่วมกับอาสาสมัครในพื้นที่ประชุม วางแผนและสำรวจพื้นที่ที่ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์การช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน

1.2 ระดมจัดซื้อของ สิ่งของใช้จำเป็นอย่างเร่งด่วน พร้อมจัดถุงยังชีพตามฤดูกาลให้กับผู้สูงอายุที่ประสบภัย

1.3 ลงพื้นที่มอบของช่วยเหลือผู้สูงอายุ ของเจ้าหน้าที่ร่วมกับอาสาสมัครในพื้นที่ (หรือบางพื้นที่เจ้าหน้าที่ไม่สามารถลงได้ให้อาสาสมัครดดำเนินงานในพื้นที่)

2. ระยะฟื้นฟู

2.1 มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ ประชุมร่วมกับอาสาสมัครในพื้นที่ วางแผนและสำรวจพื้นที่บ้านผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบหลังเกิดภัยพิบัติ

2.2 ระดมจัดซื้ออุปกรณ์ทำความสะอาด และอุปกรณ์อื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง

2.3 ลงพื้นที่ฟื้นฟู ซ่อมแซมอุปกรณ์เครื่องใช้ไฟฟ้า ทำความสะอาดบ้านผู้สูงอายุหลังจากเกิดภัยพิบัติ โดยการรวมกลุ่มของอาสาสมัคร

2.4 มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ พร้อมกับนักจิตวิทยา สหวิชาชีพ ประเมินสภาพจิตใจ ฟื้นฟูสภาพจิตใจ และให้กำลังใจผู้สูงอายุ

2.5 ติดตาม ประเมินหลังจากการได้รับการฟืนฟู  และประชุมสรุปผลการดำเนินงานร่วมกับอาสาสมัคร รายงานจำนวนที่ช่วยเหลือ สะท้อนผลการทำงาน เพื่อปรับปรุงขั้นตอนการลงพื้นที่ช่วยเหลือฉุกเฉิน และวางแผนต่อไปในระยะฟื้นฟู

ผู้รับผิดชอบโครงการ

นายทศวรรษ  บุญมา

น.ส.เกษริน  กันทะอินทร์

นายวีรภัทร  วีไลศิลปดีเลิศ

ลงพื้นที่เยี่ยมและมอบของใช้จำเป็นให้กับผู้สูงอายุ 2566

11 มีนาคม 2024

กองทุนช่วยเหลือฉุกเฉินตามฤดูกาลของภัย เพื่อช่วยเหลือผู้สูงอายุ ผู้ป่วยติดเตียง โดยเฉพาะผู้สูงอายุที่ยากจน ไม่มีสถานะ ไม่สามารถเข้าถึงในการช่วยเหลือ พร้อมกับการดูแลสภาพจิตใจของผู้สูงอายุ เกิดจากผลกระทบจากภัยพิบัติที่เกิดขึ้นถี่ และมีความรุนแรง ทำให้ผู้สูงอายุและผู้ป่วยติดเตียงต้องเผชิญความเสี่ยงตามฤดูกาล เช่น น้ำป่าไหลหลาก น้ำท่วม ดินโคลนถล่ม ในฤดูฝน อากาศเปลี่ยนแปลงฉับพลันในฤดูหนาว ขณะที่ฤดูร้อนเราต้องเจอปัญหาไฟป่า ฝุ่นควัน พายุฤดูร้อน

มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุจึงได้เล็งเห็นความสำคัญของการจัดตั้งกองทุนนี้ เพื่อให้เกิดการช่วยเหลือผู้สูงอายุได้อย่างทันท่วงที ดำเนินการในพื้นที่จังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย แม่ฮ่องสอน ลำปาง ลำพูน กระบี่ ขอนแก่น

ความประทับใจของผู้ได้รับผลประโยชน์



ลงพื้นที่เยี่ยม ผ้าห่มเพื่อป้องกันภัยกันหนาว

ช่วงเดือนมกราคม-กุมภาพันธ์ 2566 ได้ลงพื้นที่ช่วยเหลือฉุกเฉินจากภัยหนาว ในพื้นที่ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง จังหวัดเชียงใหม่ และพื้นที่ตำบลแกน้อย อำเภอเชียงดาว จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ละ 20 ราย โดยดำเนินการร่วมกับอาสาสมัครในชุมชน กลุ่มผู้นำชุมชนลงมอบผ้าห่มเพื่อบรรเทาความหนาวให้กับผู้สูงอายุในพื้นที่

  • เนื่องจากพื้นที่ตำบลแกน้อย อำเภอเชียงดาว ผู้สูงอายุส่วนใหญ่ไม่มีสถานะทางทะเบียน ไม่มีบัตรประชาชน และไม่มีสัญชาติ จึงมักจะไม่ได้รับความช่วยเหลือในสถานการณ์ฉุกเฉินต่าง ๆ
  • พื้นที่ตำบลสะเมิงใต้ อำเภอสะเมิง มีพื้นที่เป็นทิวเขา จะมีอากาศเย็นตลอดเกือบทั้งปี โดยเฉพาะฤดูหนาว ทำให้ผู้สูงอายุต้องการผ้าห่มเพื่อบรรเทาจากอากาศหนาว และส่วนใหญ่มีฐานะยากจน 

ลงพื้นที่เยี่ยม มอบหน้ากากป้องกันฝุ่นควัน PM 2.5 พื้นที่เขตเมืองเชียงใหม่

ในช่วงระหว่างเดือนมกราคม-เมษายน 2566 มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ ร่วมกับกลไกอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน พื้นที่เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ ได้ลงมอบหน้ากากฝุ่นควัน PM 2.5 ให้กับผู้สูงอายุ จำนวน 200 คน พร้อมกับให้ความรู้ และการป้องกันฝุ่นควัน PM 2.5 ให้กับผู้สูงอายุ ญาติผู้ดูแล รวมถึงสอนการใส่หน้ากากอย่างถูกต้อง 
จัดอบรมการทำแผ่นกรองฝุ่นแบบ DIY

ในช่วงเดือนมกราคม 2566 จัดสอนเครื่องกรองฝุ่น PM 2.5 แบบ DIY จาก แผ่น HEPA และสอนแนะนำการใช้แอพลิเคชั่น Ntaqhi และ โดยมีอาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน พื้นที่ชุมชนเขตเมืองเชียงใหม่ และ อาสาสมัครสาธารณสุขมูลฐานหมูบ้าน พื้นที่ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ พื้นที่ละ 30 คน ทั้งนี้อาสาสมัครดูแลผู้สูงอายุที่บ้าน และอสม. และมูลนิธิได้นำงบประมาณจัดซื้อแผ่น HEPA ให้อาสาสมัครได้ลงพื้นที่ไปประกอบจัดตั้งให้กับ ผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อเป็นการป้องกันจากฝุ่น PM 2.5 
ลงพื้นที่เยี่ยม มอบหน้ากากป้องกันฝุ่นควัน PM 2.5 พื้นที่นอกเมือง 

ช่วงเดือนธันวาคม 2566 - มกราคม 2567 มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุสนับสนุนหน้ากากป้องกันฝุ่นควัน PM 2.5 ให้กับผู้สูงอายุในพื้นที่เขตอำเภอเชียงดาว อำเภอสะเมิง อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ และพื้นที่จังหวัดลำปาง พื้นที่ละ 100 ชิ้น โดยมีแกนนำชมรมผู้สูงอายุ อสม. นำไปแจกจ่ายให้กับผู้สูงอายุในชุมชน เพื่อเป็นการป้องกันจากฝุ่นควัน 
ช่วยเหลือของใช้จำเป็นให้กับผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม

มูลนิธิพัฒนางานผู้สูงอายุ โครงการกองทุนฮอมใจ๋ จ้วยสูงวัยประสบภัยพิบัติ นำถุงยังชีพช่วยเหลือผู้สูงอายุติดบ้าน ติดเตียงที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม ชุมชนหนองหอย และชุมชนใจแก้ว เขตเทศบาลนครเชียงใหม่ จำนวน 100 ชุด และพื้นที่ตำบลท่าวังตาล อำเภอสารภี จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 50 ชุด ซึ่งเป็นพื้นที่ได้รับผลกระทบจากน้ำท่วม เนื่องจากอยู่ใกล้บริเวณน้ำท่วม โดยถุงยังชีพ ประกอบด้วยอาหารแห้ง ไข่ไก่ ข้าวสาร ยารักษาโรค น้ำดื่มเพื่อบรรเทาในช่วงสถานการณ์ 
ช่วยเหลือ สนับสนุนถุงยังชีพให้ผู้สูงอายุที่ได้รับผลกระทบจากน้ำป่าไหลหลาก

สนับสนุนถุงยังชีพช่วยเหลือผู้สูงอายุที่ได้รับประสบภัยจากน้ำป่าไหลหลาก ในพื้นที่ตำบลโป่งน้ำร้อน อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ จำนวน 100 ชุด ในถุงยังชีพประกอบด้วย ข้าวสาร ไข่ไก่ ยารักษาโรค เครื่องใช้ไฟฟ้า เป็นต้น 

แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าถุงยังชีพตามสถานการณ์ฉุกเฉิน เช่น อาหาร ยารักษาโรค เสื้อกันหนาว ผ้าห่ม หน้ากากป้องกัน PM 2.5 ผ้าอ้อมสำหรับผู้ใหญ่ อุปกรณ์ทำความสะอาดหลังเกิดภัยพิบัติ ชุดละ 300 บาท 5000 ชุด 1,500,000.00
2 ค่าอาหาร ค่าน้ำมัน ค่าเช่ารถลงพื้นที่ ให้กับอาสาสมัครฯ ลงพื้นที่ พื้นที่ละ 4,000 บาท 27 พื้นที่ 108,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
1,608,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
160,800.00

ยอดระดมทุน
1,768,800.00

บริจาคให้
กองทุนฮอมใจ๋ จ้วยสูงวัยประสบภัยพิบัติ (Disaster Response for the Elderly Fund)

เลือกการบริจาค

จำนวนเงิน
ช่องทางการชำระเงิน

ชำระผ่านการ สแกน/อัพโหลด QR code ด้วย mobile banking application ของ ธนาคารไทยพานิชย์ ธนาคารทหารไทยธนชาต ธนาคารกรุงไทย ธนาคารกรุงเทพ ธนาคารกรุงศรี ธนาคารกสิกร ธนาคารออมสิน

คุณจะได้ QR code หลังจากยืนยันการบริจาค

ใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษี

การบริจาคด้วย QR Code ชื่อ- นามสกุลบนใบเสร็จเพื่อลดหย่อนภาษีจะเป็นชื่อเจ้าของบัญชี Mobile banking
ระบุเพื่อใช้สำหรับส่งอีเมลยืนยันการบริจาค
ระบุเพื่อใช้สำหรับส่งอีเมลยืนยันการบริจาค

สำเนาใบเสร็จจะส่งไปทางอีเมลของคุณ หลังจากการบริจาคสำเร็จแล้ว


ข้อมูลบัตรจะถูกดำเนินการอย่างปลอดภัยด้วยผู้ให้บริการที่ผ่านมาตรฐาน PCI-DSS Compliant Omise logo

ชวนเพื่อนมาบริจาคผ่าน