project โควิด-19 กลุ่มคนเปราะบาง

ตู้ตรวจเชื้อ Covid-19 เพื่อพี่หมอภาคอีสาน

ผลิตตู้ตรวจเชื้อ Covid-19 ติดล้อต้นแบบ ที่สามารถทำความสะอาดและฆ่าเชื้อได้ จำนวน 5 เครื่อง มอบให้กับโรงพยาบาลในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้อย่างต่อเนื่องตลอดช่วงเวลาการระบาดของ Covid-19

ระยะเวลาโครงการ 1 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ ภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือไทย

ยอดบริจาคขณะนี้

335,240 บาท

เป้าหมาย

330,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 102%
จำนวนผู้บริจาค 317

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

รายงานความก้าวหน้าโครงการ
ตู้ตรวจเชื้อ COVID-19 เพื่อพี่หมอภาคอีสาน วันที่ 9 มิถุนายน 2563 ณ โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี

9 มิถุนายน 2020

ทางทีมแพทย์พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลอุดรธานี ร่วมกับกลุ่มมาดีอีสานในนามเทใจเด้อและทีมช่างออกแบบในพื้นที่ท้องถิ่น ได้ร่วมกันดัดแปลง ปรับปรุง และประกอบตู้ตรวจเชื้อ COVID-19 จากตู้ตรวจเชื้อต้นแบบของทางโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ฯ เพื่อให้สามารถใช้ได้อย่างเหมาะสมกับบริบทและสภาพการใช้งานของโรงพยาบาลในพื้นที่อีสาน โดยมีการประกอบตู้ตรวจเชื้อฯ ทั้งแบบ Positive Pressure และ Negative Pressure เพื่อปรับใช้ในตามสภาวะเหตุการณ์ของการตรวจเชื้อ โดยเบื้องต้นได้ทดสอบลักษณะการใช้งานและได้ส่งมอบตู้ตรวจเชื้อฯ จำนวน 2 ตู้ ให้กับโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี ทันต่อการดำเนินการใช้งานเพื่อคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2563

บรรยายภาพ :  การทดสอบตู้ตรวจเชื้อในลักษณะการใช้งานแบบ Negative Pressure โดยแพทย์เฉพาะทาง


บรรยายภาพ : การทดสอบตู้ตรวจเชื้อในลักษณะการใช้งานแบบ Positive Pressure โดยแพทย์เฉพาะทาง


บรรยายภาพ : การส่งมอบตู้ตรวจเชื้อฯ จำนวน 2 ตู้ให้กับโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี 


บรรยายภาพ : การรับมอบตู้ตรวจเชื้อฯ จำนวน 2 ตู้โดยทีมแพทย์พยาบาลของโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี 

ปัจจุบันกำลังประกอบตู้ตรวจเชื้อฯ เพิ่มเติมอีกจำนวน 3 ตู้ เพื่อจัดส่งให้กับโรงพยาบาลบึงกาฬ หนองคาย และสกลนคร เพื่อใช้ในการตรวจคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่อีสานตอนบน

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ปัจจุบันสถานการณ์การแพร่ระบาดของ Covid-19 กำลังทวีความรุนแรงขึ้นทั่วโลกรวมทั้งประเทศไทย บุคลากรทางการแพทย์ซึ่งเป็นหน้าด่านสำคัญในการต่อสู้กับเชื้อโรคร้าย จึงหลีกเลี่ยงไม่ได้ต่อการเผชิญหน้ากับความเสี่ยงต่อการสัมผัสและรับเชื้อเสียเอง ประกอบกับวัสดุอุปกรณ์ทางการแพทย์ขาดแคลนเป็นอย่างมาก ส่วนหนึ่งเนื่องจากอุปกรณ์มีความจำเป็นต้องใช้แล้วทิ้ง เพื่อป้องกันการติดเชื้อ รวมทั้งจำนวนผู้ป่วยซึ่งเพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในแต่ละวัน ซึ่งทำให้ภาวะขาดแคลนอุปกรณ์ในการรักษาผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ยิ่งทวีความรุนแรงมากขึ้น

เพื่อลดปัญหาการที่โรงพยาบาลไม่มีสถานที่รองรับที่ปลอดภัยผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงหรือผู้ติดเชื้อที่เพียงพอ ทางโครงการจึงมีแนวคิดในการผลิตตู้ตรวจที่มีความปลอดภัยและสามารถใช้งานได้จริง ซึ่งเป็นนวัตกรรมที่ริเริ่มและปรับปรุงโดย

  • ภาควิชาศัลยศาสตร์ และหน่วย EID รพ.จุฬาลงกรณ์ สภากาชาดไทย
  • นพ.พสุรเชษฐ์ สมร ผู้ริเริ่มออกความคิด นพ.สุภกิจ ขมวิไล ผู้ดูแลประสานงาน
  • คุณน้ำมนต์ Rareness shop ยอดฝีมืออะครีลิกผู้ทำให้ไอเดียดีๆออกมาเป็นรูปแบบที่สัมผัสได้และใช้ได้จริง

เพื่อมอบให้กับโรงพยาบาล จะได้ลดปัญหาการปนเปื้อนของเชื้อในวงกว้างในห้องตรวจ และสามารถจำกัดบริเวณในการทำความสะอาดได้ง่ายขึ้น ซึ่งจะปลอดภัยมากขึ้นสำหรับคนไข้ที่เข้ารับการตรวจ

มาดีอีสาน ที่เกิดจากการรวมตัวของผู้ประกอบการรุ่นใหม่ในท้องถิ่น ซึ่งเล็งเห็นความสำคัญของการสร้างสรรค์วิธีการแลกเปลี่ยนแนวคิดการประกอบการเพื่อสังคม ที่สอดรับกับบริบทที่เปลี่ยนแปลงของการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมของ จ.อุดรธานี ก่อตั้งปี พ.ศ.2558 ในนามเทใจเด้อ ต้องการทำโครงการตู้ตรวจเชื้อ Covid เพื่อทุกชีวิตปลอดภัย มอบให้พี่หมอ จึงเกิดขึ้น เพื่อผลิตตู้ตรวจเชื้อ Covid-19 ติดล้อต้นแบบ ที่สามารถทำความสะอาดและฆ่าเชื้อได้ จำนวน 5 เครื่อง มอบให้กับโรงพยาบาลในภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือ ใช้อย่างต่อเนื่องตลอดช่วงเวลาการระบาดของ Covid-19

บรรยายภาพ  : กลุ่มผู้ริเริ่มปรับปรุง ตู้ตรวจเชื้อ Covid-19 


ภาพประกอบ : ตู้ตรวจเชื้อ Covid  versionซึ่งขณะนี้มีการปรับปรุงจนถึงเวอร์ชั่น 5-6 แล้ว

* หากมีข้อสงสัยในกระบวนการผลิตต้องการสอบถาม เกี่ยวกับวิธีการจัดสร้างและขั้นตอนทำตู้อะครีลิก ติดต่อ คุณน้ำมนต์ Line id:@rareness Facebook: Rareness_shop

รายละเอียดเชิงเทคนิคของตู้ตรวจเชื้อ

  1. ตู้อะคริลิกใส เพื่อไม่ให้ผู้ป่วยเกิดความเครียดจากการเข้าไปในที่แคบ และแพทย์พยาบาลสามารถมองเห็นได้ตลอดเวลา
  2. สามารถรับน้ำหนักรวมคนไข้และอุปกรณ์ได้ถึง 200 กิโลกรัม
  3. มีล้อเลื่อน ความสูงน้อยกว่า 2 เมตร
  4. ทำความสะอาดง่าย
  5. ติดตั้งเครื่องฟอกอากาศ HEPA filter สำหรับดูดอากาศออกจากตู้ ซึ่งสามารถกรองเชื้อโรค เชื้อวัณโรค และเชื้อไวรัส Covid-19 ก่อนปล่อยออกไปสู่ข้างนอก และมี UVC Light ที่ช่วยฆ่าเชื้อที่ผ่านออกและตกค้างใน Filter
  6. เมื่อเปิดเครื่องดูดกรองอากาศแล้ว ในตู้จะมีสภาพเป็นห้อง Negative Pressure ขนาดเล็ก
  7. มีช่องที่สามารถสอดมือและแขนสองช่องเพื่อตรวจและรักษาผู้ป่วย สามารถใช้ถุงมือ เช่นถุงมือล้างรถ ถุงมือผสมเทียม แล้วติดยึดกับตัวตู้ และใช้สายสะดึงรัดเพื่อความแน่นหนาปลอดภัย

คุณสมบัติเครื่องดูดอากาศ HEPA filter o

  • เครื่องดูดอากาศออก flow rate 75 cubic feet per minute (44 cubic meter per hour)
  • HEPA filter H14 filtration rate อย่างน้อย 99.9995%
  • หลอด UVC กำลัง 9 watt ฉายด้านอากาศออกของ HEPA filter

ผลที่คาดว่าจะได้รับ

บุคลากรทางการแพทย์ :

โรงพยาบาลขนาดเล็กในต่างจังหวัด ที่อุปกรณ์และโครงสร้างไม่พร้อมกับการรองรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิด-19 ได้มีพื้นที่ในการรับรองผู้ป่วยที่ติดเชื้อโควิด-19 ที่สะอาด ปลอดภัย สะดวกต่อการเคลื่อนย้าย และทำความสะอาดง่าย ซึ่งช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อของบุคลากรทางการแพทย์ที่ต้องพบเจอกับผู้ติดเชื้อหรือผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงอยู่เป็นประจำในวิกฤตสถานการณ์การระบาดของโควิด-19 ซึ่งคาดการณ์ว่าสถานการณ์จะเลวร้ายขึ้นและมีผู้ติดเชื้อเพิ่มขึ้นเรื่อยๆ 

ประชาชนทั่วไป:

การที่โรงพยาบาลมีพื้นที่รองรับการตรวจผู้ติดเชื้อโควิด-19 ที่สะอาดและปลอดภัย ยังเป็นการช่วยลดความเสี่ยงในการติดเชื้อโควิด-19 สำหรับคนไข้อื่นๆ ที่เค้ามารับการตรวจที่โรงพยาบาล

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. สำรวจความต้องการของโรงพยาบาล
  2. ผลิตเครื่องตามแบบ (ใช้เวลาในการผลิตประมาณ 1 อาทิตย์)
  3. นำส่งเครื่องที่ผลิตแล้วให้กับโรงพยาบาล

สมาชิก

มาดีอีสาน ในนามเทใจเด้อ



รายงานความก้าวหน้าโครงการ
ตู้ตรวจเชื้อ COVID-19 เพื่อพี่หมอภาคอีสาน วันที่ 9 มิถุนายน 2563 ณ โรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี

9 มิถุนายน 2020

ทางทีมแพทย์พยาบาลและบุคลากรทางการแพทย์ของโรงพยาบาลอุดรธานี ร่วมกับกลุ่มมาดีอีสานในนามเทใจเด้อและทีมช่างออกแบบในพื้นที่ท้องถิ่น ได้ร่วมกันดัดแปลง ปรับปรุง และประกอบตู้ตรวจเชื้อ COVID-19 จากตู้ตรวจเชื้อต้นแบบของทางโรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ฯ เพื่อให้สามารถใช้ได้อย่างเหมาะสมกับบริบทและสภาพการใช้งานของโรงพยาบาลในพื้นที่อีสาน โดยมีการประกอบตู้ตรวจเชื้อฯ ทั้งแบบ Positive Pressure และ Negative Pressure เพื่อปรับใช้ในตามสภาวะเหตุการณ์ของการตรวจเชื้อ โดยเบื้องต้นได้ทดสอบลักษณะการใช้งานและได้ส่งมอบตู้ตรวจเชื้อฯ จำนวน 2 ตู้ ให้กับโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี ทันต่อการดำเนินการใช้งานเพื่อคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยง ในวันที่ 5 พฤษภาคม 2563

บรรยายภาพ :  การทดสอบตู้ตรวจเชื้อในลักษณะการใช้งานแบบ Negative Pressure โดยแพทย์เฉพาะทาง


บรรยายภาพ : การทดสอบตู้ตรวจเชื้อในลักษณะการใช้งานแบบ Positive Pressure โดยแพทย์เฉพาะทาง


บรรยายภาพ : การส่งมอบตู้ตรวจเชื้อฯ จำนวน 2 ตู้ให้กับโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี 


บรรยายภาพ : การรับมอบตู้ตรวจเชื้อฯ จำนวน 2 ตู้โดยทีมแพทย์พยาบาลของโรงพยาบาลศูนย์อุดรธานี 

ปัจจุบันกำลังประกอบตู้ตรวจเชื้อฯ เพิ่มเติมอีกจำนวน 3 ตู้ เพื่อจัดส่งให้กับโรงพยาบาลบึงกาฬ หนองคาย และสกลนคร เพื่อใช้ในการตรวจคัดกรองผู้ป่วยกลุ่มเสี่ยงในพื้นที่อีสานตอนบน

แผนการใช้เงิน


รายการจำนวนบาท
1.อุปกรณ์ทำตู้ตรวจเชื้อ Covid ราคาประมาณ 40,000-50,000 บาท5250,000
2.ค่าขนส่งติดตั้งขึ้นอยู่กับระยะทางและความห่างไกลเฉลี่ย 5,000-20,000 บาท
50,000
3.ค่าดำเนินงานเทใจดอทคอม 10%
(ค่าระบบออนไลน์ ต้นทุนค่าธรรมเนียมธนาคารและ payment gateway ค่าคัดกรองโครงการ ตรวจสอบ ติดตาม วัดผล และรายงานความคืบหน้า)

30,000
รวม
330,000

*หมายเหตุ งบประมาณอาจจะมีการปรับเปลี่ยนตามราคาที่สามารถจัดหาได้ในขณะนั้น