project กลุ่มคนเปราะบาง

Better Me เพื่อชีวิตที่ดีของผู้หญิงที่ขาดโอกาสทางการศึกษา

ร่วมกันมอบโอกาสทางการศึกษาและพัฒนาทักษะให้ผู้หญิงที่ขาดโอกาสทางการศึกษา 10 คน ได้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและมีโอกาสในอนาคตมากขึ้น

ระยะเวลาโครงการ 6 เดือน พื้นที่ดำเนินโครงการ กรุงเทพ

ยอดบริจาคขณะนี้

59,904 บาท

เป้าหมาย

59,300 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 101%
จำนวนผู้บริจาค 35

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

กิจกรรมพัฒนาตนเองให้ผู้หญิง ครั้งที่ 2

4 ตุลาคม 2019

ผู้หญิงที่ได้เข้าเรียนในห้องเรียนเทใจทั้ง 10 คน ผ่านการเรียนหลักสูตรที่ 1 และเริ่มเรียนต่อในหลักสูตรพัฒนาตนเอง ครั้งที่ 2 เป็นระยะเวลา 3 เดือน

ข้อมูลพื้นฐานของผู้เข้าร่วมกิจกรรม

  • จบการศึกษาระดับมัธยมการศึกษาตอนต้น และตอนปลาย
  • ส้วนใหญ่ออกจากโรงเรียนก่อนเวลาอันสมควรเนื่องจากครอบครัวไม่สามารถสนับสนุนได้
  • ส่วนใหญ่ครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกรรม
  • อายุต่ำกว่า 17 ปี ก่อนที่จะย้ายเข้ามาทำงานในกรุงเทพ
  • เป็นแรงงานนอกระบบ ทำงานในสายงานบริการ ไม่มีสวัสดิการคุ้มครองและไม่ได้รับความเป็นธรรมในการจ้างงาน
  • มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 10,000 - 15,000 บาทต่อเดือน
  • มีชั่วโมงการทำงานอยู่ที่ 56 -65 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
  • มีหน้าที่ในการส่งเสียและเป็นหลักในการเลี้ยงดูครอบครัว
  • นักเรียนส่งเงินให้ที่บ้านอย่างน้อย 5,000 - 10,000 บาทต่อเดือน
  • ส่วนใหญ่รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายเนื่องจากเป็นบุคคลเดียวที่สามารถหารายได้ให้ครอบครัว
  • ไม่มีความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษ
  • ไม่เคยผ่านกระบวนการในการทำกิจกรรมในลักษณะนี้มาก่อน

หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพของตนเองในครั้งนี้ มีการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ทั้งการเรียนรู้ข้อดีและข้อเสียของตนเอง การรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ การพัฒนาบุคลิกภาพ การเสริมสร้างความมั่นใจ และความรู้พื้นฐานด้านต่างๆ เช่น ทักษะชีวิต ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานกฎหมายแรงงานและการจ้างงาน สิทธิด้านต่างๆ การวางแผนอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ การวางแผนทางการเงิน เป็นต้น

ภาพกิจกรรมหลักสูตรพัฒนาตนเอง ครั้งที่ 2

แผนการเรียนของผู้หญิงในหลักสูตรที่ 2

การเรียนภาษาอังกฤษ

การเรียนรู้ข้อดีและข้อเสียของตัวเอง พร้อมวิธีการเปลี่ยนแปลงตัวเอง
วาดภาพของตนเอง

แสดงภาพวาดของตน ข้อเสียและการปรับปรุงตนเองในทางที่ดีขึ้น

ร่วมแบ่งปันความคิดของตนเองและเพื่อนร่วมห้อง

สร้างเป้าหมายให้กับตนเอง ผ่าน Smart flower planing 


Flower Planing ของนักเรียนห้องเทใจ

ความคิดเห็นหลังเข้าร่วมโครงการ


หลังจากการเข้าร่วมกิจกรรม มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้นำความรู้จากการเรียนไปปรับใช้ และทำให้พวกเธอสามารถมีรายได้เพิ่มขึ้น จำนวน 2 คน

คุณเอ้ เงินเดือนเพิ่มขึ้น 8%
“รายได้เพิ่มมากขึ้น ตรงนี้มีส่วนมาจากการมาเรียนที่มูลนิธิฯ งานของเราต้องใช้ภาษาอังกฤษในการอ่านเพราะเป็น QA ก่อนหน้านี้อ่านไม่ได้ พอมาเรียนทำให้เราสะกดได้ อ่านได้ มีความสามารถเพิ่มขึ้น ตอนทำกิจกรรมได้มีโอกาสนำเสนอผลงาน พอไปทำงานทำให้เรากล้าพูดกับเจ้านายมากขึ้น แต่ก่อนเราทำงานเสร็จต้องไปบอกหัวหน้าให้หัวหน้าไปรายงานให้ ตอนนี้หัวหน้าไม่อยู่เราสามารถนำเสนองานได้ด้วยตัวเอง มีความกล้ามากขึ้น ดีใจที่ทำได้”

แวว เงินเดือนเพิ่มขึ้น 6%
“มูลนิธิฯ มีส่วนอย่างมากที่ทำให้เราได้รับเงินเดือนมากขึ้น สอนให้เราพัฒนาตัวเอง การสื่อสารภาษาอังกฤษ การอ่านดีขึ้น เราเอามาใช้กับงานเพราะต้องอ่านออเดอร์และเมนูเป็นภาษาอังกฤษ เรามีความกล้ามากขึ้น ก่อนหน้านี้ไม่อยากคุยกับลูกค้า ไม่กล้าพูดเพราะเราพูดเราสื่อสารไม่ได้ ตอนนี้กล้าขึ้นมาก ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับทักษะชีวิต มีความรู้เกี่ยวกับการจัดระบบในชีวิต”

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด


 “ก่อนหน้านี้ไม่เคยคิดเก็บเงินไว้ที่ตัวเองเลย มีเท่าไหร่ ส่งให้ที่บ้านหมด ทุกบาททุกสตางค์ พอเราเจ็บป่วยหรือต้องการใช้เงิน เราไม่สามารถขอคืนมาจากที่บ้านได้ เราต้องหยิบยืมคนอื่น ที่มูลนิธิแนะนำให้เราแบ่งเก็บเพื่อที่จะมีใช้ยามฉุกเฉินและเพื่ออนาคตของเรา เรามีเป้าหมายมากขึ้น” นุ อายุ 26 ปี

“เคยคิดว่าถ้ามีลูก ก็จะให้ลูกมาทำอาชีพแม่บ้านเหมือนเรา พอมาเรียนที่มูลนิธิ เราคิดอยากให้ลูกมีการศึกษา มีความรู้และมีอนาคตที่ดีกว่าที่เราเป็นอยู่ เรามีทางเลือกและช่องทางในการดำเนินชีวิตมากขึ้น” ดวง อายุ 22 ปี

“พี่ทำงานทุกวันไม่มีวันหยุด พี่ไม่เคยรู้เลยว่าพี่มีสิทธิได้หยุดงานอย่างน้อย 1 วันต่อสัปดาห์ จนกระทั่งพี่มาทำกิจกรรมที่มูลนิธิ ที่นี่ทำให้เราสิทธิแรงงานขั้นพื้นฐานที่เราควรได้รับ”

เหล่านี้เป็น Feedback ของผู้หญิงที่เข้ารับการฝึกอบรมโครงการ Better Me ของมูลนิธิ

Better Me หลักสูตรพัฒนาตนเองเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีกว่าเดิมของผู้หญิงที่ขาดโอกาสทางการศึกษา เนื้อหากิจกรรมคลอบคลุมในการพัฒนาทักษะในหลายๆ ด้าน


ใครได้รับประโยชน์ 
  • กลุ่มผู้หญิง อายุระหว่าง 18-50 ปีที่ไม่มีโอกาสได้เรียนในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย โดยทั่วไปออกจากโรงเรียนก่อนเวลาอันสมควร 
  • เป็นหลักในการรับภาระรับผิดชอบเลี้ยงดูครอบครัวเพียงลำพัง
  • เป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว
  • ส่วนใหญ่ทำงานในสายงานบริการเช่น พี่เลี้ยงเด็ก แม่บ้าน นวดแผนโบราณ พนักงานขาย
ได้รับประโยชน์อย่างไร
  1. ได้รับความรู้พื้นฐานด้านต่างๆ เช่น ทักษะชีวิต ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานกฎหมายแรงงานและการจ้างงาน สิทธิด้านต่างๆ การวางแผนอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ การวางแผนทางการเงิน เป็นต้น
  2. ได้รับการพัฒนาศักยภาพของตนเอง เช่น การเรียนรู้ข้อดีและข้อเสียของตนเอง การรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ การพัฒนาบุคลิกภาพ การเสริมสร้างความมั่นใจ เป็นต้น
  3. ทักษะทางภาษาอังกฤษ
  4.  เพิ่มโอกาสในการทำงานและสร้างรายได้ที่ดีกว่าเดิม
  5. เสริมสร้างความมั่นใจในศักยภาพของตนเอง และการดำรงชีวิต
  6. มีเมนทอร์ที่ปรึกษาเป็นของตนเอง สำหรับพูดคุยเพื่อเสริมสร้างแรงบัลดาลใจ ให้กำลังใจและสนับสนุนให้เกิดการเปลี่ยนแปลงตนเองไปในทางที่ดีขึ้น 


วิธีดำเนินกิจกรรม

  • กิจกรรมการเรียนรู้ใช้เวลาทั้งหมด 3 ชั่วโมง หรือ 1 ครั้ง ต่อ 1 สัปดาห์ ติดต่อกันเป็นระยะเวลาติดต่อกัน 3 เดือน 
  • การให้คำปรึกษาจะมีระยะเวลา 1-2 ชั่วโมงต่อเดือนที่ผู้หญิงจะได้ใช้เวลาร่วมกับเมนทอร์หรือโค้ชของตนเอง 
  • กิจกรรมทั้งหมดจัดขึ้นภายในสำนักงานมูลนิธิกลุ่มปรารถนาดี ซอยสุขุมวิท 52 
  • ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดใดทั้งสิ้น

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

  1. จัดกิจกรรมทันทีที่ครบกลุ่มเป้าหมายที่ต้องการอย่างน้อย 10 คน ทีมงานจะเปิดเป็น 1 ห้องเรียน จนครบกำหนด 3 เดือน เป้าหมายโครงการต้องการสนับสนุนผู้หญิง จำนวน 120 คน ภายในระยะเวลา 1 ปี (2562)
  2. ทำรายงานสรุปผลการดำเนินโครงการ และนำข้อมูลที่ได้มาพัฒนากิจกรรมให้เหมาะสมและตรงกับความต้องการของเป้าหมาย


ผู้หญิงเหล่านี้จะได้รับประโยชน์อย่างไร   

  • มีความสุข มีความมั่นใจในตนเองและสามารถพัฒนาตนเองให้ดีขึ้นได้ในโอกาสต่อๆไป
  • มีทักษะทางการศึกษา ทักษะทางภาษา ทักษะทางสังคม เพื่อเพิ่มโอกาสในการประกอบอาชีพ
  • เป็นที่พึ่งให้กับครอบครัว โดยความรู้ที่ได้ สามารถนำไปสอนลูกและคนในครอบครัวอีกด้วย
  • มีทางเลือกในการประกอบอาชีพ รายได้เพิ่มขึ้น มีเงื่อนไขในการทำงานที่ดีขึ้น
  • นายจ้างและสังคมจะมีผู้หญิงที่มีความรู้และศักยภาพเพิ่มมากขึ้น
  • ไม่ตกเป็นเหยื่อของนายจ้างหรือมิจฉาชีพ
  • สามารถปกป้องสิทธิของตนเอง และสามารถช่วยเหลือคนอื่นๆ ในสังคมได้

สมาชิกภายในทีม 

นาวสาวสโรชินี อัญญเวชสัมฤทธิ์ (พี่เบียร์) พัฒนาหลักสูตรและวิทยากร 

นางสาวปนัดดา งามสมพล (พี่ปิ๋ม) ประสานงานโครงการและผู้ช่วยวิทยากร

นางสาวญาดา ช่วยชำแนก (พี่ญาดา) ประสานงานโครงการ

นางสาวพิกุล วาจาดี (พี่ดวง) ประสานงานโครงการ

ติดต่อทีมงาน staff@pratthanadee.org โทร 02 – 331 4731 มูลนิธิปิดทำการทุกวันศุกร์  

ติดตามความคืบหน้าของการดำเนินกิจกรรมได้ที่ 

Facebook: https://www.facebook.com/Pratthanadee.Foundation/

Instagram: Pratthanadee 

Twitter: PratthanadeeOrg 

Youtube: https://www.youtube.com/channel/UC6Of-Gr8P0W-J24cZxDLNdA/featured

Website: https://pratthanadee.org/

Better Me จัดกิจกรรมพัฒนาตนเองให้ผู้หญิง 10 คน

15 กรกฎาคม 2019

โครงการ Better Me เพื่อชีวิตที่ดีของผู้หญิงที่ขาดโอกาสทางการศึกษา ให้ผู้หญิงเข้าร่วมโครงการในห้องเทใจ จำนวน 10 คน มีอายุระหว่าง 22 - 43 ปี มีสัญชาติไทย พม่า และลาว ประกอบอาชีพ พี่เลี้ยงเด็ก แม่บ้าน นวดแผนโบราณ พนักงานขาย เป็นต้น ในกิจกรรม ประกอบด้วย 3 ส่วน คือ ภาษาอังกฤษ หลักสูตรพัฒนาตนเอง และเพื่อนคู่คิด

โครงการ Better me แบ่งกิจกรรมออกเป็น 3 หลักสูตร ดังนี้

หลักสูตรการพัฒนาตนเอง 1 (ระยะเวลา 3 เดือน)

  • การประเมินตนเอง
  • การรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ
  • แผนการในอนาคต
  • การวางแผนอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ
  • การจัดการกับการเปลี่ยนแปลง

หลักสูตรการพัฒนาตนเอง 2 (ระยะเวลา 3 เดือน)

  • สิทธิของเราเรียกร้องได้
  • ผู้หญิงรอบรู้เรื่องเงิน
  • งานที่ใช่ไม่ไกลเกินเอื้อม
  • สร้างความประทับใจจากบุคลิกภาพที่ดี

หลักสูตรการพัฒนาตนเอง 3 (ระยะเวลา 3 เดือน)

  • เทคนิคการเจรจาต่อรอง
  • การดูแลสุขภาพพื้นฐาน
  • เริ่มต้นทำธุรกิจอย่างไร

ภาพกิจกรรมหลักสูตรพัฒนาตนเอง ครั้งที่ 1

แผนการเรียนของผู้หญิง ในหลักสูตร 1

ขอต้อนรับนักเรียนใหม่ห้องเรียนเทใจ

กิจกรรม Self Assessment ให้เข้าใจวัตถุประสงค์และเป้าหมายของตนเอง

เรียนรู้จุดอ่อน จุดแข็งของตนเอง นำไปสู่แนวทางการพัฒนาและปรับปรุงตนเอง รวมถึงวางแผนให้บรรลุเป้าหมายของตนเองได้

กิจกรรม Dealing with Situations รับมือกับเหตุการณ์หรือสถานการณ์ต่างๆ และเรียนรู้วิธีการจัดการ 

เติมพลังใจซึ่งกันและกัน

การประเมินตนเองจากผู้เข้าร่วมหลักสูตร 1 บางส่วน



มูลนิธิฯ ขอขอบคุณทุกท่านที่ร่วมบริจาคในการเล็งเห็นถึงการพัฒนาศักยภาพของผู้หญิงที่ขาดโอกาสทางการศึกษาให้ได้มีโอกาสในการพัฒนาตนเองเพื่อคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นกว่าเดิม

กิจกรรมพัฒนาตนเองให้ผู้หญิง ครั้งที่ 2

4 ตุลาคม 2019

ผู้หญิงที่ได้เข้าเรียนในห้องเรียนเทใจทั้ง 10 คน ผ่านการเรียนหลักสูตรที่ 1 และเริ่มเรียนต่อในหลักสูตรพัฒนาตนเอง ครั้งที่ 2 เป็นระยะเวลา 3 เดือน

ข้อมูลพื้นฐานของผู้เข้าร่วมกิจกรรม

  • จบการศึกษาระดับมัธยมการศึกษาตอนต้น และตอนปลาย
  • ส้วนใหญ่ออกจากโรงเรียนก่อนเวลาอันสมควรเนื่องจากครอบครัวไม่สามารถสนับสนุนได้
  • ส่วนใหญ่ครอบครัวประกอบอาชีพเกษตรกรรม
  • อายุต่ำกว่า 17 ปี ก่อนที่จะย้ายเข้ามาทำงานในกรุงเทพ
  • เป็นแรงงานนอกระบบ ทำงานในสายงานบริการ ไม่มีสวัสดิการคุ้มครองและไม่ได้รับความเป็นธรรมในการจ้างงาน
  • มีรายได้เฉลี่ยประมาณ 10,000 - 15,000 บาทต่อเดือน
  • มีชั่วโมงการทำงานอยู่ที่ 56 -65 ชั่วโมงต่อสัปดาห์
  • มีหน้าที่ในการส่งเสียและเป็นหลักในการเลี้ยงดูครอบครัว
  • นักเรียนส่งเงินให้ที่บ้านอย่างน้อย 5,000 - 10,000 บาทต่อเดือน
  • ส่วนใหญ่รายได้ไม่เพียงพอกับรายจ่ายเนื่องจากเป็นบุคคลเดียวที่สามารถหารายได้ให้ครอบครัว
  • ไม่มีความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษ
  • ไม่เคยผ่านกระบวนการในการทำกิจกรรมในลักษณะนี้มาก่อน

หลักสูตรการพัฒนาศักยภาพของตนเองในครั้งนี้ มีการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ ทั้งการเรียนรู้ข้อดีและข้อเสียของตนเอง การรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ การพัฒนาบุคลิกภาพ การเสริมสร้างความมั่นใจ และความรู้พื้นฐานด้านต่างๆ เช่น ทักษะชีวิต ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานกฎหมายแรงงานและการจ้างงาน สิทธิด้านต่างๆ การวางแผนอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ การวางแผนทางการเงิน เป็นต้น

ภาพกิจกรรมหลักสูตรพัฒนาตนเอง ครั้งที่ 2

แผนการเรียนของผู้หญิงในหลักสูตรที่ 2

การเรียนภาษาอังกฤษ

การเรียนรู้ข้อดีและข้อเสียของตัวเอง พร้อมวิธีการเปลี่ยนแปลงตัวเอง
วาดภาพของตนเอง

แสดงภาพวาดของตน ข้อเสียและการปรับปรุงตนเองในทางที่ดีขึ้น

ร่วมแบ่งปันความคิดของตนเองและเพื่อนร่วมห้อง

สร้างเป้าหมายให้กับตนเอง ผ่าน Smart flower planing 


Flower Planing ของนักเรียนห้องเทใจ

ความคิดเห็นหลังเข้าร่วมโครงการ


หลังจากการเข้าร่วมกิจกรรม มีผู้เข้าร่วมกิจกรรมได้นำความรู้จากการเรียนไปปรับใช้ และทำให้พวกเธอสามารถมีรายได้เพิ่มขึ้น จำนวน 2 คน

คุณเอ้ เงินเดือนเพิ่มขึ้น 8%
“รายได้เพิ่มมากขึ้น ตรงนี้มีส่วนมาจากการมาเรียนที่มูลนิธิฯ งานของเราต้องใช้ภาษาอังกฤษในการอ่านเพราะเป็น QA ก่อนหน้านี้อ่านไม่ได้ พอมาเรียนทำให้เราสะกดได้ อ่านได้ มีความสามารถเพิ่มขึ้น ตอนทำกิจกรรมได้มีโอกาสนำเสนอผลงาน พอไปทำงานทำให้เรากล้าพูดกับเจ้านายมากขึ้น แต่ก่อนเราทำงานเสร็จต้องไปบอกหัวหน้าให้หัวหน้าไปรายงานให้ ตอนนี้หัวหน้าไม่อยู่เราสามารถนำเสนองานได้ด้วยตัวเอง มีความกล้ามากขึ้น ดีใจที่ทำได้”

แวว เงินเดือนเพิ่มขึ้น 6%
“มูลนิธิฯ มีส่วนอย่างมากที่ทำให้เราได้รับเงินเดือนมากขึ้น สอนให้เราพัฒนาตัวเอง การสื่อสารภาษาอังกฤษ การอ่านดีขึ้น เราเอามาใช้กับงานเพราะต้องอ่านออเดอร์และเมนูเป็นภาษาอังกฤษ เรามีความกล้ามากขึ้น ก่อนหน้านี้ไม่อยากคุยกับลูกค้า ไม่กล้าพูดเพราะเราพูดเราสื่อสารไม่ได้ ตอนนี้กล้าขึ้นมาก ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ๆ ที่เกี่ยวกับทักษะชีวิต มีความรู้เกี่ยวกับการจัดระบบในชีวิต”

แผนการใช้เงิน


รายการหน่วย(คน)บาท

ค่าใช้จ่ายต่อนักเรียน 1 คน 5,930 บาท เพื่อดำเนินการต่อไปนี้

  • ฝึกอบรมต่อ 3 ชั่วโมงต่อครั้ง ต่อ 1 สัปดาห์ ติดต่อกันเป็นระยะเวลาติดต่อกัน 3 เดือน
  • ค่าใช้จ่ายการติดต่อประสานงานเพื่อติดตามประเมินผล  พร้อมให้โค้ชได้ให้คำปรึกษาจะมีระยะเวลา 1-2 ชั่วโมงต่อเดือน เป็นเวลา 6 เดือน  หลังจากจบหลักสูตร


10


59,300

(รวมค่าใช้จ่ายในการระดมทุนของเทใจเป็นเงินโดยประมาณ 5,930 บาท)