Better Me หลักสูตรพัฒนาตนเอง เพื่อชีวิตที่ดีของผู้หญิงที่ขาดโอกาสทางการศึกษา

พัฒนาศักยภาพของผู้หญิงชาวไทยและแรงงานต่างด้าว กลุ่มเป้าหมายจะได้รับความรู้พื้นฐานด้านต่างๆ เช่น ทักษะชีวิต ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานกฎหมายแรงงานและการจ้างงาน สิทธิด้านต่างๆ การวางแผนอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ การวางแผนทางการเงิน เป็นต้น ได้รับการพัฒนาศักยภาพของตนเอง เช่น การเรียนรู้ข้อดีและข้อเสียของตนเอง การรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ การพัฒนาบุคลิกภาพ การเสริมสร้างความมั่นใจ เป็นต้น พัฒนาความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษ เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำงานและสร้างรายได้ที่ดีกว่าเดิม
ระยะเวลาโครงการ 01 ก.พ. 2565 ถึง 30 มิ.ย. 2565 พื้นที่ดำเนินโครงการ ระบุพื้นที่: แขวงบางจาก เขตพระโขนง จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ยอดบริจาคขณะนี้
161,050 บาทเป้าหมาย
159,500 บาทสำเร็จแล้ว
ความคืบหน้าโครงการ
Better Me หลักสูตรพัฒนาผู้หญิงที่ขาดโอกาส จำนวน 123 คน
ภายในระยะเวลาดำเนินโครงการเดือนกุมพาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา มูลนิธิได้มีการจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้หญิงอย่างต่อเนื่อง โดยมีการดำเนินการเรียนการสอนและให้ความช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายสำเร็จดังต่อไปนี้
กิจกรรม | จำนวนผู้เรียน |
การสอนภาษาอังกฤษแบบออนไลน์และออฟไลน์ ระยะเวลาในการเรียนการสอน 3 ชั่วโมงต่อครั้ง | 52 คน |
การจัดอบรม ระยะเวลาในการเรียนการสอน 3 ชั่วโมง
ตัวอย่างกิจกรรมที่จัดการอบรม เช่น กิจกรรมการจัดการกับการเปลี่ยนแปลง กิจกรรมผู้หญิงรอบรู้เรื่องเงิน กิจกรรมการวางแผนสำหรับอนาคต กิจกรรมการสร้างความประทับใจจากบุคลิกภาพที่ดี เป็นต้น | 45 คน |
ห้องเรียนเปิดใหม่ | 10 คน |
ให้คำปรึกษาประเด็นเรื่องความรุนแรงต่อผู้หญิง | 16 คน |
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายหลังการเข้าร่วมโครงการ
- ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีขึ้นต่อการใช้ชีวิตและการทำงาน สามารถสังเกตได้อย่างชัดเจนจากการแสดงความคิดเห็นและการปรับเปลี่ยนด้านบุคลิกภาพภายนอกอื่นๆ
- ผู้เรียนแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับพัฒนาการด้านภาษาอังกฤษที่มีส่วนทำให้การทำงานของผู้เรียนดีขึ้น ความสัมพันธ์และการสื่อสารกับนายจ้างหรือเพื่อร่วมงานที่เป็นชาวต่างชาติเป็นไปในทางที่ดีขึ้น
- ผู้เรียนมีความมั่นใจมากขึ้น รักตัวเองและมองเห็นการเปลี่ยนแปลงของตนเองที่เป็นไปในทางที่ดีขึ้น
- ผู้เรียนมีโอกาสพบปะเพื่อนและสังคมใหม่ ทำให้มีโอกาสพัฒนาทักษะในการเข้าสังคมและทักษะอื่นๆ ระหว่างเข้าร่วมโครงการ Better Me
ความประทับใจของผู้เรียน
“จากที่เคยเป็นแค่แม่บ้านในโรงเรียนนานาชาติ พอเราสื่อสารภาษาอังกฤษพอได้ มีโอกาสได้เข้าไปช่วยครูในกรณีที่ครูผู้ช่วยสอนไม่มา ทำให้เราภูมิใจ อะไรที่คิดว่าเราทำไม่ได้เราก็ทำได้ พี่ชอบทำกิจกรรม ชอบเรียนรู้วิธีแก้ปัญหา การจัดการ การใช้ชีวิตประจำวัน การเงิน ทำให้หาทางออกในปัญหานั้นๆ ได้ดีขึ้น ทำให้เราไม่เครียด รู้แนวทางแก้ดีขึ้น” เรียง
“จากที่ไม่มีเป้าหมายชีวิต ใช้ชีวิตไปวันๆ มาที่นี่ภาษาอังกฤษพัฒนาขึ้น รู้ว่าเราต้องให้เวลา ให้คุณค่ากับตัวเอง ถ้าไม่สบายใจก็มาคุยที่มูลนิธิได้” วรรณ
อ่านต่อ »
ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา
โครงการนี้มีเป้าหมายเพื่อต้องการพัฒนาศักยภาพของผู้หญิงและแรงงานต่างด้าว ให้มีความรู้ ความสามารถ เพิ่มโอกาสในการหารายได้ที่มั่นคงแก่ตนเองและครอบครัวได้ สาเหตุเนื่องมาจากผู้หญิงและแรงงานต่างด้าวไม่มีโอกาสได้เรียนในโรงเรียนและมหาวิทยาลัย ทำให้ขาดความรู้และช่องทางในการประกอบอาชีพที่เหมาะสม บางคนตกเป็นเหยื่อของมิจฉาชีพ หรือไม่ได้รับความเป็นธรรมในรายได้หรือเงื่อนไขของการทำงาน ผู้หญิงและแรงงานต่างด้าวกลุ่มนี้ต้องรับผิดชอบและเป็นหลักในการดูแลรับผิดชอบครอบครัว มีหลายชีวิตในครอบครัวที่ต้องพึ่งพารายได้จากกลุ่มเป้าหมายของเรา
กลุ่มเป้าหมายจะได้รับความรู้พื้นฐานด้านต่างๆ เช่น ทักษะชีวิต ความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับพื้นฐานกฎหมายแรงงานและการจ้างงาน สิทธิด้านต่างๆ การวางแผนอนาคตอย่างมีประสิทธิภาพ การวางแผนทางการเงิน เป็นต้น ได้รับการพัฒนาศักยภาพของตนเอง เช่น การเรียนรู้ข้อดีและข้อเสียของตนเอง การรับมือกับสถานการณ์ต่างๆ การพัฒนาบุคลิกภาพ การเสริมสร้างความมั่นใจ เป็นต้น พัฒนาความรู้ทางด้านภาษาอังกฤษ เพื่อเพิ่มโอกาสในการทำงานและสร้างรายได้ที่ดีกว่าเดิม
กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์
ผู้หญิง อายุระหว่าง 18-50 ปีที่ไม่มีโอกาสได้เรียนในโรงเรียนหรือมหาวิทยาลัย เป็นหลักในการรับภาระรับผิดชอบเลี้ยงดูครอบครัวเพียงลำพัง หรือเป็นแม่เลี้ยงเดี่ยว ทำงานในสายงานบริการเช่น พี่เลี้ยงเด็ก แม่บ้าน นวดแผนโบราณ พนักงานขาย
ปัจจุบันมูลนิธิดำเนินโครงการอยู่อย่างต่อเนื่อง กิจกรรมนี้ส่งผลโดยตรงต่อหลุ่มเป้าหมาย จากการเก็บข้อมูลของมูลนิธิพบว่า
• 45% ของผู้หญิงที่ได้รับการอบรมในกรุงเทพมหานครได้รับค่าตอบแทนสูงขึ้นกว่า 30%
• 97% บอกว่ามูลนิธิมีส่วนช่วยให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในชีวิตของพวกเธอ
• 98% มีความมั่นใจในตัวเองมากขึ้น
• 100% บอกว่าได้เรียนรู้ทักษะใหม่จากมูลนิธิ
• 93% จะแนะนำมูลนิธิให้เพื่อนหรือคนรู้จักทราบ
ขั้นตอนการดำเนินโครงการ
- กลุ่มเป้าหมาย จำนวน 49 คน โดยจะเปิดรับสมัครเพิ่มอย่างต่อเนื่องสำหรับบุกลุ่มเป้าหมายใหม่
- มูลนิธิมีกิจกรรมการเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง (ภาษาอังกฤษ หลักสูตรพัฒนาตนเองและให้คำปรึกษา) ที่ใช้เวลาทั้งหมด 3 ชั่วโมง จำนวน 1 ครั้ง ต่อ 1 สัปดาห์ ระยะเวลาในการดำเนินกิจกรรม 3 เดือน
- การให้คำปรึกษาที่กลุ่มเป้าหมายสามารถขอพบเพื่อรับคำปรึกษาได้เป็นการส่วนตัว
- กิจกรรมทั้งหมดจัดขึ้นทั้งรูปแบบออนไลน์และภายในสำนักงานมูลนิธิกลุ่มปรารถนาดี ซอยสุขุมวิท 52
- ไม่เสียค่าใช้จ่ายใดใดทั้งสิ้น
- มีการประเมินผลจัดกิจกรรมผ่านการสอบ (ภาษาอังกฤษ) และการติดตามผ่านการสังเกตการณ์ของเจ้าหน้าที่และอาสาสมัคร
ผู้รับผิดชอบโครงการ
1. นางสาวเกวลิน ทีฆาวงค์
2. นางสาวณิชากร รักษศรี
3. นางสาวสโรชินี อัญญเวชสัมฤทธิ์

Facebook: https://www.facebook.com/Pratthanadee.Foundation
Website: https://pratthanadee.org/
เริ่มเรียนหลักสูตรการพัฒนาตนเองสำหรับผู้หญิงที่ขาดโอกาส
ภายในเดือนกุมภาพันธ์ที่ผ่านมา มูลนิธิปรารถนาดีได้มีการจัดการเรียนการสอนอย่างต่อเนื่อง โดยมีการเรียนการสอนภาษาอังกฤษแบบออนไลน์และออฟไลน์ จำนวน 25 ครั้ง มีการจัดอบรม 1 ครั้งสำหรับห้องเรียนเปิดใหม่ จำนวน 5 คน และให้คำปรึกษาประเด็นเรื่องความรุนแรงแก่ผู้หญิง จำนวน 8 คน
คุณครูสอนภาษาอังกฤษและนักเรียน
ภาพกิจกรรมเรียนออนไลน์
ความประทับใจจากผู้หญิงที่ได้ร่วมโครงการ
“รู้สึกมีกำลังใจมากขึ้นแล้วก็มีความกล้าแสดงออกมากขึ้น ภูมิใจในตัวเองที่มีความพยายามที่ทำให้มาถึงตรงนี้ แล้วก็ดีใจที่ได้รู้จักพี่ๆ ทุกคน ได้รับประสบการณ์จากพี่ๆ ที่สามารถเอามาปรับใช้ในชีวิตได้ค่ะ ขอบคุณพี่ๆ ที่มูลนิธิที่เปิดโอกาสให้ค่ะ” พลอย
“วันนี้ทำให้เราได้รู้จักคนเพิ่มขึ้น และได้รู้วิธีพัฒนาการเรียนภาษาอังกฤษของเราให้ดียิ่งขึ้น รู้สึกว่าได้แรงบันดาลใจจากเพื่อนๆ แรงบันดาลใจนี้ทำให้เราได้มีเป้าหมายในการใช้ชีวิตมากขึ้น ประสบการณ์ที่ได้พูดคุยกับเพื่อนๆ ในวันนี้ทำให้มีความมั่นใจเพิ่มมากขึ้นค่ะ” เรียง
“ดีใจที่ได้เรียนภาษาอังกฤษและขอบคุณมูลนิธิที่ให้โอกาสน้อยค่ะ ดีใจที่ได้เจอทุกๆ คน หวังว่าเราจะเรียนภาษาอังกฤษและได้รู้จักชีวิตของแต่ละคนไปพร้อมๆ กันนะคะ วันนี้ได้รู้ว่าชีวิตเรานั้นอันไหนที่แก้ไขได้ก็ควรแก้และเรียนรู้เพิ่มเติมค่ะ” น้อย
Better Me หลักสูตรพัฒนาผู้หญิงที่ขาดโอกาส จำนวน 123 คน
ภายในระยะเวลาดำเนินโครงการเดือนกุมพาพันธ์ถึงเดือนกรกฎาคม 2565 ที่ผ่านมา มูลนิธิได้มีการจัดการเรียนการสอนให้แก่ผู้หญิงอย่างต่อเนื่อง โดยมีการดำเนินการเรียนการสอนและให้ความช่วยเหลือกลุ่มเป้าหมายสำเร็จดังต่อไปนี้
กิจกรรม | จำนวนผู้เรียน |
การสอนภาษาอังกฤษแบบออนไลน์และออฟไลน์ ระยะเวลาในการเรียนการสอน 3 ชั่วโมงต่อครั้ง | 52 คน |
การจัดอบรม ระยะเวลาในการเรียนการสอน 3 ชั่วโมง
ตัวอย่างกิจกรรมที่จัดการอบรม เช่น กิจกรรมการจัดการกับการเปลี่ยนแปลง กิจกรรมผู้หญิงรอบรู้เรื่องเงิน กิจกรรมการวางแผนสำหรับอนาคต กิจกรรมการสร้างความประทับใจจากบุคลิกภาพที่ดี เป็นต้น | 45 คน |
ห้องเรียนเปิดใหม่ | 10 คน |
ให้คำปรึกษาประเด็นเรื่องความรุนแรงต่อผู้หญิง | 16 คน |
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นภายหลังการเข้าร่วมโครงการ
- ผู้เรียนมีทัศนคติที่ดีขึ้นต่อการใช้ชีวิตและการทำงาน สามารถสังเกตได้อย่างชัดเจนจากการแสดงความคิดเห็นและการปรับเปลี่ยนด้านบุคลิกภาพภายนอกอื่นๆ
- ผู้เรียนแชร์ประสบการณ์เกี่ยวกับพัฒนาการด้านภาษาอังกฤษที่มีส่วนทำให้การทำงานของผู้เรียนดีขึ้น ความสัมพันธ์และการสื่อสารกับนายจ้างหรือเพื่อร่วมงานที่เป็นชาวต่างชาติเป็นไปในทางที่ดีขึ้น
- ผู้เรียนมีความมั่นใจมากขึ้น รักตัวเองและมองเห็นการเปลี่ยนแปลงของตนเองที่เป็นไปในทางที่ดีขึ้น
- ผู้เรียนมีโอกาสพบปะเพื่อนและสังคมใหม่ ทำให้มีโอกาสพัฒนาทักษะในการเข้าสังคมและทักษะอื่นๆ ระหว่างเข้าร่วมโครงการ Better Me
ความประทับใจของผู้เรียน
“จากที่เคยเป็นแค่แม่บ้านในโรงเรียนนานาชาติ พอเราสื่อสารภาษาอังกฤษพอได้ มีโอกาสได้เข้าไปช่วยครูในกรณีที่ครูผู้ช่วยสอนไม่มา ทำให้เราภูมิใจ อะไรที่คิดว่าเราทำไม่ได้เราก็ทำได้ พี่ชอบทำกิจกรรม ชอบเรียนรู้วิธีแก้ปัญหา การจัดการ การใช้ชีวิตประจำวัน การเงิน ทำให้หาทางออกในปัญหานั้นๆ ได้ดีขึ้น ทำให้เราไม่เครียด รู้แนวทางแก้ดีขึ้น” เรียง
“จากที่ไม่มีเป้าหมายชีวิต ใช้ชีวิตไปวันๆ มาที่นี่ภาษาอังกฤษพัฒนาขึ้น รู้ว่าเราต้องให้เวลา ให้คุณค่ากับตัวเอง ถ้าไม่สบายใจก็มาคุยที่มูลนิธิได้” วรรณ
แผนการใช้เงิน
ลำดับ | รายการ | จำนวน | จำนวนเงิน (บาท) |
---|---|---|---|
1 | ค่าบริหารจัดการภายในสำนักงาน (ค่าเช่าสำนักงาน ค่าใช้จ่ายทางสาธารณูปโภค ค่าโทรศัพท์ เพื่ออำนวยความสะดวกในระหว่างการเรียนการสอน ค่าใช้จ่ายอุปกรณ์ในการทำกิจกรรม (กระดาษ อุปกรณ์เครื่องเขียน แฟ้มเอกสาร สมุดบันทึก เป็นต้น) | 3 เดือน | 125,000.00 |
2 | ค่าใช้จ่ายในการบริหารจัดการของเจ้าหน้าที่ในการฝึกอบรม การติดต่อประสานงาน การติดตามประเมินผล เป็นต้น | 3 เดือน | 20,000.00 |