project สัตว์

อิ่มท้องน้องเต่าBelow the Tides: Zero Starving Sea Turtles

เต่าทะเลเป็นสัตว์ที่ถูกขึ้นทะเบียนว่าใกล้สูญพันธ์ขั้นวิกฤต (Endangered species) ความสำคัญหลักของเต่าทะเลคือการสร้างความสมดุลย์ของห่วงโซ่อาหารในโลกใต้ทะเล การที่เต่ามีจำนวนลดลงนั้นส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อระบบนิเวศ ปัจจุบันโอกาสที่ไข่ของเต่าทะเลจะฟักเป็นตัวอยู่รอดเป็นเต่าโตเต็มวัยตามธรรมชาติมีแค่ประมาณ 0.1% แต่ถ้าได้รับการอนุบาลเตรียมความพร้อมอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไปจะมีอัตราการรอดชีวิตเพิ่มขึ้นถึง 70% เงินจากโครงการนี้จะสมทบทุนให้กับทางศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเล เพื่อเพิ่มจำนวนลูกเต่าทะเลที่แข็งแรงพร้อมกลับคืนสู่ธรรมชาติมากขึ้น

ระยะเวลาโครงการ 23 ก.ย. 2566 ถึง 23 มี.ค. 2567 พื้นที่ดำเนินโครงการ อำเภอเมืองภูเก็ต จังหวัดภูเก็ต

ยอดบริจาคขณะนี้

867,268 บาท

เป้าหมาย

660,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 131%
จำนวนผู้บริจาค 366

สำเร็จแล้ว

เต่าทะเลเป็นสัตว์ที่ถูกขึ้นทะเบียนว่าใกล้สูญพันธ์ขั้นวิกฤต (Endangered species) ความสำคัญหลักของเต่าทะเลคือการสร้างความสมดุลย์ของห่วงโซ่อาหารในโลกใต้ทะเล การที่เต่ามีจำนวนลดลงนั้นส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อระบบนิเวศ ปัจจุบันโอกาสที่ไข่ของเต่าทะเลจะฟักเป็นตัวอยู่รอดเป็นเต่าโตเต็มวัยตามธรรมชาติมีแค่ประมาณ 0.1% แต่ถ้าได้รับการอนุบาลเตรียมความพร้อมอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไปจะมีอัตราการรอดชีวิตเพิ่มขึ้นถึง 70% เงินจากโครงการนี้จะสมทบทุนให้กับทางศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเล เพื่อเพิ่มจำนวนลูกเต่าทะเลที่แข็งแรงพร้อมกลับคืนสู่ธรรมชาติมากขึ้น

ปัญหาสังคมและวิธีการแก้ไขปัญหา

เต่าทะเลเป็นสัตว์ที่ถูกขึ้นทะเบียนอยู่ในระดับใกล้สูญพันธ์ขั้นวิกฤต (Endangered species) เหตุเพราะโดนมนุษย์ทำลายล้างทั้งจากการจับปลาเชิงพาณิชย์ และการลากอวน การล่าแบบผิดกฎหมายแม้ว่าจะมีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธ์ (CITES) คุ้มครองอยู่ นอกจากนี้การพัฒนาด้านชายฝั่งที่รวดเร็วและมากมายทำให้พื้นที่ในการทำรังของเต่าโดนเบียดเบียน หดหาย การที่แม่เต่าจะหาที่วางไข่เป็นไปได้ยากลำบากขึ้นประกอบกับการที่มนุษย์สรรสร้าง พัฒนาปฎิรูปเศรษฐกิจตั้งแต่ช่วงยุคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดสารเคมี ขยะ พลาสติกต่างๆเป็นจำนวนมากจนเกินกว่าจะกำจัดได้ทัน สุดท้ายมนุษย์จึงเลือกที่จะปล่อยสิ่งเหล่านั้นลงในท้องทะเล มหาสมุทร ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมอย่างรุนแรงกับสิ่งแวดล้อมใต้ท้องทะเล

เต่าต่างเข้าใจผิดคิดว่าพลาสติกเป็นแมงกะพรุนอาหารโปรดของมัน และขยะเป็นอาหาร จนทำให้ถึงชีวิตเพราะมันไม่สามารถจะย่อยสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นที่กินเข้าไปได้

ความสำคัญหลักของเต่าทะเลคือการสร้างความสมดุลย์ของห่วงโซ่อาหารในโลกใต้ทะเล และที่น่าประทับใจยิ่งกว่าคือ ตัวมันเองถือว่าเป็นระบบนิเวศในตัว ในขณะที่เต่าทะเลช่วยหาแหล่งที่อยู่อาศัยให้กับสัตว์ทะเลอื่นๆ และเป็นตัวเชื่อมโยงความสัมพันธ์ทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตมากมาย ด้วยการที่เต่าทะเลกินแมงกะพรุนหญ้าทะเล และฟองน้ำทะเลเป็นอาหาร ทำให้เป็นผลดีต่อปะการังและสัตว์ที่อาศัยตามแนวนั้น การที่ประชากรเต่าลดจำนวนลงนั้นจะส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อระบบนิเวศในท้องทะเลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

รู้หรือไม่ว่าแม่เต่าทะเลจะขึ้นมาเพื่อวางไข่บนชายหาดในแต่ละทีนั้น โอกาสที่ไข่เหล่านั้นจะฟักเป็นตัวอยู่รอดจนเติบใหญ่เป็นเต่าโตเต็มวัยนั้นมีแค่ประมาณ 0.1% เท่านั้น เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น สมมุติแม่เต่าทะเลขึ้นมาวางไข่บนชายหาดจำนวน 1000ฟอง จะมีแค่ตัวเพียง 1ตัวที่จะรอดจากภัยอันตรายและเติบใหญ่เท่านั้น

จากการศึกษาวิจัยที่ทำมาเป็นเวลานานภายใต้โครงการอนุรักษ์สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถพบว่าลูกเต่าที่อยู่ภายใต้การดูแลอนุบาลเตรียมความพร้อมซึ่งมีอายุอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไปจะมีอัตราการรอดชีวิต (survival rate) เพิ่มขึ้นถึง 70% และอัตรานี้จะสูงขึ้นอีกถ้ามีขนาดใหญ่และน้ำหนักตัวที่มากขึ้น ในขณะที่ถ้าปล่อยไปตามธรรมชาติ อัตราการรอดชีวิตจะอยู่ต่ำแค่ประมาณ 0.1% เท่านั้น

ถ้าระดมเงินทุนได้ครบตามเป้าหมาย จะนำเงินส่งมอบให้กับศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งภายใต้กระทรวงทรัพยากรเพื่อนำไปใช้เป็นค่าอาหาร ยา และอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการอนุบาลลูกเต่าได้ประมาณ 100 ตัว

ขั้นตอนการดำเนินโครงการ

1. ระดมทุนเพื่อช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในช่วงการอนุบาลเต่า ยิ่งเพิ่มความเป็นไปได้ที่จะนำระบบนิเวศในท้องทะเลคืนสู่ความสมดุลย์เร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพสูงสุด  การอนุบาลเต่าหนึ่งตัวเพื่อให้โตพอและพร้อมที่จะกลับคืนสู่บ้านแห่งท้องทะเล ค่าอาหาร ค่ายาของลูกเต่าในช่วงการอนุบาลนั้นอยู่ขั้นต่ำที่ประมาณ 6,000บาท ต่อ ตัว หรือเท่ากับ 30บาท ต่อวัน ในแต่ละวัน ลูกเต่าจะได้อาหารสดหรืออาหารเม็ดเป็นอาหารเช้า ส่วนมื้อบ่ายจะเป็นผักสด เช่นผักกาดขาว เพราะหาซื้อได้ง่ายและเก็บรักษาได้นาน ราคาตกมื้อละ 10บาท รวม2มื้อต่อวัน คือ 20บาท ค่ายา และ อื่นๆนั้นเฉลี่ยอยู่ที่ราว 10บาทต่อวัน

2. อนุบาลลูกเต่าจะใช้เวลาอย่างน้อยประมาณ 200วัน เพื่อให้มั่นใจว่าขนาดและน้ำหนักเต่าใหญ่เพียงพอที่จะเพิ่มภูมิต้านทาน นั่นก็หมายความถึงอัตราการรอดชีวิตของลูกเต่ากลับคืนสู่ทะเลจะเพิ่มสูงอย่างดียิ่ง 

3. เมื่อตรวจดูสุขภาพลูกเต่าว่าแข็งแรงสมบูรณ์ น้ำหนักตัวต้องไม่ต่ำกว่า 2กิโลกรัม และมีความยาวไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร เป็นมาตรฐานที่ทางศูนย์วิจัยตั้งไว้

4. เมื่อการอนุบาลเสร็จสิ้น ลูกเต่าจะถูกปล่อยกลับคืนสู่ท้องทะเล

ผู้รับผิดชอบโครงการ

นาย อริณชย์ ทองแตง (อิน)

ด.ญ. อริสา ทองแตง (เอม)

Arinarisathongtang@gmail.com

ไม่มีข้อมูล

แผนการใช้เงิน

ลำดับ รายการ จำนวน จำนวนเงิน (บาท)
1 ค่าอาหาร เช่น อาหารเม็ด ผักชนิดต่างๆ เช่นผักกาดขาว แตงกวา ค่ายา และอื่นๆ 30บาท ต่อวัน เป็นเวลา 200 วัน 100 ตัว 600,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด
600,000.00
ค่าธรรมเนียมของเทใจ (10%)
60,000.00

ยอดระดมทุน
660,000.00