cover_1

อิ่มท้องน้องเต่า Below the Tides: Zero Starving Sea Turtles

สัตว์

เงินบริจาคของคุณจะช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในการอนุบาลให้กับเต่าทะเลเพื่อให้โตและพร้อมที่จะกลับคืนสู่บ้านแห่งท้องทะเล100ตัว

project succeeded
โครงการสำเร็จแล้ว

ระยะเวลาระดมทุน

20 ก.ย. 2566 - 23 มี.ค. 2567

พื้นที่ดำเนินโครงการ

ศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่ง จ.ระยอง

เป้าหมาย SDGs

LIFE BELOW WATER

กลุ่มเป้าหมายที่ได้รับประโยชน์จากโครงการ

สัตว์
100ตัว

เต่าทะเลเป็นสัตว์ที่ถูกขึ้นทะเบียนว่าใกล้สูญพันธ์ขั้นวิกฤต (Endangered species)

ความสำคัญหลักของเต่าทะเลคือการสร้างความสมดุลย์ของห่วงโซ่อาหารในโลกใต้ทะเล การที่เต่ามีจำนวนลดลงนั้นส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อระบบนิเวศ

ปัจจุบันโอกาสที่ไข่ของเต่าทะเลจะฟักเป็นตัวอยู่รอดเป็นเต่าโตเต็มวัยตามธรรมชาติมีแค่ประมาณ 0.1% แต่ถ้าได้รับการอนุบาลเตรียมความพร้อมอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไปจะมีอัตราการรอดชีวิตเพิ่มขึ้นถึง 70% เงินจากโครงการนี้จะสมทบทุนให้กับทางศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเล เพื่อเพิ่มจำนวนลูกเต่าทะเลที่แข็งแรงพร้อมกลับคืนสู่ธรรมชาติมากขึ้น

illustration_1

ปัญหาสังคม

เต่าทะเลเป็นสัตว์ที่ถูกขึ้นทะเบียนอยู่ในระดับใกล้สูญพันธ์ขั้นวิกฤต (Endangered species) เหตุเพราะโดนมนุษย์ทำลายล้างทั้งจากการจับปลาเชิงพาณิชย์ และการลากอวน การล่าแบบผิดกฎหมายแม้ว่าจะมีอนุสัญญาว่าด้วยการค้าระหว่างประเทศซึ่งชนิดสัตว์ป่าและพืชป่าที่ใกล้สูญพันธ์ (CITES) คุ้มครองอยู่

นอกจากนี้การพัฒนาด้านชายฝั่งที่รวดเร็วและมากมายทำให้พื้นที่ในการทำรังของเต่าโดนเบียดเบียน หดหาย การที่แม่เต่าจะหาที่วางไข่เป็นไปได้ยากลำบากขึ้นประกอบกับการที่มนุษย์สรรสร้าง พัฒนาปฎิรูปเศรษฐกิจตั้งแต่ช่วงยุคอุตสาหกรรมอย่างต่อเนื่องทำให้เกิดสารเคมี ขยะ พลาสติกต่างๆ เป็นจำนวนมากจนเกินกว่าจะกำจัดได้ทัน สุดท้ายมนุษย์จึงเลือกที่จะปล่อยสิ่งเหล่านั้นลงในท้องทะเล มหาสมุทร ทำให้เกิดความเสื่อมโทรมอย่างรุนแรงกับสิ่งแวดล้อมใต้ท้องทะเล

ปัญหาขยะในท้องทะเลกระทบกับเต่าทะเลอย่างรุนแรง

เต่าต่างเข้าใจผิดคิดว่าพลาสติกเป็นแมงกะพรุนอาหารโปรดของมัน และขยะเป็นอาหาร จนทำให้ถึงชีวิตเพราะมันไม่สามารถจะย่อยสิ่งแปลกปลอมเหล่านั้นที่กินเข้าไปได้

ความสำคัญหลักของเต่าทะเลคือการสร้างความสมดุลย์ของห่วงโซ่อาหารในโลกใต้ทะเล และที่น่าประทับใจยิ่งกว่าคือ ตัวมันเองถือว่าเป็นระบบนิเวศในตัว

ในขณะที่เต่าทะเลช่วยหาแหล่งที่อยู่อาศัยให้กับสัตว์ทะเลอื่นๆ และเป็นตัวเชื่อมโยงความสัมพันธ์ทางชีวภาพของสิ่งมีชีวิตมากมาย ด้วยการที่เต่าทะเลกินแมงกะพรุนหญ้าทะเล และฟองน้ำทะเลเป็นอาหาร ทำให้เป็นผลดีต่อปะการังและสัตว์ที่อาศัยตามแนวนั้น การที่ประชากรเต่าลดจำนวนลงนั้นจะส่งผลกระทบอย่างยิ่งต่อระบบนิเวศในท้องทะเลอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้

เต่าทะเลโอกาสรอดและเติบโตแค่ 0.1%

รู้หรือไม่ว่าแม่เต่าทะเลจะขึ้นมาเพื่อวางไข่บนชายหาดในแต่ละทีนั้น โอกาสที่ไข่เหล่านั้นจะฟักเป็นตัวอยู่รอดจนเติบใหญ่เป็นเต่าโตเต็มวัยนั้นมีแค่ประมาณ 0.1% เท่านั้น เพื่อให้เข้าใจได้ง่ายขึ้น สมมุติแม่เต่าทะเลขึ้นมาวางไข่บนชายหาดจำนวน 1000ฟอง จะมีแค่ตัวเพียง 1ตัวที่จะรอดจากภัยอันตรายและเติบใหญ่เท่านั้น

จากการศึกษาวิจัยที่ทำมาเป็นเวลานานภายใต้โครงการอนุรักษ์สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถพบว่าลูกเต่าที่อยู่ภายใต้การดูแลอนุบาลเตรียมความพร้อมซึ่งมีอายุอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไปจะมีอัตราการรอดชีวิต (survival rate) เพิ่มขึ้นถึง 70% และอัตรานี้จะสูงขึ้นอีกถ้ามีขนาดใหญ่และน้ำหนักตัวที่มากขึ้น ในขณะที่ถ้าปล่อยไปตามธรรมชาติ อัตราการรอดชีวิตจะอยู่ต่ำแค่ประมาณ 0.1% เท่านั้น

ถ้าระดมเงินทุนได้ครบตามเป้าหมาย จะนำเงินส่งมอบให้กับศูนย์วิจัยทรัพยากรทางทะเลและชายฝั่งภายใต้กระทรวงทรัพยากรเพื่อนำไปใช้เป็นค่าอาหาร ยา และอื่นๆที่เกี่ยวข้องกับการอนุบาลลูกเต่าได้ประมาณ 100 ตัว

วิธีการแก้ปัญหา

  1. รับการอนุบาลเตรียมความพร้อมอย่างน้อย 6 เดือนขึ้นไปจะมีอัตราการรอดชีวิตเพิ่มขึ้นถึง 70%

แผนการดำเนินงาน

  1. ระดมทุนเพื่อช่วยเหลือค่าใช้จ่ายในช่วงการอนุบาลเต่า ยิ่งเพิ่มความเป็นไปได้ที่จะนำระบบนิเวศในท้องทะเลคืนสู่ความสมดุลย์เร็วขึ้นและมีประสิทธิภาพสูงสุด การอนุบาลเต่าหนึ่งตัวเพื่อให้โตพอและพร้อมที่จะกลับคืนสู่บ้านแห่งท้องทะเล ค่าอาหาร ค่ายาของลูกเต่าในช่วงการอนุบาลนั้นอยู่ขั้นต่ำที่ประมาณ 6,000 บาท ต่อ ตัว หรือเท่ากับ 30 บาท ต่อวัน ในแต่ละวัน ลูกเต่าจะได้อาหารสดหรืออาหารเม็ดเป็นอาหารเช้า ส่วนมื้อบ่ายจะเป็นผักสด เช่นผักกาดขาว เพราะหาซื้อได้ง่ายและเก็บรักษาได้นาน ราคาตกมื้อละ 10บาท รวม2มื้อต่อวัน คือ 20 บาท ค่ายา และ อื่นๆนั้นเฉลี่ยอยู่ที่ราว 10 บาทต่อวัน

  2. อนุบาลลูกเต่าจะใช้เวลาอย่างน้อยประมาณ 200วัน เพื่อให้มั่นใจว่าขนาดและน้ำหนักเต่าใหญ่เพียงพอที่จะเพิ่มภูมิต้านทาน นั่นก็หมายความถึงอัตราการรอดชีวิตของลูกเต่ากลับคืนสู่ทะเลจะเพิ่มสูงอย่างดียิ่ง

  3. เมื่อตรวจดูสุขภาพลูกเต่าว่าแข็งแรงสมบูรณ์ น้ำหนักตัวต้องไม่ต่ำกว่า 2กิโลกรัม และมีความยาวไม่น้อยกว่า 30 เซนติเมตร เป็นมาตรฐานที่ทางศูนย์วิจัยตั้งไว้

  4. เมื่อการอนุบาลเสร็จสิ้น ลูกเต่าจะถูกปล่อยกลับคืนสู่ท้องทะเล

แผนการใช้เงิน

รายการจำนวนจำนวนเงิน (บาท)
ค่าอาหารเต่า

อาหารเม็ด ผักชนิดต่างๆ เช่นผักกาดขาว แตงกวา ค่ายา และอื่นๆ 30บาท ต่อวัน เป็นเวลา 200 วัน

100ตัว600,000.00
รวมเป็นเงินทั้งหมด600,000.00
ค่าสนับสนุนเทใจ (10%)60,000.00
ยอดระดมทุน
660,000.00

ผู้รับผิดชอบโครงการ

Below the Tides

Below the Tides

กรุงเทพมหานคร

ผม อริณชย์ ทองแตง ชื่อ อิน อายุ 17 ปี ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ที่ โรงเรียนนานาชาติ Shrewsbury International School year 12 และน้องสาวผม ด.ญ. อริสา ทองแตง ชื่อเล่น เอม อายุ 15 ปี ปัจจุบันกำลังศึกษาอยู่ที่ โรงเรียนนานาชาติ Shrewsbury International School year 11 ตั้งแต่เล็กเต่าเป็นหนึ่งในสัตว์ที่ผมชอบมากและผมก็ทำให้น้องสาวเกิดความชอบตามผมด้วย ผมเลี้ยงเต่าบกและขุดบ่อเองสำหรับเลี้ยงเต่าน้ำที่บ้าน จนกระทั่งพวกเราได้มีโอกาสไปเยี่ยมชมศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเลที่เกาะมันใน เมื่อช่วงปลายเดือนธันวาคม พ.ศ.2565 กับครอบครัวและเพื่อน ได้รับความรู้ ความเข้าใจ และปัญหาของเต่าทะเลในภาพรวม และความต้องการที่ทางศูนย์อนุรักษ์พันธุ์เต่าทะเล พวกเราเลยตั้งใจจะร่วมสรรสร้างโครงการในให้เป็นที่รู้ในวงกว้าง สร้างจิตสำนึก สร้างความตระหนักรู้ เป็นตัวเชื่อมเล็กๆที่สร้างการเปลี่ยนแปลง อยากจะผันแปรความชอบส่วนตัว งานอดิเรกการเลี้ยงสัตว์ของผมและน้องสาว ให้เกิดประโยชน์ต่อสังคม ต่อสิ่งแวดล้อม ดังนั้นจึงอยากจัดตั้งโครงการเพื่อระดมทุนต่างๆที่ส่งเสริมการดูแลรักษาทรัพยากรทางน้ำของเราอันมีค่าให้คงอยู่ต่อไป จากรุ่นสู่รุ่น

ดูโปรไฟล์

สร้างเพจระดมทุน

ร่วมกันระดมทุนเพื่อสนับสนุนโครงการนี้

สร้างเพจระดมทุนให้โครงการนี้
icon