project ผู้พิการและผู้ป่วย

เตียงอัจฉริยะเพื่อผู้ที่มีปัญหานอนติดเตียงในชุมชนวัดป่าสาละวัน

ระดมทุนจัดทำเตียงอัจฉริยะ 5 เตียงเพื่อให้ผู้ที่มีปัญหานอนติดเตียงสามารถมายืมและคืนได้ที่ศูนย์ชุมชนวัดป่าสาละวัน โรงพยาบาลมหาราชนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา

ระยะเวลาโครงการ 4 เดือน

ยอดบริจาคขณะนี้

302,270 บาท

เป้าหมาย

275,000 บาท
ดำเนินการไปแล้ว 110%
จำนวนผู้บริจาค 119

สำเร็จแล้ว

ความคืบหน้าโครงการ

ผลิตโครงสร้างเตียงและระบบควบคุมการทำงานของเตียง

28 ธันวาคม 2019

Bederly และศูนย์แพทย์ชุมชนเมือง 2 สาขาวัดป่าสาละวัน โดยศูนย์วัดป่าสาละวันต้องดูแลประชากร 15,000 คน ใน 7 ชุมชน และผู้ป่วยนอนติดเตียงไม่น้อยกว่า 30 ครอบครัว "Give and Take" เป็นโครงการยืมอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เตียงพยาบาล ถังออกซิเจน เครื่องดูดเสมหะ เป็นต้น สามารถยืมไปใช้ที่บ้านได้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

เนื่องจากปัญหาเตียงนอนเพื่อผู้ป่วยติดเตียงมีบริการให้ยืมแก่ประชาชนไม่เพียงพอ ทางทีมงานจึงสนับสนุนเตียงนอนอัจฉริยะขึ้นมาจำนวน 5 เตียง หรือ 5 ครอบครัว เพื่อสนับสนุนศูนย์ Give&Take ต่อไป

แผนการทำโครงการ

การขออนุญาติจริยธรรมในมนุษย์

รูปภาพประกอบ

ประชุมทีมงานและคัดเลือกผู้ป่วยนอนติดเตียงในชุมชน จำนวน 5 ราย

การผลิตเตียง

การผลิตโครงสร้างเตียง

การผลิตระบบควบคุมการทำงานของเตียง

อ่านต่อ »
ดูความคืบหน้าโครงการทั้งหมด

ปัจจุบันสังคมไทยเข้าสู่ สังคมผู้สูงอายุ คือมีสัดส่วนของผู้มีอายุ 60 ปีขึ้นไปเกินกว่าร้อยละ 10 หรือมีผู้มีอายุ 65 ปีขึ้นไปเกินกว่าร้อยละ 7 ถึงปี 2561 สัดส่วนผู้สูงอายุในประเทศไทยเกินกว่าร้อยละ 16 แล้ว กล่าวคือมีผู้สูงอายุมากกว่า 10 ล้านคน

ผู้สูงอายุมากกว่า 10 ล้านคน ส่วนหนึ่งเป็นผู้ป่วยนอนติดเตียง โดยอาจจะมีสาเหตุมากมายที่ทำให้ผู้ป่วยหรือผู้สูงอายุต้องนอนติดเตียงอยู่ตลอดเวลา เช่น การเจ็บป่วยจากการเป็นโรค ประสบอุบัติเหตุ การผ่าตัดใหญ่ เป็นต้น

ผู้ป่วยนอนติดเตียงไม่สามารถช่วยเหลือตัวเองได้ และต้องมีคนค่อยดูแลตลอดเวลา ต้องมาพลิกตัวกันทุก 2 ชั่วโมง มาช่วยสวนปัสสาวะอีกวันละ 3-4 ครั้ง ทำอาหารให้ผู้ป่วย เปลี่ยนเสื้อผ้า ดูแลความสะอาดต่างๆ ของผู้ป่วยโดยที่ผู้ดูแลทำทุกอย่างนี้ก็หมดไปแล้ว 1 วันเต็มเลยและต้องเป็นคนที่ความแข็งแรงพอสมควร 

Bederly เราเห็นว่าเตียงอัจริยะของเราสามารถช่วยเหลือผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยได้ ปัจจุบันกับเราร่วมมือกับศูนย์แพทย์ชุมชนเมือง 2 สาขาวัดป่าสาละวันที่ประสบปัญหาเรื่องเตียงผู้ป่วยที่มีไม่เพียงพอต่อความต้องการใช้งาน และยังขาดแคลนเครื่องมือ อุปกรณ์และงบประมาณที่เพียงพอต่อการดำเนินงาน ทำให้เราเริ่มต้นโครงการ GiveBedforLie ให้เตียง ให้โอกาส

ศูนย์แพทย์ชุมชนเมือง 2 สาขาวัดป่าสาละวัน (PCU) มีศูนย์ PCU ในจังหวัดนครราชสีมาทั้งหมด 15 ศูนย์ 97 ชุมชน ในส่วนของศูนย์วัดป่าสาละวันต้องดูแลประชากรทั้งสิ้น 15,000 คน ประกอบด้วย 7 ชุมชน และมี case ของผู้มีปัญหานอนติดเตียงไม่น้อย 30 ครอบครัว ที่ผ่านมาศูนย์ PCU วัดป่าสาละวันได้ดำเนินโครงการ “Give and Take” ที่เป็นโครงการจิตอาสาที่ใช้เวลานอกเวลาทำงานปกติมาช่วยดูแลผู้ป่วย และจัดบริการให้ผู่ป่วยยืมอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เตียงพยาบาล ถังออกซิเจน เครื่องดูดเสมหะ ไปใช้ที่บ้านของผู้ป่วยโดยไม่ได้คิดค่าใช้จ่าย โดยโครงการนี้ที่ไม่ได้พึ่งพางบประมาณจากทางภาครัฐ


ทีม เบดเดอลี่  เป็นทีมนักวิจัยและพัฒนานวัตกรรม จากมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี ที่มีความชำนาญในการสร้างเตียง และช่วยลดการพึ่งพาการนำเข้าอุปกรณ์การแพทย์จากต่างประเทศได้ ได้ดำเนินธุรกิจผลิตเตียงเพื่อผู้ที่มีปัญหานอนติดเตียงหรือผู้สูงอายุ โดยใช้นวัตกรรมเทคโนโลยี Internet of Things และ Embedded System เพื่อเติมเต็มคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลและผู้มีปัญหาให้ดียิ่งขึ้น เราจะมุ่งมั่นสร้างสรรค์เทคโนโลยีและนวัตกรรม เพื่อตอบโจทย์รูปแบบการใช้ชีวิตของคุณให้มีความสุขและคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างยั่งยืนต่อไป จึงขอระดมทุนเพื่อสร้างเตียงอัจฉริยะและส่งมอบให้เตียงดังกล่าวให้ศูนย์ฯใช้ดูแลผู้ป่วยติดเตียง อย่างน้อย 5 เตียงหรือ 5 ครอบครัว 

ศักยภาพของ Smart Bed เป็นเตียงไฟฟ้าอัจฉริยะที่มีนัวตกรรม เทคโนโลยี Internet of Things และ ระบบ Embedded system ที่สามารถช่วยปรับกระจายแรงกดทับที่เกิดกับผู้ป่วยนอนติดเตียง เพื่อไม่ให้เกิดแรงกดทับอันเป็นสาเหตุของแผลกดทับโดยสามารถปรับท่าทางของเตียงได้หลายท่าทาง ดังนี้

  1. ท่ายกหัวสูง 
  2. ท่าพลิกตะแคงตัวซ้าย - ขวา
  3. ท่าขาสูง ขาต่ำ
  4. ปรับเป็นท่านั่งแบบเก้าอี้
  5. ปรับระดับสูงต่ำของเตียงให้เหมาะสมกับร่างกายของผู้ดูแล เวลาทำหัตถเวชโดยเตียงจะสามารถช่วยลด Burden และความลำบากในการดูแลผู้ป่วยได้มากขึ้น 

เตียงที่มีคุณภาพจะทำให้ผู้ดูแลทำงานได้ง่ายและดีขึ้น โดยทั่วไปเตียงลักษณะจะผลิตจากต่างประเทศและมีราคาสูงมาก ตั้งแต่ 120,000 - 200,000 บาท เราจึงอยากช่วยทุกคนมาสมทบทุนโครงการนี้

ขั้นตอนการดำเนินการ 

  1. ลงพื้นที่ชุมชนเพื่อสำรวจผู้ที่มีปัญหานอนติดเตียง
  2. ลงทะเบียนความต้องการและประเมินความจำเป็นในการใช้เตียงโดยศูนย์แพทย์
  3. ทำการผลิตเตียง
  4. ส่งมอบเตียงให้กับผู้ที่มีปัญหานอนติดเตียงในชุมชน
  5. เก็บข้อมูลและประเมินผลการใช้เตียงของผู้ป่วย

ประโยชน์ของโครงการ

  • ช่วยยกระดับคุณภาพชีวิตของผู้ดูแลและผู้ป่วยในชุมชนให้ได้มี คุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น
  • ช่วยแบ่งเบาภาระทางงบประมาณของทางภาครัฐในการจัดซื้ออุปกรณ์เหล่านี้
  • เป็นนวัตกรรมที่จะทำให้ผู้ปฏิบัติงาน คือ เจ้าหน้าที่ของศูนย์การแพทย์มีเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพดีขึ้น

สมาชิกภายในทีม

  • นายไพศาล สุขจรัส
  • ผศ.ดร.วิภาวี หัตถกรรม 
  • นายธวัชชัย เพชรแก้ว
  • นางสาวจิรารัตน์ ช่างเกวียน
  • พญ.นิสิตา นาทประยุทธ์       
  • นางผุสดี ด่านกุล 

ภาคี



การปรับแผนการดำเนินการ โครงการ เตียงอัจฉริยะเพื่อผู้ที่มีปัญหานอนติดเตียงในชุมชนวัดป่าสาละวัน

8 สิงหาคม 2019

รายงานความคืบหน้าโครงกาคเตียงอัจฉริยะเพื่อผู้ที่มีปัญหานอนติดเตียงในชุมชนวัดป่าสาละวัน

หลังจากที่โครงการได้ระดมทุนโครงการผ่านเทใจดอทคอมโดยตั้งเป้าหมายของระดมทุนเพื่อสร้างเตียงดังกล่าวจำนวน 10 เตียงนั้น

ขณะนี้ทีมงานได้ดำเนินงานมาได้ในระยะเวลาหนึ่งและพบว่า การดำเนินการสร้างเตียงนั้นมี มีค่าใช้จ่ายในการดำเนินโครงการสูงกว่าที่ประเมินไว้ในตอนวางแผนโครงการ ทางทีมงานจึงทำหนังสือชี้แจ้งผู้บริจาคดังนี้



เยี่ยมผู้ป่วยและติดตามการผลิตเตียง

27 กันยายน 2019

ขณะนี้ ทีมBederly ลงพื้นที่ในชุมชนวัดป่าสาละวัน ร่วมกับศูนย์สุขภาพชุมชน (PCU) และ โรงพยาบาลมหาราช จังหวัดนครราชสีมา เพื่อพูดคุยและสอบถามถึงปัญหาความเป็นอยู่ เยี่ยมเยียน และเข้าใจปัญหาที่กำลังพบเจอของผู้ป่วยนอนติดเตียงและผู้ดูแลผู้ป่วยในพื้นที่ชุมชนวัดป่าสาละวัน

นอกจากนั้น ทีมงานเข้าเยี่ยมโรงงานผลิตเตียงอัจฉริยะเพื่อผู้ป่วยนอนติดเตียง เพื่อติดตามความคืบหน้าการผลิต รวมถึงการใช้วัสดุต่างๆ การประกอบ การออกแบบ เป็นไปตามมาตรฐานที่ยอดเยี่ยม เพื่อส่งมอบให้แก่ผู้ป่วยและผู้ดูแลผู้ป่วยมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้น

ภาพประกอบ

ลงพื้นที่ในชุมชนวัดป่าสาละวัน ติดตามอาการผู้ป่วย

ประชุมร่วมกับโรงงานผลิตเตียง

ประชุมทีมหลังตรวจเยี่ยมโรงงาน

ประชาสัมพันธ์กิจกรรมส่งกำลังใจให้ผู้ป่วยติดเตียง

ผลิตโครงสร้างเตียงและระบบควบคุมการทำงานของเตียง

28 ธันวาคม 2019

Bederly และศูนย์แพทย์ชุมชนเมือง 2 สาขาวัดป่าสาละวัน โดยศูนย์วัดป่าสาละวันต้องดูแลประชากร 15,000 คน ใน 7 ชุมชน และผู้ป่วยนอนติดเตียงไม่น้อยกว่า 30 ครอบครัว "Give and Take" เป็นโครงการยืมอุปกรณ์ทางการแพทย์ เช่น เตียงพยาบาล ถังออกซิเจน เครื่องดูดเสมหะ เป็นต้น สามารถยืมไปใช้ที่บ้านได้โดยไม่คิดค่าใช้จ่าย

เนื่องจากปัญหาเตียงนอนเพื่อผู้ป่วยติดเตียงมีบริการให้ยืมแก่ประชาชนไม่เพียงพอ ทางทีมงานจึงสนับสนุนเตียงนอนอัจฉริยะขึ้นมาจำนวน 5 เตียง หรือ 5 ครอบครัว เพื่อสนับสนุนศูนย์ Give&Take ต่อไป

แผนการทำโครงการ

การขออนุญาติจริยธรรมในมนุษย์

รูปภาพประกอบ

ประชุมทีมงานและคัดเลือกผู้ป่วยนอนติดเตียงในชุมชน จำนวน 5 ราย

การผลิตเตียง

การผลิตโครงสร้างเตียง

การผลิตระบบควบคุมการทำงานของเตียง

แผนการใช้เงิน


รายการจำนวนรวม

1.ค่าผลิตเตียง smart bed

ค่าผลิตโครงสร้างเตียง

linear Actuator Motor

ค่าหัวเตียง ท้ายเตียง ราวกันตก

5 เตียง210,000
2.ค่าพัฒนาระบบ 150,000 บาท Bederly รับผิดชอบ
0

3.ค่าใช้จ่ายในการดำเนินการ

ค่าแรงช่างประกอบเตียง

ค่าเดินทาง

ค่าขนส่งเตียงผู้ป่วย

ค่าเครื่องมือช่างในการติดตั้ง


65,000
รวม
275,000

(รวมค่าใช้จ่ายในการระดมทุนของเทใจเป็นเงินโดยประมาณ 27,500 บาท)